วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ก่อนแมลงสาบล่มสลาย


ม็อบสีลมจบแล้ว! ประกาศชุมนุมครั้งสุดท้ายหลังมากันเพียงแค่ 45 คน



          วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย ย่านถนนสีลมวันนี้เงียบเหงา ผู้ชุมนุมหายเกลี้ยง เหลือผู้ชุมนุมกลุ่มกองทัพธรรมที่มาจัดตั้งรอเพียงแค่ 45 คนเท่านั้น แกนนำกลุ่มระบุว่าครั้งนี้จะเคลื่อนไหวเป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภาไม่รับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามที่ได้ประกาศเอาไว้ และไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะให้ออกมาชุมนุมอีก


"เนชั่น" ยอมถอย แนะ "ม็อบปชป." กลับบ้าน





          วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) – ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา 01:00 เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ได้เผยแพร่บทความ “ระวังกระแสตีกลับ ถอยเถิดครับ ปชป.” ซึ่งเขียนโดย นายปกรณ์ พึ่งเนตร โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

           ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เห็นแก่บ้านเมืองจริง และต้องการให้สังคมเปลี่ยนผ่านการเมืองแบบไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ หรือทิ้งบาดแผลแห่งความขัดแย้งบาดลึกจนยากเยียวยา พรรคประชาธิปัตย์สมควรถอย และกลับไปทำหน้าที่ของตนเองในสภา เพื่อป้องกันการเผชิญหน้าของมวลชนฝั่งหนุนกับฝั่งต้านรัฐบาล  เพราะภารกิจการขัดขวางร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ"ฉบับสุดซอย"ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว แม้ร่างกฎหมายยังไม่ตายสนิท แต่ควรปล่อยให้พลังประชาชนผู้บริสุทธิ์เขาว่ากันต่อ

          พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรฉวยจังหวะนี้ ปลุกระดมมวลชนให้ลุกฮือขึ้น เพื่อหวังเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในวิถีทางที่ไม่ใช่การเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้ง หรือกดดันรัฐบาลจนไม่มีทางถอย กระทั่งต้องปลุกมวลชน"คนเสื้อแดง"ผู้สนับสนุนขึ้นมาเผชิญหน้า ทำให้สถานการณ์บานปลายเกินควบคุม

         แน่นอนว่าหากพรรคประชาธิปัตย์เดินหน้ากดดันด้วยวิธีการต่างๆ ไปเรื่อยๆ รัฐบาลอาจอยู่ไม่ได้ จะด้วยเหตุผลที่ทหารออกมาเอ็กเซอร์ไซส์ หรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีสำคัญ หรือมีม็อบชนม็อบก็ตาม แต่สุดท้ายความเกลียดชังในหัวใจของคนไทยด้วยกันไม่ได้หมดไปด้วย ประชาชนจะยังคงแบ่งเป็น 2 ขั้ว 2 ฝ่าย ทีเอ็งทำข้าพ่าย ถึงทีข้าบ้างต้องเอาให้ตาย...อะไรประมาณนั้น เพราะการเปลี่ยนผ่านมันไม่ใช่กระบวนการที่ทุกคนต้องยอมรับ มันเป็นแค่เกมการเมืองโค่นล้มกัน

         เมื่อรัฐบาลแสดงเจตนา"ถอยสุดซอย"แล้ว ก็ควรดึงความขัดแย้งกลับไปในสภาแล้วพูดจากัน ตรวจสอบกันไปตามระบบ จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ลากไส้ทุจริตจำนำข้าวก็ว่ากันไป โดยมีพลังมวลชนที่ตื่นรู้และรู้เช่นเห็นชาติกับพฤติกรรมของรัฐบาลชุดปัจจุบันแล้วเป็นแรงสนับสนุนอยู่ข้างนอก บทจบก็ไปวัดกันที่สนามเลือกตั้ง นั่นคือการเปลี่ยนผ่านที่ถูกต้อง สง่างาม ฝ่ายแพ้ก็จะยอมรับ ไม่พยายามก่อเงื่อนไขกลับมาอีก

        มีสุ้มเสียงจากคน ปชป.ว่า ถึงเลือกตั้งวันนี้ก็แพ้อีก ซึ่งก็คงไม่ผิด แต่สิ่งที่อยากจะบอกคือ พรรคประชาธิปัตย์จะแพ้อีกเพียงแค่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง จากที่เคยมีนักรัฐศาสตร์คาดการณ์ว่าผลการเลือกตั้งจะไม่เปลี่ยน (คือพรรคฝ่ายทักษิณจะชนะอย่างท่วมท้น) อีกอย่างน้อย 4-5 ครั้ง หรือ 20 ปี และในการเลือกตั้งครั้งหน้านี้ ถ้าสถานภาพของรัฐบาลยังเป็นแบบนี้ ถึงจะชนะกลับมา ก็ไม่น่าจะท่วมท้นแบบเดิม และน่าจะรักษาอำนาจอยู่ได้อีกไม่นาน

