ข้อเสนอนิติราษฎร์ก้าวหน้าหรือไม่? | |
นักปรัชญาชายขอบ ก. มุมมองต่อปัญหา ม.112 "แต่อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ว่าวิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์" (พระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2548) "การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ในทางที่ผิดซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายเช่นนั้นที่มีต่อประเทศไทย ทั้งภายในไทยเองและภายนอกประเทศ" นายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา หนึ่งในแปดราชนิกุลเขียนจดหมายถึงนายกฯยิ่งลักษณ์ให้แก้ ม.112 “ขอเตือนว่าถ้าคุณไม่แก้ไขมาตรา 112 จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ในสังคมไทย ผมพูดเสมอสมัยจักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์มของเยอรมนี มีการใช้กฎหมายหมิ่นมากที่สุดในเยอรมนี แล้วพระองค์ก็สละราชสมบัติไปเป็นสามัญชนอยู่ที่เบลเยี่ยม”ส.ศิวรักษ์ (ที่มา “โลกวันนี้วันสุข,14-20 มกราคม 2555) ผมเองตระหนักดีว่า การอ้างพระราชดำรัสในเชิงสนับสนุนการแก้ไข (หรือยกเลิก) ม.112 นั้น ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลนัก แต่นี่เป็น “ข้อเท็จจริง” ที่เราไม่อาจมองข้ามได้ว่า แม้แต่ในหลวงก็ทรงเห็นว่า การใช้ ม.112 ตามที่เป็นมา “เดือดร้อนพระมหากษัตริย์” ฝ่ายกษัตริย์นิยมเองก็เห็นว่า การบังคับใช้ ม.112 ในทางที่ผิดมีผลกระทบ “ต่อประเทศไทย ทั้งภายในไทยเองและภายนอกประเทศ"แม้แต่รอยัลลิสต์ที่ยืนยันตลอดมาว่า การรักษาสถาบันที่ถูกวิธีคือ ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ หรือทำให้สถาบันดำรงอยู่อย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ ก็เตือนอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าไม่แก้ไข “มาตรา112 จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ในสังคมไทย” แน่นอนว่า เสียงคัดค้านก็มีมากเช่นกัน โดยเฉพาะจาก ผบ.ทบ. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นักการเมืองบางคน สื่อเครือผู้จัดการ เป็นต้น แต่การเดินหน้าให้แก้ไข ม.112 ก็นับวันจะเข้มข้นและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ดังจะมีคณะกรรมการรณรงค์แก้ไข ม.112 (ครก.112) ตามข้อเสนอของ “นิติราษฎร์” ที่จะเปิดตัว แถลงจุดยืนและเหตุผลต่างๆ ในวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคมนี้ ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ข.ข้อเสนอนิติราษฎร์ ครก.112 สรุปสาระสำคัญ ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ 7 ประเด็น ให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ 1.ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร ค. ข้อเสนอนิติราษฎร์ก้าวหน้าหรือไม่? 1. ประเด็นเรื่องตัวกฎหมาย ต้องถือว่าก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ ทั้งเรื่องยกเลิก ม.112 ออกจากลักษณะความผิดว่าด้วยความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ที่มีผลให้พระมหากษัตริย์กับรัฐไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนรัฐในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การลดอัตราโทษ ไม่กำหนดโทษขั้นต่ำ การแบ่งแยกการคุ้มครองพระมหากษัตริย์กับพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ถือว่าก้าวหน้ากว่าเดิม โดยเฉพาะข้อ 5,6,7 เป็นการกำหนด “หลักเกณฑ์” ที่ชัดขึ้นว่า การแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต ได้รับการยกเว้นความผิด หรือถ้าพูดความจริงที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะก็ได้รับการยกเว้นโทษ และการห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิดก็เป็นการป้องกันไม่ให้มีการใช้ ม.112 เป็น “เครื่องมือ” ทำลายคู่แข่ง หรือผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง 2. ประเด็นเรื่องหลักการหรืออุดมการณ์ประชาธิปไตย ประเด็นนี้มีข้อถกเถียงกันมาก เพราะถ้ายึดหลักการ คือ “หลักความเสมอภาค” ตามระบอบประชาธิปไตย “พระมหากษัตริย์ย่อมเท่ากับบุคคลธรรมดา” และย่อมได้รับความคุ้มครองใน “มาตรฐานเดียว” กับบุคคลสาธารณะที่เป็นคนธรรมดา การมีกฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่าง “เป็นพิเศษ” กว่าบุคคลธรรมดาจึงขัดแย้งกับหลักการดังกล่าว และโดยที่เคยมีตัวบุคคล และ/หรือกลุ่มบุคคลต่างๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวให้ “ยกเลิก ม.112” ก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งการยกเลิกย่อมสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยมากกว่า ฉะนั้น ข้อเสนอของนิติราษฎร์จึงถูกตั้งคำถามในแง่ว่า ไป “ดึง” หรือฉุดรั้งอุดมการณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ล้ำหน้าไปแล้ว ทำให้การเสนอ “ยกเลิก” มีพื้นที่แคบลง ยากมากขึ้น หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย (ความเห็นในเรื่องดังกล่าวนี้ที่ “เด่นชัดมาก” คือ ความเห็นของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งมีเหตุผลรายละเอียดค่อนข้างมาก สามารถตามอ่านได้ที่ เฟชบุ๊กส่วนตัวของเขา หรืออีกไม่นานนี้อาจมีการเผยแพร่ในวงกว้าง) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคำอธิบายของอาจารย์นิติราษฎร์บางคน ข้อเสนอ 7 ข้อ เป็นข้อเสนอภายใต้ “บริบท” ของระบบกฎหมายปัจจุบันที่มีการกำหนดโทษหมิ่นฯเจ้าหน้าที่รัฐสูงกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป ฉะนั้น กฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐจึงต้องถูกนำไปเทียบเคียงเพื่อหาข้อสรุปที่เห็นว่าสมเหตุสมผลมากที่สุด แต่หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงของสถานการณ์ขัดแย้งทางความคิดเห็นที่ดำรงสืบเนื่องมากว่า 5 ปี ประเด็นเรื่องหลักการ หรืออุดมการณ์ อาจต้องถกเถียงกันไปอีกยาว และภายใต้ ม.112 ในปัจจุบันการถกเถียงเรื่องนี้ย่อมสุ่มเสี่ยงอยู่มาก มีคน “ตาสว่าง” จำนวนมากที่อาจไม่กล้า “ปากสว่าง” ในบรรยากาศของการล่าแม่มด และความคลุมเครือของการบังคับใช้กฎหมาย ฉะนั้น หากมองในแง่ดี ถ้าแก้ ม.112 ตามที่นิติราษฎร์เสนอได้จริง การวางมาตรการตามข้อ 5,6,7 จะทำให้การถกเถียงปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ (เช่น เรื่องการปรับปรุงข้อความตามรัฐธรรมนูญมาตรา 8 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับสถาบัน การประชาสัมพันธ์ด้านเดียว ฯลฯ) มีความปลอดภัยมากขึ้น หรือมีเสรีภาพมากขึ้น สื่อมวลชนก็น่าจะกล้านำเสนอความเห็นโต้แย้งกันในปัญหาดังกล่าวกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในระยะยาว ผมอาจมองโลกในแง่ดีเกินไปก็ได้ แต่อย่างน้อย ไม่ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์จะถูกรัฐสภารับไปแก้ไขตามนี้หรือไม่ก็ตาม แต่นิติราษฎร์ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ให้สังคมรับรู้ และเข้าร่วมถกเถียงปัญหา ม.112 กว้างขวางขึ้น ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางความคิดในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน! ขอขอบคุณ เวบประชาไท www.prachathai.com | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555
ร้อนถึงราชนิกูลจี้รัฐแก้ 112 รับจับดะกระเทือนสถาบัน เหลิมจ้องออก กม.ฟันพวกผูกขาดจงรักภักดีคุก 5 ปี | |
ร้อนถึงราชนิกูลจี้รัฐแก้ 112 รับจับดะกระเทือนสถาบัน เหลิมจ้องออก กม.ฟันพวกผูกขาดจงรักภักดีคุก 5 ปี "8 ราชนิกูล" ดัง ร่วมส่งจดหมายถึงนายกฯ แนะรัฐบาลปรับปรุงแก้ไข ม.112โดยอ้างอิงรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับประจำวันที่ 12 มกราคม 2555 รายงานว่า ราชนิกูลกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยราชนิกูลผู้มีชื่อเสียงจำนวน 8 คน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ (ธิดาในหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ หรือ ท่านชิ้น - มติชนออนไลน์), หม่อมราชวงศ์สายสิงห์ ศิริบุตร (ธิดาในหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ - มติชนออนไลน์), หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ (ธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ - มติชนออนไลน์), นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (อดีตเอกอัครราชทูต - มติชนออนไลน์), พลเอก หม่อมราชวงศ์กฤษต กฤดากร, หม่อมราชวงศ์ภวรี สุชีวะ (รัชนี), หม่อมราชวงศ์โอภาส กาญจนะวิชัย และนายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้ลงนามในจดหมายที่ส่งไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มกราคม ซึ่งมีเนื้อหาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายมาตราดังกล่าว จดหมายที่ส่งไปถึงนายกรัฐมนตรีมีเนื้อหาระบุว่า จำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญในช่วงเวลา 7 ปี จากจำนวน 0 คดี ในปี พ.