วรวุฒิ เทือกชัยภูมิ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 ใน 6 คน ซึ่งถูกเรียกเข้ารายงานตัวหลังจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐประหาร แต่เขาเป็นเพียงคนเดียวที่ถูกนำตัวเข้าพบเจ้าหน้าที่ถึง 3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 วัน และท้ายสุดเขาถูกสั่งให้ออกนอกพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ประชาไทสัมภาษณ์วรวุฒิถึงเหตุการณ์ที่เขาถูกเรียกเข้ารายงานตัว เพื่อถ่ายทอดไว้เป็นเรื่องราวในห้วงเวลาหลังการรัฐประหารโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
จุดเริ่มต้นมาจากที่ว่า เมื่อเกิดการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 22 พ.ค. 2557 วรวุฒิและกลุ่มนักกิจกรรมของมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งได้มาพูดคุยกันเพื่อกำหนดแนวทางการต่อต้านรัฐประหาร หลังจากนั้น พวกเขาจึงทำการรวบรวมค่าใช้จ่าย และซื้ออุปกรณ์ เช่น ป้ายผ้า สี กระดาษ ปากกา แล้วนำมาเขียนข้อความต่อต้านรัฐประหาร วันรุ่งขึ้น (23 พ.ค. 57) กลุ่มนักศึกษาได้นำป้ายเหล่านั้นไปติดรอบบริเวณวงเวียนหอนาฬิกาของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งอยู่ใกล้ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ขณะที่ติดป้ายต่างๆ อยู่นั้น ได้มีอาสาสมัครรักษาดินแดน หรือ อส. เข้ามาถ่ายรูปพวกเขา
หลังจากนั้น พวกเขาจึงคิดกันต่อว่า จะทำอย่างไรให้การต่อต้านนั้นเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่านี้? ได้ข้อสรุปว่า การต่อต้านเชิงสัญลักษณ์โดยการพับนกกระดาษและจุดเทียน น่าจะเป็นวิธีการแสดงออกที่เหมาะสม พวกเขาจึงเลือกเอาตัวเมืองจังหวัดมหาสารคามเป็นพื้นที่แสดงออก
ในขณะที่พวกเขาจัดกิจกรรมดังกล่าวในวันที่ 25 พ.ค. 57 ก็พบว่า มีนายทหารหนึ่งนายได้มาสังเกตการณ์ และถ่ายรูปพวกเขาไป เวลาผ่านไปประมาณเพียง 30 นาที นายทหารกว่า 30 นาย พร้อมอาวุธ รถหุ้มเกราะติดอาวุธปืน และรถลำเลียงกำลังพล ก็มาถึงบริเวณที่พวกเขากำลังทำกิจกรรม ทหารกลุ่มดังกล่าวได้เข้ามากระชากป้ายผ้าที่มีข้อความ อาทิ “ไม่เอารัฐประหาร”, “ไม่เอารัฐบาลโจร”, “ต่อต้านรัฐประหารทุกรูปแบบ” เป็นต้น ก่อนจะทำการควบคุมตัวนักศึกษาที่จัดกิจกรรม อาจารย์ท่านหนึ่งที่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จึงได้เข้าไปเจรจาไม่ให้เจ้าหน้าที่คุมตัวพวกเขาออกไป แต่อนุญาตให้ยึดอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมรณรงค์ไปได้ เจ้าหน้าที่ทหารยินยอมทำตามที่อาจารย์ท่านนั้นขอร้อง แต่ก่อนที่เจ้าหน้าที่ทหารจะกลับไป กลุ่มนักศึกษาก็ได้รับคำขู่จากเจ้าหน้าที่ทหารคนหนึ่งว่า “เดี๋ยวพวกมึงโดนแน่ กูจะจับพวกมึงไปขังซะให้เข็ด”
หลังจากเหตุการณ์ที่ทหารเข้าขัดขวางกิจกรรมต้านรัฐประหารของกลุ่มนักศึกษาในวันนั้นเพียง 1 วัน (วันที่ 26 พ.ค. 2557) ก็มีหนังสือจากกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดมหาสารคาม เลขที่ กห 0482.2/26 ขอความร่วมมือไปยังอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้เขาและเพื่อนนักศึกษารวมทั้งหมด 6 คน ไปรายงานตัว ณ อาคารหอประชุมจังหวัดมหาสารคาม ศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม ในวันที่ 27 พ.ค. 57 เวลา 11.00 น.
