รัฐบาลเหนื่อย วิกฤต"ของแพง" ( รัฐบาลโจรเตรียมหนี ) ข่าวสดเช้านี้
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7388 ข่าวสดรายวัน
รัฐบาลเหนื่อย วิกฤต"ของแพง"
ในทางการเมืองถึงจะมีการส่งสัญญาณจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ว่าพร้อมจะยุบสภาเลือกตั้งใหม่ภายในครึ่งปีแรกของปีนี้
รวมถึง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ที่ออกมาประสานเสียงการันตีว่า การยุบสภาเกิดขึ้นแน่นอนก่อนเดือนมิ.ย.
แต่ ถ้ามองลึกลงไปถึงเงื่อนไข 3 ประการ ที่นายกฯอภิสิทธิ์ เคยกำหนดไว้เป็น"โรดแม็ป" ไปสู่การยุบสภา คือ การแก้ไขปัญหาเศรษฐ กิจ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
หลายคนอาจไม่แน่ใจว่าการยุบสภาเลือกตั้งใหม่จะเกิดขึ้นภายในครึ่งปีนี้หรือไม่เกินเดือนมิ.ย.ตามที่"มาร์ค-เทพเทือก" ประกาศไว้หรือไม่
อย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญถึง จะผ่านที่ประชุมรัฐสภา วาระ 3 ไปแล้ว แต่ยังติดขัดจากการที่พรรคฝ่ายค้านยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ทำให้กระบวนการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องระงับไว้ก่อน
ขณะ เดียวกันปัญหาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองที่เกี่ยวโยงไปถึงการชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มนปช. ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติง่ายๆ แม้จะอยู่ภายใต้พ.ร.บ. ความมั่นคงก็ตาม
โดยเฉพาะการชุมนุมของกลุ่ม พันธมิตรฯ ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงสูงกว่าการชุมนุมของกลุ่มนปช. ถึงจะมีจำนวนน้อยกว่าหลายเท่าตัว
นอกจากนี้เงื่อนไขร้อนๆ ที่กำลังลุกลามกลายเป็นปัญหาการเมืองภายใน ซึ่งหลายคนกำลังจับตาว่าจะส่งผลสะเทือนต่อเสถียรภาพของรัฐบาลรุนแรงมากน้อย ขนาดไหน
นั่นก็คือปัญหาเศรษฐกิจที่ก้าวเข้าสู่ยุค"ข้าวยากหมากแพง" และกำลังขยายตัวรวด เร็วเหมือนไฟลามทุ่ง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วทุกหย่อมหญ้า
จะทำให้กำหนดช่วงเวลาการยุบสภาต้องยืดยาวออกไป หรือในทางกลับกัน อาจส่งผลให้การเลือกตั้งใหม่เดินทางมาถึงเร็วขึ้น
ยังเป็นเรื่องยากจะคาดเดา
จากคำกล่าวของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ที่ว่ารัฐบาลต้องแก้ปัญหา ของแพงให้ได้ก่อนแล้วค่อยยุบสภา ถึงจะได้คะแนนนั้น
ไม่ ต่างจากคำรับสารภาพว่าปัญหาสินค้าประเภทอาหารพาเหรดขึ้นราคา กำลังเป็นปัญหาใหญ่ซ้ำเติมรัฐบาล ทั้งยังส่งผลต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลอีกด้วย
จาก เดิมที่มีอยู่สารพัดปัญหารุมกระหน่ำรอบทิศ ทั้งกรณีพิพาทกับกัมพูชา ไฟใต้ การโยกย้ายข้าราชการไม่เป็นธรรม การทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ
โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันปาล์มราคาแพงและขาดตลาด
ภาพ ประชาชนหาเช้ากินค่ำต้องมาเข้าคิวซื้อ ถึงขั้นแย่งชิงชกต่อยกัน กว่าจะได้น้ำมันมาทำอาหารกินแค่ขวดสองขวด เป็นภาพที่ไม่ค่อยเห็นบ่อยนักในสังคมไทย ที่เคยได้ชื่อเป็นสังคมโอบอ้อมอารี แบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
แต่นั่นยังไม่หนักสาหัสเท่ากับการ ที่มีข่าวนักการเมืองบางคนในซีกรัฐบาล เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนครั้งนี้
แม้ภาพภายนอกจะฉายให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหา
คณะ กรรมการนโยบายน้ำมันปาล์มแห่งชาติที่มี นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง นั่งเป็นประธาน ได้อนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก 3 หมื่นตัน ครั้งที่สอง 1.2 แสนตัน
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้การดูแลของพรรคภูมิใจได้สั่งผลิตน้ำมันปาล์มฝาสีฟ้า กระจายออกจำหน่ายให้ประชาชนซื้อได้ง่ายในราคาถูก
แต่ก็ดูเหมือนสถานการณ์จะไม่คลี่คลายง่ายๆ
ท่ามกลางกระแสข่าวนับวันยิ่งหนาหูว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่การเมืองของพรรคประชาธิปัตย์
