วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รังสิมา ช่างพูด น่ารัก = อีตอแหล

อึ้งทั้งประเทศ! "รังสิมา" ด่า "ตอแหล" กลางสภาฯ แถหน้าด้านๆ "เปิดพจนานุกรมได้เลยค่ะ ไม่หยาบคายค่ะ"




            อึ้งทั้งสภาฯ เมื่อ ส.ส.รังสิมา รอดรัศมี ได้กล่าววาจาผรุสวาทในสภาผู้แทนราษฎร โดยกล่าวคำว่า “ตอแหล” หลายครั้ง จนประธานสภาฯ ตักเตือนแต่ไม่ยอมถอนคำพูด แต่กลับยกพจนานุกรมมาอ้างอิงให้ท่านประธานด้วย ดังใจความดังนี้


          “ตัวตอแหลในพจนานุกรม  ดิฉันอ่านให้ท่านฟังท่านจะได้รู้ภาษาไทยด้วย ตอแหลเป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ มักใช้กับผู้หญิงช่างพูด และแสดงกิริยาน่ารัก นี่คือคำว่า “ตอแหล” ท่านประธานไปเปิดดูนะค่ะ”

****************************************

        ในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ในช่วงเย็น วันที่ 30 พฤษภาคม น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นอภิปรายพาดพิง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงนโยบายการปราบปรามทุจริตว่า อยากจะฝากนายกรัฐมนตรี ถึงความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น โดยที่ทำมาทั้งหมดภาพที่ออกมา ถ้าเป็นการแสดงลิเก โดยนายกฯ จะแสดงเป็นบทเป็นนางเอกลิเก จะต้องเอาคนทุจริตมาตัดหัว 7 ชั่วโคตร แต่ถ้าจะแสดงเป็นตัวอิจฉา ซึ่งมีพฤติกรรมเอาหน้าและจะตอแหลตลอด

       จากนั้น นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร สั่งให้ถอนคำพูด เพราะ เป็นคำที่ไม่ควรพูดในสภาฯ


       ด้าน น.ส.รังสิมา กล่าวว่า ตนหมายถึงจะแสดงลิเกเป็นนางเอกหรือตัวอิจฉาก็แล้วแต่ พร้อมชูเอกสารที่ระบุว่า เป็นคำนิยามความหมายตามพจนานุกรม แล้วอ่านคำนิยามว่า ตอแหล เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ มักใช้กับผู้หญิงช่างพูด และแสดงกริยาน่ารัก นี่คือคำว่าตอแหล

       ทั้งนี้ นายวิสุทธิ์ ยืนยันอีกครั้งว่า ไม่ควรพูดในที่ประชุมสภา ขณะที่ น.ส.รังสิมา อภิปรายต่อไปว่า ฉะนั้น ตนไม่เห็นด้วยกับการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 โดยไม่ได้ถอนคำพูดตามคำสั่งนายวิสุทธิ์




ตอแหล ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 

  • คำว่า ตอแหล เพี้ยนมาจากคำว่า " ต่อแหล " ซึ่งเป็นการร้องเพลงแหล่ เพลงเข้าทำนองภาษาถิ่นใต้ 
  • เข้าใจว่า คล้ายกับคำว่า โกหก หลอกลวง แต่ความหมายทางรากลึก ประวัติศาสตร์ ตอแหลมิใช่คำหยาบ และไม่ได้แปลว่าโกหก แต่
  • เป็นกระบวนการสร้างเรื่อง พูดความจริง ผสมความเท็จ ทำให้ผู้อื่นจับผิดได้ยาก แต่ก็คล้ายกับโกหก


  • ตอแหลในความหมายที่ ๑ เป็นคำด่าคนพูดไม่จริง ( มักใช้กับผู้หญิง ) หรือใช้กับเด็กช่างพูด
  • ตอแหลในความหมายที่ ๒ ใช้เรียกต้นไม้ที่ให้ผลเร็วกว่าปกติ เช่น มะเขือตอแหล
         คำว่า ตอแหล กับคำว่าโกหก ก็มีความหมายคล้ายๆกันจะแตกต่างที่น้ำหนักของคำๆนั้น ถ้าเราพูดออกไปว่า ผู้หญิงคนนั้นตอแหล ดีไม่ดีอาจมีการตบตี หรือฟ้องร้องเกิดขึ้น ถ้าใช้กับผู้ชาย ก้ไม่ทราบว่าคนที่ว่า หรือ ถูกว่าจะเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ หรือ เป็นพวกพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว 