พวกเขาไปรายงานตัวตามคำสั่งดังกล่าวแต่โดยดี ในเวลา 09.00 น. ในระหว่างนั้น พวกเขาได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวด้วยถ้อยคำขู่ต่างๆ เช่น “มึงเคยโดนไหม แบบนี้ อุ้มหายและไม่มีกระทั่งรอยนิ้วมือ”, “ตอนนี้กูคุมอำนาจทั้งประเทศอยู่ มึงอยากมีเรื่องหรอ”, “มึงอยากนักหรอสันติ กูไม่ให้มึงหรอก มึงจะได้แต่สันแตด”, “มึงอยากได้นักหรอประชาธิปไตย มึงเคยโดนอุ้มหายแบบไม่รู้ตัวหรือเปล่า”, “ตอนนี้กูจะฆ่ามึงก็ไม่ผิดกฎหมาย จะซ้อมมึงก็ไม่ผิดกฎหมาย เพราะพวกกูกุมอำนาจทั้งประเทศอยู่”
ลักษณะของคำขู่ส่วนมากจะวนเวียนอยู่ที่ การอุ้มหาย และการซ้อม ตลอดเวลาของการควบคุมตัวและซักถามรวมกลุ่มนานกว่า 2 ชั่วโมง
เวลาประมาณ 12.00 น. เขาและเพื่อนจึงถูกปล่อยตัวออกมา ขณะที่ตัวเขากลับไปที่มหาวิทยาลัย ก็พบว่า ทหารจำนวน 4 นาย ได้มาที่มหาวิทยาลัยอีก และเชิญตัวเขาไปอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยบอกว่า “จะพาตัวไปกักไว้ที่ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดร้อยเอ็ด” เขาจึงตัดสินใจโทรหาเพื่อนที่อยู่ข้างนอก เพื่อแจ้งว่าเขาจะถูกนำตัวไปกักขังที่ใด และให้เป็นธุระช่วยติดต่อทนายให้เขา (เจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งเรื่องสิทธิใดๆ แก่เขา เช่น สิทธิในการพบทนาย) หลังจากนั้น จึงมีทนายโทรหาเขา ในช่วงเวลา 16.00 - 17.00 น. แต่เขาจำไม่ได้ว่าเป็นทนายมาจากหน่วยงานใด โดยทนายบอกว่าให้พวกเขาให้ความร่วมมือไปก่อน ทางทนายจะประสานและติดตามอยู่เป็นระยะ และจะหาวิธีช่วยในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด วรวุฒิได้แจ้งกับทนายว่า ตอนนี้เขาถูกกักตัวพร้อมเพื่อนอีก 1 คน และมี 2 คน ถูกปล่อยตัวไปแล้ว
ในขณะที่พวกเขาถูกควบคุมตัวกลับไปที่ศาลากลางจังหวัดอีกครั้ง และคาดว่าจะถูกนำตัวต่อไปที่ค่ายทหาร เขาและเพื่อนถูกขู่ด้วยถ้อยสบถต่างๆ เช่นเดิม เช่น “พวกมึงเก่งนักใช่ไหม กูจะคอยดูว่า ถ้าพวกมึงอยู่ในค่ายทหารพวกมึงจะยังเก่งอยู่ไหม” เขาจึงพยายามติดต่อกับเพื่อนข้างนอกโดยกำชับว่า ช่วยรายงานเรื่องนี้ให้กระจายออกไปในพื้นที่สาธารณะให้ได้ เนื่องจากเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัย เมื่อไปถึงที่กักตัวที่เดิม เวลา 13. 00 น. เขาและเพื่อนจึงถูกสั่งว่า “รอพบ ‘เสธ’ อยู่ที่นี่ก่อน” เขาทราบภายหลังว่า ‘เสธ.’ คือ พันเอก นรธิป โพยนอก ในระหว่างที่พวกเขาใช้เวลารอนัดดังกล่าวกว่า 2 ชั่วโมง โดยไม่มีน้ำดื่มให้ พวกเขาจึงพยายามขอน้ำดื่ม แต่ได้รับการปฏิเสธ
