คำเตือน 5 ข้อ สำหรับประเทศไทย
เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร
โดย อัครพงษ์ ค่ำคูณ
เตือนที่ 1 ศาลโลกตัดสินยกแต่เฉพาะตัวปราสาท ไม่รวมพื้นดินใต้ปราสาท จริงหรือ?
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.)
"อย่างไรก็ดี ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยใน ค.ศ.1908-09 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่า เมื่อพิจารณาโดยทั่วๆ ไป การกระทำต่อๆ มาของไทยมีแต่ยืนยันและชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำของไทยในเขตท้องที่ก็ไม่เพียงพอที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง ได้รับรองเส้นแผนที่นี้และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้ เป็นเส้นเขตแดน" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 45)
"การระบุเส้นสันปันน้ำในข้อ 1 ของสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 มิได้หมายความอะไรนอกไปจากว่าเป็นวิธีที่สะดวกและแจ่มแจ้งที่จะบรรยายเส้น เขตแดนอย่างให้เห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าจะเป็นการกล่าวเพียงกว้างๆ ก็ตาม แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะให้คิดว่าคู่กรณีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เส้นสัน ปันน้ำโดยเจาะจง เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญที่เหนือกว่าของการยึดถือเส้นเขตแดนในแผนที่ ซึ่งได้ปักปันกันในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เรื่องได้เป็นที่ยุติกันไป ฉะนั้น อาศัยหลักในการตีความสนธิสัญญา ศาลจึงจำต้องลงความเห็นให้ถือเส้นเขตแดนตามแผนที่ของบริเวณพิพาท" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 49-50)
"ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วนี้ ศาล โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
โดยเหตุนี้ จึงพิพากษา โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ว่าประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือ ในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 51)
คำเตือนพิเศษ โปรดสังเกตว่า ไม่มีข้อความใดในคำพิพากษาที่ระบุว่า ศาลตัดสินยกแต่เฉพาะตัวปราสาทไม่รวมพื้นดินใต้ปราสาท หรือ ไม่มีข้อความใดระบุว่า พื้นดินใต้ปราสาทยังเป็นของประเทศไทย
เตือนที่ 2 แผนที่ 1 : 200,000 ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว จริงหรือ?
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.)
"คณะกรรมการผสมชุดที่จัดตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 ได้มีการประชุมครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ.1905 แต่ก็มิได้ปฏิบัติงานจนถึงเขตแดนทางทิศตะวันออกของทิวเขาดงรักกระทั่งเดือน ธันวาคม ค.ศ.1906 ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะได้ระบุไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการในการประชุมเมื่อวัน ที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ว่า สมาชิกฝ่ายฝรั่งเศสผู้หนึ่งของคณะกรรมการ ร้อยเอก ทิกซีเอ ได้เดินทางผ่านไปตามเขาดงรักในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1905 เช่นนั้นก็ตาม ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ซึ่งจัดให้มีขึ้นที่นครวัดได้มีการตกลงกันว่าคณะกรรมการจะขึ้นไปบนเขาดงรัก จากที่ราบต่ำของกัมพูชา โดยผ่านขึ้นทางช่องเกนซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระวิหารและเดินทางไปยังทิศ ตะวันออกตามทิวเขาโดยอาศัยเส้นทางเดียวกัน (หรือตามเส้นเดียวกัน) กับเส้นที่ร้อยเอก ทิกซีเอ ได้ตระเวนสำรวจไว้ในปี ค.ศ.1905 ที่ประชุมตกลงกันว่า การสำรวจที่จำเป็นทั้งหมดระหว่างเส้นทางนี้และเส้นยอดเขา (ซึ่งเกือบจะขนานกัน) สามารถทำได้โดยวิธีนี้ เพราะเหตุว่าเส้นทางนี้อยู่ในด้านไทยห่างจากยอดเขาอย่างมากที่สุดประมาณ 10 ถึง 15 กิโลเมตรเท่านั้น คู่ความมิได้โต้แย้งว่าประธานฝ่ายฝรั่งเศสและประธานฝ่ายสยามในฐานะผู้แทนของ คณะกรรมการได้เดินทางมาตามนี้ และได้ไปที่ปราสาทพระวิหาร แต่ทั้งนี้ ก็ไม่มีบันทึกหลักฐานใด แสดงให้เห็นว่าประธานทั้งสองได้ให้คำวินิจฉัยไว้แต่ประการใด