ศ.2545 มาเป็น 165 คดี ในปี พ.ศ.2552 ซึ่งข่าวคราวเกี่ยวกับคดีความเหล่านั้นได้ถูกรายงานไปทั่วโลก และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จดหมายของราชนิกูลกลุ่มนี้ยังได้อ้างถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2548 ซึ่งทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่าการลงโทษจับกุมคุมขังบุคคลผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันนั้น มีแต่จะก่อปัญหาให้แก่พระองค์เอง ("แต่อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ว่าวิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์" - พระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2548) "นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสดังกล่าว มีรัฐบาลหลายชุดหมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศ แต่ไม่มีรัฐบาลชุดใดเลยที่จะริเริ่มดำเนินการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมทั้งรัฐบาลชุดปัจจุบัน" จดหมายที่ส่งถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุ "เมื่อครั้งที่รัฐบาลจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปี พ.ศ.2554 รัฐบาลควรใช้โอกาสนั้น ทำความเข้าใจในพระราชประสงค์ของในหลวงต่อประเด็นดังกล่าวด้วย" นายสุเมธ หนึ่งในผู้ร่วมลงชื่อในจดหมายกล่าวและว่า ราชนิกูลกลุ่มนี้ได้พบปะกันในช่วงสิ้นปี 2554 เพื่อร่วมครุ่นคิดในประเด็นว่าด้วย "การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ในทางที่ผิดซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายเช่นนั้นที่มีต่อประเทศไทย ทั้งภายในไทยเองและภายนอกประเทศ" "ที่สำคัญสุดเหนือสิ่งอื่นใด พวกเราต้องการให้มีการคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายมาตราดังกล่าว" นายสุเมธ ให้สัมภาษณ์ อย่างไรก็ตาม ขณะที่ราชนิกูลกลุ่มนี้ออกมาเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่กลับไม่มีการระบุอย่างเด่นชัดว่าเนื้อหาของกฎหมายในส่วนใดที่ควรได้รับการแก้ไข "พวกเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เราคิดว่านี่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งต้องแสวงหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น" นายสุเมธกล่าวและว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดนี้ที่จะทำการปกป้องสถาบัน และในกรณีนี้ ยังถือเป็นการเอาใจใส่ต่อความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สังคมไทยกำลังแตกแยก ประชาชนแบ่งออกเป็นฝักฝ่ายอย่างสุดขั้ว รัฐบาลจึงควรให้ความสนใจกับคำแนะนำของในหลวง ก่อนจะดำเนินมาตรการอื่นใด ปชป.ยังตามล่าแม่มดตามเฟซบุ๊ค เหลิมผุดไอเดียออกกฎหมายดัดหลังพวกผูกขาดความจงรักภักดีคุก 5 ปี ศิริโชค” แฉกลางกรรมาธิการฯ มีเฟซบุ๊กอ้างเป็นหน่วยงานลับ แดงใต้ดิน หมิ่นสถาบัน แถมกล้าท้าทาย “เฉลิม” ไม่กล้าจับ ด้านเจ้าตัวเต้น บอกพร้อมลุยปราบทันที ไม่กลัวเสียฐานคะแนนเสียง ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร มี ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ เป็นประธานการประชุม โดยเชิญ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการกำหนดนโยบายการป้องกันและปราบปรามการนำเสนอข้อมูลที่ผิดกฎหมายหรือไม่เหมาะสมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ที่ปรึกษา (สบ 10) มาชี้แจงเรื่องการปราบเว็บหมิ่นสถาบัน โดย ร.ต.อ.