“พิจารณาแล้วเห็นว่า จากคำให้การของพยานบุคคลจำนวนหลายคนซึ่งมีหลากหลายอาชีพแสดงความเห็นว่า เมื่ออ่านบทความดังกล่าวปรากฏในวารสารที่ผู้ต้องหาเสนอขาย พยานทั้งหลายก็ไม่ได้ยืนยันไปในทางเดียวกันทั้งหมดว่า บทความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพยานหลายรายเห็นว่า บทความดังกล่าวเป็นเนื้อเชิงวิชาการ คดีจึงยังฟังไม่ได้ว่าบทความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประกอบกับไม่มีพยานยืนยันว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าว โดยเป็นเพียงผู้เสนอขายวารสารที่ปรากฏบทความดังกล่าวเท่านั้น จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ต้องหามีเจตนาทำผิดตามข้อกล่าวหา ... ทั้งยังมีพยานยืนยันว่า ผู้ต้องหามีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จากพยานหลักฐานดังกล่าว ยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง”
นี่คือคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการในคดีที่นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ถูกดำเนินคดีในความผิดตามมารา 112 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2547 นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ รับเชิญไปอภิปราย เรื่อง สังคมไทยกับทางรอดที่ควรเลือก เหลียวหลังแลหน้าจากราชดำเนินถึงตากใบ ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการอภิปราย นายสุลักษณ์ได้ประชาสัมพันธ์หนังสือวารสาร SEED OF PEACE ซึ่งวางจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปที่มาร่วมฟังการเสวนาอยู่หน้าห้องอภิปราย วารสารดังกล่าวมีบทความเรื่อง SIAM of the Forgotten Monarch The True Life Sequel of the King and the Land of Smile ที่เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า B.P.(บี.พี.) ซึ่งแสดงความเห็นในลักษณะที่เป็นการกล่าวพาดพิงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในกรณีนี้ นับเป็นการใช้หลักนิติธรรมในการดำเนินคดีที่น่าจะมีการนำไปใช้สำหรับคดีความผิดตามมาตรา 112 ทุกคดี กล่าวคือ หลักนิติธรรมประการหนึ่งในการดำเนินคดีอาญา สำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม คือ การรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหลายซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความผิดหรือความบริสุทธิ์ [1] หมายความว่า ในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหานั้น ต้องหาพยานหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เป็นพยานที่เป็นคุณแก่ผู้ต้องหาและพยานที่เป็นโทษต่อผู้ต้องหาด้วย จึงจะถูกต้องตามหลักนิติธรรม ซึ่งหลักนิติธรรมในกระบวนการยุติธรรมมิได้มีเพียงเท่านี้ แต่มีมากมายหลายประการ ดังต่อไปนี้
1. ห้ามการทรมาน การลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 32 วรรค 2 ICCPR ข้อ 7)
2. ห้ามจับกุมหรือควบคุมตัวโดยไม่มีเหตุผลตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 32 วรรค 2ICCPR ข้อ 9)
3. สิทธิได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม และจะต้องได้รับแจ้งถึงข้อหาที่ถูกจับกุมในขณะจับกุม (ICCPR ข้อ 9)
4. ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการสันนิษฐานว่าไม่มีความผิด (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 39 วรรค 2 ICCPR ข้อ 14 อนุ 2)
5. สิทธิพื้นฐานในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(2) ICCPR ข้อ 14 อนุ 1)
6. สิทธิผู้ถูกจับในการนำตัวไปศาลโดยพลัน (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(3) ICCPR ข้อ 9)
7. สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยรวดเร็วตามสมควร (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(3) ICCPR ข้อ 9)
8. สิทธิได้รับการประกันตัว (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 9)
9. สิทธิขอให้ศาลสั่งปล่อยหากถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 28และมาตรา 32 วรรค 5 ICCPR ข้อ 9)
10. สิทธิได้รับค่าทดแทนหากคุมขังหรือหากถูกคุมขังหรือถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (5) ICCPR ข้อ 9)
11. ผู้ต้องหาต้องไม่ถูกคุมขังร่วมกับผู้ต้องขังตามคำพิพากษา(รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (6) ICCPR ข้อ 10)
12. ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กต้องแยกควบคุมมิให้ปะปนกับผู้ต้องขังที่เป็นผู้ใหญ่ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (6) ICCPR ข้อ 10)