ในการประชุมครั้งเดียวกันคือเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ได้มีการตกลงกันด้วยว่า ร้อยเอกอุ่ม กรรมการผู้หนึ่งในฝ่ายฝรั่งเศสจะเป็นผู้สำรวจทิวเขาดงรักด้านตะวันออกทั้ง หมด ซึ่งเป็นเขตที่พระวิหารตั้งอยู่โดยเริ่มต้นสำรวจจากจุดปลายด้านตะวันออก และว่าร้อยเอกอุ่มจะออกเดินทางเพื่อการนี้ในวันรุ่งขึ้น
จึงเป็นที่แจ้งชัดว่า คณะกรรมการผสมเจตนาอย่างเต็มที่ที่จะปักปันเขตแดนในเขตภูเขาดงรักและจะได้ จัดทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อเตรียมการในเรื่องงานปักปัน งานปักปันนี้ย่อมต้องสำเร็จแล้ว เพราะว่าในปลายเดือนมกราคม ค.ศ.1907 อัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ได้รายงานต่อรัฐมนตรีต่างประเทศในกรุงปารีสว่า เขาได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากประธานฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการผสมว่า การปักปันทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้วโดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น และว่าได้มีการกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นเป็นที่แน่นอนแล้วนอกจากในอาณาบริเวณ เสียมราฐ นอกจากนั้น ในรายงานเกี่ยวกับการปักปันทั้งหมด ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1907 ซึ่งประธานได้ส่งไปให้รัฐบาลของตนก็ได้ระบุไว้ว่า "ตลอดแนวเขาดงรักจนถึงแม่น้ำโขงการกำหนดเขตแดนไม่ได้ปรากฏความยุ่งยากใดๆ เลย" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 21-22)
งานขั้นสุดท้ายในการดำเนินการปักปันเขตแดนได้แก่การตระเตรียมและการจัดพิมพ์ แผนที่เพื่อจะทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จ รัฐบาลสยามซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอ จึงได้ร้องขอเป็นทางการให้พนักงานสำรวจพื้นที่ของฝรั่งเศสจัดทำแผนที่อาณา บริเวณเขตแดนนี้ขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดจากข้อความวรรคเริ่มต้นของรายงานการประชุมคณะกรรมการผสมชุด แรก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1905 คำร้องขอนี้ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายสยามในคณะกรรมการซึ่งอาจเป็นผู้ให้ความ ดำรินี้เพราะว่าในหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1908 อัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษฎากร) ได้ติดต่อแจ้งผลงานเกี่ยวกับการทำแผนที่ไปยังรัฐบาลของตนมีความตอนหนึ่งอ้าง ถึง "คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม โดยคำขอร้องของกรรมการฝ่ายสยามได้มอบหมายให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศส จึงทำแผนที่บริเวณเขตแดนส่วนต่างๆ ขึ้น" ที่ว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายเจาะจงของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสยาม....(ทำเนียบนายก รัฐมนตรี 2505, 25)
รัฐบาลฝรั่งเศสได้มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสรวม 4 คน เป็นผู้จัดทำงานนี้ เจ้าหน้าที่ 3 คนในจำนวนนี้ ได้แก่ ร้อยเอก ทิกซีเอ แคร์เล และ เดอ บาทซ์ ซึ่งได้เคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการผสมชุดแรก เจ้าหน้าที่ชุดนี้ทำงานภายใต้ความควบคุมของพันเอกแบร์นาร์ด และในปลายฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ.1907 ก็ได้จัดทำแผนที่ขึ้นสำเร็จรวม 11 ฉบับ ซึ่งคลุมถึงเขตแดนส่วนใหญ่ระหว่างสยามกับอินโดจีน...แผนที่เหล่านี้ได้พิมพ์ ขึ้นและจำหน่ายโดยบริษัทพิมพ์แผนที่มีชื่อของฝรั่งเศสชื่อว่า อาช บาร์แรร์ (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 25)
อนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904 ระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ทำให้เกิดการตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขึ้น คือ "คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม (COMMISSION DE DELIMITATION ENTRE L′ INDO-CHINE ET LE SIAM)" โดยมีประธานร่วมสองคน คือ พลตรีหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และมี พันเอก แบร์นาร์ด เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส ทำให้เกิดแผนที่ 11 ฉบับ มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งตามเอกสารราชการ เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศส มีข้อความในจดหมายว่า "ในเรื่องที่คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม ตามคำร้องขอของกรรมการฝ่ายสยามให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศสช่วยจัดทำแผนที่ในเขต แดนต่างๆ ขึ้นนั้น บัดนี้ คณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว" จึงได้ส่งมอบให้ สมเด็จกรมพระยาเทวะ วงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ โดยระบุรายชื่อแผนที่ทั้ง 11 ระวาง จำนวนอย่างละ 50 แผ่น ซึ่งได้แก่ แผนที่ส่วนเหนือ (Map for the north region) จำนวน 5 ระวาง คือ 1.Meakhop and Chianglom 2.rivers in the north 3.Muang Nan 4.Paklai 5.Huang River ซึ่งปัจจุบันคือ เส้นเขตแดนกับลาว และแผนที่ส่วนใต้ (Map for the south region) จำนวน 6 ระวาง คือ 6.Pasak 7.Mekong 8.Dangrek 9.Phnom Kulen 10.Lake และ 11.Muang Trat ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนกับกัมพูชา
อัครราชทูตลงท้ายว่า ได้เก็บแผนที่ไว้ที่สถานอัครราชทูตฝรั่งเศสอย่างละ 2 ชุด และจะได้ส่งแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา จึงเหลือส่งมายังราชสำนักสยามเพียงระวางละ 44 แผ่น รวมทั้งสิ้น 484 แผ่น แผนที่ชุดนี้ปัจจุบันมีอยู่ที่กระทรวงต่างประเทศของไทย พิมพ์โดย H.BARRERE, Editeur Geographe.21 Rue du Bac, PARIS
เตือนที่ 3 เราไม่มีเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการทำแผนที่จึงถูกฝรั่งเศสโกงและเอาเปรียบ
(เอกสารอ้างอิง แผนที่ทหาร, กรม. ที่ระลึก ครบรอบวันสถาปนา 100 ปี กรมแผนที่ทหาร 3 กันยายน 2528. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2528.)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411/ค.ศ.1868 พระองค์ก็ดำเนินพระบรมราชวิเทโศบายเพื่อนำพาพระราชอาณาจักรให้รอดพ้นจาก อำนาจและอิทธิพลของเจ้าอาณานิคม ดังนั้น จึงทรงริเริ่ม "แบบแผนตะวันตก" เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้สยามมีความทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ หนึ่งในพระราชกรณียกิจเหล่านั้นคือ ทรงก่อตั้ง "กองทำแผนที่" ครั้งแรกในปี พ.ศ.2418/ค.ศ.1875 ต่อมาจึงตั้ง "โรงเรียนแผนที่" เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2425/ค.ศ.1882 และตั้ง "กรมทำแผนที่" ในวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ.2428/ค.ศ.1885 โดยมี พระวิภาคภูวดล (James Fitzroy McCarthy) ชาวอังกฤษ เป็นเจ้ากรมคนแรกผู้วางรากฐานหลักวิชาการทำแผนที่ตามเทคนิคและวิธีการแบบ ตะวันตก และมีผู้บัญชาการกำกับดูแลเมื่อเริ่มตั้งกรมทำแผนที่ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (แผนที่ทหาร 2528, 1-2)
โปรดสังเกตว่า สยามได้มีการก่อตั้ง "กรมทำแผนที่" อย่างเป็นทางการมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2428/ค.ศ.1885 แสดงให้เห็นว่า ราชอาณาจักรสยามก็ได้เตรียมองค์กรรับผิดชอบกิจการด้านการทำ "แผนที่" แบบสมัยใหม่เป็นเวลากว่า 23 ปี หรือ ถ้านับตั้งแต่การเริ่มทดลองตั้ง "กองทำแผนที่" พ.ศ.2418/ค.ศ.1875 ก็เป็นเวลากว่า 33 ปี และล่วงมาแล้วกว่า 25 ปีของการสถาปนา "โรงเรียนแผนที่" พ.ศ.2425/ค.ศ.1882 ก่อนที่จะมีการทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จำนวน 11 ระวางแล้วเสร็จ อันเป็นผลจากอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904
เตือนที่ 4 ต้องยึดหลักสากลใช้ "สันปันน้ำ" ในการแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.
ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด อรุณการพิมพ์, 2545.)
เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส เกิดขึ้นตามข้อกำหนดในมาตรา 1 ของอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904 ที่มี "เขตร์แดนเนื่องไปตามแนวยอดภูเขาปันน้ำ" ซึ่งเป็น "ความประสงค์...ที่จะมีเส้นเขตแดนที่เป็นธรรมชาติและเห็นได้ง่าย....โดย เลือกถือเอาเส้นใดเส้นหนึ่งที่มองเห็นเป็นแนวเส้นได้ชัดเจนตามทิวเขาใหญ่ๆ ในหมู่เขาดงรัก เส้นนั้นอาจเป็นเส้นสันเขา เส้นสันปันน้ำ หรือชะง่อนหน้าผา.....ดังจะเห็นได้ว่า....ได้ตกลงที่จะถือตามเส้นสันปันน้ำ ในการทำเช่นนี้จะต้องสันนิษฐานว่า....ได้ทราบดีแล้วว่า ในท้องถิ่นบางแห่ง เส้นสันปันน้ำนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเส้นเดียวกันกับเส้นสันเขาหรือ ชะง่อนหน้าผา...." (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 17-18)
คำว่า "สันปันน้ำ (watershed) หมายถึง บริเวณที่สูงหรือสันเขา ซึ่งแบ่งน้ำที่อยู่แต่ละด้านของสันเขา ให้ไหลออกไป 2 ฟาก (หรือมีทิศทางตรงกันข้าม) ไปสู่แม่น้ำลำธาร แต่สันปันน้ำในการกำหนดเขตแดนนั้น หมายถึง ที่สูงหรือส่วนใหญ่คือสันเขาที่ต่อเนื่องกัน และจะปันน้ำหรือน้ำฝนที่ตกลงมา ให้แบ่งออกเป็น 2 ฟากโดยไม่มีการไหลย้อนกลับ ในกรณีที่มีสันเขาแยกออกเป็นหลายสันจะยึดถือสันเขาที่มีความต่อเนื่องมากที่ สุด นั่นคือ สันเขาที่สูงที่สุดไม่จำเป็นต้องเป็นสันปันน้ำเสมอไป แต่สันเขาที่สูงและมีความต่อเนื่องมากที่สุดมักจะได้รับการพิจารณาให้เป็น สันปันน้ำ" (ราชบัณฑิตยสถาน 2545, 11)
เตือนที่ 5 ชาตินิยม กับ คลั่งชาติ
ปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า "เป็นความจำเป็นและผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนชาวไทย ที่จะต้องอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติ ไม่ควรตกเป็นเหยื่อของสงครามเย็นและสงครามประสาท
"เราไม่ควรมีความคิดเรื่องถือผิวหรือเชื้อชาติ แต่ควรยึดมั่นในความคิดที่ชนทุกชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติในโลกได้"
จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า "สำหรับข้าพเจ้า ความรู้สึกชาตินิยมกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นั้น รู้สึกว่าบางครั้งก็อาจจะขัดกัน; ในบทความนี้จึงเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์, มิได้เริ่มต้นจากความรู้สึกชาตินิยม, มิได้ปิดประตูตายสำหรับความหมายที่ร้าย และเปิดประตูต้อนรับเฉพาะความหมายที่ดีด้านเดียว."
ขงจื๊อกล่าวว่า "เรียนแล้วไม่คิด เป็นการเสียแรงเสียเวลา แต่คิดโดยไม่เรียน เป็นการเสี่ยงอันตราย"
ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////
POSTED BY : ปรีชา จาสมุทร DATE : วันพุธ, กุมภาพันธ์ 02, 201
เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร
โดย อัครพงษ์ ค่ำคูณ
เตือนที่ 1 ศาลโลกตัดสินยกแต่เฉพาะตัวปราสาท ไม่รวมพื้นดินใต้ปราสาท จริงหรือ?