นอกจากนี้ มีทหารยศร้อยตรี เดินมาทักทายพวกเขาว่า “มึงเคยโดนยิงไหม รู้ไหมว่ามันเจ็บขนาดไหน”, “มึงเคยโดนทรมานไหม กูถนัดเรื่องการทรมานคน” และก็ถามกับเขาว่า “มึงคิดยังไงกับสถาบันกษัตริย์ ?”เขาจึงตอบว่า “คนอื่นคิดอย่างไรต่อสถาบันกษัตริย์ ผมก็คิดอย่างนั้น” ก่อนที่นายทหารคนดังกล่าวจะตอบสวนกลับมาว่า “พวกกูรู้ว่าพวกมึงคิดยังไงกับสถาบันกษัตริย์”, “พวกมึงเสพข่าวเสื้อแดงมากเกินไป”
ในห้องที่ควบคุมตัว มีโต๊ะเพียง 1 ตัว และเก้าอี้จำนวนหนึ่ง พวกเขาถูกสั่งให้นั่งบนเก้าอี้ บริเวณรอบๆ มีเจ้าหน้าที่ทหารสวมเครื่องแบบเต็มยศพร้อมอาวุธปืนยืนคุมอยู่ไม่ห่างตลอดเวลา วรวุฒิถูกยึดโทรศัพท์ กระเป๋าเงิน และบัตรประจำตัวประชาชนไป จนถึงเวลาประมาณ 18 .00 น. ทหารจึงเอาโทรศัพท์มาคืน เพื่อให้เขาโทรบอกเพื่อนๆ ข้างนอกว่า ให้นำอาหารมาส่งให้พวกเขา (ตลอดทั้งวันเขายังไม่ได้ทานอะไร) แต่ไม่มีใครกล้าเอาอาหารมาส่ง เนื่องจากทหารไม่สามารถรับรองได้แม้แต่ว่า จะควบคุมตัวเขาไว้นานเพียงใด
เวลาในการรอพบ ‘เสธ’ ที่ยาวนานนั้นดำเนินต่อไป ระหว่างนั้น สำนักข่าวประชาไทได้รายงานข่าวว่าพวกเขาถูกจับอยู่ นายทหารคนหนึ่งเดินมาบอกกับเขาว่า “พวกมึงนี่เก่งนะ ขณะกูกักตัวพวกมึงอยู่ มึงยังมีปัญญาส่งข้อมูลออกไปข้างนอกได้ มึงทำตัวแบบนี้แหละ กูก็จะขังมึงไว้ไม่ปล่อยเลย มึงทำแบบนี้มึงคิดว่าเขาจะช่วยอะไรมึงได้หรอ พวกกูยึดประเทศได้หมดแล้ว” หลังจากนั้นพวกเขาก็ถูกขู่อีกเรื่อยๆ เช่น มีการนำปืนมาวางไว้บนโต๊ะ แล้วถามว่า “มึงรู้ไหมว่าปืนกระบอกนี้ยิงคนมาแล้วกี่ศพ กูเอาไว้ยิงคนเหี้ยๆ แบบพวกมึงนี่แหละ”
พวกเขาต้องทนฟังคำซ้ำซากไปจนกระทั่งเกือบจะสี่ทุ่ม ‘เสธ.’ จึงได้ลงมาพบพวกเขาพร้อมกล่าวว่า “วันนี้ผมจะปล่อยพวกคุณไปก่อน ผมไม่อยากให้เป็นประเด็น ผมเห็นข่าวที่ถูกนำไปลงแล้วแหละ เมื่อคุณออกไปช่วยไปแก้ข่าวด้วยว่า เรานำตัวพวกคุณมาปรับทัศนคติทางการเมืองเท่านั้น ไม่มีอะไรที่เกินเลย” ในระหว่างนั้น ทหารได้พานักจิตวิทยามาคุยกับพวกเขาด้วย แต่เป็นแค่การถามคำถามทั่วไป เช่น เป็นอย่างไรบ้าง? สบายดีไหม? และให้พวกเขากรอกประวัติ ชื่อ ที่อยู่ อีเมลล์ และสื่อออนไลน์ที่เขาเข้าใช้กันอยู่ โดยไม่ได้ให้เขาแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด จากนั้น เวลาประมาณ 22.00 น. พวกเขาจึงถูกนำตัวมาปล่อยที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันต่อมา (28 พ.