วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554



Thai "reds", "yellows" rally on Bangkok's streets
http://www.thesundaily.com/article.cfm?id=57530

BANGKOK, Feb 13 (Reuters) : Thousands of Thais held colour-coded "red" and "yellow" protests in Bangkok on Sunday, underlining persistent anti-government sentiment and deep political divisions ahead of an election planned this year.
The "red shirts" called for the release of 18 of their detained leaders and their rival "yellow shirts" demanded Prime Minister Abhisit Vejjajiva's resignation over his handling of a long-running border dispute with Cambodia.
The rallies were staged ahead of an election that Abhisit says could take place in the first half of the year. On-off anti-government campaigns since 2005 by two groups with a history of, at times, violent protests point to a rocky road for Southeast Asia's second-biggest economy.
The two rallies also took place in defiance of the Internal Security Act (ISA) invoked last Tuesday and banning protests in main government and commercial areas.
There was a heavy presence of riot police, but no attempt was made to block the demonstrators, who protested peacefully.
Last year saw some of the worst political violence in modern Thai history during a 10-week protest and sit-in in Bangkok by "red-shirts", most of whom support ousted former premier Thaksin Shinawatra.
Gunmen clashed with soldiers on the streets and eventually the military crushed the protest. Ninety-one people were killed and more than 1,800 wounded.
Eighteen "red shirt" leaders have been detained since then and their supporters massed on Sunday outside the Criminal Court, which will make a ruling on a bail appeal on Feb. 21.
"We are here to call for justice," 'red shirt' leader Thida Thavornseth told reporters outside the court.
"We're not planning to break into the court. We just want to show our support to all the leaders who are still in prison."
ELECTION BY JUNE?
They later moved to the Democracy Monument in the city's old quarter, just over a kilometre (half a mile) from a small, two-week protest held by the yellow-shirted People's Alliance for Democracy (PAD).
The government agreed to use the ISA following concerns the PAD might try to take over its offices. However, its support appears to be dwindling.
The PAD was once an ally of Abhisit's ruling Democrat Party but has turned against him in the past few months over what they see as his failure to act decisively, in particular over a border dispute with Cambodia.
Four days of clashes between Thai and Cambodian forces erupted on the border early this month.
The "red shirts" are angered by the slow progress of an investigation into last year's violence and they have submitted a petition to the International Criminal Court asking for it to intervene, concerned the inquiry will be a "whitewash".
Abhisit, whose term comes to an end in December, said last week he planned to dissolve parliament and hold elections by June, if the country was peaceful.
Analysts say financial markets would welcome polls which could restore stability in Thailand and its US$265 billion economy.
But a big risk is that one or both of the rival main parties rejects the result and turbulence returns, bringing the possibility of more violence or even military intervention. -- Reuters

Updated: 09:09PM Sun, 13 Feb 2011

รวบอันธพาลการเมืองพธม.พกระเบิดปิงปองจ้องป่วน อัมสเตอร์ดัม-ทักษิณโฟนอินติดตามสด+คลิปที่นี่



ชมถ่ายทอดสดนปช.แดงทั้งแผ่นดิชุมนุม คลิ้ก หรือ คลิ้กที่นี่ รับฟังถ่ายทอดทางวิทยุในเขตกรุงเทพฯที่คลื่นFM91.75 FM95.75 FM102.75 โดยวันนี้โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายฝรั่งของนปช.ได้โฟนอินมาราว19.00น. และอดีตนายกฯทักษิณโฟนอินในเวลา 20.30น. โหลดคลิปฟังที่นี่(ภาพชุดการชุมนุมหน้าศาลอาญาช่วง12.30-15.00น.โดย 2chum )

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
13 กุมภาพันธ์ 2554



ภาพมติชนออนไลน์ ขบวนเสื้อแดงขณะเคลื่อนขบวนออกจากศาลอาญา


กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไปรออยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (ภาพเนชั่น) และเมื่อผู้ชุมนุมจากศาลอาญาเดินทาวมาถึง(ภาพ:ชมภาพชุดมติชนออนไลน์


เสื้อแดงชุมนุมใหญ่ โดยรวมตัวกันที่ศาลอาญา รัชดา แล้วไปรวมพลกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยผู้จัดการชุมนุมอ้างว่ามีชุมนุมมากกว่าแสนคน โดยมีเป้าหมายต่อต้านรัฐประหาร,ต่อต้านสงคราม,ทวงถามความยุติธรรมให้91ศพและนักโทษการเมืองที่ยังถูกคุมขัง(ภาพข่าว:สำนักข่าวต่างประเทศ)

อันธพาลพธม.-ภาพข่าวไทยรัฐ เผย น.1แถลงจับกุม 2 ผู้ต้องหาพกพาระเบิดปิงปองราว 63 ลูก หน้าวัดมกุฏกษัตริยาราม ทั้ง3รับเป็นการ์ดพันธมิตรฯ เตรียมไว้เพื่อป้องกันหาก จนท.เข้าสลายการชุมนุม และป้องกันกลุ่ม นปช.หากเข้ามาป่วนในพื้นที่ชุมนุม.

สำนักข่าวเนชั่น รายงานข่าวว่า พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษก สตช .เปิดเผยว่า ตร.รวบ 3 ผู้ต้องหาพกระเบิดปิงปอง 63ลูก หน้าวัดมกูฎกษัตริยาราม ใกล้พื้นที่ม็อบพันธมิตร(พธม.) บริเวณทำเนียบรัฐบาล โดยเมื่อเวลา 17.30 น. พล.ต.อ.วิชัย สังข์ประไพ ผบก น.๑ แถลงจับผู้ต้องหาระเบิดปิงปอง 63 ลูก โดยผู้ต้องหาทั้ง 3ราย รับสารภาพว่าเตรียมไว้ขว้างเจ้าหน้าที่ หากสลายการชุมนุมของกลุ่มพธม.และ ขว้างเสื้อแดงนปช.หากเข้ามาป่วนในพื้นที่ชุมนุม

มติชนออนไลน์ รายงานว่า จากการสอบสวนผู้ต้องหารับสารภาพว่า เป็นการ์ดพันธมิตรทำด้วยใจไม่ได้รับจ้าง ต้องการมากู้ชาติเท่านั้น ส่วนประทัดซื้อมาจากภูเขาทองนำมาจุดขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจหากเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปตรวจค้นห้องพัก ก่อนสอบสวนขยายผลและแจ้งข้อหาต่อไป

ขณะที่การชุมนุมของพธม.บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล จำลอง ศรีเมือง ระแวงหนักอ้างว่า แจงเขมรมาป่วนที่ชุมนุม ต้องขอตรวจบัตรประชาชนก่อนเข้าออกพื้นที่ชุมนุม ทั้งนี้จากรายงานข่าวของเวบASTVผู้จัดการกระบอกเสียงของพันธมิตร

มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร เป็นไปด้วยความตึงเครียดเนื่องจาก นปช.ได้ทยอยกันมารวมตัวกันที่บริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย จนล้นมาถึงแยก จปร.ทำให้การ์ดพันธมิตรต้องมีการเสริมกำลังรักษาปลอดภัยบริเวณหลังเวทีเชิงสะพานมัฆวานฯ อย่างแน่นหนา

ขณะที่ จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พธม. ต้องเดินตรวจตราบริเวณแนวกั้นของพันธมิตรด้วยสีหน้าเคร่งเครียด และใช้กล้องส่องทางไกลส่องดูความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นระยะ ขณะเดียวกันมีข่าวลือสะพัดในกลุ่มของการ์ดพันธมิตรว่าจะมีชาวกัมพูชาแฝงตัวเข้ามาสร้างความปั่นป่วนในที่ชุมนุมทำให้การ์ดทุกจุดตรวจตราบุคคลที่เข้าออกอย่างเข้มงวดถึงกับมีการตรวจบัตรประชาชนทุกคน

นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และ แกนนำนปช.กล่าวว่า ที่ห่วงว่า นปช.อาจจะปะทะกับกลุ่ม พธม. นั้น ไม่ต้องห่วง เพราะกลุ่มเสื้อแดงจะไม่ไปรดน้ำต้นไม้ที่เหี่ยวไปแล้ว ปล่อยให้พธม.สาวไส้กันไปเอง

ทั้งนี้นปช.แดงทั้งแผ่นดินได้เริ่มรวมตัวกันที่หน้าศาลอาญา เมื่อเวลา 13.30 น. นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษก นปช. ได้อ่านจดหมายของแกนนำนปช. ที่ถูกจำคุกในเรือนจำ ใจความว่า กระผมแกนนำ นปช. ผู้ต้องคดีก่อการร้ายจากการชุมนุมทางการเมือง 2553 ซึ่งถูกกักขังนานกว่า 9 เดือนแล้ว ยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัว มีความทุกข์ทั้งร่างกายและจิตใจ จึงเขียนจดหมายปรับทุกข์กับผู้พิพากษา ดังนี้

1.ถูกตั้งข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย ทั้งที่ผู้ก่อคดีในจังหวัดชายแดนภายใต้เป็นเพียงผู้ก่อความไม่สงบเท่านั้น

2.การสั่งคดีของดีเอสไอ ซึ่งดีเอสไอให้ข่าวรายวันว่าจะส่งฟ้อง ทั้งที่ยังไม่รวบรวมพยานหลักฐานได้เสร็จ

3.กระบวนการพิจารณาคดี มีการยื้อคดีให้นานกว่าปกติ

4.สิทธิการประกันตัว แม้ผ่านมาแกนนำยังไม่เคยหลบหนีคดีและได้ยื่นประกันตัวหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยได้รับการประกันตัว

5.สองมาตรฐาน แกนนำนปช. ไม่ได้รับการประกันตัว ขณะที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถูกข้อหาก่อการร้ายเช่นกัน ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นตำรวจและได้รับการประกันตัว

จากนั้นนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย และนางธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำนปช. ได้ร่วมกันวางดอกกุหลาบสีแดงหน้าป้ายศาลอาญา ก่อนจะนำผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายจตุพร กล่าวว่า หากแกนนำผู้ชุมนุมยังไม่ได้รับการประกันตัว ในเดือนมีนาคมนปช.จะกลับมาชุมนุมหน้าศาลอาญาอีกครั้ง และยืนยันว่าจะไม่มีการปะทะกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างแน่นอน

โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมใส่เสื้อแดงวิดิโอลิ้งค์อนุสาวรีย์ปชต.