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.)
"อย่างไรก็ดี ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยใน ค.ศ.1908-09 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่า เมื่อพิจารณาโดยทั่วๆ ไป การกระทำต่อๆ มาของไทยมีแต่ยืนยันและชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำของไทยในเขตท้องที่ก็ไม่เพียงพอที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง ได้รับรองเส้นแผนที่นี้และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้ เป็นเส้นเขตแดน" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 45)
"การระบุเส้นสันปันน้ำในข้อ 1 ของสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 มิได้หมายความอะไรนอกไปจากว่าเป็นวิธีที่สะดวกและแจ่มแจ้งที่จะบรรยายเส้น เขตแดนอย่างให้เห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าจะเป็นการกล่าวเพียงกว้างๆ ก็ตาม แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะให้คิดว่าคู่กรณีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เส้นสัน ปันน้ำโดยเจาะจง เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญที่เหนือกว่าของการยึดถือเส้นเขตแดนในแผนที่ ซึ่งได้ปักปันกันในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เรื่องได้เป็นที่ยุติกันไป ฉะนั้น อาศัยหลักในการตีความสนธิสัญญา ศาลจึงจำต้องลงความเห็นให้ถือเส้นเขตแดนตามแผนที่ของบริเวณพิพาท" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 49-50)
"ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วนี้ ศาล โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
โดยเหตุนี้ จึงพิพากษา โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ว่าประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือ ในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 51)
คำเตือนพิเศษ โปรดสังเกตว่า ไม่มีข้อความใดในคำพิพากษาที่ระบุว่า ศาลตัดสินยกแต่เฉพาะตัวปราสาทไม่รวมพื้นดินใต้ปราสาท หรือ ไม่มีข้อความใดระบุว่า พื้นดินใต้ปราสาทยังเป็นของประเทศไทย
เตือนที่ 2 แผนที่ 1 : 200,000 ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว จริงหรือ?
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.)
"คณะกรรมการผสมชุดที่จัดตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 ได้มีการประชุมครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ.1905 แต่ก็มิได้ปฏิบัติงานจนถึงเขตแดนทางทิศตะวันออกของทิวเขาดงรักกระทั่งเดือน ธันวาคม ค.ศ.1906 ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะได้ระบุไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการในการประชุมเมื่อวัน ที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ว่า สมาชิกฝ่ายฝรั่งเศสผู้หนึ่งของคณะกรรมการ ร้อยเอก ทิกซีเอ ได้เดินทางผ่านไปตามเขาดงรักในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1905 เช่นนั้นก็ตาม ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ซึ่งจัดให้มีขึ้นที่นครวัดได้มีการตกลงกันว่าคณะกรรมการจะขึ้นไปบนเขาดงรัก จากที่ราบต่ำของกัมพูชา โดยผ่านขึ้นทางช่องเกนซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระวิหารและเดินทางไปยังทิศ ตะวันออกตามทิวเขาโดยอาศัยเส้นทางเดียวกัน (หรือตามเส้นเดียวกัน) กับเส้นที่ร้อยเอก ทิกซีเอ ได้ตระเวนสำรวจไว้ในปี ค.ศ.1905 ที่ประชุมตกลงกันว่า การสำรวจที่จำเป็นทั้งหมดระหว่างเส้นทางนี้และเส้นยอดเขา (ซึ่งเกือบจะขนานกัน) สามารถทำได้โดยวิธีนี้ เพราะเหตุว่าเส้นทางนี้อยู่ในด้านไทยห่างจากยอดเขาอย่างมากที่สุดประมาณ 10 ถึง 15 กิโลเมตรเท่านั้น คู่ความมิได้โต้แย้งว่าประธานฝ่ายฝรั่งเศสและประธานฝ่ายสยามในฐานะผู้แทนของ คณะกรรมการได้เดินทางมาตามนี้ และได้ไปที่ปราสาทพระวิหาร แต่ทั้งนี้ ก็ไม่มีบันทึกหลักฐานใด แสดงให้เห็นว่าประธานทั้งสองได้ให้คำวินิจฉัยไว้แต่ประการใด
