บารมี ชัยรัตน์ให้สัมภาษณ์สื่อ วันรับทราบข้อกล่าวหา ที่สน.สำราญราษฎร์
สมัชชาคนจนเรียกร้องให้ยุติดำเนินคดีนักศึกษานักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ยุติการใช้กำลังและการใช้กฎหมายต่อคนจนที่ปกป้องสิทธิฯ ด้วยแนวทางสันติวิธี พร้อมคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชน โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข ด้านกลุ่มคนทำงานด้านสิทธิและทรัพยากรธรรมชาติ 13 กลุ่ม ออกแถลงการณ์เรียกร้องยุติดำเนินคดี 'บารมี'-คืนพื้นที่แสดงออก-จัดเลือกตั้ง
5 ส.ค.2558 กรณี บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และ กรรมการองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถูกแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 (“ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญฯ”) จากการมีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมและให้ที่อาศัยกับกลุ่มนักศึกษาและนักกิจกรรมกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ระหว่างทำกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตย ช่วงวันที่ 24-26 มิ.ย. ที่ผ่านมา
สมัชชาคนจน เผยแพร่แถลงการณ์เรียกร้อง 1.ให้รัฐบาลทหารยุติการดำเนินคดีใดๆ กับ บารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน รวมทั้งนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ 14 คน และคนจนผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข 2. ให้รัฐบาลทหารยุติการใช้กำลังและการใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนจนที่ปกป้องสิทธิมนุษยชน, สิทธิชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชนด้วยแนวทางสันติวิธี โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข และ 3. รัฐบาลทหารต้องคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชน โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข
ร้องยุติดำเนินคดี-คืนพื้นที่แสดงออก-จัดเลือกตั้ง
กลุ่มคนทำงานด้านสิทธิและทรัพยากรธรรมชาติ 13 กลุ่ม ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อ ดังนี้ 1. ให้รัฐบาลทหารยุติการจับกุมดำเนินคดีต่อนายบารมี ในข้อกล่าวหาตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 นี้ โดยไม่มีเงื่อนไข 2. ให้รัฐบาลเร่งคืนพื้นที่เสรีภาพ การแสดงออกทางการเมือง การเคลื่อนไหวนำเสนอปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา และเสรีภาพในการใช้ชีวิตตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งยุติการใช้กำลังและกฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม และ 3. ดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง คืนอำนาจอธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเร็วที่สุด
กลุ่มคนทำงานด้านสิทธิและทรัพยากรธรรมชาติ 13 กลุ่ม ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อ ดังนี้ 1. ให้รัฐบาลทหารยุติการจับกุมดำเนินคดีต่อนายบารมี ในข้อกล่าวหาตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 นี้ โดยไม่มีเงื่อนไข 2. ให้รัฐบาลเร่งคืนพื้นที่เสรีภาพ การแสดงออกทางการเมือง การเคลื่อนไหวนำเสนอปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา และเสรีภาพในการใช้ชีวิตตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งยุติการใช้กำลังและกฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม และ 3. ดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง คืนอำนาจอธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเร็วที่สุด
กลุ่มคนทำงานด้านสิทธิและทรัพยากรธรรมชาติ 13 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.), เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน, ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน, เครือข่ายนักสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน, เครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรมอีสาน, เครือข่ายพลังงานยั่งยืนจังหวัดสุรินทร์, เครือข่ายป่าชุมชน จ.สุรินทร์, โครงการทามมูล, กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา, เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชนนครราชสีมา, ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชี, เครือข่ายคนรุ่นใหม่กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา
รายละเอียดมีดังนี้
