หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดให้มีขึ้นในวันที่ 7 ส.ค.นี้ กลุ่มต่างๆ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้และมีการรณรงค์ อย่างไรก็ตาม กลับปรากฏการควบคุมการแสดงออกต่อเรื่องประชามติ คสช. ทั้งใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 กรณีการชุมนุม เช่น การเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติของ นปช. การเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ เพื่อหยุดยั้งการทำกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ควบคู่ไปกับการดำเนินคดีด้วยข้อหาตามคำสั่งหัวหน้า คสช. และมาตรา 61 ในพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้สรุปการดำเนินคดีกับผู้ที่ใช้เสรีภาพการแสดงออกที่เกี่ยวกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดนี้ทั้งหมด 113 คน แบ่งเป็นข้อหาตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 ทั้งหมด 94 คน มาตรา 61 พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ 5 คน กรณีที่โดนทั้งข้อหาคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 พร้อมมาตรา 61 จำนวน 13 คน และมี 1 คนที่ถูกดำเนินคดีสองคดี คดีแรกข้อหาตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 คดีที่สองข้อหาตามมาตรา 61 นอกจากนั้นจากการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติของ นปช. เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2559 ยังเกิดการคุกคามอย่างน้อย 43 จังหวัดในทุกภูมิภาค สถิติดังกล่าวนี้สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ก.ค. 2559
รูปแบบการคุกคามกรณี เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ รายจังหวัด
รายชื่อจังหวัดที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้าปิดกั้นและคุกคามการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติของ นปช. อ้างอิงตามรายงานข่าวและการรายงานสถานการณ์ของเพจ “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” มีจำนวนอย่างน้อย 43 จังหวัด ที่เกิดการคุกคามโดยเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เรียกรายงานตัว ควบคุมตัว ยึดป้าย ติดตามสังเกตการณ์ และบางกรณีจบด้วยการดำเนินคดีตามคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น