ซวยแล้วเมิง! "หญิงบริการ" ในม็อบสารภาพเป็น "เอดส์" โดนตบตี-ไม่ใส่ถุงยาง แต่ขายบริการให้การ์ด กปปส.เพื่อความสะใจ
มูลนิธิอิสรชนร่วมกับบ้านมิตร ไมตรีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แถลงสรุปสถานการณ์ผู้ใช้ ชีวิตในที่สาธารณะปี 2556 และผลกระทบทางการเมืองที่ส่งผลต่อผู้ใช้ชีวิตในที่ สาธารณะ โดยนายนที สรวารีเลขาธิการมูลนิธิอิสรชน เปิดเผยว่าจากการสำรวจผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในปี 56 พื้นที่กรุงเทพมหานครมี ทั้งหมด3,140 รายเป็นเพศชาย 1,944 รายเพศหญิง 1,196 รายแบ่งเป็น
- 1.คนเร่รอน 900 คน
- 2.คนที่ใช้ที่สาธารณะหลับนอนชั่วคราว 824 คน
- 3.ผู้ติดสุรา 806 คน
- 4.ผู้ป่วยข้างถนน 683 คน
- 5.คนจนเมือง 597 คน
- 6.คนไร้บ้าน 461 คน
- 7.พนักงานบริการ อิสระ 398 คน
- 8.คนเร่รอนไร้บ้าน 323 คน
- 9.ผู้พ้นโทษ 56 คน
- 10.ครอบครัวแรงงานเพื่อน บ้าน 34 คน
- 11.ชาวต่างชาติเร่ร่อน 22 คน
- 12.ผู้มีความหลากหลายทางเพศ 15 คน
โดยมีแนว โน้มที่จะเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี เขตที่พบคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะมากที่สุดคือเขตพระนคร 559 คนเขตบางซื่อ275 คนเขตจตุจักร 228 คน และในช่วงที่มีสถานการณ์ทางการเมืองมีการชุมนุมต่างๆ เกิดขึ้นจะส่งผลให้มี กลุ่มคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพิ่มขึ้นตลอดซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีบุคคลตก ค้างจากการชุมนุมตั้งแต่ พ.ศ.2516 - ปัจจุบันรวมกว่า140 คนและการชุมนุมแต่ละครั้งส่งผลกระทบต่อความเครียดและการป่วยทางจิต
นายนทีกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในช่วงการชุมนุมพบว่ามีกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศมากขึ้น เนื่องจากช่วงเวลาการชุมนุมบุคคลเหล่านี้ถือเป็นที่ต้องการอย่างมากโดยผู้ขายบริการจะเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณที่มีการชุมนุมต่าง ๆ ซึ่งจากการลงพื้นที่ พูดคุยกับผู้ขายบริการพบว่าบางส่วนเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์แต่ก็ยังมาขายบริการ ในช่วงการชุมนุมซึ่งคาดว่ามีกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน 398 คนบางครั้งหญิงขายบริการก็ถูกข่มขู่ใช้บริการฟรีโดยไม่สวมถุงยางอนามัยถึง ขั้นลงไม้ลงมือก็มีทำให้ผู้ขายบริการที่รู้ทั้งรู้ว่าตนเองเป็นเอดส์ก็ยังไป ขายบริการให้การ์ด กปปส.เพื่อความสะใจ
อย่างไรก็ตามปัญหาผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะถือเป็นส่วนที่ทุกคนต้องช่วย กันดูแลและแก้ปัญหาโดยกทม.ในฐานะการผู้ดูแลเมืองถือเป็นส่วนสำคัญมากในการ เข้าไปทำความเข้าใจและดูแลกับบุคคลเหล่านี้แต่กทม.ยังไม่มีการจัดการปัญหาคน เร่รอนอย่างเป็นระบบมีเพียงการตั้งบ้านอุ่นใจเพื่อเป็นที่พักพิงแก่คนเร่ ร่อนแต่ก็เป็นเพียงที่หลับนอนเท่านั้นไม่มีการติดตามประสานงานเพื่อช่วยแก้ ปัญหาซึ่งตนเห็นว่าส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางการเมืองที่ทำให้กทม.และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ไม่ร่วมมือกันดำเนินการซึ่ง กทม.ควรปรับทัศนะเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาดังกล่าวให้มากขึ้น
ที่มา : news center/dailynews
ขอบคุณภาพจาก : www.prachatai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น