13. ระบบราชทัณฑ์ต้องมีความมุ่งหมายให้ผู้ต้องขังกลับตัวเป็นคนดี (ICCPR ข้อ 10 อนุ 3)
14. สิทธิได้รับการแจ้งข้อหาในภาษาที่เข้าใจได้ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (4) ICCPR ข้อ 14)
15. สิทธิมีเวลาในการเตรียมต่อสู้คดี และติดต่อทนายความที่ตนเลือก (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 14)
16. สิทธิในการพิจารณาคดีต่อหน้าจำเลยหรือต่อสู้คดีด้วยตนเองหรือผ่านทนายความที่ตนเลือก (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (2) ICCPR ข้อ 14)
17.สิทธิได้รับแจ้งว่ามีสิทธิพบทนายความ (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
18. สิทธิขอให้รัฐจัดหาทนายความให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
19. สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อตน (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
20. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่าม โดยไม่คิดมูลค่า (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
21. สิทธิไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเองหรือให้รับสารภาพผิด (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (4) ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
22. สิทธิในการอุทธรณ์ ฎีกา (ICCPR ข้อ 14 อนุ 5)
23. สิทธิได้รับค่าชดเชยจากการถูกลงโทษตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแต่ภายหลังมีการกลับคำพิพากษาหรือมีข้อเท็จจริงใหม่ที่แสดงว่าได้มีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่มิชอบ(รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (5) ICCPR ข้อ 14 อนุ 6)
24. สิทธิไม่ถูกดำเนินคดีซ้ำในความผิดที่ได้รับโทษแล้วหรือได้รับการปล่อยตัวแล้วตามกฎหมาย (ICCPR ข้อ 14 อนุ 7)
2. ห้ามจับกุมหรือควบคุมตัวโดยไม่มีเหตุผลตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 32 วรรค 2ICCPR ข้อ 9)
3. สิทธิได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม และจะต้องได้รับแจ้งถึงข้อหาที่ถูกจับกุมในขณะจับกุม (ICCPR ข้อ 9)
4. ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการสันนิษฐานว่าไม่มีความผิด (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 39 วรรค 2 ICCPR ข้อ 14 อนุ 2)
5. สิทธิพื้นฐานในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(2) ICCPR ข้อ 14 อนุ 1)
6. สิทธิผู้ถูกจับในการนำตัวไปศาลโดยพลัน (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(3) ICCPR ข้อ 9)
7. สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยรวดเร็วตามสมควร (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(3) ICCPR ข้อ 9)
8. สิทธิได้รับการประกันตัว (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 9)
9. สิทธิขอให้ศาลสั่งปล่อยหากถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 28และมาตรา 32 วรรค 5 ICCPR ข้อ 9)
10. สิทธิได้รับค่าทดแทนหากคุมขังหรือหากถูกคุมขังหรือถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (5) ICCPR ข้อ 9)
11. ผู้ต้องหาต้องไม่ถูกคุมขังร่วมกับผู้ต้องขังตามคำพิพากษา(รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (6) ICCPR ข้อ 10)
12. ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กต้องแยกควบคุมมิให้ปะปนกับผู้ต้องขังที่เป็นผู้ใหญ่ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (6) ICCPR ข้อ 10)
13. ระบบราชทัณฑ์ต้องมีความมุ่งหมายให้ผู้ต้องขังกลับตัวเป็นคนดี (ICCPR ข้อ 10 อนุ 3)
14. สิทธิได้รับการแจ้งข้อหาในภาษาที่เข้าใจได้ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (4) ICCPR ข้อ 14)
15. สิทธิมีเวลาในการเตรียมต่อสู้คดี และติดต่อทนายความที่ตนเลือก (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 14)
16. สิทธิในการพิจารณาคดีต่อหน้าจำเลยหรือต่อสู้คดีด้วยตนเองหรือผ่านทนายความที่ตนเลือก (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (2) ICCPR ข้อ 14)
17.สิทธิได้รับแจ้งว่ามีสิทธิพบทนายความ (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
18. สิทธิขอให้รัฐจัดหาทนายความให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
19. สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อตน (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
20. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่าม โดยไม่คิดมูลค่า (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
21. สิทธิไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเองหรือให้รับสารภาพผิด (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (4) ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
22. สิทธิในการอุทธรณ์ ฎีกา (ICCPR ข้อ 14 อนุ 5)
23. สิทธิได้รับค่าชดเชยจากการถูกลงโทษตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแต่ภายหลังมีการกลับคำพิพากษาหรือมีข้อเท็จจริงใหม่ที่แสดงว่าได้มีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่มิชอบ(รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (5) ICCPR ข้อ 14 อนุ 6)
24. สิทธิไม่ถูกดำเนินคดีซ้ำในความผิดที่ได้รับโทษแล้วหรือได้รับการปล่อยตัวแล้วตามกฎหมาย (ICCPR ข้อ 14 อนุ 7)
หลักนิติธรรมของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่กล่าวข้างต้น มีหลักการสำคัญลำดับต้นๆ ก็คือ
สิทธิได้รับการสอบสวนโดยไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเองหรือให้รับสารภาพผิด หรือการพิจารณาคดี ที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ และ สิทธิได้รับการประกันตัว (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 9)
จะเห็นได้ว่าสิทธิในการมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเพียงพอและการได้รับการประกันตัว เป็นสิ่งสำคัญมากของผู้ต้องหาในคดีอาญา ในคดีของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์นั้น นายสุลักษณ์ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นจับกุมและสอบสวน จึงมีโอกาสในการเตรียมพยานหลักฐานต่างๆ ในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ทั้งการเลือกทนายความเอง ทั้งการหาหลักฐานทั้งพยานวัตถุ พยานบุคคล พยานเอกสารมายืนยัน ความบริสุทธิ์ของตน โดยมีพยานมายืนยันว่า ตนเองเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ก็กระทำเพื่อให้เกิดการพัฒนาสถาบัน และกระทำด้วยเจตนาดี จึงได้ทำหนังสือถึงพนักงานอัยการว่า การดำเนินคดีตนจะไม่เป็นดีต่อสถาบัน และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยรวม ที่สำคัญการที่กฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติให้ผู้ใดก็ตามสามารถนำเรื่องไปแจ้งความดำเนินคดีต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ได้ ย่อมไม่เกิดความเป็นธรรมและมีโอกาสที่จะมีการกลั่นแกล้งกันในทางการเมืองได้
ความต่างกันของกรณีนายสุลักษณ์และนายสมยศ ก็คือ นายสมยศไม่มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม เช่นนายสุลักษณ์ นายสมยศไม่ได้รับการประกันตัว ไม่มีโอกาสในการดำเนินการทำหนังสือถึงอัยการ ไม่สามารถออกไปหาพยานหลักฐาน พยานวัตถุ พยานบุคคลมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนอง เช่นที่นายสุลักษณ์ได้รับ อันเป็นผลเนื่องมาจากได้รับการปฏิเสธสิทธิในการประกันตัว นั่นเอง
แต่สิ่งที่มีความคล้ายคลึงกันของกรณีนายสุลักษณ์และนายสมยศ ก็คือ
ประการแรก ต่างได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา อันเนื่องมาจากสาเหตุทางการเมือง หรือเป็นเพราะกฎหมายกำหนดให้ใครก็ได้ไปดำเนินการแจ้งความดำเนินดคี โดยอ้างเหตุแห่งความจงรักภักดี ซึ่งมิใช่เหตุผลหรือมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้
ประการที่สอง นายสมยศและนายสุลักษณ์ได้รับการแจ้งข้อหาในการกระทำที่ไม่เข้าข้อกฎหมายตามมาตรา 112 กล่าวคือ นายสุลักษณ์ได้รับการแจ้งข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ มีการกระทำที่ครบทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน องค์ประกอบภายนอกก็คือ ต้องหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ส่วนองค์ประกอบภายในคือ ต้องมีเจตนา แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงในเนื้อความทั้งหมด จะเห็นได้ว่าบทความอันเป็นเหตุแห่งการตั้งข้อกล่าวหาของนายสุลักษณ์นั้นเป็นภาษาอังกฤษ การแปลความหมายอาจมีการคลาดเคลื่อน ทั้งเมื่อพิจารณาบทความดังกล่าว จะเห็นได้โดยชัดเจนว่ามิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง แต่เป็นบทความทางวิชาการในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์แพร่ปรากฏทั่วไป นอกจากนี้นายสุลักษณ์ก็มิได้เป็นผู้เขียนบทความตามที่ถูกกล่าวหาขึ้นเอง นายสุลักษณ์เป็นผู้พิมพ์โฆษณาหนังสือวารสาร SEED OF PEACE ซึ่งวางจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปที่มาร่วมฟังการเสวนาอยู่หน้าห้องอภิปราย