เมื่อเวลา 19.20 น.นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความสำนักงานทนายความอัมสเตอร์ดัมแอนด์เปรอฟ ซึ่งเป็นทนายความของนปช.ได้วิดิโอลิงค์มาจากสถานที่แห่งหนึ่งมายังเวทีนปช.ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

นายอัมสเตอร์ดัมในชุดเสื้อยืดสีแดง กล่าวว่า เราจะต่อสู้เพื่อนำมาซึ่งอิสรภาพ ความยุติธรรมและประชาธิปไตย เราจะกระชากหน้ากากบุคคลที่ต่อต้านประชาธิปไตย ตราบที่รัฐบาลและระบอบนี้อยู่ในอำนาจ เราจะไม่หยุดยั้ง และต่อสู้การเปิดโปงการก่ออาชญากรรม ตราบเท่าที่องค์กรต่างประเทศเพิกเฉย เราจะต่อสู้ต่อไป ให้คนไทยให้มีสิทธิสากลเท่าคนอื่นๆในโลก ที่ยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี) เพราะเห็นความน่ากลัวด้วยตัวเองเมื่อกลางปีที่แล้ว และเห็นปีศาจร้าย

ผมคงอยู่ในโลกไม่ได้หากปล่อยให้ปีศาจอยู่ในโลก แม้ประเทศไทยไม่ได้ลงสัตยาบันกับไอซีซี แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ล้มเหลวในการสละสัญชาติอังกฤษ ที่ได้รับโดยกำเนิด ฉะนั้นนายอภิสิทธิ์จึงยังอยู่ในเขตอำนาจของไอซีซี โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่การก่ออาชญากรรม

แม้จะมีหลักฐานชัด แต่ต้องยอมรับว่าที่ไอซีซีจะรับคดีนี้มีน้อย แต่เราจะรวบรวมหลักฐานและยื่นคำร้องไปใหม่เพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับ แม้จะไม่มีความช่วยเหลือของไอซีซี แต่ทีมงานจะหาวิธีการ การยกเว้นโทษ เราจะทำหน้าที่แทนแกนนำนปช. เพราะคนพวกนี้โดนกล่าวหาอย่างน่าขบขัน แต่ผู้ก่อการร้ายตัวจริงคือคนที่สั่งฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็นซึ่งเรารู้ว่าเป็นใคร และอยู่ที่ใด เราจะหาวิธีการยกเว้นโทษนี้

“คณะกรรมการตรวจสอบชุดต่างๆนั้นต้องมีการตรวจสอบด้วยความแท้จริง เช่นเดียวกับผู้สั่งการสังหารหมู่เมื่อปีพ.ศ. 2516 , 2519 , 2535 ยังลอยนวลอยู่ ฉะนั้นควรเขียนจดหมายถึงสถานทูตต่างๆว่า We Count to ซึ่งหมายความว่า เรายังมีตัวตนอยู่และต้องการความยุติธรรม ผมและทีมงานจะนำเรื่องร้องทุกข์ขึ้นสู่กระบวนการให้สำเร็จ ขอให้เชื่อมั่นว่าการต่อสู้จะดำเนินต่อไป ไม่ปล่อยให้ฆาตรกรลอยนวล แกนนำนปช.จะไม่โดนขังคุกอย่างไม่ชอบธรรมแน่นอน”นายโรเบิร์ตกล่าว

ในสัปดาห์นี้ทีมทนายความจะขับเคลื่อนผลักดันพรรคประชาธิปัตย์ออกจากสมาพันธ์เสรีนิยมระหว่างประเทศ เพราะพรรคนี้ปกปิดคดีอาชญากรรมระหว่างมนุษยชาติ เราต่อต้านนายกฯ ผบ.ทบ.และคนบางกลุ่มที่ไม่รับโทษ โดยใช้กระแสคลั่งชาติและนำธงชาติมาคลุมตัว เรื่องนี้แบบนี้ในอเมริการู้ดีคือภาพยนตร์” Wag the Dogs” โดยควรนำทีมสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้มาพบนายกฯด้วย ไทยต้องเป็นประเทศที่ยืนบนหลักนิติรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐยกเว้นการรับโทษโดยอ้างความปรองดอง หากเป็นแบบนี้โศกนาฏกรรมกับประชาชนจะเกิดขึ้นบ่อย มันต้องใช้ความจริงเท่านั้นประเทศจะเดินไปสู่สันติสุข

เขากล่าวว่า รัฐบาลพูดเรื่องสมานฉันท์จากหลายประเทศที่มีปัญหาเรื่องเหล่านี้ ตนมีประสบการณ์มามาก จึงขอเสนอแนวทางว่า ประชาชนต้องเข้มแข็งเพื่อต่อต้านทหารและอำมาตย์ กองกำลังติดอาวุธต้องอยู่ใต้ความควบคุมของพลเรือน ประชาชนต้องมีส่วนร่วมกับประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญของไทยบอกว่าอธิปไตยเป็นอำนาจของประชาชน แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เรื่องแบบนี้มันจะมีประสิทธิภาพคือปฏิรูปรัฐบาลทุกด้าน ความเป็นอิสระต้องเกิดขึ้นและแยกออกจากกัน ทหาร ข้าราชการ และทุนต้องหลุดจากการครอบงำรัฐบาล วันนี้ใช้อำนาจครอบงำและเมิดสิทธิประชาชนและสร้างสิทธิให้กับอภิชนกลุ่มเล็กๆเท่านั้น จุดอ่อนโครงสร้างของรัฐไทยคือความยุติธรรมที่เลือกปฏิบัติและผิดพลาด มีการคอรัปชั่น ฝ่ายตุลาการถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงรุนแรงจนเกิดระบบสองมาตรฐาน ปกปิดไม่ให้คนบางกลุ่มไม่ต้องรับโทษทางอาญา

นายอัมสเตอร์ดัมกล่าวว่า การชุมนุมนั้นรัฐบาลจะใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไม่ได้ เพราะกฎหมายสองฉบับนี้จะนำมาใช้ต่อเมื่อประเทศถูกรุกราน ต้องปกป้องประชาชน ไม่ใช่ปกป้องอำมาตย์และใช้เมื่อประชาชนลุกขึ้นประท้วง นายพลอย่าใช้อำนาจตามอำเภอใจ ตำรวจและทหารต้องอบรมใหม่ อย่าเชื่อคำสั่งที่ละเมิดสิทธิประชาชน

ทักษิณโฟนอินเปรียบเปรยพิพาทกัมพูชา:นายปล่อยคนใช้ทะเลาะเพื่อนบ้าน

เวลา 20.45 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอิน เข้ามากลางที่ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง โดยมีนายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นผู้ร่วมสนทนา อดีตนายกฯ เปิดประเด็นว่า พรุ่งนี้ วันวาเลนไทน์ (14 ก.พ.) ขอส่งหัวใจสีแดง มาให้พี่น้องทุกคน เพื่อจะได้กอบกู้ประเทศชาติ

หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กล่าว โจมตี รัฐบาล เรื่องปัญหาขาดแคลนน้ำมันปาล์มจนต้องเข้าแถวซื้อว่า นี่คือ ความ ล้มเหลวเหมือนการแก้ปัญหาไข่ไก่ แบบชั่งกิโลขาย นอกจากนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันได้สร้างภาระหนี้สินมากที่สุดกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา

ต่อมา ได้พูดทีเล่นทีจริงเรื่อง เอเอสทีวีกับพรรคประชาธิปัตย์ว่า " เดี๋ยวนี้ คนดู เอเอสทีวี มากขึ้น เพราะช่องนี้ ด่าประชาธิปัตย์"

นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ ถามว่า สมัยเป็นรัฐบาลบริหารอย่างไร ไม่ไปทะเลาะกับเพื่อนบ้าน

อดีตนายกฯกล่าวเปรียบเทียบว่า ถ้าคนรับใช้ไปทะเลาะกับเพื่อนบ้านต้อง ต้องไล่คนรับใช้ออก

"เราแค่มีน้ำใจกับเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้านจะรักเราและเคารพเรา แต่ตอนนี้เราไปทะเลาะกับเพื่อนบ้านเพราะคนรับใช้ไปหาเรื่อง "

พ.ต.ท. ทักษิณ ยืนยันว่า " ผมเวลานี้ แข็งแรงดี ไม่ได้เป็นมะเร็ง ตรวจเลือดมากี่ร้อยครั้ง ไม่เคยเจอมะเร็ง อย่างที่ถูกปล่อยข่าวลือ"

อดีตนายกฯ ย้ำว่า "คนอย่างผม ถูกรังแก ไม่มีวันยอมแพ้ ขนาดใกล้ตายยังสู้เลย ผมอยากสู้ด้วยสันติวิธี สู้ด้วยสติปัญญา"

ก่อนจบการโฟนอิน พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า " เร็วๆ นี้ จะมี 2 สถานการณ์ เกิดขึ้น ถ้าไม่เลือกตั้งก็ใช้วิธีโบราณ คือ ยึดอำนาจ
การเลือกตั้งครั้งนี้ จะถูกเอาเปรียบอย่างมาก ผมขอเพียงให้เป็นการเลือกตั้งที่เป็นธรรม แก้กติกาอย่างไร ก็จะขอสู้ ขออย่างเดียวอย่าโกง แต่เชื่อว่า การเลือกตั้งไม่เร็วนัก เพราะกำลังบริโภคกันเพลิน ส่วนการรัฐประหาร หากจะมีจะถูกต่อต้าน อย่างแน่นอน "

พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้เวลาโฟนอิน ไม่นานนัก โดยอ้างว่า ติดภารกิจ

โหลดคลิปเสียงฟังที่นี่

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน1ประเทศ2ม็อบ
1ประเทศ2ม็อบ-สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าในวันนี้มี2ม็อบเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เสื้อแดงจำนวนมากเรียกร้องปลดปล่อยนักโทษการเมืองที่เป็นแกนนำ ส่วนเสื้อเหลืองขับไล่รัฐบาล เป็นภาพขัดแย้งชัดเจน ก่อนจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในราวกลางปีนี้(ข่าวรอยเตอร์)
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1592 18 - 24 กุมภาพันธ์

http://www.internetfreedom.us/thread-13901.html
[Image: x1592.jpg]




[Image: 61593.jpg]

โหลดที่นี่ครับ

http://kunginternews.blogspot.com/2011/0...18-24.html
http://www.mediafire.com/?c2l2dwbnfew4g45
เล่มที่ผ่านมา
http://kunginternews.blogspot.com/2011/02/blog-post_1669.html


แฉใบเกิด“มาร์ค”เรียกน้ำย่อยก่อนศึกซักฟอก 
http://www.internetfreedom.us/thread-13918.html

[Image: jatupornkrean.jpg]
[Image: 26980_115588661790658_100000185739604_27...5026_n.jpg]
นายจตุพร กล่าวว่า ในวันที่ 19 ก.พ. จะเริ่มชุมนุมในเวลา 13.00 น. ที่บริเวณแยกราชประสงค์โดยทำกิจกรรมประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ก่อนเคลื่อนไปที่ศาลฎีกาเพื่ออ่านจดหมายปรับทุกข์ของบรรดาแกนนำที่ถูกคุมขัง ในเรือนจำ จากนั้นจะเคลื่อนขบวนมาตั้งเวทีปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยจะเลิกการชุมชุมนุมในเวลาเที่ยงคืนเศษไม่เกินตีหนึ่ง ทั้งนี้พี่น้องคนเสื้อแดงจะมาชุมนุมมากกว่าวันที่ 13 ก.พ.นี้อีกเท่าตัว โดยจะไม่มีการโฟนอินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามายังที่ชุมนุม สำหรับเนื้อหาในการอภิปรายจะนำหลักฐานการแจ้งเกิดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯที่แจ้งไว้ที่เมืองนิวคลาสเซิล ประเทศอังกฤษ รวมถึงการถือสัญชาติของนายอภิสิทธิ์มาแสดงให้เห็นชัดเจน ก่อนที่จะหยิบยกไปอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลต่อไป 
[Image: enthusiasm.gif]

*-*******

จตุพรลั่นแฉสัญชาติมาร์ค 19 ก.พ.
[Image: 12980183121298018372.jpg]

เมื่อเวลา 13.00 น. ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 เดินทางเข้าพบนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน และแกนนำนปช. เพื่อหารือถึงเส้นทางการชุมนุมของกลุ่มนปช. ที่นัดชุมนุมในวันที่ 19 ก.พ. ที่สี่แยกราชประสงค์ โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที


จากนั้นพล.ต.ต.วิชัย กล่าวว่า ตนได้รับคำสั่งจากผบช.น.ให้มาประสานงานเรื่องการชุมนุมในวันที่ 19 ก.พ. ซึ่งแต่เดิมนปช.ได้นัดหมายที่ราชประสงค์ แต่ด้วยที่สี่แยกราชประสงค์จะมีกิจกรรมที่มีบุคคลระดับวีไอพีเข้าร่วม จึงได้ประสานงานกับนปช.