ค. 57) วรวุฒิและเพื่อนจำนวนหนึ่งเข้าไปที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง เพื่อพบปะพูดคุยกันตามปกติ เจ้าหน้าที่ทหารก็จู่โจมเข้ามาอีกครั้ง โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย ประมาณ 4 คน และเจ้าหน้าที่กองกิจการนิสิตของมหาวิทยาลัย เป็นผู้พาทหารเข้ามา ทหารพวกนั้นเข้ามาเตือนแกมข่มขู่ และยึดตำราเรียน สมุด กระดาษที่เขาใช้ในการเรียนไป โดยกล่าวว่า “ขออนุญาตเก็บไปก่อน ผมเตือนคุณแล้วนะครับ” เขาพบว่า ทุกวันนับตั้งแต่รัฐประหาร มีเจ้าหน้าที่ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบสับเปลี่ยนกันเข้ามาตรวจตราในบริเวณมหาวิทยาลัยตลอดเวลา มีทั้งที่พูดจาสุภาพและหยาบคาย
วันเดียวกันนั้น วรวุฒิได้รับโทรศัพท์ให้เข้าไปรายงานตัวที่เดิมอีกเป็นครั้งที่ 3 โดยไม่มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยเช่นครั้งแรก เขาพยายามขอหนังสือเรียกตัวดังกล่าว แต่ทหารให้เขาเข้าไปรายงานตัวก่อน แล้วจะส่งหนังสือตามมาทีหลัง การเข้ารายงานตัวครั้งที่ 3 นี้ เขาก็ต้องเผชิญกับคำพูดเดิมๆ คือสั่งให้หยุดการเคลื่อนไหวใดๆ และขู่ว่า ถ้าไม่หยุดครอบครัวจะเดือดร้อน ภายหลังเขาได้มีโอกาสโทรถามมารดาว่า มีเจ้าหน้าที่ไปหาที่บ้านไหม มารดาก็ตอบว่า มีทหารไปพักที่วัดและเข้ามาสอบถามที่บ้านบ้าง นอกจากนั้นก็เคยมีเจ้าหน้าที่โทรมาหา แจ้งว่าเขาทำความผิดอะไรในช่วงที่ทหารประกาศกฎอัยการศึก
ที่สำคัญ ในการเข้ารายงานตัวครั้งนี้ วรวุฒิถูกสั่ง “ให้ออกจากพื้นที่” เขาตั้งข้อสังเกตว่า คำสั่งของทหารดูจะสับสนไปมา กล่าวคือ ในครั้งแรกที่เข้ารายงานตัว เขาและเพื่อนถูกสั่งห้ามเดินทางไปไหนมาไหนออกนอกพื้นที่ หากต้องการไปที่ใดต้องทำหนังสือขออนุญาตเจ้าหน้าที่ทหารก่อนทุกครั้ง แต่ในครั้งนี้ ทหารกลับสั่งให้เขาออกจากพื้นที่อย่างกะทันหัน ทั้งๆ ที่เขายังไม่ได้ละเมิดคำสั่งของเจ้าหน้าที่ทหารเลย และแม้ว่าเขาจะอยู่ในพื้นที่ก็ถูกเจ้าหน้าที่รบกวนตลอดเวลา ทั้งการเข้าไปตรวจตราร้านอาหารข้างมหาวิทยาลัยที่เขาทำงานอยู่ หรือการเข้าไปยึดเอกสารในมหาวิทยาลัย การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารเช่นวันแรกๆ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อีกทั้ง เจ้าหน้าที่ทหารก็ยืนยันเองด้วยว่า “ผมส่งคนติดตามคุณตลอด อย่าคิดว่าจะรอดสายตาผมไปได้ และอย่าคิดว่าในมหาวิทยาลัยจะไม่มีสายของพวกผม” ดังนั้น การที่ทหารสั่งให้เขาออกนอกพื้นที่จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย เขากล่าวอีกว่า หลักฐานที่เจ้าหน้าที่ทหารใช้กล่าวหาว่า เขาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารหลายครั้งก็ไม่ใช่ของเขา “กระดาษที่พิมพ์คำว่า ‘จะเอารัฐบาลเลือกตั้ง ไม่เอาการรัฐประหารที่แต่งตั้ง’ ไม่ใช่ของผมเลย”