ส่วนนายสมยศ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดพิมพ์ จำหน่ายและเผยแพร่นิตยสาร VOICE OF TAKSIN : เสียงทักษิณ ที่มีบทความ คมความคิด ของผู้ใช้นามปากกาว่า จิตร พลจันทร์ เรื่องแผนนองเลือดกับยิงข้ามรุ่น เนื้อหาบทความกล่าวถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองสองครั้งของไทย คือ เหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองหลังวันพิพากษาคดียึดทรัพย์ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และในฉบับที่ 16 บทความของผู้เขียนคนเดิม เรื่อง 6 ตุลา แห่ง พ.ศ.2553 บทความกล่าวถึงตัวละครหนึ่งที่ชื่อว่า หลวงนฤบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษอ่านแล้วตีความได้ว่า เป็นการพาดพิงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ และทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ประเด็นคือ การเป็นผู้เผยแพร่ จำหน่าย หนังสือที่มีข้อความอันเป็นความผิดตามมาตรา 112 นั้น จะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 ด้วยหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อกฎหมายแล้วจะเห็นว่า มีการฟ้องคดีต่อนายสมยศ โดยมิได้มีการพิจารณาองค์ประกอบความผิดว่านายสมยศมีการกระทำครบองค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน ของความผิดตามหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาหรือไม่
ส่วนนายสมยศ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดพิมพ์ จำหน่ายและเผยแพร่นิตยสาร VOICE OF TAKSIN : เสียงทักษิณ ที่มีบทความ คมความคิด ของผู้ใช้นามปากกาว่า จิตร พลจันทร์ เรื่องแผนนองเลือดกับยิงข้ามรุ่น เนื้อหาบทความกล่าวถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองสองครั้งของไทย คือ เหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองหลังวันพิพากษาคดียึดทรัพย์ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และในฉบับที่ 16 บทความของผู้เขียนคนเดิม เรื่อง 6 ตุลา แห่ง พ.ศ.2553 บทความกล่าวถึงตัวละครหนึ่งที่ชื่อว่า หลวงนฤบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษอ่านแล้วตีความได้ว่า เป็นการพาดพิงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ และทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ประเด็นคือ การเป็นผู้เผยแพร่ จำหน่าย หนังสือที่มีข้อความอันเป็นความผิดตามมาตรา 112 นั้น จะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 ด้วยหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อกฎหมายแล้วจะเห็นว่า มีการฟ้องคดีต่อนายสมยศ โดยมิได้มีการพิจารณาองค์ประกอบความผิดว่านายสมยศมีการกระทำครบองค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน ของความผิดตามหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาหรือไม่
สิทธิในการมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมนั้นสอดคล้องกับสิทธิได้รับการประกันตัวเพื่อให้ผู้ต้อง
หาหรือจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดี ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สอดคล้องกับหลักการสากลในกติการะหว่างประเทศ ICCPR ข้อ 14 [2] การไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว เป็นเหตุกระทบถึงสิทธิในการมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมด้วย เนื่องจากไม่สามารถออกไปหาพยานหลักฐานมาใช้ในการต่อสู้คดีได้
หาหรือจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดี ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สอดคล้องกับหลักการสากลในกติการะหว่างประเทศ ICCPR ข้อ 14 [2] การไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว เป็นเหตุกระทบถึงสิทธิในการมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมด้วย เนื่องจากไม่สามารถออกไปหาพยานหลักฐานมาใช้ในการต่อสู้คดีได้
จนถึงวันนี้นายสมยศก็ยังไม่ได้รับการประกันตัวและกำลังจะมีการฟังคำพิพากษาในวันที่ 23 มกราคม 2556 ที่จะถึงนี้ คำพิพากษาในคดีของนายสมยศจะเป็นบทพิสูจน์กระบวนการยุติธรรมของไทยอีกคำรบหนึ่ง ว่าจะมีการตัดสินลงโทษหรือปล่อยจำเลยให้เป็นอิสระ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของศาลและธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรมในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อไป