จนได้ข้อยุติว่า นปช.จะจัดกิจกรรมที่แยกราชประสงค์ในช่วงบ่าย แล้วจะเดินทางไปที่ศาลฎีกา แล้วมาชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จัดกำลังเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยจำนวน 10 กองร้อย แบ่งเป็นที่แยกราชประสงค์ 2 กองร้อย ศาลฎีกา 2 กองร้อย และที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 6 กองร้อย 


สำหรับเส้นการการเดินของนปช.นั้นจะใช้เส้นทางถนนเพชรบุรี เข้าถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนิน ไปยังศาลฎีกาสนามหลวง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะดูแลไม่ให้กลุ่มนปช.เข้าไปใกล้กับกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ และพันธมิตรฯที่ชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล


นอกจากนี้ ขอให้แกนนำนปช.ดูแลกลุ่ม ผู้ชุมนุมโดยเฉพาะเรื่องของการหมิ่นสถาบัน และหากเจ้าหน้าที่พบเห็นก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด


ด้านนายจตุพร กล่าวว่า สำหรับการชุมนุมในวันที่ 19 ก.พ. นปช.จะนัดกันที่สี่แยกราชประสงค์ เวลา 13.00 น. ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน ก็จะเคลื่อนขบวนไปยังศาลฎีกาเพื่ออ่านจดหมายปรับทุกข์จากพี่น้องในเรือนจำ จากนั้นก็จะเดินย้อนกลับมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อปราศรัยและจะเลิกชุมนุมในเวลา 24.00 น.


ทั้งนี้ คาดว่าคนจะมาเยอะมากกว่าเดิมถึง 2 เท่า เพราะได้รับข่าวจากพี่น้องคนเสื้อแดงในต่างจังหวัดว่าจะเดินทางเข้ามาร่วมด้วย


โดยในการปราศรัยตนจะเปิดเผยเอกสารใบเกิดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เกิดที่เมืองนิวคาสเซิ่ล ประเทศอังกฤษ จากนั้นจะทยอยเปิดเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเดินทาง หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญชาติของนายอภิสิทธิ์ต่อไป


นายจตุพร กล่าวว่า และในวันที่ 21 ก.พ. ที่เป็นวันที่ศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวแกนนำคนเสื้อแดงคาดว่าจะมีพี่น้องคนเสื้อแดงไปให้กำลังใจกันมาก


และตามข่าวที่ระบุว่าอาจจะให้ประกันนายก่อแก้ว พิกุลทอง และน.พ.เหวง โตจิราการ เพียง 2 คน ตนขอย้ำว่าหากให้ประกันแค่ 2 คน ไม่ต้องให้ประกันดีกว่า เพราะจะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นฮาร์ดคอร์ ใครเป็นซอฟท์คอร์ ทุกคนถูกข้อหาเดียวกัน ก็ควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน และหากเป็นอย่างนี้ก็ขอให้เอาตนเข้าไปขังคุกด้วย ซึ่งวิธีการไม่ยากอะไร แค่ทำเรื่องถึงประธานสภา ตนจะไม่ขอใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองใดๆ ซึ่งขอให้ศาลพิจารณาให้ความเป็นธรรมเพียงเศษเสี้ยวให้กับคนเสื้อแดงด้วย


เพราะอย่างกรณีพันธมิตรฯไม่มีใครสักคนที่ถูกขัง แต่ได้รับประกันตัวหมดทุกคน ดังนั้นหากศาลไม่ให้ความยุติธรรมกับประชาชน ก็จะกลายเป็นตัวปัญหาให้กับสังคมไทยเสียเอง



เครดิต
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline...sectionid=
สื่อฝรั่งเศส ระบุุไทยต้้องการสงครามเพื่่่่อเรีียกคะแนนนิิยม
[Image: bbbaj7i9dd7k9bag9iaa6.jpg]


สื่อฝรั่งเศสรายงานเวียดนามส่งรถถังข้ามชายแดนเข้ากัมพูชา
มุ่งหน้าสู่พื้นที่พิพาทกับไทย พร้อมกล่าวหาไทยอยากเปิดสงคราม 



(18ก.พ.)เว็บไซต์ เค-ไอ มีเดีย รายงานอ้างข้อความที่แปลจากภาษาฝรั่งเศสในหนังสือพิมพ์ เลอ กรองด์วิลยาจว่า รถถังหลายลำของเวียดนาม ได้แล่นข้ามเข้าไปในดินแดนประเทศกัมพูชา เพื่อมุงหน้าสู่พื้นที่บริเวณชายแดนด้านที่ติดกับไทย และในขณะที่สหประชาชาติ กำลังผลักดันให้มีการเจรจาภายใต้กรอบการทำงานขอสมาคมอาเซียนนั้น ก็ดูเหมือนจะมีฝ่ายสนับสนุนที่พร้อมรบเช่นกัน


เค-ไอ มีเดีย ระบุว่า เป็นเรื่องน่าตกใจอย่างยิ่งสำหรับผู้เห็นเหตุการณ์ ที่รถถังเวียดนามหลายคันแล่นเข้าไปในดินแดนของกัมพูชา ซึ่งเมื่อ 20 ปีก่อน ก็มีคนเคยเห็นรถถังเวียดนามแล่นเข้าไปปลดปล่อยกัมพูชาจากการปกครองของเขมรแดงมาแล้ว แต่ในยุคนั้น เวียดนามเข้ายึดพื้นที่และปล้นเอาความมั่งคั่งไปจากกัมพูชา ที่สร้างความเจ็บปวดให้อย่างแสนสาหัส

ผู้เห็นเหตุการณ์ บอกด้วยว่า เขาเกือบตายเพราะความกลัว ตอนที่เห็นรถถังของเวียดนามแล่นเข้ามาในเส้นทางเดียวกันกับเมื่อ 20 ปีก่อน ด้วยข้ออ้างที่ว่าไปช่วยกัมพูชา และครั้งนี้ก็เช่นกัน รถถังเหล่านี้ ถูกส่งเข้ามาด้วยเจตนาที่จะข่มขวัญประเทศไทย และถ่วงดุลย์การเจรจา แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า เวียดนามก็เหมือนกับจีน ที่จะต้องได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการช่วยเหลือ


นอกจากความพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในอาเซียน ในช่วงที่ไทยสูญเสียความน่าเชื่อถือแล้ว เวียดนามกับจีน ยังมีเป้าหมายสำคัญในการตักตวงผลประโยชน์จากกัมพูชา ซึ่งก็คือ น้ำมันที่เพิ่งพบเมื่อไม่นานมานี้ ยิ่งไปกว่านั้น เวียดนามยังเสนอจะช่วยเหลือในการจัดหาน้ำมันให้กับกัมพูชา ในช่วงที่กำลังรอการขุดเจาะน้ำมันของตัวเองขึ้นมาใช้ อันเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิในการสำรวจแหล่งทรัพยากรน้ำมันของกัมพูชาในอนาคต


ความรุนแรงที่ขยายขึ้น และการเตรียมพร้อมในการทำสงคราม ได้สร้างความวิตกให้กับกลุ่ม NGO ในกัมพูชา และยังได้เตือนไปยังชาติอื่น ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดความยุ่งยากซับซ้อนในภูมิภาคที่มีขนาดเล็กแต่มีความ สำคัญอย่างแท้จริง


เลอ กรองด์ วิลยาจ ระบุด้วยว่า 

ชาติบรรดามหาอำนาจทั้งในระดับภูมิภาค และนานาชาติ จะไม่มีวันยอมให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องวุ่นวายจากการสู้รบกันอย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ในประเด็นอ่อนไหวนั้น ภูมิภาคแห่งนี้ เป็นแหล่งผลประโยชน์อันมหาศาล และดึงดูดสหรัฐ จีนและอินเดีย


ไม่มีมหาอำนาจชาติไหนอยากเห็นสงครามระหว่างไทยกับกัมพูชา หรือแม้แต่สมาชิกในอาเซียนเองก็ไม่อยากเห็นเช่นกัน มีเพียงไทยเท่านั้น ที่ต้องการสงครามเพื่อเรียกคะแนนนิยมที่สูญหายไปในช่วงวิกฤติการประท้วงของคนเสื้อแด​ง


เค-ไอ มีเดีย ระบุว่า ไม่อาจยืนยันรายงานของเลอ กรองด์ วิลยาจ ได้ แต่ก็ระบุว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีรถหุ้มเกราะของเวียดนาม ที่ผลิตในยุคโซเวียต ถูกส่งข้ามชายแดนเข้าไปยังกัมพูชา ที่บริเวณจังหวัดกัมปง ธม ที่เป็นเส้นทางไปยังพระวิหาร


เครดิิต
http://www.komchadluek.net

บาดตา บาดใจ

ทักษิณ อินบรูไน เมือวันที่ 12 ก.พ.54
เมือวันที่ 12 ก.พ.54คงบาดตาบาดใจใครบ้างแหละ อิอิ 

รายงานพิเศษวันเสาร์

 แฉทุริตโยกย้ายปัญหาวงการตำรวจไทย

ประชาชนเชื่อ รัฐบาลทุจริตกักตุนน้ำมันปาล์มจริง

78ปีประชาธิปไตยบทเดิมผู้กำกับเดิมผู้แสดงใหม่

นับถอยหลังเลือกตั้งหรือยึกอำนาจ

โรงงานผลิตภาษา (แห่งชาติ) ของราษฎรอาวุโส.!!!

http://www.internetfreedom.us/thread-13952.html
ได้อ่านบทความล่าสุด – โครงการ “ทำแผนที่คน” (Human Mapping)[1] จาก “โรงงานผลิตภาษา (แห่งชาติ)” ของราษฎรอาวุโส
แกเขียนอธิบายความว่า “...การทำแผนที่คนไทยทั้งประเทศก็จะไม่ยาก สามารถทำได้เสร็จภายใน 6 เดือน
เรามีหมู่บ้าน ประมาณ 80,000 หมู่บ้าน เรามีมหาวิทยาลัยกว่า 100 แห่ง มีนักศึกษารวมกันหลายแสนคน
สามารถส่งนักศึกษาไปทำแผนที่คนไทยได้ในทุกหมู่บ้าน” 


“...ชาวบ้านนั้นจมปลักอยู่กับความต่ำต้อย ความไม่มีเกียรติ ความไม่มีคุณค่า เป็นคนไม่มีความรู้สมัยใหม่
ถูกดูถูกเสียจนดูถูกตัวเอง – ครั้นมีคนสมัยใหม่เช่นนักศึกษา หรือคนที่จบปริญญามานั่งฟัง มานั่งขุดความรู้ความชำนาญ
ที่ฝังลึกอยู่ในตัวเรา – ตามปรกติชาวบ้านไม่ค่อยได้พูด ได้แต่ฟังคนอื่นที่มีอำนาจมากกว่า มีความรู้มากกว่า มีเงินมากกว่า”

“บัดนี้มีคนที่เคยสมมติว่าเหนือกว่า มานั่งฟังด้วยความเคารพ และเห็นคุณค่าในสิ่งที่เขารักเขาชอบเขาถนัด ที่มีอยู่ในตัวเขาจริงๆ
เขาจึงมีความสุขขึ้นมาท่วมท้น ที่รู้สึกมีเกียรติ (เป็นครั้งแรกในชีวิต) รู้สึกภูมิใจในตัวเอง...”

“...ความเห็นใจ และการอยากทำเพื่อเพื่อนมนุษย์ เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ทุกคน
ที่ว่าทุกคนล้วนแต่มีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีอยู่ในหัวใจ” 


“ถ้ามีแต่มายาคติเข้ามาขวางกั้น เช่น ฐานะ อำนาจ กฎหมาย กฎ ระเบียบ เงิน รูปแบบ เมล็ดพันธุ์แห่งความดีไม่มีโอกาสได้งอกงาม”

“...ถ้าเราทำทุกพื้นที่ทั่วประเทศ คนไทยทุกคนจะกลายเป็นคนมีเกียรติมี ศักดิ์ศรีมีความมั่นใจในตัวเอง
การเคารพศักดิ์ศรี และคุณค่าของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เป็นศีลธรรมพื้นฐานของสังคม...” 


