21 มี.ค.2559 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ มีชัย ฤชุพันธ์ ประธานร่างรัฐธรรมนูญเป็นองค์ปาฐกในงานประชุมวิชาการ “เวทีสาธารณะ ปปร.19 ประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน” ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อเสนอแนะของผู้แทนนักศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง(ปปร.) รุ่นที่ 19.ของสถาบันพระปกเกล้า
มีชัยสรุปว่า ตอนคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ตั้งสมติฐานปัญหาของประเทศไทยที่บานปลายมาจนมีการใช้ความรุนแรงต่อกัน สามารถสรุปปัญหาสำคัญได้ 3-4 ประการคือ
1. ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม รัฐบาลที่ผ่านมาปล่อยปละละเลยการดูแลประชาชน มุ่งแต่หาความนิยมแต่ไม่เน้นความยั่งยืน จนประชาชนขาดความไว้วางใจรัฐ ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ของัฐมีทัศนคติต้องการ “ปกครอง” มากกว่า “ให้บริการ” ประชาชน
2.การทุจริตคอร์รัปชันมีมากขึ้นและกระจายตัวมากขึ้นโดยที่ความเข้าใจเรื่องคอร์รัปชันเริ่มไม่ตรงกัน ประชาชนจำนวนไม่น้อยเห็นว่า “เขาทุจริตแต่ก็เอามาแบ่งปัน”
3.คนขาดวินัย กรธ.เห็นว่าการจะทำให้ประชาชนมีความเป็น “พลเมือง” นั้นยากมาก ความหวังเดียวอยู่ที่การศึกษาซึ่งต้องไม่ได้มุ่งเน้นให้คนเข้ามหาวิทยาลัยทั้งหมด และขอเน้น 4 คุณลักษณะคือ เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ และสามารถเรียนได้ตามความถนัด และกรธ.ให้ความสำคัญกับการเรียนอนุบาลซึ่งจะช่วยเสริมพัฒนาการของเด็ก เรื่องนี้เอกชนสามารถเข้ามาช่วยได้ เพราะโดยปกติก็มีโครงการ CSR จำนวนมาก อาจเอามาทำกองทุนให้คนยากไร้ได้นำไปใช้
1. ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม รัฐบาลที่ผ่านมาปล่อยปละละเลยการดูแลประชาชน มุ่งแต่หาความนิยมแต่ไม่เน้นความยั่งยืน จนประชาชนขาดความไว้วางใจรัฐ ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ของัฐมีทัศนคติต้องการ “ปกครอง” มากกว่า “ให้บริการ” ประชาชน
2.การทุจริตคอร์รัปชันมีมากขึ้นและกระจายตัวมากขึ้นโดยที่ความเข้าใจเรื่องคอร์รัปชันเริ่มไม่ตรงกัน ประชาชนจำนวนไม่น้อยเห็นว่า “เขาทุจริตแต่ก็เอามาแบ่งปัน”
3.คนขาดวินัย กรธ.เห็นว่าการจะทำให้ประชาชนมีความเป็น “พลเมือง” นั้นยากมาก ความหวังเดียวอยู่ที่การศึกษาซึ่งต้องไม่ได้มุ่งเน้นให้คนเข้ามหาวิทยาลัยทั้งหมด และขอเน้น 4 คุณลักษณะคือ เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ และสามารถเรียนได้ตามความถนัด และกรธ.ให้ความสำคัญกับการเรียนอนุบาลซึ่งจะช่วยเสริมพัฒนาการของเด็ก เรื่องนี้เอกชนสามารถเข้ามาช่วยได้ เพราะโดยปกติก็มีโครงการ CSR จำนวนมาก อาจเอามาทำกองทุนให้คนยากไร้ได้นำไปใช้
