ร้อยละ 53.19 เห็นว่าเป็นการปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม แสดงถึงความเคารพผู้ใหญ่ในบ้านเมือง
ร้อยละ 27.23 น่าจะมีเหตุผลอื่นมากกว่า อาจมีการปรึกษาหารือในเรื่องสำคัญ หรือเรื่องที่ไม่ต้องการเปิดเผยให้บุคคลภายนอกรับรู้
ร้อยละ 14.47 เป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น และร้อยละ 5.11 เป็นเรื่องของการเมืองที่รัฐบาลต้องการสร้างภาพ
ขณะที่ร้อยละ 43.30 มองว่ามีนัยสำคัญทางการเมือง รัฐบาลต้องการสื่อสารให้เห็นถึงความพร้อมเดินหน้าสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง ร้อยละ 36.78 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 19.92 ไม่มีนัยสำคัญทางการเมือง
ทั้งนี้ ร้อยละ 54.79 พึงพอใจกับการพบกันครั้งนี้ ร้อยละ 38.70 เฉยๆ เป็นเรื่องปกติ
ร้อยละ 6.51 ไม่พอใจเพราะอาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝง สร้างความไม่พอใจให้แก่คนบางกลุ่ม ส่วนจะทำให้บรรยากาศความปรองดองของบ้านเมืองดีขึ้นหรือไม่ ร้อยละ 48.65 เชื่อว่าดีขึ้นเพราะการมีท่าทีอ่อนน้อม ไม่ถือทิฐิของรัฐบาลเป็นการส่งสัญญาณปรองดอง ร้อยละ 45.56 เหมือนเดิม
และร้อยละ 5.79 ทำให้บรรยากาศปรองดองแย่ลง สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงนายกฯ หลังเข้าพบ พล.อ.เปรมคือ ร้อยละ 81.95 สิ่งที่รัฐบาลทำขอให้มาจากความตั้งใจจริง ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ไม่มีผลประโยชน์อื่นแอบแฝง ร้อยละ 80.49 รัฐบาลต้องเป็นผู้นำและตัวอย่างที่ดีของการสร้างปรองดอง
ร้อยละ 77.56 ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ร้อยละ 74.63 รัฐบาลเร่งแก้ของแพง น้ำท่วม คอร์รัปชั่น
และร้อยละ 70.24 ควบคุมดูแลพฤติกรรมของนักการเมืองโดยเฉพาะในการประชุมสภา ภาระหน้าที่ของการเป็นรัฐบาลนั้นไม่ง่ายนัก
ยิ่งเป็นรัฐบาลในช่วงที่ความคิดของสังคมแยกออกเป็นฝั่งเป็นขั้วอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งยากขึ้นไปอีก
ฉะนั้น ในขณะที่ภารกิจปรองดองก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพื่อจะได้มีโอกาสทำงานอื่นโดยราบรื่นขึ้น
ภารกิจอำนวยความยุติธรรมเพื่อล้างปัญหา "สองมาตรฐาน" อันเป็นหนึ่งในต้นตอของความแตกแยก ก็ต้องเดินหน้าต่อไปเช่นกัน
ไม่นับว่าภารกิจหลักอย่างการดูแลปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ที่ยังต้องทำให้เป็นปกติสม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้มิได้ขัดแย้งกัน ตรงข้ามกลับเอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน และถ้าทำเป็น-ทำได้ จะเป็นแรงเสี้ยมจากที่ใดก็ไร้ความหมาย
thank you
thank you
ตอบลบ