แถลงการณ์สมัชชาคนจน
ให้รัฐบาลทหารยุติการดำเนินคดีใดๆ กับ นายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน
นักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ 14 คน และคนจนผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยทันที
ให้รัฐบาลทหารยุติการดำเนินคดีใดๆ กับ นายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน
นักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ 14 คน และคนจนผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยทันที
ภายใต้การยึดอำนาจของคณะรัฐประหาร “คสช.” มานานกว่า 1 ปี คนจนที่ประสบปัญหาจากนโยบายของรัฐ ได้รับการกดขี่อย่างหนัก พวกเราสูญเสียเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ไม่มีพื้นที่ส่วนร่วมทางการเมือง ไม่มีส่วนในการกำหนดนโยบายใดๆ ทั้งที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและการทำมาหากินของเราอย่างรุนแรง การเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เคยดำเนินการสมัยรัฐบาลระบอบประชาธิปไตย ก็หยุดชะงักลงไป รัฐบาลทหารไม่เพียงจะไม่ยอมรับฟังเสียงของคนจนที่ได้รับความเดือดร้อน หากแต่ยังเลือกที่จะใช้กำลังต่อเรา ข่มขู่คุกคาม ขับไล่ ทำลายทรัพย์สิน เรียกตัว กักขัง โดยใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม มาละเมิดสิทธิมนุษยชน และสิทธิชุมชน เพียงเพื่อให้บรรลุนโยบายของตน ซึ่งหลายครั้ง นโยบายเหล่านั้นก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนายทุน
ไม่เพียงแต่คนจนเท่านั้น นักศึกษาและประชาชนที่ได้ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน ตามแนวทางประชาธิปไตย ต่างก็เห็นว่า คณะรัฐประหารไม่มีความชอบธรรมใดๆ ในการเข้ามาบริหารประเทศ ดังนั้น จึงมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์โดยสงบ เพื่อประท้วงการรัฐประหารอยู่หลายครั้ง อันนำมาซึ่งการบุกเข้าจับกุมนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ 14 คน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558 ที่สวนเงินมีมา กรุงเทพฯ และผลสืบเนื่องจากการจับกุมดังกล่าว ขณะนี้ นายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานของสมัชชาคนจน ได้รับหมายเรียกด้วยข้อหาฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ที่ว่าด้วยการ “ยุยงปลุกปั่น” และต้องเข้ามารายงานตัวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 5 สิงหาคม นี้
สมัชชาคนจนเห็นว่า การออกหมายเรียกให้เข้ามารายงานตัวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในครั้งนี้ เป็นการกลั่นแกล้งอย่างไร้เหตุผล เพราะที่ผ่านมานายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานของสมัชชาคนจน ได้ดำเนินการตามแนวทางสันติวิธีเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ที่คนจนมีส่วนร่วม และปกป้องสิทธิมนุษยชนของคนจนมาโดยตลอด การกล่าวหาด้วยข้อหาดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อคนจนอย่างรุนแรง เพราะได้สร้างความหวาดกลัว ให้ยอมจำนนต่อการกดขี่ข่มเหง โดยไม่กล้ายืนหยัดต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในฐานะพลเมือง ซึ่งเป็นความมุ่งหมายของรัฐบาลเผด็จการโดยทั่วไป
สมัชชาคนจน จึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
สมัชชาคนจน จึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
- 1. ให้รัฐบาลทหารยุติการจับกุมดำเนินคดีต่อนายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน และนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ทั้ง 14 คน ในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา116 โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข
- 2. ให้รัฐบาลทหารยุติการใช้กำลังและการใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนจนที่ปกป้องสิทธิมนุษยชน, สิทธิชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชนด้วยแนวทางสันติวิธี โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข
- 3. รัฐบาลทหารต้องคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชน โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข
“ประชาธิปไตยที่กินได้ การเมืองที่เห็นหัวคนจน”
สมัชชาคนจน
5 สิงหาคม 2558
สมัชชาคนจน
5 สิงหาคม 2558
00000
“ คืนพื้นที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ”
…ยุติการดำเนินคดีต่อ นายบารมี ชัยรัตน์…!!
