อเปล่า”ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ตอบว่า
“อันนี้ผมไม่ทราบ ผมว่าสิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือ ท่านนายกฯเปรมไม่เห็นด้วยกับการจับ และตอนนี้อาจารย์สุลักษณ์ถูกปล่อย หมายว่าตอนนี้ท่านนายกฯเองก็มีอิทธิพลมาก ก็เอาไปคิดเองก็แล้วกัน [ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน]
ถาม-“ทราบว่าสมเด็จพระเทพฯทรงสนพระทัยต่อคดีอาจารย์สุลักษณ์มากและทรงติดตามงานเขียนมาโดยตลอด
ตอบ-“สมเด็จพระเทพฯทรงเป็นนักวิชาการ เป็นไปได้ที่ท่านสนพระทัยเรื่องอาจารย์สุลักษณ์”[ดูหน้า 13-14]
สัญญาณของอำนาจพิเศษในการเลือกที่จะถอนฟ้องสุลักษณ์ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ยังสะท้อนออกมาตอนท้ายของการสัมภาษณ์ ดังที่มติมหาราษฎร์ถาม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ว่า
“แล้วที่อธิบดีกรมอัยการบอกว่า “ถึงแม้จะไม่มีการชี้ว่าผิดหรือไม่แต่จำเลยย่อมสำนึกได้ด้วยตัวเองไว้ว่า ถ้าเห็นว่าหนังสือนี้ผิด ก็ควรจะทำลายเสีย เพราะตัวเองรอดพ้นเพราะอะไร ก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจ”[การขีดเส้นใต้เป็นของผู้เขียน]
คำกล่าวของอัยการดังที่ยกมานี้ แม้แต่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เองก็ยังสงสัยว่า “ถ้าเขาไม่ผิด แล้วจะสำนึกผิดได้อย่างไร”[ดู หน้า 15]
อย่างไรก็ตาม ทรรศนะของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ต่อการดำเนินคดีตามมาตรา 112 กับสุลักษณ์เมื่อหลายสิบปีก่อนโน้น ดูจะขัดแย้งกับจุดยืนของพรรคที่เขาสังกัดอยู่ในปัจจุบัน เพราะตามบทสัมภาษณ์ที่ยกมานี้ ภายหลังการถอนฟ้องคดีสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เห็นว่า
“ก็ดีใจว่ามันหมดเรื่องไปเสียที” และ “ผมคิดว่ามีผลทางบวกมาก ทำให้ชาวโลกและคนไทยทั่วไปเห็นว่าคนไทยนี่สามารถยุติเรื่องราวต่างๆหรือข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทต่างๆโดยใช้เหตุผลได้”[ดูหน้า 13]
บทสัมภาษณ์นี้ จึงหาใช่แค่ทรรศนะของราชนิกุลผู้หนึ่งกับคดีหมิ่นฯประวัติศาสตร์คดีหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็น[จากปากคำของเขาเอง]ว่า การฟ้อง/ถอนฟ้อง คดีที่กระทำผิดตามกฎหมายดังกล่าวมี“อำนาจพิเศษ”บางอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นเดียวกันกับข้อสังเกตก่อนหน้านี้ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อคดีหมิ่นพ ระบรมเดชานุภาพ ของ วีระ มุสิกพงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2531[ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลข้อมูล "ใหม่": คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของ วีระ มุสิกพงศ์ ปี 2531 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักราชเลขาธิการ ติดต่อศาล เรื่องคดี]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น