“เนื่องจากความรู้ในตัวคนมีฐานอยู่ในวัฒนธรรม วัฒนธรรมคือวิถีชีวิตร่วมกัน จะทำให้การศึกษาเชื่อมกับวัฒนธรรม
หรือวิถีชีวิตร่วมกัน เมื่อใดการศึกษาเชื่อมกับชีวิต และการอยู่ร่วมกันจะเกิดเรื่องใหญ่มาก คือ เกิดการอภิวัฒน์ประเทศไทยทุกด้าน”

“...ก่อนคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2554 ท่านคุยกับผมหลายครั้ง - ครั้งหนึ่ง ผมแนะนำเรื่องใหญ่ๆ ไป 4 เรื่อง
เรื่องหนึ่งคือการทำแผนที่คนไทย หรือ Human Mapping ตามที่กล่าวถึงนี้ ท่านเป็นคนปัญญาไวเข้าใจทันที แต่การเป็นนายกรัฐมนตรีก็คงทำให้ท่านยุ่งเกิน เลยไม่ได้ทำ - หวังว่านายกฯอภิสิทธิ์จะไม่ยุ่งเกิน!” 
...

ผมชอบย่อหน้าสุดท้ายของราษฎรอาวุโส คนนี้จริง ๆ – นี้แหละที่เขาเรียกว่า “เขี้ยวจริง ๆ – เขี้ยวของจริง” 

ใครที่คิดจะทำ proposal ขอทุนทำงานวิจัย, ลองอ่านโครงการ “ทำแผนที่คน-อภิวัฒน์ประเทศไทย” ฉบับนี้เป็นตัวอย่าง
(แต่ถ้าคิดจะไปของทุนจาก “สสส.” หรือ “สมัชชาปฏิรูป 600 ล้าน” ที่แกดูแลอยู่ – ถ้าคุณไม่ใช่ (NGO) สีเดียวกัน-ก็หมดสิทธิ์!!!)

ราษฎรอาวุโส-หัวหน้าโรงงานผลิตภาษา (แห่งชาติ) – ผู้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป 600 ล้าน (คสป.),
เป็นคณะกก.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - ล่าสุดยังดูแลอีก 14 องค์กรที่อยู่ภายใต้ คสป. เช่น องค์กรปกครอง
ท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป, สภาองค์กรชุมชน และสภาผู้นำชุมชนเพื่อการปฏิรูป (มีนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธาน,สถาบัน
พัฒนาองค์กรชุมชน-พอช.), เครือข่ายประชาคมเพื่อการปฏิรูป, เครือข่ายผู้ใช้แรงงานและคนจนเมืองเพื่อการปฏิรูป (อ.ณรงค์ฯ ดูแล),
เครือข่ายพลังสตรีเพื่อการปฏิรูป, เครือข่ายพลังเยาวชนเพื่อการปฏิรูป, เครือข่ายผู้พิการเพื่อการปฏิรูป, เครือข่ายผู้ด้อยโอกาส
เพื่อการปฏิรูป, เครือข่ายภาคธุรกิจกับการปฏิรูป, เครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการปฏิรูป, เครือข่ายศิลปินเพื่อการปฏิรูป
(มีนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นประธาน), คณะกก.จัดสรรทรัพยากรเพื่อความเป็นธรรม, คณะกก.ความยุติธรรมกับการปฏิรูป,
คณะกก.การสื่อสารเพื่อการปฏิรูป
 [2] - - เยอะแยะจนน่าเวียนหัว.!!!

แต่อย่ามึนงง เพราะนี้คือเรื่องของงบประมาณ, เงินทั้งนั้น - พรรคพวก (NGO) ของตัวเองทั้งนั้น ที่เกี่ยวข้อง (กับงบ-เงินเหล่านี้).!!!

เงิน 600 ล้าน ที่ได้มาเพื่อปฏิรูปประเทศ เพื่อคนไทยจะได้ปรองดองกัน มันแค่เรื่องจิ๊บ ๆ – ยังต้องใช้เงินอีกเป็น 1000 ล้าน
เพื่อให้คนฝ่ายหนึ่ง (คนสีเสื้อหนึ่ง) เอาเงินภาษีของผู้คนในประเทศ, ไปทำโครงการปฏิรูปประเทศ-ให้คนปรองดองกัน?

“ปรองดอง” เริ่มต้นที่ใครดี - ก็เริ่มต้นที่ตัวคุณนั่นแหละ - เริ่มต้นที่เงินงบประมาณที่คุณถืออยู่นั้นแหละ

“แค่คิดกลับกัน” คุณลองแบ่งปันเงินงบประมาณ ให้กับคนอีกสีเสื้อหนึ่ง, ให้เขาไปทำงานวิจัย, ให้เขาทำกิจกรรม, ให้เขาทำสื่อ,
แล้วเอาผลงานที่ได้ มาเปรียบเทียบกับข้อมูล ที่มาจากอีกฝ่ายหนึ่ง – คุณก็จะเห็นภาพว่าจะปรองดองกันอย่างไร-ต่อไป?
แต่เรื่องแบบนี้ “หัวหน้าโรงงานผลิตภาษา” (แห่งชาติ) กลับคิดไม่เป็น.??? 

นอกจากตัวหัวหน้าโรงงานแล้ว ยังมี “ทีมงานอีกหลายคน” – อย่าให้เอ่ยชื่อเลย (แม้แต่ตัวหัวหน้า ผมยังไม่อยากเอ่ยชื่อ)
พวกคุณจะประดิษฐ์คำพูดอะไรออกมาก็ได้, แต่ถ้ามันไม่ได้ออกมาจาก “หัวใจ”
มันก็แค่ วิธีการทำมาหากินแบบหนึ่ง ก็เท่านั้นเอง.!!!


อ้างอิง
[1] http://www.prachatai3.info/journal/2011/02/33152
[2] http://community.isranews.org/politic/68...10-02.html