จุดเริ่มต้นมาจากที่ว่า เมื่อเกิดการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 22 พ.ค. 2557 วรวุฒิและกลุ่มนักกิจกรรมของมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งได้มาพูดคุยกันเพื่อกำหนดแนวทางการต่อต้านรัฐประหาร หลังจากนั้น พวกเขาจึงทำการรวบรวมค่าใช้จ่าย และซื้ออุปกรณ์ เช่น ป้ายผ้า สี กระดาษ ปากกา แล้วนำมาเขียนข้อความต่อต้านรัฐประหาร วันรุ่งขึ้น (23 พ.ค. 57) กลุ่มนักศึกษาได้นำป้ายเหล่านั้นไปติดรอบบริเวณวงเวียนหอนาฬิกาของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งอยู่ใกล้ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ขณะที่ติดป้ายต่างๆ อยู่นั้น ได้มีอาสาสมัครรักษาดินแดน หรือ อส. เข้ามาถ่ายรูปพวกเขา
หลังจากนั้น พวกเขาจึงคิดกันต่อว่า จะทำอย่างไรให้การต่อต้านนั้นเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่านี้? ได้ข้อสรุปว่า การต่อต้านเชิงสัญลักษณ์โดยการพับนกกระดาษและจุดเทียน น่าจะเป็นวิธีการแสดงออกที่เหมาะสม พวกเขาจึงเลือกเอาตัวเมืองจังหวัดมหาสารคามเป็นพื้นที่แสดงออก
ในขณะที่พวกเขาจัดกิจกรรมดังกล่าวในวันที่ 25 พ.ค. 57 ก็พบว่า มีนายทหารหนึ่งนายได้มาสังเกตการณ์ และถ่ายรูปพวกเขาไป เวลาผ่านไปประมาณเพียง 30 นาที นายทหารกว่า 30 นาย พร้อมอาวุธ รถหุ้มเกราะติดอาวุธปืน และรถลำเลียงกำลังพล ก็มาถึงบริเวณที่พวกเขากำลังทำกิจกรรม ทหารกลุ่มดังกล่าวได้เข้ามากระชากป้ายผ้าที่มีข้อความ อาทิ “ไม่เอารัฐประหาร”, “ไม่เอารัฐบาลโจร”, “ต่อต้านรัฐประหารทุกรูปแบบ” เป็นต้น ก่อนจะทำการควบคุมตัวนักศึกษาที่จัดกิจกรรม อาจารย์ท่านหนึ่งที่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จึงได้เข้าไปเจรจาไม่ให้เจ้าหน้าที่คุมตัวพวกเขาออกไป แต่อนุญาตให้ยึดอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมรณรงค์ไปได้ เจ้าหน้าที่ทหารยินยอมทำตามที่อาจารย์ท่านนั้นขอร้อง แต่ก่อนที่เจ้าหน้าที่ทหารจะกลับไป กลุ่มนักศึกษาก็ได้รับคำขู่จากเจ้าหน้าที่ทหารคนหนึ่งว่า “เดี๋ยวพวกมึงโดนแน่ กูจะจับพวกมึงไปขังซะให้เข็ด”
หลังจากเหตุการณ์ที่ทหารเข้าขัดขวางกิจกรรมต้านรัฐประหารของกลุ่มนักศึกษาในวันนั้นเพียง 1 วัน (วันที่ 26 พ.ค. 2557) ก็มีหนังสือจากกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดมหาสารคาม เลขที่ กห 0482.2/26 ขอความร่วมมือไปยังอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้เขาและเพื่อนนักศึกษารวมทั้งหมด 6 คน ไปรายงานตัว ณ อาคารหอประชุมจังหวัดมหาสารคาม ศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม ในวันที่ 27 พ.ค. 57 เวลา 11.00 น.