4.การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวดกวดขัน ซึ่งตำรวจถือเป็นส่วนที่สำคัญเนื่องจากมี “เสียงลือ” ว่าแม้แต่ในแวดวงตำรวจเองก็มีปัญหาคอร์รัปชั่น เราจึงเห็นควรว่าเป็นเรื่องต้องเร่งปฏิรูป
ส่วนอื่นๆ คือ เรื่องสิทธิและเสรีภาพ ตอนเริ่มต้นทำรัฐธรรมนูญต้องการจะมุ่งขจัดความเหลื่อมล้ำ ความเหลื่อมล้ำเกิดจากความรู้และไม่รู้สิทธิของประชาชนที่จะออกมาเรียกร้องต่อเรื่องต่างๆ เราเห็นว่าประชาชนรู้อย่างดีแล้วในเรื่องสิทธิ เราจึงย้ายจากหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนไปเป็นหน้าที่ของรัฐแทน แต่เมื่อฟังเสียงประชาชนแล้วพบว่ามีความไม่สบายใจ เราจึงเริ่มเข้าใจว่ามีความไม่ไว้ใจรัฐบาลมากจริงๆ เราติดฮีตเตอร์ยังเรียกร้องผ้าห่ม เราก็เติมให้หมด ในที่สุดจึงใส่ไว้ทั้งสองหมวด แต่รกด้วยสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นไร วันหนึ่งเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นก็สามารถตัดส่วนเกินออกได้ แต่บางคนขอให้ทุบฝาบ้านอันนี้จนปัญญา
จากนั้นมีชัยตอบคำถามซึ่งมีผู้ฟังเขียนข้อความมาสอบถาม
ถาม: มีคนตั้งคำถามว่าคุณมีชัยร่างกฎหมายให้ทหารอยู่เรื่อย
ไม่จริงหรอกครับ ผมได้ทุนรัฐบาลไปเรียนร่างกฎหมาย ตั้งแต่กลับมาก็ร่างมาทุกรัฐบาลตั้งแต่ต้น แล้วนี่ก็คงจะร่างต่อไปจนกว่าจะตายเพราะว่า กฤษฎีกามีหน้าที่ร่างกฎหมาย แล้วผมก็คิดว่าของที่ทำมาโดยตลอดในฐานะนักกฎหมาย กฎหมายอะไรดีๆ ที่มีอยู่แปลกๆ ส่วนใหญ่ผมร่างทั้งนั้น ถามว่าทำไม เพราะบังเอิญผมเป็นคนแก่ที่ไม่ติดกรอบเหมือนคนหนุ่ม คนหนุ่มทั้งหลายส่วนใหญ่จะอยู่ในกรอบ คิดไม่ออก แต่ผมเป็นคนแก่ที่อยู่นอกกรอบ กำลังเริ่มทำอะไรอย่างหนึ่งที่ต่อไปจะเป็นต้นแบบ คือ เราเคยกำหนดแต่อำนาจให้เจ้าหน้าที่แล้วไม่เคยบอกเลยว่า ถ้าไม่ทำล่ะ จะทำยังไง ตอนนี้จะเริ่มทยอยมีแล้ว เมื่อสองวันก่อน กรมโรงงานบอกว่าใครจะขนขยะจากโรงงานต้องขออนุญาต เขาบอกว่าใช้เวลา 30 วัน ถ้าอย่างนั้นผมบอกว่าให้เทศบาลให้มีหน้าที่แจ้งให้กรมโรงงานทราบ แล้วถ้ากรมโรงงานไม่มาเอาไปภายใน 3 วัน ให้เทศบาลดำเนินการตามที่เห็นสมควร และให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่ มีโทษจำคุก 15 ปี (ผู้ฟังปรบมือ) ต่อไปจะมีกฎหมายอย่างนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราปล่อยให้ใช้อำนาจมา รธน.นี้จะเป็นฉบับแรก ทุกครั้งจะบอกว่า “มีอำนาจหน้าที่” คราวนี้บอกว่า “มีหน้าที่และอำนาจ” เพื่อสะกิดให้รู้ว่าอำนาจที่ให้ไปเพื่อใช้ในเวลาปฏิบัติหน้าที่