         อย่างไรก้ตาม ควรจะสังวรณ์ ระวังในการใช้คำพูด ดั่งประโยคที่ว่า Words once spoken can't be altered คำพูดที่กล่าวไปแล้วไม่อาจเปลี่ยนแปลง






ลุงคำต๋า

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ตอแหล
  • ตอแหล ๑ ความหมาย [-แหฺล] เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).
  • ตอแหล ๒ ความหมาย [-แหฺล] ว. เรียกต้นไม้ที่ให้ผลเร็วผิดปรกติ เช่น มะเขือตอแหล.

       แต่ความทรงจำหรือ ทัศนคติของคนไทยส่วนมากจะไม่รู้จักกับความเป็นมาของถ้อยคำ ภาษา รู้สึก และเชื่อตามๆกันมาว่าคำๆนี้เป็นการหยาบคาย ไม่สุภาพที่จะใช้เลือกสื่อสารออกมาอย่างเป็นทางการ...แต่ในด้านลึกของความ หมายที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยโบราณ ตอแหลนั้นกำเนิดมาจากกลศึกในทำนองยุแยกให้แตกสามัคคีธรรม ถูกใช้เพื่อการทำลายล้มทางอำนาจ ที่เห็นเด่นชัดคงเป็นเหตุการณ์คาบเกี่ยวก่อนหน้าและหลัง พ.ศ. 1200 ระหว่างปลายสมัยสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เข้าสู่ต้นสมัยสหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ (ศรีวิชัย)...ครั้งนั้นมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์นอกพงศาวดารไทย 700 กว่าปี บอกให้รู้ถึงสงครามแย่งชิงทางอำนาจของคนเผ่าไทยกันเอง กระทั่งต้องรบราฆ่าฟัน แผ่นดินแตกแยก ถูกข้าศึกถือโอกาสเข้ายึดครอง...ตำนานภาคกลางเรื่องพญากง-พญาพานก็ยังเป็น เกล็ดประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของห้วงศึกที่เกี่ยวข้องกับกลศึกตอแหล ซึ่งถูกให้กำเนิดโดยพระนางอุษา หรือตามตำนานพื้นบ้านได้เรียกให้เป็น “พระแม่ธรณีกรรแสง”

         เมื่อพิจารณาจากกล ศึกแบบไทยๆ เรายังต้องเข้าใจอีกว่ากลศึกของการทำตอแหลนั้น ยังมีลำดับขั้นอีกหลายอย่าง ตั้งแต่การบิดเบือนความจริง พูดจริงผสมเท็จ ปรับแต่งเป็นประเด็นใหม่ใช้ใส่ร้ายทำลายผู้อื่น กระบวนการของกลศึกตอแหล ที่ไม่ใช่ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ยังครอบคลุมเทคนิคแห่งมายาสาไถ อ้อน-สำออย เพื่อให้หลงผิดเป็นลับ ลวง พราง และหลอนหลอก...




         พัฒนาการขอบเขตไป เรื่อยๆ หากใช้ตอแหลไม่ได้ผลยังใช้กลยุทธ์ไปโดยต่อเนื่อง จนท้ายๆกระบวนยุทธ์ กลศึกตอแหลอาจต้องลงเอยด้วยวิธีการหน้าด้าน ไม่มียางอาย การไม่คำนึงถึงหลักการ กลายเป็นข้อส่งเสริมให้เกิดปรากฏการณ์ด้านดื้อ กระทั่งดื้อตาใส ถึงขีดขั้นดื้อตาใสแล้วพวกเหล่านี้ย่อมสามารถกระทำอะไรๆได้ทุกสิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น