วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำแถลงการณ์ของศ.ดักลาสส์ แคสเซิลกรณีองค์กรนิรโทษกรรมสากล

ดักลาสส์ แคสเซิล ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทรอ ดามม์,สหรัฐอเมริกา

ที่มา เวบไซต์ Robert Amsterdam

เหตุใดองค์กรนริโทษกรรมสากลจึงยกเลิกงาน “เสวนา” ร่วมกับทนายโรเบริต อัมสเตอร์ดัม โดยงานดังกล่าวเดิมจะจัดขึ้นในวันที่ 23 เมษายน ณ สำนักงานขององค์กรนริโทษกรรมสากลในมาเลเซีย โดยมีคณะกรรมการสภาทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งมาเลเซียเป็นผู้จัดร่วม?

ตามรายละเอียดในคำเชิญ งานเสวนาจะเน้นการพูดคุยเรื่องคำร้องที่สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ในนามของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยคนเสื้อแดงแห่งประเทศไทย โดยในคำร้องมีการกล่าวหาว่า “นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ระหว่างการสลายการชุมนุมในกรุงเทพมหานครเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553”

ในช่วงเวลาที่ความตึงเครียดทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่รัฐบาลตั้งแต่ซีเรียไปจนถึงไอโวรี่โคสท์ ที่ต่างใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วง หัวข้อการเสวนานี้ควรจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่สนใจเรื่องความรับผิดทางอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในประเทศไทยและศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่กระนั้นองค์กรนริโทษกรรมสากลก็ยังยกเลิกงานดังกล่าว ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเล่า?

คำอธิบายอย่างเป็นทางการที่ถูกเผยแพร่โดยนายเบนจามิน ซาแวคกี นักวิจัยเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์กรนิรโทษกรรม (ประจำอยู่ที่สำนักงานเลขาธิการองค์กรนิรโทษกรรมในกรุงลอนดอน) แทนที่คำอธิบายดังกล่าวจะสร้างความชอบธรรมให้กับการยกเลิกงานเสวนา แต่กลับแสดงให้เห็นว่าองค์กรนิรโทษกรรมสากลน่าจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง หากมีการจัดงานเสวนา

นายซาแวคกีอธิบายว่า องค์กรนิรโทษกรรม “เข้าใจ” ว่านายอัมสเตอร์ดัมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับคดีดังกล่าว: เขายืนยันว่า “หนทางเดียว”- “ที่คดีอันเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อประชาชนไทยในในประเทศไทย จะเข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้โดยผ่านทางการร้องเรียนจากคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติเท่านั้น”

คำอธิบายแสดงให้เห็นแน่ชัดว่า นายซาแวคกี้ยังไม่ได้อ่านคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศ แม้ว่าเอกสารดังกล่าวสามารถหาอ่านได้ทั่วไปตามอินเตอร์เน็ตทั้งไปก็ตาม เพราะหากเขาอ่านคำร้องหรือสอบถามรายละเอียดกับนายอัมสเตอร์ดัม นายซาแวคกี้ย่อมทราบดีว่า ความเห็นของเขาไม่ถูกต้องทั้งตามข้อเท็จจริงและตามข้อกฎหมาย นอกจากเรื่องการร้องเรียนโดยคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติแล้ว หลักการเบื้องต้นเรื่องเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศอีกข้อในที่บัญญัติ มาตรา12.2(b) ของธรรมนูญแห่งโรมได้อนุญาตให้ศาลอาญาระหว่างประเทศรับพิจารณาคดีที่บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำอาชญากรรมนั้นเป็นพลเรือนของรัฐสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ

ข้อเท็จจริงคือ ตัวการหลักที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรับผิดต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในประเทศไทยเมื่อฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้วคือ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยคำร้องของนายอัมสเตอร์ดัมแสดงหลักฐาน และอ้างข้อมูลที่ทำให้เชื่อว่า นายอภิสิทธิ์เป็นพลเรือนของประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นรัฐสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ [1] นายอภิสิทธิ์ยังไม่เคยออกมาปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว หากนายอภิสิทธิ์เป็นพลเรือนของประเทศอังกฤษ ศาลอาญาจะมีอำนาจการพิจารณาอาชญากรรมที่เขาถูกกล่าวหา