ในการประชุมครั้งเดียวกันคือเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ได้มีการตกลงกันด้วยว่า ร้อยเอกอุ่ม กรรมการผู้หนึ่งในฝ่ายฝรั่งเศสจะเป็นผู้สำรวจทิวเขาดงรักด้านตะวันออกทั้ง หมด ซึ่งเป็นเขตที่พระวิหารตั้งอยู่โดยเริ่มต้นสำรวจจากจุดปลายด้านตะวันออก และว่าร้อยเอกอุ่มจะออกเดินทางเพื่อการนี้ในวันรุ่งขึ้น
จึงเป็นที่แจ้งชัดว่า คณะกรรมการผสมเจตนาอย่างเต็มที่ที่จะปักปันเขตแดนในเขตภูเขาดงรักและจะได้ จัดทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อเตรียมการในเรื่องงานปักปัน งานปักปันนี้ย่อมต้องสำเร็จแล้ว เพราะว่าในปลายเดือนมกราคม ค.ศ.1907 อัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ได้รายงานต่อรัฐมนตรีต่างประเทศในกรุงปารีสว่า เขาได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากประธานฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการผสมว่า การปักปันทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้วโดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น และว่าได้มีการกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นเป็นที่แน่นอนแล้วนอกจากในอาณาบริเวณ เสียมราฐ นอกจากนั้น ในรายงานเกี่ยวกับการปักปันทั้งหมด ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1907 ซึ่งประธานได้ส่งไปให้รัฐบาลของตนก็ได้ระบุไว้ว่า "ตลอดแนวเขาดงรักจนถึงแม่น้ำโขงการกำหนดเขตแดนไม่ได้ปรากฏความยุ่งยากใดๆ เลย" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 21-22)
งานขั้นสุดท้ายในการดำเนินการปักปันเขตแดนได้แก่การตระเตรียมและการจัดพิมพ์ แผนที่เพื่อจะทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จ รัฐบาลสยามซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอ จึงได้ร้องขอเป็นทางการให้พนักงานสำรวจพื้นที่ของฝรั่งเศสจัดทำแผนที่อาณา บริเวณเขตแดนนี้ขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดจากข้อความวรรคเริ่มต้นของรายงานการประชุมคณะกรรมการผสมชุด แรก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1905 คำร้องขอนี้ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายสยามในคณะกรรมการซึ่งอาจเป็นผู้ให้ความ ดำรินี้เพราะว่าในหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1908 อัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษฎากร) ได้ติดต่อแจ้งผลงานเกี่ยวกับการทำแผนที่ไปยังรัฐบาลของตนมีความตอนหนึ่งอ้าง ถึง "คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม โดยคำขอร้องของกรรมการฝ่ายสยามได้มอบหมายให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศส จึงทำแผนที่บริเวณเขตแดนส่วนต่างๆ ขึ้น" ที่ว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายเจาะจงของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสยาม....(ทำเนียบนายก รัฐมนตรี 2505, 25)
รัฐบาลฝรั่งเศสได้มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสรวม 4 คน เป็นผู้จัดทำงานนี้ เจ้าหน้าที่ 3 คนในจำนวนนี้ ได้แก่ ร้อยเอก ทิกซีเอ แคร์เล และ เดอ บาทซ์ ซึ่งได้เคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการผสมชุดแรก เจ้าหน้าที่ชุดนี้ทำงานภายใต้ความควบคุมของพันเอกแบร์นาร์ด และในปลายฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ.1907 ก็ได้จัดทำแผนที่ขึ้นสำเร็จรวม 11 ฉบับ ซึ่งคลุมถึงเขตแดนส่วนใหญ่ระหว่างสยามกับอินโดจีน...แผนที่เหล่านี้ได้พิมพ์ ขึ้นและจำหน่ายโดยบริษัทพิมพ์แผนที่มีชื่อของฝรั่งเศสชื่อว่า อาช บาร์แรร์ (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 25)
อนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904 ระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ทำให้เกิดการตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขึ้น คือ "คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม (COMMISSION DE DELIMITATION ENTRE L′ INDO-CHINE ET LE SIAM)" โดยมีประธานร่วมสองคน คือ พลตรีหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และมี พันเอก แบร์นาร์ด เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส ทำให้เกิดแผนที่ 11 ฉบับ มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งตามเอกสารราชการ เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศส มีข้อความในจดหมายว่า "ในเรื่องที่คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม ตามคำร้องขอของกรรมการฝ่ายสยามให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศสช่วยจัดทำแผนที่ในเขต แดนต่างๆ ขึ้นนั้น บัดนี้ คณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว" จึงได้ส่งมอบให้ สมเด็จกรมพระยาเทวะ วงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ โดยระบุรายชื่อแผนที่ทั้ง 11 ระวาง จำนวนอย่างละ 50 แผ่น ซึ่งได้แก่ แผนที่ส่วนเหนือ (Map for the north region) จำนวน 5 ระวาง คือ 1.Meakhop and Chianglom 2.rivers in the north 3.Muang Nan 4.Paklai 5.Huang River ซึ่งปัจจุบันคือ เส้นเขตแดนกับลาว และแผนที่ส่วนใต้ (Map for the south region) จำนวน 6 ระวาง คือ 6.Pasak 7.Mekong 8.Dangrek 9.Phnom Kulen 10.Lake และ 11.Muang Trat ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนกับกัมพูชา
อัครราชทูตลงท้ายว่า ได้เก็บแผนที่ไว้ที่สถานอัครราชทูตฝรั่งเศสอย่างละ 2 ชุด และจะได้ส่งแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา จึงเหลือส่งมายังราชสำนักสยามเพียงระวางละ 44 แผ่น รวมทั้งสิ้น 484 แผ่น แผนที่ชุดนี้ปัจจุบันมีอยู่ที่กระทรวงต่างประเทศของไทย พิมพ์โดย H.BARRERE, Editeur Geographe.21 Rue du Bac, PARIS
เตือนที่ 3 เราไม่มีเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการทำแผนที่จึงถูกฝรั่งเศสโกงและเอาเปรียบ
(เอกสารอ้างอิง แผนที่ทหาร, กรม. ที่ระลึก ครบรอบวันสถาปนา 100 ปี กรมแผนที่ทหาร 3 กันยายน 2528. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2528.)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411/ค.ศ.1868 พระองค์ก็ดำเนินพระบรมราชวิเทโศบายเพื่อนำพาพระราชอาณาจักรให้รอดพ้นจาก อำนาจและอิทธิพลของเจ้าอาณานิคม ดังนั้น จึงทรงริเริ่ม "แบบแผนตะวันตก" เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้สยามมีความทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ หนึ่งในพระราชกรณียกิจเหล่านั้นคือ ทรงก่อตั้ง "กองทำแผนที่" ครั้งแรกในปี พ.ศ.2418/ค.ศ.1875 ต่อมาจึงตั้ง "โรงเรียนแผนที่" เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2425/ค.ศ.1882 และตั้ง "กรมทำแผนที่" ในวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ.2428/ค.ศ.1885 โดยมี พระวิภาคภูวดล (James Fitzroy McCarthy) ชาวอังกฤษ เป็นเจ้ากรมคนแรกผู้วางรากฐานหลักวิชาการทำแผนที่ตามเทคนิคและวิธีการแบบ ตะวันตก และมีผู้บัญชาการกำกับดูแลเมื่อเริ่มตั้งกรมทำแผนที่ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (แผนที่ทหาร 2528, 1-2)
โปรดสังเกตว่า สยามได้มีการก่อตั้ง "กรมทำแผนที่" อย่างเป็นทางการมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2428/ค.ศ.1885 แสดงให้เห็นว่า ราชอาณาจักรสยามก็ได้เตรียมองค์กรรับผิดชอบกิจการด้านการทำ "แผนที่" แบบสมัยใหม่เป็นเวลากว่า 23 ปี หรือ ถ้านับตั้งแต่การเริ่มทดลองตั้ง "กองทำแผนที่" พ.ศ.2418/ค.ศ.1875 ก็เป็นเวลากว่า 33 ปี และล่วงมาแล้วกว่า 25 ปีของการสถาปนา "โรงเรียนแผนที่" พ.ศ.2425/ค.ศ.1882 ก่อนที่จะมีการทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จำนวน 11 ระวางแล้วเสร็จ อันเป็นผลจากอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904
เตือนที่ 4 ต้องยึดหลักสากลใช้ "สันปันน้ำ" ในการแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.
ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด อรุณการพิมพ์, 2545.)
เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส เกิดขึ้นตามข้อกำหนดในมาตรา 1 ของอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904 ที่มี "เขตร์แดนเนื่องไปตามแนวยอดภูเขาปันน้ำ" ซึ่งเป็น "ความประสงค์...ที่จะมีเส้นเขตแดนที่เป็นธรรมชาติและเห็นได้ง่าย....โดย เลือกถือเอาเส้นใดเส้นหนึ่งที่มองเห็นเป็นแนวเส้นได้ชัดเจนตามทิวเขาใหญ่ๆ ในหมู่เขาดงรัก เส้นนั้นอาจเป็นเส้นสันเขา เส้นสันปันน้ำ หรือชะง่อนหน้าผา.....ดังจะเห็นได้ว่า....ได้ตกลงที่จะถือตามเส้นสันปันน้ำ ในการทำเช่นนี้จะต้องสันนิษฐานว่า....ได้ทราบดีแล้วว่า ในท้องถิ่นบางแห่ง เส้นสันปันน้ำนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเส้นเดียวกันกับเส้นสันเขาหรือ ชะง่อนหน้าผา...." (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 17-18)
คำว่า "สันปันน้ำ (watershed) หมายถึง บริเวณที่สูงหรือสันเขา ซึ่งแบ่งน้ำที่อยู่แต่ละด้านของสันเขา ให้ไหลออกไป 2 ฟาก (หรือมีทิศทางตรงกันข้าม) ไปสู่แม่น้ำลำธาร แต่สันปันน้ำในการกำหนดเขตแดนนั้น หมายถึง ที่สูงหรือส่วนใหญ่คือสันเขาที่ต่อเนื่องกัน และจะปันน้ำหรือน้ำฝนที่ตกลงมา ให้แบ่งออกเป็น 2 ฟากโดยไม่มีการไหลย้อนกลับ ในกรณีที่มีสันเขาแยกออกเป็นหลายสันจะยึดถือสันเขาที่มีความต่อเนื่องมากที่ สุด นั่นคือ สันเขาที่สูงที่สุดไม่จำเป็นต้องเป็นสันปันน้ำเสมอไป แต่สันเขาที่สูงและมีความต่อเนื่องมากที่สุดมักจะได้รับการพิจารณาให้เป็น สันปันน้ำ" (ราชบัณฑิตยสถาน 2545, 11)
เตือนที่ 5 ชาตินิยม กับ คลั่งชาติ
ปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า "เป็นความจำเป็นและผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนชาวไทย ที่จะต้องอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติ ไม่ควรตกเป็นเหยื่อของสงครามเย็นและสงครามประสาท
"เราไม่ควรมีความคิดเรื่องถือผิวหรือเชื้อชาติ แต่ควรยึดมั่นในความคิดที่ชนทุกชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติในโลกได้"
จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า "สำหรับข้าพเจ้า ความรู้สึกชาตินิยมกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นั้น รู้สึกว่าบางครั้งก็อาจจะขัดกัน; ในบทความนี้จึงเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์, มิได้เริ่มต้นจากความรู้สึกชาตินิยม, มิได้ปิดประตูตายสำหรับความหมายที่ร้าย และเปิดประตูต้อนรับเฉพาะความหมายที่ดีด้านเดียว."
ขงจื๊อกล่าวว่า "เรียนแล้วไม่คิด เป็นการเสียแรงเสียเวลา แต่คิดโดยไม่เรียน เป็นการเสี่ยงอันตราย"
ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////
POSTED BY : ปรีชา จาสมุทร DATE : วันพุธ, กุมภาพันธ์ 02, 201
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น