จากคดีข้อกล่าวหาที่มีต่อ นายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน ในการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 " ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญฯ " ซึ่งจะต้องเข้าไปรายงานตัวตามหมายเรียกของสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ ในวันที่ 5 สิงหาคม 2558 นั้น
ตลอดระยะเวลาของการยึดอำนาจของทหารที่นำโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา พื้นที่ในการแสดงความเห็น พื้นที่ในการแสดงออกทางการเมือง ตามวิถีทางของประชาธิปไตย ได้ถูกลิดรอนและปิดกั้นการแสดงออกอย่างมาก ปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ถูกจำกัดขอบเขตและพื้นที่ในการแสดงออกซึ่งปัญหาที่ได้รับ บางกรณีถึงขั้นถูกข่มขู่ คุกคาม ขับไล่ โดยอ้างนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลทหาร ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้ว ประเทศที่จะมีการพัฒนาอย่างรุดหน้า คือประเทศเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งการแสดงความคิดเห็น การร้องเรียนนำเสนอปัญหา แต่ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. กลับดำเนินการในสิ่งตรงกันข้ามทั้งสิ้น
พวกเราในนามกลุ่ม/เครือข่าย และองค์กร ที่ลงชื่อแนบท้ายในแถลงการณ์นี้ จึงมีข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว ต่อไปนี้
…ยุติการดำเนินคดีต่อ นายบารมี ชัยรัตน์…!!
จากคดีข้อกล่าวหาที่มีต่อ นายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน ในการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 " ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญฯ " ซึ่งจะต้องเข้าไปรายงานตัวตามหมายเรียกของสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ ในวันที่ 5 สิงหาคม 2558 นั้น
ตลอดระยะเวลาของการยึดอำนาจของทหารที่นำโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา พื้นที่ในการแสดงความเห็น พื้นที่ในการแสดงออกทางการเมือง ตามวิถีทางของประชาธิปไตย ได้ถูกลิดรอนและปิดกั้นการแสดงออกอย่างมาก ปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ถูกจำกัดขอบเขตและพื้นที่ในการแสดงออกซึ่งปัญหาที่ได้รับ บางกรณีถึงขั้นถูกข่มขู่ คุกคาม ขับไล่ โดยอ้างนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลทหาร ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้ว ประเทศที่จะมีการพัฒนาอย่างรุดหน้า คือประเทศเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งการแสดงความคิดเห็น การร้องเรียนนำเสนอปัญหา แต่ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. กลับดำเนินการในสิ่งตรงกันข้ามทั้งสิ้น
พวกเราในนามกลุ่ม/เครือข่าย และองค์กร ที่ลงชื่อแนบท้ายในแถลงการณ์นี้ จึงมีข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว ต่อไปนี้
- 1. ให้รัฐบาลทหารยุติการจับกุมดำเนินคดีต่อนายบารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจนในข้อกล่าวหาตามกฎหมายอาญา มาตรา116 นี้ โดยไม่มีเงื่อนไข
- 2. ให้รัฐบาลจงเร่งคืนพื้นที่เสรีภาพ การแสดงออกทางการเมือง การเคลื่อนไหวนำเสนอปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา และเสรีภาพในการใช้ชีวิตตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งยุติการใช้กำลังและกฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนจนที่ปกป้องสิทธิชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชนด้วยแนวทางสันติวิธีโดยทันที
- 3. ดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง คืนอำนาจอธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเร็วที่สุด
ด้วยความเคารพ
“ในเสรีภาพ สิทธิชุมชน และความเท่าเทียมกันของเพื่อนมนุษย์”
5 สิงหาคม 2558
กลุ่ม/เครือข่าย และองค์กร ที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์
- - คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.)
- - เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน
- - ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน
- - เครือข่ายนักสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน
- - เครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรมอีสาน
- - เครือข่ายพลังงานยั่งยืนจังหวัดสุรินทร์
- - เครือข่ายป่าชุมชน จ.สุรินทร์
- - โครงการทามมูล
- - กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
- - เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน
- - ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชนนครราชสีมา
- - ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชี
- - เครือข่ายคนรุ่นใหม่กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น