การที่ต้องอธิบายข้อผิดพลาดอันเป็นหลักการพื้นฐานนี้ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่องค์กรนิรโทษกรรมสากลอาจได้รับในการพูดคุยกับเหยื่อจากเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษายนและพฤษภาคม รวมถึงที่ปรึกษาทางกฎหมายของพวกเขา เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้อธิบายรายละเอียดของคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศ และเหตุผลที่สำคัญกว่านั้นคือ การจัดเสวนาที่คนทั่วไปสามารถเข้ารับฟังได้ในประเทศมาเลเซียอาจจะเปิดโอกาสให้แก่สมาชิกองค์กรนิรโทษกรรมได้รับทราบถึงหลักฐานที่ครอบคลุมและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการสังหารในกรุงเทพมหานครว่า ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของการใช้กำลังเกินจำเป็นในการกดขี่ผู้ประท้วงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจงใจตั้งเป้าสังหารพลเรือน แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม และนักข่าว ซึ่งเป็นแผนการที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยนายอภิสิทธิ์

นายซาแวคกี้อ้างข้อกำหนดในการยกเลิกงานนี้ว่า องค์กรนิรโทษกรรมควรวางตัว “เป็นกลาง ปราศจากอคติ และยุติธรรม” ซึ่งผมยกย่อง อย่างไรก็ตาม จากกรณีนี้ นายซาแวคกี้ได้ปล่อยให้ความกังวลของเขาเกี่ยวกับตัวอดีตนายกรัฐมนตรีขัดขวางการพูดคุยกับทนายความตัวแทนของกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมขนาดใหญ่ ที่ยื่นคำฟ้องอันมีมูลเรื่องอาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ นายซาแวคกี้ลิดรอนการรับรู้และพูดคุยถึงเรื่องการรับผิดทางกฎหมายต่อการกระทำที่อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ความพยายามรักษาระยะห่างระหว่างองค์กรนิรโทษกรรมกับการเมืองในทางที่ผิด

องค์กรนิรโทษกรรมสากลคือองค์กรสำคัญที่ช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก หลายปีที่ผ่านมา ผมและนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมได้ร่วมงานกับองค์กรในบทบาทและกรณีที่แตกต่างกันออกไป ผมยังคงสนับสนุนการทำงานอันสำคัญขององค์กรนิรโทษกรรมสากล และผมมั่นใจว่านายอัมสเตอร์ดัมก็คงเห็นไม่ต่างจากผม หากองค์กรนิรโทษกรรมสากลปรารถนาที่จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศของนปช. (ซึ่งผมทำงานเป็นที่ปรึกษา) เราเต็มใจที่จะเปิดการเสวนาดังกล่าวเสมอ

ดักลาสส์ แคสเซิล
ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทรอ ดามม์,สหรัฐอเมริกา
27 เมษายน พ.ศ. 2554
________________________________________
[1] จากคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศ หน้าที่ 97 “มีหลักฐานว่า……นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถือสัญชาติของสหราชอาณาจักร เพราะสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะมี (ratione personae) เขตอำนาจเพื่อตรวจสอบและดำเนินคดีตามเหตุผลเนื่องจากตัวบุคคลกับนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตามมาตราที่ 12 (2) (ข) นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เกิดที่ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2507 ภายใต้กฎหมายของสหราชอาณาจักร บุคคลที่เกิดในสหราชอาณาจักรก่อนปี พ.ศ. 2526 “จะถือเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคมโดยกำเนิด” นอกจากจะเป็นบุตรของทูตหรือศัตรูต่างชาติ การถือสัญชาติกระทำได้ทันทีและเป็นกรรมสิทธิ์ถาวร ไม่ว่าจะมีสถานะพำนักอยู่ในประเทศสถานะใดก็ตาม นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จึงถือเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักรในระหว่างที่อาชญากรรมต้องสงสัยเกิดขึ้น นอกเสียจากว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้สละสัญชาติอย่างเป็นทางการ โดยการประกาศ “สละสิทธิ์การพลเมืองของสหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคม” ผู้ร้องทราบและเชื่อว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ไม่เคยประกาศสละสัญชาติ ดังนั้น แน่นอนว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เป็นพลเมืองของประเทศสหราชอาณาจักร”
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น