พวกเขาไปรายงานตัวตามคำสั่งดังกล่าวแต่โดยดี ในเวลา 09.00 น. ในระหว่างนั้น พวกเขาได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวด้วยถ้อยคำขู่ต่างๆ เช่น “มึงเคยโดนไหม แบบนี้ อุ้มหายและไม่มีกระทั่งรอยนิ้วมือ”, “ตอนนี้กูคุมอำนาจทั้งประเทศอยู่ มึงอยากมีเรื่องหรอ”, “มึงอยากนักหรอสันติ กูไม่ให้มึงหรอก มึงจะได้แต่สันแตด”, “มึงอยากได้นักหรอประชาธิปไตย มึงเคยโดนอุ้มหายแบบไม่รู้ตัวหรือเปล่า”, “ตอนนี้กูจะฆ่ามึงก็ไม่ผิดกฎหมาย จะซ้อมมึงก็ไม่ผิดกฎหมาย เพราะพวกกูกุมอำนาจทั้งประเทศอยู่”
ลักษณะของคำขู่ส่วนมากจะวนเวียนอยู่ที่ การอุ้มหาย และการซ้อม ตลอดเวลาของการควบคุมตัวและซักถามรวมกลุ่มนานกว่า 2 ชั่วโมง
เวลาประมาณ 12.00 น. เขาและเพื่อนจึงถูกปล่อยตัวออกมา ขณะที่ตัวเขากลับไปที่มหาวิทยาลัย ก็พบว่า ทหารจำนวน 4 นาย ได้มาที่มหาวิทยาลัยอีก และเชิญตัวเขาไปอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยบอกว่า “จะพาตัวไปกักไว้ที่ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดร้อยเอ็ด” เขาจึงตัดสินใจโทรหาเพื่อนที่อยู่ข้างนอก เพื่อแจ้งว่าเขาจะถูกนำตัวไปกักขังที่ใด และให้เป็นธุระช่วยติดต่อทนายให้เขา (เจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งเรื่องสิทธิใดๆ แก่เขา เช่น สิทธิในการพบทนาย) หลังจากนั้น จึงมีทนายโทรหาเขา ในช่วงเวลา 16.00 - 17.00 น. แต่เขาจำไม่ได้ว่าเป็นทนายมาจากหน่วยงานใด โดยทนายบอกว่าให้พวกเขาให้ความร่วมมือไปก่อน ทางทนายจะประสานและติดตามอยู่เป็นระยะ และจะหาวิธีช่วยในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด วรวุฒิได้แจ้งกับทนายว่า ตอนนี้เขาถูกกักตัวพร้อมเพื่อนอีก 1 คน และมี 2 คน ถูกปล่อยตัวไปแล้ว
ในขณะที่พวกเขาถูกควบคุมตัวกลับไปที่ศาลากลางจังหวัดอีกครั้ง และคาดว่าจะถูกนำตัวต่อไปที่ค่ายทหาร เขาและเพื่อนถูกขู่ด้วยถ้อยสบถต่างๆ เช่นเดิม เช่น “พวกมึงเก่งนักใช่ไหม กูจะคอยดูว่า ถ้าพวกมึงอยู่ในค่ายทหารพวกมึงจะยังเก่งอยู่ไหม” เขาจึงพยายามติดต่อกับเพื่อนข้างนอกโดยกำชับว่า ช่วยรายงานเรื่องนี้ให้กระจายออกไปในพื้นที่สาธารณะให้ได้ เนื่องจากเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัย เมื่อไปถึงที่กักตัวที่เดิม เวลา 13. 00 น. เขาและเพื่อนจึงถูกสั่งว่า “รอพบ ‘เสธ’ อยู่ที่นี่ก่อน” เขาทราบภายหลังว่า ‘เสธ.’ คือ พันเอก นรธิป โพยนอก ในระหว่างที่พวกเขาใช้เวลารอนัดดังกล่าวกว่า 2 ชั่วโมง โดยไม่มีน้ำดื่มให้ พวกเขาจึงพยายามขอน้ำดื่ม แต่ได้รับการปฏิเสธ
