วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทำไม “สหรัฐฯ” ถึงกล้าปิดหน่วยงานรัฐในขณะที่ประเทศทั่วโลกต่างเฝ้ามองด้วยอาการมึนงง


บทวิเคราะห์: ทำไม “สหรัฐฯ” ถึงกล้าปิดหน่วยงานรัฐในขณะที่ประเทศทั่วโลกต่างเฝ้ามองด้วยอาการมึนงง




       เอเจนซีส์/เอเอเฟพี - จากเหตุวิกฤตการปิดตัวชั่วคราวของหน่วยงานรัฐฯในสหรัฐฯที่เริ่มมีผลตั้งแต่เที่ยงคืนของวันจันทร์(30) ทำให้ทั่วดลกที่ต่างจับตาปรากฏการณ์ครั้งนี้ถึงกับตะลึง และหวั่นใจว่าจะมีผลกระทบอย่างไรกับประเทศพวกเขาบ้าง ซึ่งเหตุที่อเมริกากล้าทำเช่นนั้นเป็นเพราะเป็นประเทศถือหลักนิติธรรมเป็นใหญ่ ที่มีระบบการปกคองแบบถ่วงดุลอำนาจที่ถูกวางรากฐานตั้งแต่สมัยก่อตั้งประเทศจากพื้นฐาน “ประนีประนอม” และ “ถกเถียง” รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจที่แข็งกร่ง และมี กฏหมาย Anti-Deficiency Act ที่มีอายุยาวนานถึง 143 ปีมารับรองภาวะสูญญากาศนี้ ซึ่งดีลที่สหรัฐฯสู้นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศต่อระบบการสาธารณะสุขที่เป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤตครั้งนี้ เป็นเพราะอเมริกาเป็นตลาดเสรี การใช้เงินรัฐอุดหนุนในระบบสาธารณะสุขเช่นในอังกฤษจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นตั้งแต่วันเริ่มปิดตัวบางส่วนของหน่วยงานรัฐฯ(1)ประชาชนอเมริกันนับล้านที่ยังไม่มีประกันสุขภาพจะสามารถหาซื้อได้ 
     
       สำหรับคนทั้งโลกแล้ว การที่หน่วยงานรัฐต้องปิดตัวลงนั้นถือเป็นข่าวร้ายมาก แม้กระทั่งในซีเรียที่มีสงคราวกลางเมืองมายาวนานกว่า 2 ปี ยังสามารถสั่งจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐหรือจ่ายค่าใช้จ่ายต่างได้
     
       ในทางกลับกัน ผู้นำคนที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกกลับท้าท้ายฝันร้ายนี้ให้เกิดขึ้นจริง ทำให้หน่วยงานบางส่วนของรัฐบาลตัวเองต้องปิดตัวลงชั่วคราว และทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ้องชะงักงัน การกระทำครั้งนี้เป็นที่ “น่าแปลกใจ” ไปทั่วทั้งโลก
     
       จากบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เม็กซิโก ได้วิพากษ์ถึงวิกฤตประชาธิปไตยในสหรัฐฯว่า “สมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐฯ กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตที่น่าตกใจของการปิดตัวลงชองหน่วยงานรัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นผลจากสงครามน้ำลายยาวนานกว่า 10 สัปดาห์ในการถกงบประมาณฉุกเฉินฉุกเฉินชั่วคราว”
     
       แต่ทว่าในสหรัฐฯ วิกฤตการปิดตัวลงของหน่วยงานรัฐฯนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และถือเป็นหนึ่งในแทคติกทางการเมืองที่ใช้ในการต่อรอง ซึ่งต้องขอบคุณกับระบบประชาธิปไตยแบบอเมริกันที่มีการถ่วงดุลอำนาจอย่างเท่าเทียม เช่นในปัจจุบันพรรครัฐบาลที่ทำหน้าที่บริหารคุมวุฒิสภาในขณะที่ฝ่ายค้านนั้นคุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นระบบการปกครองที่มีมาตั้งแต่บิดาผู้ก่อตั้งประเทศเป็นผู้วางรากฐานไว้จากพื้นฐาน “ประนีประนอม” และ “ถกเถียง”



เจ้าหน้าที่ทหาร National Guard ในหน่วยทรัพยากรมนุษย์ ประจำรัฐโอกลาโฮมา กำลังอ่านประกาศที่เขาต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่เพราะวิกฤตการปิดหน่วยงานรัฐ
     
