วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

60 นักวิชาการ จาก 16 สถาบัน ประณาม คสช. คุกคามอาจารย์-นักศึกษา


            นักวิชาการ 60 คนจากมหาวิทยาลัย 16 แห่งทั่วประเทศ ออกจดหมายเปิดผนึกประณามทหาร-ตำรวจ ที่ใช้กำลังเข้ายุติงานเสวนาวิชาการ พร้อมคุมตัวนักวิชาการและนักศึกษา ถึงภายในเขตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
            21 กันยายน 2557 นักวิชาการ 60 ท่านจากมหาวิทยาลัย 16 แห่งทั่วประเทศ ได้ออกจดหมายเปิดผนึกประณามการที่ทหารและตำรวจบังคับให้นักวิชาการและนักศึกษายุติงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ "ห้องเรียนประชาธิปไตย: บทที่ 2 การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ" ซึ่งจัดขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พร้อมทั้งควบคุมตัวนักศึกษาและวิทยากรไปสถานีตำรวจ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา  นักวิชาการกล่าวในจดหมายว่า การกระทำของทหารและตำรวจครั้งนี้เป็นการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการอย่างชัดเจน และยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง ผู้ลงนามในจดหมายยังเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หยุดคุกคามนักวิชาการและนักศึกษาโดยทันทีด้วย  นักวิชาการที่ร่วมลงชื่อประกอบด้วยอาจารย์ประจำจาก 31 คณะ 16 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ


              อันธิฌา แสงชัย อาจารย์ประจำคณะคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ลงชื่อ ให้ความเห็นว่า "ข้ออ้างของเจ้าหน้าที่รัฐที่ว่าเขามีอำนาจเข้าควบคุมได้เพราะกฎอัยการศึกยังประกาศใช้อยู่นั้น เป็นเพียงการประกาศว่ามีอำนาจคุกคาม แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้อำนาจคุกคามนั้นชอบธรรม"  ส่วน ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งผู้ร่วมลงชื่อ กล่าวด้วยว่า "การที่ตำรวจบังคับให้นักวิชาการต้องเซ็นเอกสารว่าจะยินยอมส่งหัวข้อการเสวนาทุกๆ ครั้งให้ทหารอนุมัติก่อนนั้น เป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการอย่างชัดเจน งานวิชาการที่เนื้อหาถูกควบคุมนั้นไม่เรียกว่าเป็นงานวิชาการที่แท้จริง"
๐๐๐๐
จดหมายเปิดผนึกประณามการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ
21 กันยายน 2557
เรื่อง ประณามการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการและการควบคุมตัวอาจารย์และนักศึกษา 
           เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 ได้มีทหารและตำรวจเข้าบังคับนักวิชาการและนักศึกษา ให้ยุติงานเสวนาวิชาการ "ห้องเรียนประชาธิปไตย: บทที่ 2 การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ" ซึ่งจัดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นอกจากนี้ทหารและตำรวจยังได้ควบคุมตัวนักศึกษาที่จัดงาน รวมทั้งวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ ได้แก่ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดร.เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ  และ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ไปที่สถานีตำรวจนครบาลคลองหลวง 
            เราในฐานะนักวิชาการ ขอประณามการกระทำของทหารและตำรวจ ที่ใช้อำนาจคุกคามนักศึกษาและนักวิชาการถึงในพื้นที่มหาวิทยาลัย การกระทำดังกล่าวคุกคามสิทธิเสรีภาพทางวิชาการอย่างชัดเจน และเป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง 
            ข้ออ้างที่ว่ากฎอัยการศึกยังประกาศใช้อยู่นั้นเป็นเพียงการประกาศว่าทหารและตำรวจมี "อำนาจ" จะคุกคามได้ แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้อำนาจคุกคามนั้นชอบธรรม ส่วนข้ออ้างที่ว่างานเสวนาวิชาการนี้อาจกระทบต่อความมั่นคงนั้นก็เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น การจัดเสวนาวิชาการเกี่ยวกับการเมือง ไม่ว่าจะการเมืองในประเทศหรือการเมืองต่างประเทศ เป็นเรื่องปกติอย่างยิ่ง และที่ผ่านๆ มาก็ไม่เคยปรากฏเลยว่างานเสวนาวิชาการลักษณะนี้กระทบต่อความมั่นคง ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ 
             เราขอเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หยุดใช้อำนาจคุกคามนักวิชาการและนักศึกษา และหยุดคุกคามเสรีภาพในทางวิชาการ หากสิทธิพื้นฐานอย่างสิทธิในการแลกเปลี่ยนทางปัญญาในสถานศึกษายังไม่ได้รับการเคารพ เราก็ย่อมไม่มีทางหวังได้เลยว่าประเทศไทยภายหลังการปฏิรูปของ คสช. จะเป็นประเทศที่เคารพสิทธิพื้นฐานของประชาชน  

รายนามนักวิชาการที่ลงชื่อ (ตามตัวอักษร):  
  • 1.  ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2.  ดร.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 3.  คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 4.  ผศ.ดร.คำแหง วิสุทธางกูร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 5.  ดร.จักรกริช สังขมณี, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 6.  จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • 7.  ผศ.ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 8.  ดร.ชนิสร เหง้าจำปา, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 9.  ดร.ชลัท ศานติวรางคณา, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 10. ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 11. ดร.ณรงค์ อาจสมิติ, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 12. ณภัค เสรีรักษ์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
  • 13. ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 14. ดร.ธร ปีติดล, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 15. ธาริตา อินทนาม, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 16. ธานินทร์ สาลาม, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 17. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • 18. รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 19. นพพร ขุนค้า, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
  • 20. บัณฑิต ไกรวิจิตร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • 21. บัณฑูร ราชมณี, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 22. ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 23. ปฐม ตาคะนานันท์, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 24. ประไพพิศ มุทิตาเจริญ, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 25. ปราชญ์ ปัญจคุณาธร, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 26. ปรีดี หงษ์สตัน, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 27. รศ.พงศ์จิตติมา หินเธาว์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 28. พชรวรรณ บุญพร้อมกุล, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 29. พิพัฒน์ สุยะ, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 30. พุทธพล มงคลวรวรรณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • 31. ภัทธิพงษ์ ศิริปัญญา, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 32. มนวัธน์ พรหมรัตน์, สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • 33. ดร.มิเชลล์ แทน, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 34. ดร.มูฮัมหมัด อิลยาส หญ้าปรัง, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 35. รชฏ ศาสตราวุธ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • 36. ดร.ลลิตา หาญวงษ์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • 37. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล, คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • 38. ดร.วิโรจน์ อาลี, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 39. ดร.ศิริจิต สุนันต๊ะ, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 40. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 41. ดร.วิศรุต พึ่งสุนทร, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 42. สมัคร์ กอเซ็ม, ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 43. ดร.สายัณห์ แดงกลม, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 44. ผศ.ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 45. ผศ.ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี, สถาบันศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • 46. สุธิดา วิมุตติโกศล, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 47. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • 48. สุรัยยา สุไลมาน, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • 49. รศ.ดร.โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 50. อนุสรณ์ ติปยานนท์, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 51. ผศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 52. ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • 53. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 54. อสมา มังกรชัย, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • 55. อันธิฌา แสงชัย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • 56. อัมพร หมาดเด็น, สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • 57. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
  • 58. ผศ.อาชัญ นักสอน, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 59. เอกรินทร์ ต่วนศิริ, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • 60. ดร.ฮารา ชินทาโร่, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น