เพนกวิน ม.5 เลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ชี้ร่างรธน.มีชัย ฉบับลงประชามติ ตัดตอนสวัสดิการเรียนฟรีช่วง ม.ปลาย - อาชีวะ อย่างโหดเหี้ยม นิยามเป็น 'เรียนฟรี 12 ปี เสิ่นเจิ้น'
29 มี.ค. 2559 ภายหลังจากที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติออกมา พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ซึ่งวานนี้ (28 มี.ค.59) เขาได้ออกจดหมายเชิญชวนให้จับตาประเด็นเรื่อง การลดทอนสวัสดิการเรียนฟรี นั้น
ล่าสุดวันนี้ พริษฐ์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ดังกล่าว ซึ่งระบุไว้ใน ม.54 ว่า ต่อไปนี้ ใครประสงค์จะเรียน ม.ปลาย หรือ อาชีวะ ต้องจ่ายค่าเรียนกันเอง ระบุว่าเรียนฟรีเวอร์ชั่นใหม่ที่กำลังรอวันประชามตินั้นเป็นการฆ่าตัดตอนสวัสดิการเรียนฟรีช่วง ม.ปลาย - อาชีวะ อย่างโหดเหี้ยม
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ต่อไปนี้ ใครประสงค์จะเรียน ม.ปลาย หรือ อาชีวะ ท่านก็จ่ายค่าเรียนกันเองนะครับ
"เรียนฟรี 12 ปี" เวอร์ชั่นคุณมีชัยที่เพิ่งออกมาใหม่นี้ เป็น "12ปีเสิ่นเจิ้น" เรียนฟรีเวอร์ชั่นใหม่ที่กำลังรอวันประชามตินั้น เรียกได้ว่าฆ่าตัดตอนสวัสดิการเรียนฟรีช่วง ม.ปลาย - อาชีวะ อย่างโหดเหี้ยม ไม่เหลือแม้แต่ซาก โดยให้เหตุผลว่าจะนำเงินส่วนดังกล่าวไปเป็นสวัสดิการเรียนฟรีให้ "การศึกษาก่อนวัยเรียน" และจะให้การศึกษาฟรีนี้ถึงจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) เท่านั้น
คำถามคือ เมื่อรัฐคุ้มครองการศึกษาฟรีถึงแค่ ม.3 จะต้องมีผู้ที่เดินไปตามระบบการศึกษาต่อไม่ไหวและจะมีระดับการศึกษาเพียงแค่การศึกษาภาคบังคับเท่านั้น เท่ากับว่ารัฐอยากให้ประชาชนเรียนจบกันเพียงแค่ ม.3 ก็ได้ แต่รัฐได้สร้างหลักประกันแล้วหรือยังว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษากันเพียงแค่การศึกษาภาคบังคับจะสามารถจบไปมีอาชีพและสร้างประโยชน์ให้สังคมได้
เมื่อยกเลิกภาระของรัฐในการจัดสวัสดิการในส่วนของ ม.ปลาย รัฐบาลชุดต่อ ๆ ไปก็อาจผลักภาระค่าใช้จ่ายให้นักเรียนและผู้ปกครองได้มากที่สุดถึง 22 รายการ (ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าทัศนศึกษา ฯลฯ) และที่หนักหน่วงกว่าคือสายอาชีพที่นอกจากจะมีค่าเล่าเรียนสูงแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์การศึกษาที่แพงลิบลิ่วแยกต่างหากอีก
ในที่สุด ก็จะมีคนที่ไม่สามารถจ่ายเงินเพื่อการศึกษาเองได้และจะต้องกู้เงินตามกองทุนที่รฐธรรมนูญให้จัดตั้งขึ้นมา และเชื่อว่าสุดท้ายก็จะต้องมีคนที่ไม่สามารถกู้ยืมได้อีก และกับคนทั่วไปก็เป็นการเอาภาระอันหนักหน่วงไปยัดเยียดใส่ การเพิ่มภาระทางการศึกษาให้กับประชาชนทั่วไปนั้น เป็นสิ่งที่รัฐควรจะทำแล้วหรือ
ดังนั้น หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านประชามติไปได้ ขอเรียนให้ทราบล่วงหน้าว่าต่อไปนี้การเรียน ม.ปลาย และ อาชีวะ ซึ่งปกติก็ฟรีเก๊อยู่แล้ว ต่อไปนี้จะไม่ฟรีอย่างเป็นทางการ
R.I.P.
สำหรับมาตรา 54 ตาม ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ นั้นระบุว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น