เฉลิม ชี้แจงว่า หลังได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธานปราบปรามเว็บหมิ่นสถาบัน ได้ปรับปรุงขั้นตอนการออกหมายศาล และการปิดเว็บหมิ่นสถาบันให้มีความรวดเร็วขึ้น โดยยึดหลักรัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์ ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ และ 6 กลุ่มผู้ให้บริการการเว็บไซต์ ขณะที่ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชี้แจงว่า การทำงานของคณะกรรมการปราบเว็บหมิ่นสถาบัน มุ่งเน้นปิดกั้นการเผยแพร่เว็บหมิ่นสถาบันอย่างรวดเร็ว มีศูนย์เฝ้าระวังที่บูรณาการจากส่วนราชการทุกกระทรวง โดยปัจจุบันขั้นตอนตั้งแต่การแจ้งเรื่อง การออกคำสั่งศาล จนถึงการปิดเว็บไซต์ใช้เวลา 1-4 วัน จากเดิมใช้เวลาเกือบ 20 วัน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 54 มีคำสั่งบล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสม 757 ยูอาร์แอล และมีคดีอยู่ระหว่างสอบสวน 1,453 คดี แต่เมื่อปิดไปแล้วก็มีการเลี่ยงไปเปิดใหม่ ซึ่งหากเป็นพวกมืออาชีพจะไม่ทิ้งร่องรอยให้ติดตามได้ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการฯ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัญหามากคือเรื่องเฟซบุ๊ก จากการติดตามพบว่ามีบุคคลใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า “หน่วยงานลับ แดงใต้ดิน” เป็นการรวมพลคนหมิ่นสถาบัน มีกลุ่มเพื่อนถึง 4,944 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย บุคคลผู้นี้มีความสามารถพิเศษรู้ล่วงหน้าทุกครั้งเวลาจะถูกตำรวจออกหมายจับ มักจะมาเขียนข้อความลงในเฟซบุ๊กล่วงหน้า และยังมีการท้าทายว่า ร.ต.อ.เฉลิมไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวจะเสียฐานเสียงคนเสื้อแดง จึงอยากให้ตำรวจเร่งปราบเว็บนี้ เพราะเปิดมานาน 1 เดือนแล้ว นอกจากนี้อยากทราบความคืบหน้าการดำเนินคดีนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตแกนนำ นปช. ข้อหาหมิ่นสถาบันด้วย ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ยืนยันว่า หากใครหมิ่นสถาบัน รัฐบาลยอมไม่ได้ ต้องถูกดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นคนที่เลือกพรรคเพื่อไทยหรือไม่ก็ตาม แต่ตั้งข้อสังเกตว่า คนทำผิด มักไม่เปิดเผยตัวตนจริงๆ เพราะหากคนที่ไม่ชอบพรรคเพื่อไทย ก็อาจดำเนินการเปิดเว็บนี้ เพื่อกลั่นแกล้งกัน ไม่ใช่ว่าพอเอ่ยชื่อเสื้อแดง แล้วจะมาอ้างว่า เป็นพวกตนทั้งหมด ยืนยันว่า เรื่องการปราบเว็บหมิ่นสถาบัน นายกฯ ได้สอบถามความคืบหน้าทุกสัปดาห์ ส่วนกรณีของนายสุนัย ได้มอบให้กองปราบดำเนินการหาพยานหลักฐานอยู่ นอกจากนี้ที่ผ่านมา ตอนหาเสียง ตนและพรรคพวกถูกกล่าวหาเรื่องไม่จงรักภักดี จึงมีแนวคิดอยากแก้ไขหรือเพิ่มกฎหมายใหม่เรื่องความจงรักภักดี โดยห้ามกล่าวหาบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่จงรักภักดี หรือบอกว่า ตัวเองจงรักภักดี แต่คนอื่นไม่จงรักภักดี หากใครฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5 ปี แนวคิดนี้ในอนาคตตนต้องพูดในพรรค หากจะทำจริงต้องหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกา. | |
http://redusala.blogspot.com |
สถานทูตสหรัฐเตือน "ผู้ก่อการร้าย" มีแผนถล่มกทม. นายก ปู เผยจับผู้ต้องสงสัยได้แล้ว | |
สถานทูตสหรัฐเตือน "ผู้ก่อการร้าย" มีแผนถล่มกทม. นายก ปู เผยจับผู้ต้องสงสัยได้แล้ว เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 13 ม.ค. นายวอลเตอร์ เอ็ม. เบราโนห์เลอร์ โฆษกสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยชี้แจงกรณีที่ เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาแจ้งเตือนพลเมืองอเมริกันให้ระวังภัยก่อร้ายฉุกเฉินในเขตกทม.ว่าอาจเกิดภัยจากผู้ก่อการร้ายต่างชาติที่มุ่งเป้าทำร้ายพลเมืองอเมริกันในกทม. โดยย้ำว่า ได้แจ้งให้ทางการไทยรับทราบแล้วและกำลังประสานความร่วมมือกันอยู่ ต่อข้อถามว่าคาดว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้นเมื่อใด นายวอลเตอร์ตอบว่า คาดว่าอาจเกิดในอนาคตอันใกล้และขอให้ประชาชนอเมริกันใช้สามัญสำนึกในการดูแลเฝ้าระวังตัวเอง สำหรับข้อความในเว็บไซต์ระบุว่า ขอให้พลเมืองอเมริกันใช้ความระมัดระวังสูงสุดและหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังจุดที่นักท่องเที่ยวตะวันตกนิยมไปรวมตัวกันในกรุงเทพฯ หลังจากมีรายงานว่ากลุ่มก่อการร้ายต่างชาติมีแผนลงมือก่อวินาศกรรมโจมตีจุดท่องเที่ยวต่างๆใน กทม. ในอนาคตอันใกล้นี้ จึงขอให้พลเมืองอเมริกันใช้ความระมัดระวังเวลาอยู่ในสถานที่สาธารณะต่างๆ ในกรุงเทพฯ เมื่อพบเห็นบุคคลต้องสงสัย หรือวัตถุต้องสงสัย อาทิ กระเป๋า พัสดุ ฯลฯ ที่ดูผิดสังเกต ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใกล้ที่สุดทันที