นอกจากนี้ มีทหารยศร้อยตรี เดินมาทักทายพวกเขาว่า “มึงเคยโดนยิงไหม รู้ไหมว่ามันเจ็บขนาดไหน”, “มึงเคยโดนทรมานไหม กูถนัดเรื่องการทรมานคน” และก็ถามกับเขาว่า “มึงคิดยังไงกับสถาบันกษัตริย์ ?”เขาจึงตอบว่า “คนอื่นคิดอย่างไรต่อสถาบันกษัตริย์ ผมก็คิดอย่างนั้น” ก่อนที่นายทหารคนดังกล่าวจะตอบสวนกลับมาว่า “พวกกูรู้ว่าพวกมึงคิดยังไงกับสถาบันกษัตริย์”, “พวกมึงเสพข่าวเสื้อแดงมากเกินไป”
ในห้องที่ควบคุมตัว มีโต๊ะเพียง 1 ตัว และเก้าอี้จำนวนหนึ่ง พวกเขาถูกสั่งให้นั่งบนเก้าอี้ บริเวณรอบๆ มีเจ้าหน้าที่ทหารสวมเครื่องแบบเต็มยศพร้อมอาวุธปืนยืนคุมอยู่ไม่ห่างตลอดเวลา วรวุฒิถูกยึดโทรศัพท์ กระเป๋าเงิน และบัตรประจำตัวประชาชนไป จนถึงเวลาประมาณ 18 .00 น. ทหารจึงเอาโทรศัพท์มาคืน เพื่อให้เขาโทรบอกเพื่อนๆ ข้างนอกว่า ให้นำอาหารมาส่งให้พวกเขา (ตลอดทั้งวันเขายังไม่ได้ทานอะไร) แต่ไม่มีใครกล้าเอาอาหารมาส่ง เนื่องจากทหารไม่สามารถรับรองได้แม้แต่ว่า จะควบคุมตัวเขาไว้นานเพียงใด
เวลาในการรอพบ ‘เสธ’ ที่ยาวนานนั้นดำเนินต่อไป ระหว่างนั้น สำนักข่าวประชาไทได้รายงานข่าวว่าพวกเขาถูกจับอยู่ นายทหารคนหนึ่งเดินมาบอกกับเขาว่า “พวกมึงนี่เก่งนะ ขณะกูกักตัวพวกมึงอยู่ มึงยังมีปัญญาส่งข้อมูลออกไปข้างนอกได้ มึงทำตัวแบบนี้แหละ กูก็จะขังมึงไว้ไม่ปล่อยเลย มึงทำแบบนี้มึงคิดว่าเขาจะช่วยอะไรมึงได้หรอ พวกกูยึดประเทศได้หมดแล้ว” หลังจากนั้นพวกเขาก็ถูกขู่อีกเรื่อยๆ เช่น มีการนำปืนมาวางไว้บนโต๊ะ แล้วถามว่า “มึงรู้ไหมว่าปืนกระบอกนี้ยิงคนมาแล้วกี่ศพ กูเอาไว้ยิงคนเหี้ยๆ แบบพวกมึงนี่แหละ”
พวกเขาต้องทนฟังคำซ้ำซากไปจนกระทั่งเกือบจะสี่ทุ่ม ‘เสธ.’ จึงได้ลงมาพบพวกเขาพร้อมกล่าวว่า “วันนี้ผมจะปล่อยพวกคุณไปก่อน ผมไม่อยากให้เป็นประเด็น ผมเห็นข่าวที่ถูกนำไปลงแล้วแหละ เมื่อคุณออกไปช่วยไปแก้ข่าวด้วยว่า เรานำตัวพวกคุณมาปรับทัศนคติทางการเมืองเท่านั้น ไม่มีอะไรที่เกินเลย” ในระหว่างนั้น ทหารได้พานักจิตวิทยามาคุยกับพวกเขาด้วย แต่เป็นแค่การถามคำถามทั่วไป เช่น เป็นอย่างไรบ้าง? สบายดีไหม? และให้พวกเขากรอกประวัติ ชื่อ ที่อยู่ อีเมลล์ และสื่อออนไลน์ที่เขาเข้าใช้กันอยู่ โดยไม่ได้ให้เขาแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด จากนั้น เวลาประมาณ 22.00 น. พวกเขาจึงถูกนำตัวมาปล่อยที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันต่อมา (28 พ.ค. 57) วรวุฒิและเพื่อนจำนวนหนึ่งเข้าไปที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง เพื่อพบปะพูดคุยกันตามปกติ เจ้าหน้าที่ทหารก็จู่โจมเข้ามาอีกครั้ง โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย ประมาณ 4 คน และเจ้าหน้าที่กองกิจการนิสิตของมหาวิทยาลัย เป็นผู้พาทหารเข้ามา ทหารพวกนั้นเข้ามาเตือนแกมข่มขู่ และยึดตำราเรียน สมุด กระดาษที่เขาใช้ในการเรียนไป โดยกล่าวว่า “ขออนุญาตเก็บไปก่อน ผมเตือนคุณแล้วนะครับ” เขาพบว่า ทุกวันนับตั้งแต่รัฐประหาร มีเจ้าหน้าที่ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบสับเปลี่ยนกันเข้ามาตรวจตราในบริเวณมหาวิทยาลัยตลอดเวลา มีทั้งที่พูดจาสุภาพและหยาบคาย