            กระบวนการให้ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย เปิดเวทีสื่อสารโดยตรงกับคนในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ แล้วเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้และดีกว่าพรรคเพื่อไทย คือภารกิจใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มที่ไม่เอารัฐบาลชุดนี้ต้องช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำ เพื่อให้ความห่างของคะแนนจากคูหาเลือกตั้งระหว่าง 2 พรรคใหญ่ลดน้อยลงที่สุด แล้วการเมืองก็จะพลิกขั้วของมันไปได้เอง

          จะอภิปรายซักฟอกทุจริตจำนำข้าว แล้วหาเสียงสู้ว่า"ชาวนาได้เท่าเก่า แต่ไม่เอาการโกง"อย่างนี้ก็ไม่มีใครว่า และไม่เกิดคำถามเชิงชนชั้นว่า"คนชนบทตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯล้มรัฐบาล"อีกต่อไป

         หากประชาธิปัตย์ยังหลงกับกระแส ระวัง"ม็อบไพร่"จากความหมั่นไส้ของคนเสื้อแดงจะกลับมาล้อมเมือง แล้ววันนั้นจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่มีใครรู้

         อย่าลืมว่าปรากฏการณ์เสื้อแดงที่แผ่กว้างและขยายวงไปทั่วประเทศเมื่อหลายปีก่อน เหตุผลที่มีน้ำหนักไม่น้อยคือ "หมั่นไส้เสื้อเหลือง" เพราะทำอะไรไม่เคยผิด รัฐบาลที่ชนะเลือกตั้งมาไม่มีสิทธิ์แม้เข้าทำเนียบรัฐบาล ฯลฯ

          วันนี้หลายคน หลายกลุ่ม ตื่นรู้แล้ว อย่าให้อารมณ์หมั่นไส้ย้อนกลับมาทำลายบ้านเมืองอีกเลย...

        และผู้ที่เริ่มต้นได้คือประชาธิปัตย์ ควรฉวยจังหวะนี้เร่งปฏิรูปพรรค ทำสัญญาประชาคมกับกลุ่มต่างๆ เพื่อปฏิรูปประเทศไปในทิศทางที่ถูกที่ควร เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับประชาชน ก้าวข้ามความเป็นนักการเมืองที่มองแต่ผลเลือกตั้ง ไปสู่การเป็น"รัฐบุรุษ"หรือ state man กันดีกว่าไหม...


ถ้าทำไม่ได้ ก็นับถอยหลังกันได้เลย!
อ้างอิงจาก http://www.bangkokbiznews.com/
*******************************************************************

"หอการค้าไทย" โต้ "สุเทพ" การไม่ชำระภาษีเป็นการทำผิดกฎหมาย"



            วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) – นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย ออกแถลงการณ์หอการค้าไทย ระบุว่าเป็นห่วงสถานการณ์ปัจจุบันที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ จากการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งอาจยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว


          "ขณะนี้ไทยกำลังเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น ซึ่งเป็นตัวผลักดันรายได้เข้าประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งจะช่วยทดแทนตัวเลขการส่งออกของไทยที่ชะลอตัวได้ ในช่วง 9เดือนแรกของปี การส่งออกขยายตัวเพียง 0.05% และคาดว่าทั้งปีจะขยายตัวเพียง 1% เท่านั้น"

         ทั้งนี้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แสดงจุดยืนใน 3 ประเด็น คือ
  • 1.ยังคงยึดมั่นต่อการต่อต้านคอร์รัปชั่น และเห็นว่า การรณรงค์คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว 
  • 2.ขอให้ทุกฝ่ายลดการเผชิญหน้าและการท้าทายซึ่งกันและกัน ไม่ใช้ความรุนแรง อันจะนำไปสู่ความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และขอให้ทุกฝ่ายยึดผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง พิจารณาการดำเนินการอย่างมีสติ เพื่อให้สันติสุขและความสามัคคีกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างเร็วที่สุด
  • "และ 3. กรณีที่มีการขอความร่วมมือให้หยุดงานในวันที่ 13-15 พ.ย.นี้ เอกชนไม่ขอตอบรับข้อเสนอนี้ และไม่ได้ประกาศให้พนักงานหยุดงานเพื่อไปรวมชุมนุมแต่อย่างใด รวมทั้งไม่ขอตอบรับข้อเสนอให้หยุดชำระภาษี เนื่องจากการไม่ชำระภาษีเป็นการทำผิดกฎหมาย ซึ่งหอการค้าไทยไม่ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย"
          ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากมีการชุมนุมต่อเนื่องถึงสิ้นปี โดยไม่รุนแรง จีดีพีเติบโตลดลง 0.2-0.3% หรือปีนี้ขยายตัว 3.3-3.5% แต่หากการชุมนุมรุนแรงและต่อเนื่องถึงสิ้นปีทำให้นักท่องเที่ยวหายไปเดือนละ 2 แสนคน คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 3.5 หมื่นล้านบาท และจีดีพีจะเติบโตเหลือ 3-3.2%

          ทั้งนี้ หากการชุมนุมยืดเยื้อต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปี 57 จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจประมาณ 1 - 1.5 แสนล้านบาท ทำให้จีดีพีปีหน้าจะโต 4 - 4.5% และหากมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น จีดีพีจะโตเพียง 4% จากเดิมที่คาดว่าจะโตได้ 5%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น