จาตุรนต์ ฉายแสง : ยุบสภา – หลีกเลี่ยงสงคราม หยุดวงจรรัฐประหาร
จาตุรนต์ ฉายแสง
อ่านแถลงการณ์ของรัฐบาลต่อกรณีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชาแล้วแสดงว่า ข้าราชการที่เป็นคนเขียนยังมีสติอยู่ ไม่ก้าวร้าวเหมือนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กำลังสร้างปัญหาให้หนักเข้าทุกที
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความก้าวร้าว ข่มขู่กัมพูชาแถมยังด่ากราดอีกหลายประเทศ แสดงถึงความไร้วุฒิภาวะ ไม่เหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตรีอีกต่อไป
รัฐบาลนี้ยืนยันตลอดว่าปัญหาแก้ได้โดยการเจรจาของ 2 ประเทศ ไม่จำเป็นต้องอาศัยประเทศที่ 3 แต่สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือ การสร้า้งเงื่อนไขให้ต้องมีคนอื่นเข้ามา
รัฐบาลนี้กำลังพาประเทศไปในทางที่มีแต่เสียกับเสีย และความเสียหายนับวันมีแต่จะมากขึ้นๆ
รัฐบาลกำลังทำให้ชาวโลกเขาไม่เชื่อว่าลำพัง 2 ประเทศจะสามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่คนไทยก็กำลังเรียนรู้ว่ารัฐบาลนี้ไม่มีทางแก้ปัญหาได้ เพราะกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง
สถานการณ์ขณะนี้เหมือนมีเงื่อนไขที่ชัดเจนแล้วที่นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาในเร็วๆนี้ได้แล้ว ดึงเวลายืดเยื้อต่อไป รังแต่จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ
ที่ว่ามีเงื่อนไขนั้น ไม่ใช่ 3 ข้อที่นายกฯอ้างมาตลอด เพราะนั่นเป็นเงื่อนไขที่อ้างเพื่อจะอยู่นานๆ แต่ที่ผมเสนอเป็นคนละเรื่องกัน
เงื่อนไขที่ทำให้นายกฯควรยุบสภาโดยเร็วคือ ความแตกต่างทางความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับกัมพูชาที่มีทั้งที่ให้ทำสงครามและที่ต่อต้าน
ทางที่ดีคือ ให้ประชาชนตัดสินในการเลือกตั้ง ให้พรรคการเมืองเสนอนโยบายต่อสังคมว่าใครจะพาประเทศไปทางไหน
อีกเงื่อนไขหนึ่งก็คือ ความพยายามที่จะทำรัฐประหารได้เกิดขึ้นจริง การยุบสภาจะช่วยหยุดการพัฒนาของเหตุการณ์ที่อาจถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร
ในระหว่างที่รัฐบาลนี้ยังทำหน้าที่อยู่ ผมเสนอว่ารัฐบาลจะต้องลดท่าทีที่ก้าวร้าวลง แสดงความจริงใจที่จะยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาศัยการเจรจา
รัฐบาลต้องดูแลคนของตัวให้ได้ ตั้งแต่นายกฯเอง รัฐมนตรี ผู้นำกองทัพและบรรดาโฆษกของนายกฯและนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาลให้ตัดเงื่อนไขสงคราม
ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการเกิดสงครามเช่นนี้ คงต้องย้ำหลักการสำคัญข้อหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยคือ รัฐบาลต้องมีอำนาจและความรับผิดชอบเหนือกองทัพ
รัฐบาลจึงควรแสดงภาวะผู้นำ มีความชัดเจนทางนโยบายและกำชับให้หน่วยงานต่างๆรวมทั้งกองทัพปฏิบัติตาม เมื่อมีปัญหารัฐบาลย่อมต้องรับผิดชอบเต็มๆ
การเคลื่อนไหวของพันธมิตรนั้นเป็นสิ่งที่ล้าหลัง เป็นอันตรายใหญ่หลวงต่อประเทศ ถ้าจะมีข้อดีอยู่บ้างคือการเอาข้อมูลความเลวร้ายของรัฐบาลมาเปิดเผย
รัฐบาลกับพันธมิตรขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็กำลังแข่งกันสร้างผลงานด้วยการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้นกับกัมพูชา
ชนชั้นนำจะเข้าใจบ้างหรือไม่ว่า ระบบกลไกที่ใช้ทำลายฝ่ายตรงข้ามและทำลายระบอบประชาธิปไตยกำลังขัดแย้งทำลายกันเองและกำลังเสื่อมทรามลงทุกขณะ ยากจะเยียวยา
ถ้าชนชั้นนำยังคงเดินหน้าใช้กลไกทั้งหลายสร้างความปั่นป่วนเพื่อหวังเข้าคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ผลเสียร้ายแรงจะเกิดกับประเทศและรวมทั้งกับชนชั้นนำเอง
http://prachatai3.info/journal/2011/02/33078