        เวปไซต์ประกันสุขภาพของสหรัฐฯที่ล่มไปในวันวังคาร(1)ซึ่งเป็นวันที่มีผลบังคับใช้
     
       และเมื่อพิจารณาจากประเทศต่างๆทั่วโลกแล้ว จะพบว่าวิกฤตการคลังที่ได้เกิดขึ้นกับสหรัฐฯในขณะนี้นั้น “ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้น” กับประเทศอื่นในโลกนี้ โดยระบบรัฐสภา( Parliament) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ ที่ใช้กันในประเทศประชาธิปไตยในยุโรปเป็นส่วนใหญ่นั้นจะมีพรรคเดียวหรือพรรคผสมที่สามารถคุมได้ทั้งฝ่ายบริหารและสภานิติบัญญัติ และหากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น รัฐสภานั้นสามารถไม่ผ่านงบประมาณการเงินที่นายกรัฐมนตรีเสนอเข้ามาได้
     
       แต่หากเป็นเช่นนั้น อาจจะนำไปสู่การที่นายกรัฐมนตรีต้องประกาศยุบสภาและต้องมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี มาร์ค รูตต์นั้นไม่ได้รับเสียงไว้วางใจจากรัฐสภา ในการประชุมถกงบประมาณปี 2014 ที่เขาส่งเข้ามา หรือแม้แต่จากเหตุการณ์ในช่วงการปลี่ยนผ่านรัฐบาลที่ยังไม่มีรัฐบาลใหม่สาบานเพื่อเข้าปฎิบัติหน้าที่ การทำงานของหน่วยงานรัฐยังสามารถดำเนินต่อไปได้
     
       ในขณะที่ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา( Congress)ที่มีประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารประเทศ เช่น บราซิล นั้นเป็นประเทศที่มีฝ่ายบริหารที่เข้มแข็งสามารถทำให้ทุกอย่างยังดำเนินการต่อไปได้ถึงแม้จะเกิดเดดล็อกทางงบประมาณการคลัง ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับสหรัฐฯเมื่อนานแล้วตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ในปี 1980 ที่ทำให้มีการตีความกฎหมาย Anti-Deficiency Act หรือ ADA ที่มีมาตั้งแต่ปี 1870โดยสาระสำคัญของกฏหมายนี้ “ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐฯปฎิบัติหน้าที่ใดที่จะเป็นผลผูกพันทางกฏหมายในขณะที่สภาคองเกรสยังไม่ผ่านงบประมาณมารองรับ”
     
       และทั่วโลกต่างกังวลถึงผลกระทบในการเกิดวิกฤตงบการเงินของสหรัฐฯครั้งนี้ เดวิด บลันช์ฟลาวเวอร์ จากเดอะอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษ กล่าวว่า “ โลกาภิวัตร...หมายความว่า...ทุกประเทศในโลกนี้อยู่ร่วมกัน เมื่ออมริกาจาม อังกฤษก็เป็นไข้” ส่วนสื่อแคนาดา จอห์น ลิบบิทสัน แห่ง Canada's Global and Mail กล่าวว่า “แคนาดาได้แต่ภาวนาไม่ให้เศรษฐกิจของตนเองย่อยยับไปเพราะวิกฤตของสหรัฐฯครั้งนี้ อะไรก็ตามที่ลากให้เศรษฐกิจอเมริกาตกต่ำก็จะทำให้เศรษฐกิจแคนาดาแย่ตามไปด้วย”
     
       และนี่อาจเป็นสาเหตุว่าทำไมสหรัฐฯถึงกล้าเดิมพันด้วยการปิดหน่วยงานรัฐในขณะที่ประเทศอื่นไม่ เป็นเพราะสหรัฐฯมีศักยภาพที่สามารถทำได้ หรืออย่างน้อยจนกระทั่งในขณะนี้ เศรษฐกิจอเมริกายังสามารถดำเนินต่อไปได้
     
       อย่างไรก็ตาม เมื่อมองจากกลุ่มคนที่มีผลกระทบมากที่สุดคือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐบาลกลาง จากรายงานพบว่า พวกเขาต้องอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวภายใต้กฎหมาย ADA อายุ 143 ปี ในช่วงการปิดสำนักงาน ซึ่งหากฝ่าฝืนอาจต้องโดนจำคุก โดยสำนักงาน The Government Accountability Office กล่าวว่า เจ้าหน้าที่รัฐรายใดที่ฝ่าฝืนข้อปฎิบัติตามกฏหมายนี้จะต้องโดนปรับหรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ”
     
       สื่อสหรัฐฯ CBS ได้รายงานว่า เจ้าหน้าระดับสูงในหลายกระทรวงของสหรัฐฯได้ใช้วิจารณญาณเป็นการบุคคลในการดูว่าสิ่งใดที่ทำได้หรือไม่ได้ด้วยกลัวที่จะฝ่าฝืนกฏหมายหยุดปฎิบัติหน้าที่นี้ โดยทางเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวกล่าวว่า เขาได้แนะนำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ให้เช็กอีเมลหรือใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งภายใต้กฎหมาย ADA นี้ ถึงแม้จะเป็นการอาสาทำงานในส่วนที่ค้างโดยไม่ได้ค่าตอบแทนนั้น...ยังไม่สามารถที่จะกระทำได้