ถาม: นอกเหนือจากการปฏิรูปตำรวจที่เป็นวาระเร่งด่วนสำหรับ กรธ. คิดว่า กองทัพ ต้องมีการปฏิรูปด้วยหรือไม่ มองบทบาทของกองทัพในปัจจุบันอย่างไร และในอนาคตคิดว่าทหารยังควรเข้ามามีบทบาททางการเมืองหรือไม่
เราไม่เคยเกิดปัญหากับกองทัพ เพราะกองทัพไม่ได้ดีลกับประชาชนโดยตรง กองทัพมีหน้าที่ปกป้องประเทศ ส่วนที่เขาจะดีลกับประชาชนโดยตรงคือส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนา เขาไม่มีอำนาจ มีแต่หน้าที่ปกป้องประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไม่ได้เกิดที่เขา
บางทีถ้าเรามองในขณะนี้เราอาจมองไม่เห็นถึงความสำคัญของกองทัพ แต่เมื่อไรบ้านเมืองเราถูกบุกรุกเราจะนึกถึงความสำคัญ และที่สำคัญลองนึกถึงก่อนวันที่ 22 พ.ค.2557 ถามว่าเรานึกถึงใครมากที่สุดตอนนั้น จำได้ไหม มีคนถึงกับเรียกร้องให้กองทัพออกมา กองทัพก็บอกไม่ใช่หน้าที่เขา ไปตกลงกันเอง แล้วเราก็ขึ้นป้ายว่า “หลับเถิดทหารกล้า ปวงประชาจะคุ้มภัย” ให้เขาเจ็บใจเล่น พวกเราใช่ไหมที่ทำอย่างนั้น ฉะนั้น เวลาจะนึกถึงอะไรตอนนี้ก็ต้องนึกถึงวันที่เกิดเหตุด้วย
ถาม: ในอนาคตทหารควรเข้ามามีบทบาทในการเมืองหรือไม่
ทหารไม่ควรมีบทบาทในการเมืองมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ถ้าไม่เกิดวิกฤตจนกระทั่งคนไปเรียกหาเขามา การที่ คสช.เคยมีปรารภว่าอยากจะให้เขียนอะไรเป็นกลไกในรัฐธรรมนูญเมื่อเวลาเกิดวิกฤตจะได้แก้ปัญหากันเองได้ เขาจะได้ไม่ต้องออกมา เพราะเขาออกมาทีไรก็เป็นอันตรายต่อตัวเขาเองด้วย เสี่ยงภัยและทำให้เกิดเป็นปัญหาลากยาวกันต่อไป แต่เราก็เขียนไม่ได้ เขียนได้แต่บางส่วนเท่านั้น อย่างเช่นคราวนี้เราก็จะเห็นว่า ถ้ามันติดขัดเกิดปัญหาความเสียหาย ให้มีสัญญาณเตือน โดยองค์กรอิสระประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเตือนให้รัฐบาลรู้ก่อนจะเกิดความเสียหาย แล้วก็หวังจากนั้นว่ากลไกทางการเมืองจะเริ่มเดิน ถ้ามันไม่เดินก็จะเกิดปัญหาอีก ขณะเดียวกันถ้าเกิดติดขัดเรื่องรัฐธรรมนูญ เราก็วางกลไกที่จะหาตัวชี้ว่าทางออกที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร เท่าที่ทำได้ก็ทำได้เพียงเท่านี้ แต่ถ้าคนที่อยู่ในอำนาจยังไม่ฟังหรือทำเหมือนคราวที่แล้ว เช่น ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วไม่ฟัง ไม่เชื่อคำตัดสินแล้วบ้านเมืองจะเหลืออะไร ผมเคยพูดตอนนั้นว่า ถ้ารัฐบาลไม่เชื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชนทุกคนก็มีสิทธิไม่เชื่อถือรัฐบาล เพราะรัฐบาลปฏิบัตินอกกรอบเสียเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น