จาตุรนต์ ฉายแสง
อ่านแถลงการณ์ของรัฐบาลต่อกรณีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชาแล้วแสดงว่า ข้าราชการที่เป็นคนเขียนยังมีสติอยู่ ไม่ก้าวร้าวเหมือนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กำลังสร้างปัญหาให้หนักเข้าทุกที
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความก้าวร้าว ข่มขู่กัมพูชาแถมยังด่ากราดอีกหลายประเทศ แสดงถึงความไร้วุฒิภาวะ ไม่เหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตรีอีกต่อไป
รัฐบาลนี้ยืนยันตลอดว่าปัญหาแก้ได้โดยการเจรจาของ 2 ประเทศ ไม่จำเป็นต้องอาศัยประเทศที่ 3 แต่สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือ การสร้า้งเงื่อนไขให้ต้องมีคนอื่นเข้ามา
รัฐบาลนี้กำลังพาประเทศไปในทางที่มีแต่เสียกับเสีย และความเสียหายนับวันมีแต่จะมากขึ้นๆ
รัฐบาลกำลังทำให้ชาวโลกเขาไม่เชื่อว่าลำพัง 2 ประเทศจะสามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่คนไทยก็กำลังเรียนรู้ว่ารัฐบาลนี้ไม่มีทางแก้ปัญหาได้ เพราะกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง
สถานการณ์ขณะนี้เหมือนมีเงื่อนไขที่ชัดเจนแล้วที่นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาในเร็วๆนี้ได้แล้ว ดึงเวลายืดเยื้อต่อไป รังแต่จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ
ที่ว่ามีเงื่อนไขนั้น ไม่ใช่ 3 ข้อที่นายกฯอ้างมาตลอด เพราะนั่นเป็นเงื่อนไขที่อ้างเพื่อจะอยู่นานๆ แต่ที่ผมเสนอเป็นคนละเรื่องกัน
เงื่อนไขที่ทำให้นายกฯควรยุบสภาโดยเร็วคือ ความแตกต่างทางความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับกัมพูชาที่มีทั้งที่ให้ทำสงครามและที่ต่อต้าน
ทางที่ดีคือ ให้ประชาชนตัดสินในการเลือกตั้ง ให้พรรคการเมืองเสนอนโยบายต่อสังคมว่าใครจะพาประเทศไปทางไหน
อีกเงื่อนไขหนึ่งก็คือ ความพยายามที่จะทำรัฐประหารได้เกิดขึ้นจริง การยุบสภาจะช่วยหยุดการพัฒนาของเหตุการณ์ที่อาจถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร
ในระหว่างที่รัฐบาลนี้ยังทำหน้าที่อยู่ ผมเสนอว่ารัฐบาลจะต้องลดท่าทีที่ก้าวร้าวลง แสดงความจริงใจที่จะยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาศัยการเจรจา
รัฐบาลต้องดูแลคนของตัวให้ได้ ตั้งแต่นายกฯเอง รัฐมนตรี ผู้นำกองทัพและบรรดาโฆษกของนายกฯและนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาลให้ตัดเงื่อนไขสงคราม
ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการเกิดสงครามเช่นนี้ คงต้องย้ำหลักการสำคัญข้อหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยคือ รัฐบาลต้องมีอำนาจและความรับผิดชอบเหนือกองทัพ
รัฐบาลจึงควรแสดงภาวะผู้นำ มีความชัดเจนทางนโยบายและกำชับให้หน่วยงานต่างๆรวมทั้งกองทัพปฏิบัติตาม เมื่อมีปัญหารัฐบาลย่อมต้องรับผิดชอบเต็มๆ
การเคลื่อนไหวของพันธมิตรนั้นเป็นสิ่งที่ล้าหลัง เป็นอันตรายใหญ่หลวงต่อประเทศ ถ้าจะมีข้อดีอยู่บ้างคือการเอาข้อมูลความเลวร้ายของรัฐบาลมาเปิดเผย
รัฐบาลกับพันธมิตรขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็กำลังแข่งกันสร้างผลงานด้วยการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้นกับกัมพูชา
ชนชั้นนำจะเข้าใจบ้างหรือไม่ว่า ระบบกลไกที่ใช้ทำลายฝ่ายตรงข้ามและทำลายระบอบประชาธิปไตยกำลังขัดแย้งทำลายกันเองและกำลังเสื่อมทรามลงทุกขณะ ยากจะเยียวยา
ถ้าชนชั้นนำยังคงเดินหน้าใช้กลไกทั้งหลายสร้างความปั่นป่วนเพื่อหวังเข้าคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ผลเสียร้ายแรงจะเกิดกับประเทศและรวมทั้งกับชนชั้นนำเอง
http://prachatai3.info/journal/2011/02/33078
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น