วันเดียวกันนั้น วรวุฒิได้รับโทรศัพท์ให้เข้าไปรายงานตัวที่เดิมอีกเป็นครั้งที่ 3 โดยไม่มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยเช่นครั้งแรก เขาพยายามขอหนังสือเรียกตัวดังกล่าว แต่ทหารให้เขาเข้าไปรายงานตัวก่อน แล้วจะส่งหนังสือตามมาทีหลัง การเข้ารายงานตัวครั้งที่ 3 นี้ เขาก็ต้องเผชิญกับคำพูดเดิมๆ คือสั่งให้หยุดการเคลื่อนไหวใดๆ และขู่ว่า ถ้าไม่หยุดครอบครัวจะเดือดร้อน ภายหลังเขาได้มีโอกาสโทรถามมารดาว่า มีเจ้าหน้าที่ไปหาที่บ้านไหม มารดาก็ตอบว่า มีทหารไปพักที่วัดและเข้ามาสอบถามที่บ้านบ้าง นอกจากนั้นก็เคยมีเจ้าหน้าที่โทรมาหา แจ้งว่าเขาทำความผิดอะไรในช่วงที่ทหารประกาศกฎอัยการศึก
ที่สำคัญ ในการเข้ารายงานตัวครั้งนี้ วรวุฒิถูกสั่ง “ให้ออกจากพื้นที่” เขาตั้งข้อสังเกตว่า คำสั่งของทหารดูจะสับสนไปมา กล่าวคือ ในครั้งแรกที่เข้ารายงานตัว เขาและเพื่อนถูกสั่งห้ามเดินทางไปไหนมาไหนออกนอกพื้นที่ หากต้องการไปที่ใดต้องทำหนังสือขออนุญาตเจ้าหน้าที่ทหารก่อนทุกครั้ง แต่ในครั้งนี้ ทหารกลับสั่งให้เขาออกจากพื้นที่อย่างกะทันหัน ทั้งๆ ที่เขายังไม่ได้ละเมิดคำสั่งของเจ้าหน้าที่ทหารเลย และแม้ว่าเขาจะอยู่ในพื้นที่ก็ถูกเจ้าหน้าที่รบกวนตลอดเวลา ทั้งการเข้าไปตรวจตราร้านอาหารข้างมหาวิทยาลัยที่เขาทำงานอยู่ หรือการเข้าไปยึดเอกสารในมหาวิทยาลัย การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารเช่นวันแรกๆ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อีกทั้ง เจ้าหน้าที่ทหารก็ยืนยันเองด้วยว่า “ผมส่งคนติดตามคุณตลอด อย่าคิดว่าจะรอดสายตาผมไปได้ และอย่าคิดว่าในมหาวิทยาลัยจะไม่มีสายของพวกผม” ดังนั้น การที่ทหารสั่งให้เขาออกนอกพื้นที่จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย เขากล่าวอีกว่า หลักฐานที่เจ้าหน้าที่ทหารใช้กล่าวหาว่า เขาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารหลายครั้งก็ไม่ใช่ของเขา “กระดาษที่พิมพ์คำว่า ‘จะเอารัฐบาลเลือกตั้ง ไม่เอาการรัฐประหารที่แต่งตั้ง’ ไม่ใช่ของผมเลย”
หมายเหตุ: วรวุฒิ เทือกชัยภูมิ ปัจจุบัน เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอยู่ในวงดนตรีโปงลางของมหาวิทยาลัย เราสัมภาษณ์เขาในวันที่ 9 สิงหาคม 2557 ที่สนามกีฬาแห่งชาติ หลังจากที่เขาและวงโปงลางเดินทางมาแข่งขันโปงลางชิงชนะเลิศระดับประเทศ ในงาน “รวมพลคนรักแม่ มหกรรมนันทนาการและออกกำลังกายเทิดไท้องค์ราชินี” ตัวเขาและวงโปงลางของเขาได้รับรางวัลชนะเลิศในงานดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น