เชิงอรรถ
[1] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และมาตรา 226 พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน
[1] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และมาตรา 226 พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน
[2] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อ 14
1. บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอภาคในการพิจารณาของศาลและคณะตุลาการ ในการพิจารณาคดีอาญาซึ่งตนต้องหาว่ากระทำผิด หรือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรมโดยคณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีอำนาจ มีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง สื่อมวลชนและสาธารณชนอาจถูกห้ามเข้าฟังการพิจารณาคีทั้งหมดหรือบางส่วนก็ด้วยเหตุผลทางศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตย หรือเพื่อความจำเป็นเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องชีวิตส่วนตัวของคู่กรณี หรือในสภาพการณ์พิเศษซึ่งศาลเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อการพิจารณาโดยเปิดเผยนั้นอาจเป็นการเสื่อมเสียต่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่คำพิพากษาในคดีอาญา หรือคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีอื่นที่เปิดเผย เว้นแต่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของเด็กและเยาวชน หรือเป็นกระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วยข้อพิพาทของคู่สมรสในเรื่องการเป็นผู้ปกครองเด็ก
2. บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด
3. ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดย่อมมีสิทธิที่จะได้รับหลักประกันขั้นต่ำดังต่อไปนี้โดยเสมอภาค
(ก) สิทธิที่จะได้รับแจ้งโดยพลันซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพและเหตุแห่งความผิดที่กล่าวหา ในภาษาซึ่งบุคคลนั้นเข้าใจได้
(ข) สิทธิที่จะมีเวลา และได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อสู้คดีและติดต่อกับทนายความที่ตนเลือกได้
(ค) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้าเกินความจำเป็น
(ง) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าบุคคลนั้น และสิทธิที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือโดยผ่านผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายที่ตนเลือก สิทธิที่บุคคลจะได้รับการแจ้งให้ทราบถึงสิทธิในการมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย หากบุคคลนั้นไม่มีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีใดๆ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย ซึ่งมีการแต่งตั้งขึ้นโดยปราศจากค่าตอบแทน ในกรณีบุคคลนั้นไม่สามารถรับภาระในการจ่ายค่าตอบแทน
(จ) สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน และขอให้เรียกพยานฝ่ายตนมาซักถามภายใต้เงื่อนไขเดียวกับพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน
(ฉ) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่ามโดยคิดมูลค่า หากไม่สามารถเข้าใจหรือพูดภาษาที่ใช้ในศาลได้
(ช) สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง หรือให้รับสารภาพผิด
4. ในกรณีของบุคคลที่เป็นเด็กหรือเยาวชน วิธีพิจารณาความให้เป็นไปโดยคำนึงถึงอายุและความปรารถนาที่จะส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูความประพฤติของบุคคลนั้น
5. บุคคลทุกคนที่ต้องคำพิพากษาลงโทษในความผิดอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับเหนือขึ้นไปพิจารณาทบทวนการลงโทษและคำพิพากษาโดยเป็นไปตามกฎหมาย
6. เมื่อบุคคลใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดอาญา และภายหลังจากนั้น มีการกลับคำพิพากษาที่ให้ลงโทษบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นได้รับอภัยโทษ โดยเหตุที่มีข้อเท็จจริงใหม่หรือมีข้อเท็จจริงที่ได้ค้นพบใหม่อันแสดงให้เห็นว่าได้มีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่มิชอบ บุคคลที่ได้รับความทุกข์อันเนื่องมาจากการลงโทษตามผลของการพิพากษาลงโทษเช่นว่า ต้องได้รับการชดเชยตามกฎหมาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า การไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่ยังไม่รู้ให้ทันเวลาเป็นผลจากบุคคลนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน
7. บุคคลย่อมไม่ถูกพิจารณา หรือลงโทษซ้ำในความผิดซึ่งบุคคลนั้นต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือให้ปล่อยตัวแล้วตามกฎหมายและวิธีพิจารณาความอาญาของแต่ละประเทศ
1. บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอภาคในการพิจารณาของศาลและคณะตุลาการ ในการพิจารณาคดีอาญาซึ่งตนต้องหาว่ากระทำผิด หรือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรมโดยคณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีอำนาจ มีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง สื่อมวลชนและสาธารณชนอาจถูกห้ามเข้าฟังการพิจารณาคีทั้งหมดหรือบางส่วนก็ด้วยเหตุผลทางศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตย หรือเพื่อความจำเป็นเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องชีวิตส่วนตัวของคู่กรณี หรือในสภาพการณ์พิเศษซึ่งศาลเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อการพิจารณาโดยเปิดเผยนั้นอาจเป็นการเสื่อมเสียต่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่คำพิพากษาในคดีอาญา หรือคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีอื่นที่เปิดเผย เว้นแต่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของเด็กและเยาวชน หรือเป็นกระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วยข้อพิพาทของคู่สมรสในเรื่องการเป็นผู้ปกครองเด็ก
2. บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด
3. ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดย่อมมีสิทธิที่จะได้รับหลักประกันขั้นต่ำดังต่อไปนี้โดยเสมอภาค
(ก) สิทธิที่จะได้รับแจ้งโดยพลันซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพและเหตุแห่งความผิดที่กล่าวหา ในภาษาซึ่งบุคคลนั้นเข้าใจได้
(ข) สิทธิที่จะมีเวลา และได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อสู้คดีและติดต่อกับทนายความที่ตนเลือกได้
(ค) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้าเกินความจำเป็น
(ง) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าบุคคลนั้น และสิทธิที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือโดยผ่านผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายที่ตนเลือก สิทธิที่บุคคลจะได้รับการแจ้งให้ทราบถึงสิทธิในการมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย หากบุคคลนั้นไม่มีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีใดๆ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย ซึ่งมีการแต่งตั้งขึ้นโดยปราศจากค่าตอบแทน ในกรณีบุคคลนั้นไม่สามารถรับภาระในการจ่ายค่าตอบแทน
(จ) สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน และขอให้เรียกพยานฝ่ายตนมาซักถามภายใต้เงื่อนไขเดียวกับพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน
(ฉ) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่ามโดยคิดมูลค่า หากไม่สามารถเข้าใจหรือพูดภาษาที่ใช้ในศาลได้
(ช) สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง หรือให้รับสารภาพผิด
4. ในกรณีของบุคคลที่เป็นเด็กหรือเยาวชน วิธีพิจารณาความให้เป็นไปโดยคำนึงถึงอายุและความปรารถนาที่จะส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูความประพฤติของบุคคลนั้น
5. บุคคลทุกคนที่ต้องคำพิพากษาลงโทษในความผิดอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับเหนือขึ้นไปพิจารณาทบทวนการลงโทษและคำพิพากษาโดยเป็นไปตามกฎหมาย
6. เมื่อบุคคลใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดอาญา และภายหลังจากนั้น มีการกลับคำพิพากษาที่ให้ลงโทษบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นได้รับอภัยโทษ โดยเหตุที่มีข้อเท็จจริงใหม่หรือมีข้อเท็จจริงที่ได้ค้นพบใหม่อันแสดงให้เห็นว่าได้มีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่มิชอบ บุคคลที่ได้รับความทุกข์อันเนื่องมาจากการลงโทษตามผลของการพิพากษาลงโทษเช่นว่า ต้องได้รับการชดเชยตามกฎหมาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า การไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่ยังไม่รู้ให้ทันเวลาเป็นผลจากบุคคลนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน
7. บุคคลย่อมไม่ถูกพิจารณา หรือลงโทษซ้ำในความผิดซึ่งบุคคลนั้นต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือให้ปล่อยตัวแล้วตามกฎหมายและวิธีพิจารณาความอาญาของแต่ละประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น