วันเดียวกัน ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางมาบันทึกเทปรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์คุยกับประชาชน โดยให้สัมภาษณ์กรณีที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยประกาศเตือนผ่านทาง เว็บไซต์ให้ชาวอเมริกันระมัดระวังสูงสุดในพื้นที่สาธารณะที่ชาวตะวันตกจำนวนมากในกทม. ว่า ความจริงได้รับกระแสข่าวนี้มานานแล้ว ตนสั่งการให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติติดตามข่าวเป็นระยะ นอกจากนั้น ยังสั่งการให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและรายงานผลตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันในความปลอดภัยของสถานที่สาธารณะต่างๆ และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ต่อข้อถามว่า การที่สถานทูตสหรัฐประกาศเช่นนี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม เคยแสดงความเป็นกังวลว่าจะเกิดความวุ่นวายในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยที่ไม่มีเบาะแสอะไรใหม่ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยอมรับว่า ใช่ และว่า ได้ติดตามเป็นระยะอยู่แล้วและได้วางกำลังดูแลความปลอดภัยให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว จึงขอให้สบายใจ เมื่อถามว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมคนที่ก่อเหตุได้ใช่หรือไม่ และเป็นกลุ่มใด นายกฯ กล่าวว่า จับได้แล้ว แต่ยังไม่อยากบอกก่อน ถ้าเรียบร้อยแล้วมีข้อมูลเพิ่มเติมจะชี้แจงให้ทราบ สำหรับประกาศเตือนฉบับเต็ม ภาษาอังกฤษ มีดังนี้ Emergency Message to U.S. Citizens: Possible Terrorist Threat January 13, 2012 This message alerts U.S. citizens in Thailand that foreign terrorists may be currently looking to conduct attacks against tourist areas in Bangkok in the near future. U.S. citizens are urged to exercise caution when visiting public areas where large groups of Western tourists gather in Bangkok. U.S. citizens are encouraged to maintain a heightened awareness when out in public; be alert for unattended packages/bags in public/crowded places and report any suspicious behavior to the nearest law enforcement personnel. We also encourage you to keep a low profile in public areas, particularly areas frequented by foreign tourists. The American Citizen Services Unit of the U.S. Embassy is located at 95 Wireless Road in Bangkok, and can be reached by calling 66-2-205-4049, or by e-mailing acsbkk@state.gov. The Embassy’s after-hours emergency telephone number is 66-2-205-4000. The U.S. Consulate General in Chiang Mai is located at 387 Wichayanond Road in Chiang Mai. The American Citizen Services Unit of the Consulate General can be reached by calling 66-53-107-777 and by e-mail at acschn@state.gov. The after-hours emergency telephone number is 66-81-881-1878. For the latest security information, you should regularly monitor the Department’s Bureau of Consular Affairs Internet website, where current Worldwide Cautions, Travel Alerts, Travel Warnings and health-information resources can be found. You can also obtain up-to-date information on security by calling 1-888-407-4747 (toll free) in the U.S. and Canada or, for callers in other areas, by calling a regular toll line at 1-202-501-4444. These numbers are available from 8:00 a.m. to 8:00 p.m. (Eastern Time), Monday through Friday (except U.S. federal holidays). We encourage you notify us of your presence in Thailand by enrolling in the Department of State’s Smart Traveler Enrollment Program (STEP). Note: Due to a technical error, some recipients received this message - followed by a recall message - a few minutes later. Please disregard the recall message. | |
http://redusala.blogspot.com |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)