“Unfinished Constitution : รัฐธรรมนูญที่ไม่เสร็จ”
http://www.internetfreedom.us/thread-13953.html
เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา รัฐสภาได้ผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญใน 2 เรื่องสำคัญ ๆ คือ เรื่องการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งและเรื่องกระบวนการทำสนธิสัญญา ทุกอย่างเป็นไป “ตามคาด” ของทุก ๆ ฝ่ายว่า อย่างไรเสียรัฐสภาก็คงต้องผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าว แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีข่าวออกมามากมายว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำน​วนหนึ่งไม่เห็นด้วยก็ตาม ในวันนี้จึงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมม​ีผลใช้บังคับแล้วเพราะนายกรัฐมนตรีได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้หลายครั้งว่าจะยุบสภา ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนี้เองที่ผมวิตกกังวลมากเพราะโดยปกติทั่ว ๆ ไปแล้ว เมื่อรัฐธรรมนูญเปลี่ยนระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ก็จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งใหม่ให้สอดคล้อง​กับรัฐธรรมนูญ เรื่องดังกล่าวรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ได้บัญญัติวิธีการไว้ในมาตรา 7 วรรคแรกว่า ให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนู​ญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตาม ในวรรคสองของมาตราดังกล่าวกลับกำหนดบทยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 7 วรรคแรกเอาไว้อย่างไม่สมควรอย่างยิ่งคือ ให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งส​มาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อใช้บังคับกับกา​รเลือกตั้งในกรณีที่รัฐสภาไม่สามารถจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้ทันการเลือกตั้งส​มาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยในมาตรา 7 วรรคสองตอนท้ายยังได้ระบุต่อไปอีกว่า ให้ข้อกำหนดตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่งกฎ​หมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในส่วนที่ขัดหรือแย้งก​ับรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งก็หมายความว่า ประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จัดทำโดยคนเพียง 5 คน มีศักดิ์ “เทียบเท่า” พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่จัดทำโดยรัฐสภาที่มีคน 630 คน และมีกระบวนการจัดทำที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และในตอนท้ายที่สุดต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนที่จะนำ​ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยด้วย
เป็นไปได้อย่างไรครับกับการเขียนรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้ ผมว่านี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ “กฎหมาย” ระดับสูงถูกย่ำยีและถูกทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการจัดทำที่ต้องผ่านตัวแทนของ​ประชาชนและต้องผ่านการตรวจสอบก่อนที่จะมีผลใช้บังคับ ที่ถูกเมื่อรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ ควรให้รัฐสภารีบจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎ​รให้เสร็จโดยเร็ว ไม่ยากครับเพราะมี “แบบ” อยู่แล้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ก็เคยใช้ระบบนี้มาแล้ว ไม่ใช่ผมไม่ไว้ใจคณะกรรมการการเลือกตั้งนะครับ ผมมองดูปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตต่างหาก ผมไม่แน่ใจว่าหากประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ออกมามีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรม​นูญหรือปัญหาอื่นเกิดขึ้น ใครจะเป็นผู้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งครับ ศาลปกครองจะตรวจสอบได้ไหมเพราะการออกประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นการใช้อำนา​จตามรัฐธรรมนูญ หรือจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะตรวจสอบครับ ?? ผมไม่อยากให้เกิดปัญหาที่ไม่มีทางออกขึ้นอีกเพราะจะทำให้การเลือกตั้งมีตำหนิครับ ก็ขอฝากประเด็นนี้ไว้กับรัฐบาลและรัฐสภาด้วยนะครับ ถ้าอยากเลือกตั้งเร็วก็ต้องใช้วิธีเดียวเท่านั้นคือรีบจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว​่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เสร็จหรือโดยเร็วครับ !!!
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ผมมีคำถามอยู่หลายคำถามด้วยกัน คำถามแรกก็คือ ใครได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ครับ !!!
คำตอบของผมมีอยู่แล้ว ไม่ใช่ประเทศชาติและไม่ใช่ประชาชนอย่างแน่นอนที่ได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญคร​ั้งนี้ คนที่ได้ประโยชน์เต็ม ๆ คือนักการเมืองครับ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านต่างก็เป็นผู้ได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญค​รั้งนี้
ทำไมผมจึงกล่าวเช่นนั้น คงจำได้นะครับว่าในช่วงเวลาก่อนที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่การพิจารณา​ของรัฐสภา มีนักการเมืองจำนวนมากออกมาแสดงความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแบ่งเขตเลือกตั้งแล​ะการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อว่า ระหว่าง 400 : 100 กับ 375 : 125 แบบไหนจะดีกว่ากัน ข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและการแบ่งเขตเลื​อกตั้งที่ออกมาจากปากของนักการเมืองแต่ละคนล้วนแล้วแต่ “คำนวณ” มาเป็นอย่างดีแล้วว่า หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น “สูตรไหน” จะทำให้ตนเองหรือพรรคการเมืองของตน “มีโอกาส” เข้าสู่สภาได้มากที่สุด และ “มีทาง” ได้เป็นรัฐบาล ผมยังไม่เคยได้ยินใครพูดเลยว่า “สูตรไหน” จะทำให้เรา “ได้คนดีกว่าที่เป็นอยู่” เข้าสภาเพื่อผลิตกฎหมายที่ดีที่สุดออกมาครับ !!!
เป็นเวลานานมากแล้วที่ “คนไทย” สับสนหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ถ้าจะพูดกันตามทฤษฎีแล้ว หน้าที่หลักที่สำคัญที่สุดของรัฐสภาก็คือการ “ผลิตกฎหมาย” ออกมาให้รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศ กับอีกหน้าที่หนึ่งก็คือ “ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” ไม่ทราบว่าผมเข้าใจเช่นนี้ถูกหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาผมเห็นการทำ “อีกหน้าที่หนึ่ง” ของสมาชิกรัฐสภาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดู “เป็นคนสำคัญเหลือเกิน” ของสังคม แม้ว่าการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อ “ผลิตกฎหมาย” อันเป็นหน้าที่หลักของสภาผู้แทนราษฎรจะ “ล่ม” บ่อยครั้ง แม้ว่าสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างกฎหมายได้ “ช้า” จนไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่ “อีกหน้าที่หนึ่ง” ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งก็ดำเนินการไปได้อย่างดีและไม่มีปัญหา นั่นคือการเป็นตัวแทนประชาชน “ในแบบ” ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “บางคน” และประชาชน “บางคน” ต้องการ ผมคงพูดมากไม่ได้เพราะ “เสี่ยง” เกินไป แต่เข้าใจว่าทุกคนคงพอมองเห็นภาพของการเป็นตัวแทนประชาชน “ในแบบ” ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้นะครับ !!!
ปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะมาจาก “ความไม่รู้หน้าที่” และ “อำนาจ” มากกว่า สังคมไทยเราไป “เกรงกลัว” และ “เกรงใจ” กับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง มีประเทศจำนวนมากในโลกที่สมาชิกรัฐสภาของเขาไม่มีอำนาจพิเศษอะไรเลย ไปไหนมาไหนก็เหมือนพลเมืองปกติทั่ว ๆ ไป ติดต่อราชการก็มิได้มีสิทธิพิเศษอะไรที่แตกต่างไปจากพลเมืองอื่น ๆ จะมีแตกต่างกันบ้างก็เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และการใช้อำนาจหน้าที่ในการทำงานในสภาเท่​านั้น ออกมานอกสภาคนเหล่านั้นก็เป็นพลเมืองเหมือนเราครับ การเป็นผู้แทนประชาชนของเขาก็คือการเข้าไปดูแลกฎหมายที่จะออกมาใช้บังคับไม่ให้ลิดรอ​นสิทธิเสรีภาพหรือมีผลกระทบต่อพลเมือง ผลิตกฎหมายดี ๆ ออกมาให้กับประชาชน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหรือกฎหมายเกี่ยวกับการให้สวัสดิการในรูปแบบ​ต่าง ๆ กับประชาชน รวมทั้งยังมีหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารเพื่อให้ฝ่ายบริหารทำงา​นได้อย่างถูกต้องที่สุด แต่ของไทยเรากลับไม่เป็นเช่นนั้น เอาแค่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่ทุกคนก็รู้กันอยู่ว่าเป็นกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประช​าชน กฎหมายนี้ออกมาโดยนายกรัฐมนตรีที่เกลียดกันเหลือเกิน แต่จนป่านนี้ก็ยังไม่เห็นรัฐสภาของเราคิดที่จะแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เลยครับ ปล่อยให้รัฐบาลเอากฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนอยู่ได้ปีละไม่รู้กี่ครั้งทั้ง ๆ ที่เป็นกฎหมายที่ไม่สมควรนำมาใช้เป็นอย่างยิ่งในประเทศที่เข้าใจกันว่าเป็นประชาธิปไ​ตยมากว่า 70 ปีแล้ว เช่นเดียวกับกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการชุมนุมสาธารณะที่ควรจะต้องมีมานานกว่า 10 ปีแล้ว จนวันนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้นอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้น การดูแลประชาชนในฐานะเป็น “ผู้แทนของประชาชน” ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยเราจึงแตกต่างไปจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของต่างประเทศ​อย่างสิ้นเชิงเพราะเราถนัดดูแลกันเป็น “ส่วนตัว” มากกว่าดูแลผลประโยชน์ของประชาชนในฐานะ “ส่วนรวม” ครับ !!!
ในเมื่อสังคมไทยเรายังคงเวียนว่ายอยู่กับ “ความสับสนในหน้าที่” ทั้งโดยสมาชิกรัฐสภาบางคนและประชาชนบางคน การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบไหน การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งประเภทเขตเลือกตั้งและประเภทบัญชีรายชื่อ จึงไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อประเทศชาติและประชาชนเลยในภาพรวม แม้จะเกิดการยุบสภาและมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาใหม่ เราก็คงไม่ได้อะไรมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงเป็นการแก้ที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน​เลยครับ
เมื่อใดเราจึงจะได้รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย ? เป็นคำถามที่สองที่ผมเพียรพยายามถามมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่มีคำตอบ !!!
คงจำกันได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ว่ากันว่า “ดีเหลือเกิน” เป็นรัฐธรรมนูญที่บางคนเรียกว่า“รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ได้อย่างเต็มปาก เป็นรัฐธรรมนูญที่ทำให้เกิดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขึ้นในประเทศไทย จริงอยู่แม้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 จะไม่สามารถ “ปราบ” คนโกงได้อย่างสิ้นซาก แต่ก็ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ไปได้อย่างสวยงาม แต่ต่อมา เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะรัฐประหารก็ฉีกรัฐธรรมนูญของประชาชนทิ้งโดยไม่ให้เหตุผลใด ๆ เลยว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ไม่ดีตรงไหน !!! หากเรามองดูด้วยใจเป็นธรรม ในสายตาของนักวิชาการ แม้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 จะมีตำหนิอยู่หลายส่วน แต่ก็เป็นตำหนิที่แก้ไขได้ การกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจแต่งตั้งบุคคลเข้าไปสู่องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการ​กำหนดให้วุฒิสภาเป็นหนึ่งในองค์กรที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทำให้ “การเมือง” พยายามเข้าไป “ครอบงำ” วุฒิสภา เริ่มตั้งแต่การเข้าสู่ตำแหน่งไปจนถึงการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ส่วนนี้เองที่เป็น “ตำหนิใหญ่” ของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่เป็นตำหนิที่สามารถแก้ไขได้ไม่ยากหากคิดจะแก้ไข เพราะฉะนั้น การที่คณะรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ทั้งฉบับ จึงเป็นการกระทำที่ “ขาดตรรกะ” ของการแก้ปัญหาของประเทศอย่างถูกต้อง ซึ่งตรรกะของการแก้ปัญหาของประเทศอย่างถูกต้องนี้คงไม่มีอยู่ใน “ความคิด” ของคณะรัฐประหารเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อคณะรัฐประหารวางกลไกของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การ “คัดคน” เข้าไปเป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญก็ “สะท้อน” ให้เห็นถึงการ “ขาดตรรกะ” ของการแก้ปัญหาของประเทศอย่างยั่งยืนเช่นกัน
จริงอยู่ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 “บางคน” มีความรู้ความสามารถ “เพียงพอ” ที่จะเข้าไปร่างรัฐธรรมนูญเพื่อนำมาใช้กับคน 60 กว่าล้านคน แต่เมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จ มาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ก็ได้ “ทำลาย” คุณค่าของทั้งผู้ร่างรัฐธรรมนูญและคุณค่าของความเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไปจนหมดสิ​้น ก่อนที่จะมีการออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 จึงเกิดเสียงพูดออกมาจากหลาย ๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายผู้ร่างรัฐธรรมนูญเองที่กล่าวว่า“รับไปก่อน แก้ทีหลัง” ซึ่งก็หมายความว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านการออกเสียงประชามตินั้น น่าจะเป็น “รัฐธรรมนูญที่ไม่เสร็จ” เพราะยังต้องถูกแก้ไขอีกภายหลังจากที่ผ่านการออกเสียงประชามติและมีผลใช้บังคับไปแล้​ว
แต่ประเด็นสำคัญก็คือ “แก้ทีหลัง” ที่ว่านี้จะต้องไปแก้เรื่องใดบ้าง และแก้เพื่ออะไร เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีคำตอบที่เป็นรูปธรรมจากฝ่ายใด คงมีความเห็นประปรายหลากหลายจากนักวิชาการบ้าง จากสื่อมวลชนบ้างในบางเรื่อง รวมทั้งข้อเสนอให้ “ตัด” มาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญออกไปด้วย แต่เมื่อไม่มีใครเสนอว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นใด รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 จึงยังคงใช้บังคับอยู่เสมือนหนึ่งว่า “ไม่มีตำหนิ” อะไรเลย ผู้คนพากันลืมไปหมดว่า “รับไปก่อน แก้ทีหลัง” คืออะไร จนกระทั่งเกิดการแก้รัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาที่รัฐบาลพยายามให้ข้​อมูลในตอนต้นว่า เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสมานฉันท์ในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเมือง แต่ถ้าหากเราพิจารณาอย่างเป็นกลางแล้วก็จะพบว่า การแก้รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการสร้างความสมานฉันท์หรือเรื่องปฏิรูปการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้นเลยครับ
“ทำอย่างไรเราจึงจะได้รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย ?” จึงเป็นคำถามที่สามที่เป็นสิ่งซึ่งนักวิชาการจำนวนหนึ่งรวมทั้งผมด้วย “ถามหา” อยู่ตลอดครับ !!!
การมีรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราทราบปัญหาที่แท้จริงของประเทศ​และกำหนดทิศทางของประเทศอย่างชัดเจนสำหรับอนาคตครับ !!!
มีหลายเรื่องที่จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาของประเทศที่เกิดจาก “รัฐธรรมนูญ” และเป็นปัญหาที่“สะสม” มาตั้งแต่สมัยที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มีผลใช้บังคับได้ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่ผมพยายามพูดมาหลายครั้งแล้วเพราะคิดว่านี่คือปัญหาและอุปสรรค​สำคัญประการหนึ่งของระบบการบริหารประเทศคือเรื่องขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งในองค์กรต​ามรัฐธรรมนูญที่ในทุกวันนี้ดูยังไงส่วนใหญ่แล้วก็ “ยังไม่ใช่” อยู่ดี เพราะโดยปกติทั่ว ๆ ไปแล้ว คุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้าไปอยู่ในองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่จะต้องทำหน้าที่ “ตรวจสอบ” การใช้อำนาจรัฐจะต้องมีความ “โดดเด่น” กว่าบุคคลอื่น ๆ ในอาชีพเดียวกัน มีตัวอย่างที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ได้เชิญตุลาการรัฐธรรมนูญจากประเทศฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ Jean Claude Colliard มาบรรยาย ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้นี้เป็นอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Paris I มีผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมากมาย การเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญของเขาจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องตรงกับความถนัดของตน ในขณะที่บ้านเรานั้น ผมไม่แน่ใจว่ามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใดบ้างที่เคยแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญและเ​จนจัดทางด้านรัฐธรรมนูญมากกว่าคนอื่น ๆ หรือไม่ก็เคยเขียนตำราหรือหนังสือทางวิชาการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ “ก่อน” ที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เรื่องคุณสมบัติของบุคคลคงไม่จำกัดอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญแต่เพียงแห่งเดียว เพราะทุกวันนี้ในทุกองค์กรตรวจสอบที่ต้องใช้ “นักกฎหมาย” เข้าไปทำงาน เราก็จะพบแต่“นักกฎหมาย” ที่มาจาก “ศาล” หรือ “อัยการ” ซึ่งถนัดในการใช้ “กฎหมายเอกชน” เพราะ “ใช้กฎหมายเอกชน” ในการทำงานมาเป็นสิบ ๆ ปี จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมในบางครั้ง “ผลงาน” จึงออกมาแปลก ๆ และขัดกับ “หลักกฎหมายมหาชน” ครับ
การได้คนที่มีความสามารถที่สุดในประเทศ มีความเจนจัดที่สุดในประเทศในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของตนโดยตรง เข้ามาทำงานในองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้กลไ​กในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเรามีความสมบูรณ์ขึ้นครับ เมื่อกลไกการตรวจสอบใช้ได้ผลดี เราก็จะได้คนดีเข้าสู่รัฐสภา เราก็จะได้คนดีเข้ามาบริหารประเทศ คนเหล่านั้นก็จะเข้ามาช่วยทำให้กฎหมายเป็นกฎหมาย เป็นสิ่งที่ใช้กับทุกคนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน เมื่อถึงวันนั้น ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติและสองมาตรฐานจะหมดไป ความปรองดองและสมานฉันท์ก็จะกลับมาสู่สังคมของเราครับ
การกำหนดทิศทางของประเทศอย่างชัดเจนเพื่อแก้ปัญหาสำคัญของประเทศเป็นอีกเรื่องหนึ่งท​ี่รัฐธรรมนูญของเรายังขาดอยู่ เมื่อรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอาภาษีอากรจำนวนมากมาใช้ในการสร้างระบบประชานิยม รัฐบาลต่อ ๆ มาก็ทำตาม รัฐบาลปัจจุบันก็ทำตาม ทุกรัฐบาลให้ข้อมูลกับประชาชนเหมือนกันหมดว่าเป็นโครงการของรัฐบาล เป็นนโยบายของรัฐบาล แต่จริง ๆ แล้วโครงการเหล่านี้ใช้เงินของประเทศที่มาจากภาษีอากรหรือจากการกู้ยืม การให้ข้อมูลด้านเดียวกับประชาชนว่าเป็นโครงการของรัฐบาลจึงเป็นการสร้างคะแนนนิยมให​้กับตนเองอย่างไม่ถูกต้อง ทุกวันนี้ในเมื่อประชาชนเคยชินกับประชานิยมและประชาชนต้องการสวัสดิการต่าง ๆ เท่าที่รัฐจะให้ได้ จึงเป็นการดีหากเราจะกำหนดทิศทางของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความเป็นรัฐส​วัสดิการไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยการเป็นรัฐสวัสดิการนี้หมายความว่า ในรัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดประเภทของสวัสดิการที่รัฐจะให้กับประชาชนไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งกำหนดที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดทำสวัสดิการเหล่านั้นด้วย ซึ่งก็หมายความว่ารัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดประเภทของภาษีที่จะต้องเรียกเก็บเอาไว้ให้ชั​ดเจน เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดินส่วนที่เกินความจำเป็น เป็นต้น และเพื่อให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วควรมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่จัดทำแผนแ​ละขั้นตอนการให้สวัสดิการแก่ประชาชนโดยหน่วยงานนี้จะต้องจัดทำหลักเกณฑ์ในการให้สวัส​ดิการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดและร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษีประเภทใหม่ ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเพื่อนำมาใช้ในการจัดทำสวัสดิการเอาไว้ ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็จะมีภารกิจเดียวกันคือ เก็บภาษีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเพื่อนำมาจัดทำสวัสดิการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้แก่ป​ระชาชน หากเป็นเช่นนี้ รัฐบาลหรือพรรคการเมืองก็จะไม่สามารถมาทวงบุญคุณกับประชาชนได้ว่าเป็นนโยบายของตนเอง​ดังเช่นที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
เกี่ยวเนื่องกับเรื่องดังกล่าว หลายประเทศมีกฎหมายงบประมาณ 2 ฉบับ กฎหมายงบประมาณทั่วไปสำหรับการบริหารประเทศและกฎหมายงบประมาณเกี่ยวกับการให้เงินอุด​หนุนสวัสดิการสังคมที่จะต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินก่อ​นที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้มั่นใจว่างบประมาณถูกต้อง ไม่รั่วไหลและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้แล้ว หากเราสามารถทำให้คนที่จะเข้ามาเป็นสภาชิกรัฐสภามีความหลากหลายมากขึ้นและเป็นตัวแทน​จากประชาชนที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ มากขึ้น ก็จะทำให้เราได้กฎหมายต่าง ๆ ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในวงกว้างมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจต้องคิดถึงการปรับคุณสมบัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใหม่ให้มีที่ม​าจากตัวแทนสาขาวิชาชีพดูก็ได้ครับ หากทำได้สำเร็จเราก็จะได้คนที่เป็นตัวแทนของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริงเข้ามาช​่วยผลิตกฎหมายซึ่งน่าจะเป็นกฎหมายที่ดีกว่ากฎหมายที่ผลิตโดยนายทุนของบรรดาพรรคการเม​ืองที่เข้ามาครับ !
ทั้ง 2 เรื่องที่กล่าวไปนี้เป็นสองเรื่องที่หากนำไปปรับปรุง “รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540” แล้วก็จะทำให้เราได้องค์กรตรวจสอบที่มีความสามารถและได้รัฐธรรมนูญที่มีการกำหนดทิศท​างของประเทศอย่างชัดเจน พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปครับ
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่เพียง 2 เรื่องที่กล่าวไปข้างต้นนี้จะทำให้เราได้รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยครับ ยังมีประเด็นอื่นอีกมากมายที่ยังต้องค่อย ๆ คิดต่อไป ไม่ว่าจะเป็นวิธีการได้มาซึ่งบุคคลที่จะเข้าไปอยู่ในองค์ตามรัฐธรรมนูญที่แม้รัฐธรรม​นูญฉบับปี พ.ศ. 2550 จะพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวแล้วแต่ก็ยัง “ทำไม่สำเร็จ” ปัญหาของความล่าช้าไม่ทันการของกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ “ในบางเรื่อง” จนทำให้เกิดคำว่า “สองมาตรฐาน” ขึ้นในสังคมไทย ปัญหาเกี่ยวกับที่มาและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาว่า สมควรให้มีอำนาจหน้าที่ในการ “ตรวจสอบ” ฝ่ายบริหารอยู่หรือไม่หรือควรยกอำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้ “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ไปทำหน้าที่เพราะมีความเหมาะสม รวมถึง “ศาลปกครอง” ที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายัง “สับสน” กับอำนาจหน้าที่ของตนในบางเรื่องจนทำให้มีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า เป็นอุปสรรคของการบริหารราชการแผ่นดินมากกว่าแก้ไขข้อขัดข้องของการบริหารราชการแผ่น​ดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ หาทางแก้ไขและนำไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อความชัดเจนครับ !!!
ก่อนเขียนบทบรรณาธิการครั้งนี้ ผมนั่งฟังเพลง Unfinished Symphony หมายเลข 8 ของ Schubert นั่งคิดเปรียบเทียบระหว่างเพลงกับรัฐธรรมนูญก็เห็นว่ามีอะไรคล้าย ๆ กัน คือแม้ผู้แต่งเพลงจะตายไปก่อนแต่งเพลงเสร็จ แต่เพลงก็มีคุณค่าและสามารถนำมาเล่นได้แถมยังเพราะเสียด้วย ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ของเราก่อนที่จะมีผลใช้บังคับ ก็มีผู้บอกว่า“รับไปก่อน แก้ทีหลัง” ซึ่งก็หมายความว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเขียนไม่เสร็จเหมือนกัน แต่ก็ถูกนำมาใช้อยู่ได้หลายปี อย่างไรก็ตาม เมื่อเขียนบทบรรณาธิการครั้งนี้จบและพยายามมองปัญหาของประเทศอย่างลึกซึ้งก็พบว่า น่าจะเปลี่ยนชื่อบทบรรณาธิการใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยชื่อใหม่น่าจะเป็น “Unbegun Constitution : รัฐธรรมนูญที่ยังไม่ได้เริ่มเขียน” ชื่อใหม่นี้น่าจะสอดคล้องกับเหตุการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันมากกว่า เพราะแม้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 จะพยายามแก้ปัญหาของประเทศที่มีมาตั้งแต่การใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 แต่ก็ทำไม่สำเร็จ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็ไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาของประเทศที่มีอยู่ได้เ​ลย ฉะนั้น หากจะทำรัฐธรรมนูญที่ดีและต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญถาวรสำหรับประเทศไทยในระยะยาว การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับประเ​ทศไทยเพราะการตั้งต้นใหม่จะสามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ดีกว่าการแก้รัฐธรรมนูญทีละปร​ะเด็นสองประเด็นที่นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรมากมายแล้ว การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบก็เกิดขึ้นได้ยากอีกด้วยครับ !!!
ในสัปดาห์นี้ เรามีบทความมานำเสนอเพียงบทความเดียว คือ บทความเรื่อง "คณะรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส (ตอนที่ 1)" บทความดังกล่าวเป็นบทความที่ตัดมาจากส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "เขตอำนาจของมติคณะรัฐมนตรี : ศึกษากรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ที่ผมและคณะได้จัดทำขึ้นและเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปเมื่อปีที่ผ่านมาครับ​