การปิดตัวลงในหน่วยงานรัฐบาลกลาง

       
การปิดตัวลงในหน่วยงานรัฐบาลกลาง

 
       และจากบันทึกภายในที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯได้รับในวันอังคาร(1)นั้น รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง จาค็อบ ลิว กล่าวว่า “เหตุผลที่กฏหมาย ADA กำหนดให้ลดอัตรากำลังคนลง เพราะในสถานการณ์ทางตันเช่นนี้ การดำเนินงานนั้นจะต้องถูกจำกัดให้น้อยที่สุดเยกเว้นงานเฉพาะด้านที่ยกเว้นไว้ ตัวอย่างเช่น งานด้านความปลอดภัยสาธารณะ หรือที่เกี่ยวพันกับชีวิตและปกป้องทรัพย์สิน”
     
       นั่นหมายความว่า สนามบินในสหรัฐฯยังเปิดให้บริการ ไปรษณีย์ยังทำงานได้ปกติ เช็คจากประกันสังคมสหรัฐฯ(Social Security checks)ยังถูกสั่งจ่ายได้ เรือนจำและศาลยังทำงานปกติ กองทัพและCIA ยังปฎิบัติหน้าที่ แต่อุทยานแห่งชาติ หรือสวนสาธารณะ หรืออนุสรณ์สถานต่างๆที่รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์นั้นปิดให้บริการ รวมไปถึงหน่วยงานด้านพาณิชย์และด้านการศึกษาของสหรัฐฯ
     
       และในวันอังคาร(1) ซึ่งเป็นวันเริ่มปิดทำการบางส่วนของหน่วยงานสหรัฐฯนั้น เป็นวันเดียวที่นโยบายประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน หรือ “โอบามาแคร์” เริ่มมีผลบังคับใช้ และเป็นเหตุให้เวปไซต์ตลาดของ “โอบามาแคร์” เกิดล่มในวันนั้นเนื่องจากชาวอเมริกันนับล้านที่ยังไม่มีประกันสุขภาพต้องการเข้าชมเพื่อเลือกดูข้อเสนอแพคเก็จประกันสุขภาพที่พวกเขาต้องการเลือกซื้อ ซึ่งนโยบาย “โอบามาแคร์” นี้ ฝ่ายรีพับลิกันต้องการไม่ให้บังคับใช้จึงนำไปสู่วิกฤตการปิดตัวลงในที่สุด
     
       ทั้งนี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯบารัค โอบามา ได้กล่าวในเปิดตัวท่ามกลางกลุ่มผู้สนับสนุนนโยบายประกันสุขภาพว่า “นี่เป็น “โอกาส” ที่จะทำให้ชีวิตนั้นเปลี่ยนไปของชาวอเมริกันราว 15% ที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ มีชาวอเมริกันเรือนหมื่นที่ต้องเสียชีวิตลงไปทุกปีเพราะพวกเขาไม่มีประกันสุขภาพ และมีประชาชนอเมริกันเรือนล้านที่อยู่ในความกลัวว่าจะต้องล้มละลายเนื่องมาจากค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามล้มป่วย และในวันนี้ (1) จะเป็นวันที่เราได้ปลดปล่อยชาวอเมริกันออกจากความกลัวอันนั้น”
     
       และนอกจากนี้ โอบามาได้ตอกย้ำถึงการต้อนรับนโยบายนี้ว่า มีผู้คนให้การต้อนรับมากกว่าล้านคนจนทำให้เวปไซต์ล่มก่อน 7.00 นของวันเปิดตัว และจากตัวเลขพบว่า มีชาวอเมริกันอย่างน้อย 7 ล้านคนต้องซื้อประกันสุขภาพจากรัฐบาลกลางหรือจากบริษัทประกันเอกชนก่อนปี 2014 หรือไม่เช่นนั้นต้องโดนค่าปรับจำนวนมาก
     
       โดยประกันสุขภาพจากรัฐบาลกลางที่เปิดตัวเป็นทางการไปแล้วนั้น จะให้ประชาชนอเมริกันสามารถเลือกซื้อได้ตามแพคเก็จ ซึ่งมีตั้งแต่แพคเก็จบรอนซ์ที่มีการคุ้มครองต่ำสุด ซิลเวอร์ โกลด์ และไปจนถึงแพคเก็จแพลตินัมที่มีการคุ้มครองสูงสุด โดยมีปัจจัยกำหนดจากรายได้ อายุ จำนวนของสมาชิกในครอบครัว รัฐที่อาศัยอยู่ และระดับของการคุมครองในการประกันเป็นสำคัญ
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น