วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

รับคำร้อง ‘บวร’ กรณีแก้รธน.มาตรา 68 ไม่รับคำร้อง 'เรืองไกร'

ศาล รธน.รับคำร้อง ‘บวร’ กรณีแก้รธน.มาตรา 68 ไม่รับคำร้อง 'เรืองไกร' ยื่นยุบ ปชป.

           10 เม.ย.56 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องนายบวร ยสินทร กับคณะ ที่ขอให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.65 ว่า ประธานรัฐสภากับพะวก 312 คน กระทำการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐ ธรรมนูญ ศาลพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งโดยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย แต่ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากไม่ปรากฏมูลกรณีอันเป็นเหตุฉุกเฉินหรือเหตุอันสมควรเพียงพอที่จะต้องใช้วิธีการชั่วคราว

          โดยศาลฯ ระบุว่าคำร้องนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าผู้ ถูกร้องที่ 2 ถึง 316 เป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่…) พ.ศ.... ต่อประธานสภาผู้ถูกร้องที่ 1 โดยยกเลิกความในรัฐธรรมนูญ ม.68 แล้วเสนอเนื้อความใหม่ที่เป็นการยกเลิกสิทธิของชนชาวไทยในการที่จะใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงออกไป คงเหลือแต่เพียงให้บุคคลผู้ทราบการกระทำเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเพียงประการเดียว และให้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในกรณีที่บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยเท่านั้น ไม่อาจใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้พ้นจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในลักษณะอื่นนอกเหนือจากการใช้สิทธิและเสรีภาพอันเป็นการลิดรอนสิทธิพิทักษ์ รัฐธรรมนูญของชนชาวไทย มีมูลกรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบตาม ม. 68 วรรคสอง กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ม. 68 วรรคสอง และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ข้อ 17 (2) ศาลรัฐธรรมนูญจึงให้รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย


          นอกจากนี้มีรายงานด้วยว่า ตุลาการเสียงข้างน้อย ได้แก่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ ยังไม่ได้ข้อยุติเพราะยังมีโอกาสที่จะแก้ไขในวาระ 2 ได้อีก ข้อเท็จจริงตามคำร้องจึงเป็นเพียงการคาดการณ์ล่วงหน้า ไม่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ม.68 วรรคสอง

           นายบุญส่ง กุลบุปผา และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี เห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ม.291 เป็นการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและยังไม่มีมูลกรณีที่จะเป็นการฝ่าฝืนรัฐ ธรรมนูญ ม.68 วรรคหนึ่ง

          ศาลฯ ได้ให้ผู้ร้องทำสำเนาคำร้องส่งต่อศาลจำนวน 312 ชุด เพื่อส่งให้ผู้ถูกร้องและให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐ ธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และหากไม่ไม่ยื่นภายในกำหนดถือว่าไม่ติดใจ

มติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง "เรืองไกร" ยื่นยุบ ปชป.


            วันเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา กรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนา ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.68 ว่า นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ถูกร้องที่ 1 กับคณะ 11 คน และพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 12 กระทำการร่วมกันใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญที่มีการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

         โดยศาลเห็นว่าคำร้องไม่ปรากฏว่ามีการกระทำฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามรัฐ ธรรมนูญ ม.68 วรรคหนึ่ง ดังนั้นคำขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินย่อมตกไปด้วย

         ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 รับคำร้อง นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กรณีขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 64 ว่า “นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับคณะ กระทำการที่ส่อไปในทางกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและส่อว่าจงใจใช้ อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย การตัดสิทธิบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือไม่”

เรียบเรียงจาก : ข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น