พบกันใหม่วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554

ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
http://www.pub-law.net/
ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อัดแก้รธน. 2 มาตราไม่ได้ตอบโจทย์แก้ปัญหาปรองดอง เสนอขึ้น"บัญชีดำ"คนยกร่างรธน.ปี50http://www.internetfreedom.us/thread-13955.html
ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญชุดที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน ให้สัมภาษณ์ในรายการช่วยกันคิด ทิศทางข่าว สถานีวิทยุเอฟเอ็ม 100.5 อสมท. เมื่อวันที่ 21 พ.ย. ในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ ว่า เข้าใจได้ว่าเป็นกรรมการคณะนี้แต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมมีเหตุผลส่วนตัวและหลายเรื่อง​เท่าที่ได้ทราบข้อมูลคิดว่าจะเป็นการแก้รัฐธรรมนูญที่มีแต่นักวิชาการและนักกฎหมายด้​วยกัน เป็นการแก้ทั้งระบบ แต่พอได้ทราบชื่อเห็นว่ามีคนที่ไม่ได้เป็นนักกฎหมายก็มีคนที่เคยเป็นตัวตั้งตัวตีเขี​ยนรัฐธรรมนูญฉบับเก่าแถมยังมีโจทย์ที่จะดูแค่ 6 ประเด็นจึงไม่ได้เข้าประชุม

ผู้ดำเนินรายการถามว่ากรอบของอาจารย์นันทวัฒน์ใหญ่กว่านั้นไม่ใช่แค่ 6 ประเด็น

ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า ต้องไปดูก่อนว่านายกฯตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเมื่อไหร่ซึ่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ข​ึ้นมาแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังจากที่มีปัญหา และตั้งมาในระยะเวลาใกล้เคียงกับคณะปรองดองทั้งหลาย คำถาม คือว่า การแก้รัฐธรรมนูญทำให้เกิดการปรองดองได้จริงหรือเปล่าเพราะเอาไปผูกติดกันเข้าก็ต้อง​ลองดู ถ้าสังคมออกมาพูดว่าเราต้องปรับโครงสร้างประเทศให้เป็นรัฐสวัสดิการซึ่งหมายความว่า ต้องรื้อรัฐธรรมนูญใหม่ต้องดูหลายๆเรื่อง การวางระบบสวัสดิการ งบประมาณ ซึ่งประเทศที่เขามีรัฐสวัสดิการเขาวางหมวดกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแยกเป็นห​มวดสวัสดิการ แต่พอโจทย์มันเหมือนกับชุดที่นายดิเรก ถึงฝั่ง สว.นนทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ทำมันจึงไม่ใช่การแก้เพื่อจะปรองดองหรือยุติปัญหามั​นก็ไม่มีประโยชน์

ผู้ดำเนินรายการถามจาก 6 ประเด้นของอาจารย์สมบัติ ทำให้รัฐบาลเลือกไปแค่ 2 ประเด็นในการแก้จริงๆในรอบนี้คือเรื่องเกี่ยวกับเขตเลือกตั้งใหญ่ไปสู่เล็กและมาตรา 190 เรื่องสนธิสัญญาที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภา 2 ประเด็นนี้คิดว่าเอาอยู่หรือไม่ในแง่การขออนุมัติจากสภา

"ผมไม่แน่ใจว่าสภาคิดยังไง ในฐานะประชาชนถามว่าผมเห็นด้วยหรือไม่ ผมตอบได้เลยว่าไม่เห็นด้วยเพราะสองประเด็นนี้ไม่คิดว่ามันจะเกี่ยวอะไรกับเรื่องปรอง​ดองและเรื่องปฏิรูปการเมืองเลย เพราะว่าโจทย์ใหญ่จริงๆมันไปไกลกว่านั้นเยอะ ถ้าเราดูปัญหาของประเทศตามรัฐธรรมนูญปี 2540 จะเห็นว่ามีแต่คนบอกว่าดี แต่กลไกการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญปี 2540 ใช้ไม่ได้เลย และกลไปที่ใช้ไม่ได้ก็มีที่มีจาก 2-3 ฐาน ซึ่งมีที่มาจากฐานที่ 1 คือ วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ฐานที่ 2 ให้วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งแต่งตั้งคนให้เข้าไปอยู่ในองค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนู​ญ หากจะแก้ปัญหาของประเทศกันจริงๆต้องเข้าไปดูในจุดนี้ ไม่ได้ไปดูว่าเลือกตั้งแบบเขตเดียวหรือคนเดียวรวมทั้งมาตรา 190 คิดว่าประชาชนและประเทศชาติจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะมันเป็นการแก้เลือกเรื่องตั้งเพื่อการเมืองเพราะก็ไม่มีแบบไหนที่จะดีกว่ากันเพ​ราะแต่ละประเทศก็ใช้ต่างกัน เหมือนกับการปกครองในบ้านเรา บางประเทศก็มีวุฒิสภามาจากท้องถิ่นและอื่นๆ ระบบเลือกตั้งเหมือนกันขึ้นอยู่กับประเทศนั้นๆว่าจะดีไซน์ออกมาแบบไหน ผมไม่คิดว่ามันจะมีปัญหาอะไรทั้งนั้น ผมตอบไม่ได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะเลือกหรือไม่เลือกเพราะมันไม่มีเกณฑ์เลยว่าถูกผิด ขาวหรือดำ เพราะทั้งสองระบบเขาใช้กันทั้งนั้น ส่วนมาตรา 190 เข้าใจว่าถ้ารีบออกกฎหมายมาตั้งแต่ต้นป่านนี้ก็คงจบแล้ว ตั้งแต่ออกรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือถ้าแย่กว่านั้นถ้าออกไม่ได้กระทรวงการต่างประเทศในฐานะหน่วยงานที่มีความรู้เรื่​องสนธิสัญญามากที่สุดก็ทำบัญชีออกมาว่าสนธิสัญญาประเภทใดบ้างที่ควรเข้าสภาหรือตกลงไ​ด้เลย ทั้งสองประเด็นไม่มันได้เป็นการแก้ปัญหาของประเทศเลยในความเห็นของผม" ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าว

พิธีกรถามว่าเป็นไปได้ไหมว่าจริงๆอยากเอาสองประเด็นขึ้นเป็นปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนส่ว​นประเด็นภาพรวมให้ไปว่ากันในชุดของคณะอาจารย์ นพ.ประเวศ วสี และนายอนันท์ ปันยารชุน

ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า มันไม่ใช่การแก้ปัญหาเลย ถ้าบอกว่าแก้เพื่อปรองดองอันนี้ไม่ใช่เด็ดขาด มันไม่เกี่ยวอะไรกับปรองดอง เพื่อปฏิรูปประเทศก็ไม่ใช่ เพื่อแก้ปัญหาประเทศก็ไม่ใช่ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญเรายังไม่ได้มีการวิเคราะห์กันอย่างชัดเจนเลย แม้กระทั้ง ส.ว.เขาอาจจะไม่ใช่ปัญหาประเทศก็ได้ที่นำไปสู่การรัฐประหารปี 2549 ต้องดูให้ละเอียดมากกว่านี้ต้องตั้งโจทย์ให้ชัดว่าจะแก้รัฐธรรมนูญไปเพื่ออะไร มีช่วงเวลาหนึ่งของการทำงานภายใต้หน้าตาขึงขังไปทำโน่นทำนี่ฟังความคิดเห็น แต่ในฐานะผู้เสียภาษีเสียดายเงินเพราะไม่ได้นำเงินไปทำประโยชน์อะไรให้กับประเทศชาติ​เลย เพราะกรรมการชุดของนายดิเรก ก็ได้ไปทำเรียบร้อยแล้ว แถมไม่ได้ต่างกันเลย แถมยังไปไกลกว่านั้น การที่รัฐบาลนำแต่ 2 ประเด็นมาแก้คณะกรรมการชุดต่างๆจะว่ากันอย่างไร ทำกันแทบเป็นแทบตามหมดเงินประเทศไปเท่าไร น่าจะมาดูเหมือนกันว่าทั้งเบี้ยประชุมการจัดสัมมนาต่างจังหวัดรับฟังความคิดเห็นใครต​่อใครเยอะแยะไปหมด แต่ที่รัฐบาลแก้แค่ 2 ประเด็นแล้วมันต่างกับชุดของนายดิเรก ขนาดไหน ซึ่งการตั้งคณะกรรมการมันง่าย เพราะบางประเทศตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อเวลาทำให้อะไรก็ได้ไม่มีข้อยุติ แต่ปัญหา คือว่า ระบบแบบนี้มันแก้ปัญหาของประเทศได้หรือไม่

ผู้ดำเนินรายการถามต่อว่าตอนที่จะให้ผ่านรัฐธรรมนูญปี 2550 มาคือการขอประชามติ แล้วการแก้จำเป็นหรือไม่ที่ต้องไปขอประชามติอีกครั้ง

"มันผิดตั้งแต่ขอรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้ว เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ได้มาจากความประสงค์ของประชาชนเลย และรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวแทนประชาชนมากกว่า รัฐธรรมนูญปี 50 ด้วยซ้ำไป ฉะนั้นการขอประชามติปี 2550 ภายใต้แรงกดดันแรงคัดค้าน คือ แม้แต่คนร่างรัฐธรรมนูญยังบอกให้รับไปก่อนแล้วมาแก้ทีหลังคิดว่ามันต้องถาวรทำให้คุณ​ค่าน้อยมาก เพราะผ่านการเขียนมาที่ไม่เป็นระบบ เขียนมายังไงก็แก้ปัญหาไม่ได้ ในบางประเทศเขาขอเสียงประชามติจากประชาชนแต่ไม่ได้ออกเสียงประชามติแล้วค่อยแก้ แต่ต้องแก้เสร็จแล้วถึงไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ไม่ใช่ถามประชาชนแก้หรือไม่ ในเมืองรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภาเป็นคนแก้ก็แก้ไป แต่ก่อนที่จะมีผลใช้บังคับแล้วให้ประชาชนลงมติเห็นสมควรในการบังคับใช้ตามที่แก้หรือ​ไม่ " ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า

ผู้ดำเนินรายการถามว่าในฐานะที่อาจารย์เป็นนักวิชาการจะเอาอะไรดีระหว่างรธน.50 หรือทิศทางการแก้รัฐธรรมนูญ

"เป็นเรื่องที่น่าเสียใจ ผมเข้าใจว่ามีนักการเมืองและนักวิชาการหลายคนที่ฟัง อาจารย์หลายคนที่พูดมีนักวิชาการหลายคนที่พูดแต่บังเอิญนักวิชาการที่พูดกับคิดและนั​กการเมืองที่ฟังดันเป็นคนที่อยู่นอกกรอบอำนาจทั้งหมด ฉะนั้นเวลาที่จะเลือกเขาจะเลือกนักวิชาการที่แก้รัฐธรรมนูญตรงกับใจเขาไปทำ จริงๆมีหลายกลุ่มที่มีแนวความคิดว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับอย่างไรบ้าง ถ้าถามผมจริงๆแล้ววันนี้ต้องดูทั้งระบบง่ายๆ คือ จะเอารัฐธรรมนูญปี 2550 และปี 2540 มาดูในสองส่วน ส่วนแรกดูในเรื่อง เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง และสองดูปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญตัวบทในรัฐธรรมนูญเองหรือไม่ชองทั้งสองฉบับ หรือเกิดขึ้นจากการที่คนไปใช้ช่องว่าง และหลีกเลี่ยงการใช้รัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นส่วนเนื้อหาก็แก้ไป แต่ถ้าเป็นเรื่องของคนใช้ซิกแซกหาช่องทางอันนี้ก็ต้องซิกแซกหาช่องอุดเช่นเดียวกัน มันไม่ควรเป็นบรรยากาศ 3 วัน 7 วัน ต้องให้นายกฯมากล่าวเปิดถึงเวลาก็ต้องมานั่งรายงานสื่อมวลชน คือ ต้องทำทางวิชาการเงียบๆไปก่อนพอถึงเวลาแล้วค่อยเข้ากระบวนการอย่างที่สากลทำกัน พอทำเสร็จแล้วก็เอาร่างประชามติให้คนลงความเห็นไปเลย หรือจะปล่อยออกมาทีละหมวดก็ได้ มันมีหลายรูปแบบมากแต่ไม่ใช่ที่ทำกันอยู่ในขณะนี้ ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า

พิธีกรถามว่าในแง่ของฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยถ้าดีที่สุดต้องใช้รธน.เป็นฐานและตั้งคำถามว่าหากรธน.ไม่ผ่านสภารัฐบาลต้องรับผิดชอบ ความรับผิดชอบของรัฐบาลมีมากน้อยแค่ไหน

ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า รัฐบาลก็มีความรับผิดชอบทุกเรื่อง ไม่ว่าคณะรัฐมนตรีหรือประเด็นที่เดือดร้อนกันอยู่ของศาลรัฐธรรมนูญมันเป็นเรื่องที่จ​ะหาคนรับผิดชอบได้อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องคิด มันขึ้นอยู่กับนักการเมืองเราไปบังคับเขาไม่ได้และการที่เขาคิดว่าการเสนอร่างกฎหมาย​สำคัญแล้วตกในสากลประเทศรัฐบาลต้องลาออก เขาก็ต้องออกแต่ถ้าคิดว่ารัฐบาลต้องอยู่เพื่อแก้ปัญหาของประเทศกลัวว่าจะมีช่องว่างเ​หมือนที่ชอบพูดกันก็อยู่ต่อไป ไม่มีใครว่าอะไรเพราะวันนี้ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่านี้แล้ว เราผ่านจุดที่แย่ที่สุดมาแล้วและเรายังอยู่ในจุดที่แย่ที่สุดทางด้านวิชาการ ด้านความคิดเพราะฉะนั้นทำหรือไม่ทำก็มีค่าเท่ากัน คิดว่ามันไม่แปลกใจที่รัฐบาลจะลาออกหรือไม่ลาออกถ้าลาออกน่าจะแปลกใจมากกว่า

ผู้ดำเนินรายการถามว่าอาจารย์อยากให้แก้รธน.เป็นระบบและรัฐบาลไม่ควรลุกลี้ลุกล้นที่จะทำถ้าไม่ทันก็ให้ยกไปในรัฐบาลหน้า

ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญยังมีอีกหลายแนวความคิดอาจจะต้องจัดการเรื่องวิธีคิดให้ลงตัว บางแนวความคิดที่เชื่อว่าเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ประชาชนทุกส่วนมีสิทธิทำไ​ด้ แต่บางคนก็บอกว่ามีแค่นักวิชาการที่ทำได้ เหมือนการสร้างบ้านในต่างจังหวัดถ้าสร้างไม่เป็นก็ต้องไปเกณฑ์ชาวบ้านให้มาช่วยสร้าง​บ้านมันก็อยู่ได้ กับวันนี้ที่เรามีวิศวกรที่มีความรู้ความเจนจัดทางด้านนั้นโดยเฉพาะมีประสบการณ์เราก​็ต้องเลือกคนที่มีประสบการณ์การทำงานมาทำงาน ไม่ใช่เลือกคนที่เป็นคู่สัมปทานกับรัฐ แค่สร้างถนนยังต้องเอาคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วทั้งนั้นเลย แล้วไม่ใช่พวกที่มีประสบการณ์อย่างเดียวถ้าคนที่มีประสบการณ์ทำไม่ดีก็ขึ้นบัญชีดำด้​วย เช่น คนที่ทำรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้วทำออกมามีปัญหาเงียบกันหมด คนพวกนี้ต้องขึ้นบัญชีดำอย่าไปให้ยกร่างอีกเลย เหมือนผู้รับเหมาทำงานไม่สำเร็จปล่อยให้คนอื่นทำดีกว่า มีคนอีกตั้งเยอะแยะที่คิดว่าน่าจะทำได้ ก็ต้องไปดูเอาเอง

"ผมเองก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองมีความสามารถพอส่วนใครที่มีความสามารถก็ต้องไปดูเอาเองควร​ต้องศึกษาอย่างเป็นระบบ มีคนบอกว่า รธน.ปี 40 ดี บางคนก็บอก รธน.ปี 50 ดี แล้วอย่างคนที่เข้ามาเป็นกรรมการแก้ 50 ก็ไม่เห็นพูดว่าปี 40 กับ 50 อันไหนดีกว่ากันก็เห็นเงียบกันอยู่ รับแต่เบี้ยประชุมและมีตำแหน่งกันไป"

ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ฉะนั้นมันต้องมาสรุปกันก่อนว่า รธน.ปี 40 กับ รธน.ปี 50 ใหม่ กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันอันไหนมันจะดีกว่ากันเท่านั้นเอง อันไหนมีปัญหาแล้วมาแก้ปัญหาเรื่องง่ายๆ แต่ต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่างคือ คนที่เป็นกลางจริงๆ คนที่มีความชำนาญและต้องอยู่ในบรรยากาศที่ไม่ต้องมีใครมายุ่งมากมาย อาจจะใช้เวลา 6เดือน ถึง 1 ปี ทำเสร็จแล้วอาจจะหากระบวนการที่เหมาะสมมารองรับ อาจจะทำเสร็จแล้วยกให้รัฐสภาไปเลย รัฐสภาก็เอาไปดีเบตจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยยังไง พอถึงเวลาจบยังไงก็นำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติแค่นั้นเอง ร่างที่คณะกรรมการทำกับร่างที่รัฐสภาแก้ประชาชนจะเอาร่างไหน ถ้าประชาชนเลือกร่างที่คณะกรรมการทำสภาก็ต้องยุบไปเพราะถือว่าทำงานไม่ได้

"ขอให้เริ่มทำเพื่อตอบโจทย์สำคัญซึ่งรัฐบาลได้ตั้งมาแล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องปรองดอง กับเรื่องปฏิรูปการเมือง ต้องตอบโจทย์อันนี้ไม่ใช่ว่าเขาเสนอมา 5 แล้วรัฐบาลเลือกมา 2 ซึ่งตัวเองพูดเองจะแก้ปัญหาแต่ถึงเวลาแล้วไม่ตอบโจทย์จะทำกันไปทำไมไม่เข้าใจ" ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าว

ผู้ดำเนินรายการถามว่าทราบว่าอาจารย์เองก็เตรียมร่างรัฐธรรมนูญตุ๊กตาไว้

ศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า ยังไม่มี เพียงแต่หาโปรเจควิจัยไว้กับนักกฎหมายรุ่นๆเดียวกันลองดูว่าถ้าทำออกมาแล้วจะแก้ปัญห​าประเทศได้ต้องทำอย่างไรจะทำเป็นโปรเจควิจัยไม่เกี่ยวกับใครทั้งนั้น

http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1530
เล่นคาถา ( พรรค จอมหน้าด้าน ) ข่าวสดเช้านี้

http://www.internetfreedom.us/thread-13964.html
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7387 ข่าวสดรายวัน


เล่นคาถา คอลัมน์ เหล็กใน

มันฯ มือเสือ

ไม่มีใครรู้ว่าบังเอิญหรือจงใจ

เรื่องที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์

ออกมาโยนหินถามทางถึงผลเลือกตั้งในอนาคต

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้รับเลือกส.ส.รวมทั้ง 2 ระบบมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้าคะแนนรวมในส่วนส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ชนะขาด

ใครจะเป็นฝ่ายได้ฟอร์มรัฐบาลก่อน

ดันไปตรงกับกรณีคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญชุดที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ นั่งเป็นประธาน

เสนอแก้รัฐธรรมนูญปรับโครงสร้างการเมือง ให้หัวหน้าพรรคที่ได้รับคะแนนสูงสุดจากระบบปาร์ตี้ลิสต์ มีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาลและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แต่ไม่ว่าจะบังเอิญหรือรู้กันมาก่อน

สรุปคือทั้ง "สูตรกอร์ปศักดิ์" หรือ "สูตรสมบัติ" โดนถล่มเละด้วยกันทั้งคู่

โดยคนที่ออกมาถล่ม ถ้าไม่นับรวมพรรคฝ่ายค้าน ก็มีตั้งแต่คนในพรรคร่วมรัฐบาล หรือแม้แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์เอง ก็ดูเหมือนไม่ค่อยจะเห็นด้วย

ลำพังนายกอร์ปศักดิ์นั้นไม่ค่อยเท่าไหร่

เพราะด้วยตำแหน่งหน้าที่การงานก็ต้องพยายาม "รับใช้" พรรคประชาธิปัตย์อย่างถึงที่สุด เป้าหมายคือทำอย่างไรก็ได้ให้พรรคได้กลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกรอบ

ไม่ได้ด้วยเล่ห์ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ต้องเอาด้วยคาถา

แต่สำหรับนายสมบัติ งานนี้น่าจะโดนหนักหน่อย

เพราะเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ สูตร 375+125 ที่คณะกรรมการ เพิ่งชงให้พรรคแกนนำรัฐบาลผลักดันจนผ่านรัฐสภาไปหมาดๆ

ยังเคลียร์ไม่ได้ว่าเบื้องหลังแอบไปมีนอกมีในอะไรกับพรรคประชาธิปัตย์ หรือเสนอไปตามความบริสุทธิ์ใจ

แม้แต่ตัวนายสมบัติเอง ตอนแรกที่นายกฯ อภิสิทธิ์ดึงเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้

ก็ถูกใครต่อใครหลายคนนินทา กล่าวหาเป็นนักวิชาการในสายพรรคประชาธิปัตย์

แต่สังคมก็ยังเปิดโอกาสให้ใช้ผลงานเป็นเครื่อง พิสูจน์

เมื่อครั้งเสนอสูตรที่มาส.ส. 375+125 ตอนนั้นก็ยังไม่แน่ใจ

แต่พอมาเรื่องล่าสุด เสนอให้หัวหน้าพรรคที่ได้รับคะแนนสูงสุดจากระบบปาร์ตี้ลิสต์ เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลและเป็นนายกรัฐมนตรี

แถมยังคลิกกันพอดีกับไอเดียนายกอร์ปศักดิ์

เลยหายสงสัยเป็นปลิดทิ้ง

คนฆ่าลอยนวล ( นายกฯ ทรราชย์ ) ข่าวสดเช้านี้

http://www.internetfreedom.us/thread-13972.html
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7387 ข่าวสดรายวัน

คนฆ่าลอยนวล คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
สับไก กระสุนธรรม

มี รายงานอีกฉบับเกี่ยวกับชะตากรรมนักข่าวทั่วโลกในปี 2553 เพิ่งแถลงในสัปดาห์นี้ เป็นของคณะกรรมาธิการคุ้มครองนักข่าวในนครนิวยอร์ก สหรัฐ อเมริกา หรือ CPJ

สรุปตัวเลขนักข่าวที่ถูกสังหารทั่วโลก อย่างน้อย 44 ราย ถูกจำคุก 145 ราย

ประเทศที่มีนักข่าวถูกสังหาร ปรากฏชื่อ "ไทยแลนด์" อีกรอบ จากเหตุ การณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.2553

หนึ่งรายคือ นายฮิโร ยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของรอยเตอร์ ซึ่งผลการสอบสวนที่ดีเอสไอแถลงเมื่อ 20 ม.ค.54 จัดอยู่ในกลุ่มที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง

อีกชีวิตคือ นายฟาบิโอ โปเลงกี นักข่าวอิตาลี อยู่ในกลุ่มที่ไม่รู้ว่าใครสังหาร

"ไทยแลนด์" ยังมีชื่ออยู่ในความเห็นของรายงานที่เขียนว่า "บรรดาประเทศประชาธิปไตยของเอเชีย เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ดูเหมือนไม่มีศักยภาพในการยกเลิกคำสั่งนิรโทษกรณีที่นักข่าวถูกสังหาร"

กล่าวให้ชัดอีกทีคือ คนที่ฆ่านักข่าวมักลอยนวลไปได้ จากช่องทางของการนิรโทษกรรม

คำสรุปดังกล่าวเป็นเรื่องที่พิสูจน์มาจากอดีต และยังรอการพิสูจน์ต่อไปในอนาคต

คำถามที่ตามมาก็คือ รัฐบาล "ใส่ใจ" หรือไม่ หรือคิดว่าเดี๋ยวเรื่องก็เงียบไปเอง

แต่การปล่อยผ่านในยุคนี้คงไม่ง่าย เพราะมีกลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อสู้ให้คนตายอยู่ทุกวัน

ในประเทศมีกลุ่มเสื้อแดงที่ยังทวงถามความรับผิดชอบต่อคนตาย (รวมถึงคนเป็นที่ยังอยู่ในคุก) ส่วนนอกประเทศมีทนายฝรั่งของกลุ่มเสื้อแดง

การที่มีสมาชิกพรรครัฐบาลขู่อาฆาตว่าต้องเอาตัวนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายคนที่ว่านี้มาเข้าคุกในเมืองไทย เพราะเผยแพร่สมุดปกขาว "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ" จึงเป็นเรื่องน่าขำ

เพราะคนเป็นทนายมีหน้าที่ขุดคุ้ยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อลูกความ หากข้อมูลนั้นเป็นเท็จฝ่ายตรงข้ามจะต้องโต้แย้งและหักล้างด้วยข้อมูลอีกด้าน

ถึงไปจับนายโรเบิร์ตมาได้ แต่ยังเถียงไม่ได้ว่า รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับการตายในเหตุการณ์นี้

มันก็ไม่มีประโยชน์อันใดเลย

มีข้อมูลเชิงลึกที่ยังไม่เคยเปิดเผยมาก่อน...นายกฯไทยกับนายกฯกัมพูชา เป็นญาติกัน!

http://www.internetfreedom.us/thread-13984.html
ข้อมูลเชิงลึก ในระดับตื้นที่สุด!!!!
ที่ไม่ต้องพิสูจน์ DNA บนหลักฐานที่ว่า...
"มีชื่อคล้องจองกัน"


เฮงซวย & ฮุนเซ็น
[Image: 58831849.jpg]
แต่...สติ,ปัญญาและความสามารถ
"ต่างกันอย่างสิ้นเชิง"

.
.
[Image: resistrevcopy.jpg]
.
.
ไม่มีนายกฯของประเทศไหน? ฆ่าประชาชนแล้ว
นั่งบริหารประเทศต่อไปได้...นอกจากสัตว์นรกตัวนี้

[Image: 26980115588661790658100.jpg]
โปรดเชื่อมั่นประเทศไทยกับ
"อภิสิทธิ์ เฮงซวย"

เชื่อมั่นว่า....ประเทศไทยเจ๊งแน่ๆ

ปล้นอำนาจมาบริหาร 2 ปีกว่า ก่อหนี้มากที่สุด มากกว่า นายก 26 คนรวมกัน
กู้มาโกง ไม่ก่อให้เกิดรายได้.....แต่อยากทำสงคราม เบี่ยงเบนความล้มเหลว!
งบซื้ออาวุธ มากกว่างบการศึกษาวิจัยและพัฒนาฯ.....คนไทยจงโง่ต่อไป

เชื่อมั่น...ในสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

"จะหนึ่งคน หรือ หนึ่งแสนคน รัฐบาลก็ต้องรับฟัง"
คนมาเป็นแสน เป็นล้าน......มันก็ไม่ฟัง!!!
อีกซ้ำ ยังเอาทหาร เอารถถัง ตั้งสไนเปอร์ "ไล่ฆ่าประชาชน"

[Image: r4098728363.jpg]
.
.
อย่าลืม!!!!! บ่ายโมงวันนี้.....
เรามีนัดกันที่ "ราษฏรประสงค์"