มีนักการเมืองระดับ "คีย์แมน" ของพรรค ถือครอง พื้นที่สวนปาล์มจำนวนหลายหมื่นไร่ผ่านเครือญาติที่เป็นนอมินี
ได้รับประโยชน์เต็มๆ ด้วยการร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตดำเนินการกักตุนสินค้าน้ำมันปาล์มไว้เพื่อเก็งกำไร จากการขึ้นราคาและการนำเข้า
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงพอสรุปได้ว่า ปัญหาน้ำมันปาล์มถูกยกระดับขึ้นเป็นปัญหาทางการเมืองเรียบร้อยแล้ว
จุด เริ่มมีมาตั้งแต่ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์จากพรรคภูมิใจไทยออกมาตอบโต้กับส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ว่าด้วยเรื่อง "ต้นน้ำ-ปลายน้ำ" ของปัญหา
ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทยที่ ระบุถึงนักการเมืองชื่อย่อ "ส" อยู่เบื้องหลังการกักตุน ทั้งยังเสนอให้นายกฯอภิสิทธิ์ ดึงกระ ทรวงพาณิชย์กลับมาดูแลเอง
ในฐานะเป็นนักการเมืองอักษรนำหน้า "ส" ทำให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถึงกับนั่งไม่ติด
จำเป็นต้องสั่งการให้กรมสอบ สวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบว่า มีใครได้รับประโยชน์จากปัญหาน้ำมันปาล์มขาดตลาด
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากย้อนไปดูผลงานการสอบสวนคดี 91 ศพเหยื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอเช่นกัน
ก็พอเห็นถึงแนวโน้มว่าผลตรวจสอบปัญหาน้ำมันปาล์มจะออกมาอย่างไร
หลังการผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณกลางปีวงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท
การ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการกลางปีในเดือนเม.ย.ที่จะถึงนี้ รวมถึงการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ถูกมองว่าเป็นเป้าหมาย ต่อไปของรัฐบาลในการ "ทิ้งทวน" ก่อนกลับลงสู่สนามเลือกตั้ง
ในจังหวะที่วิกฤตการณ์น้ำมันปาล์มครั้งนี้
อีก มุมหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองบนความทุกข์ ร้อนของประชาชน เพื่อใช้เป็นทุนรอนสำหรับการเลือกตั้ง ซึ่งกำลังจะมีขึ้นในอนาคตไม่ใกล้ไม่ไกล
แต่เมื่อทุกอย่างถูกเปิดโปงถึงขั้นนี้แล้ว
การ ชิงยุบสภาเร็วกว่ากำหนดกลางปี อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลเลือกเดิน เพื่อตัดปัญหาการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน และการชุมนุมของคนเสื้อแดง ในวาระครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.2553
เพราะถ้าปล่อยให้ทุกอย่างไหลไปรวมใน ช่วงเวลาเดียวกันแล้ว ต่อให้มีการแก้ไขกฎกติกาเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองขนาดไหน ประชาชนคงไม่ยอมง่ายๆ แน่
ความหวังที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาล จึงอาจเป็นเรื่องห่างไกลเกินจริง
รัฐบาลเหนื่อย วิกฤต"ของแพง"
ในทางการเมืองถึงจะมีการส่งสัญญาณจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ว่าพร้อมจะยุบสภาเลือกตั้งใหม่ภายในครึ่งปีแรกของปีนี้
รวมถึง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ที่ออกมาประสานเสียงการันตีว่า การยุบสภาเกิดขึ้นแน่นอนก่อนเดือนมิ.ย.
แต่ ถ้ามองลึกลงไปถึงเงื่อนไข 3 ประการ ที่นายกฯอภิสิทธิ์ เคยกำหนดไว้เป็น"โรดแม็ป" ไปสู่การยุบสภา คือ การแก้ไขปัญหาเศรษฐ กิจ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
หลายคนอาจไม่แน่ใจว่าการยุบสภาเลือกตั้งใหม่จะเกิดขึ้นภายในครึ่งปีนี้หรือไม่เกินเดือนมิ.ย.ตามที่"มาร์ค-เทพเทือก" ประกาศไว้หรือไม่
อย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญถึง จะผ่านที่ประชุมรัฐสภา วาระ 3 ไปแล้ว แต่ยังติดขัดจากการที่พรรคฝ่ายค้านยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ทำให้กระบวนการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องระงับไว้ก่อน
ขณะ เดียวกันปัญหาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองที่เกี่ยวโยงไปถึงการชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มนปช. ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติง่ายๆ แม้จะอยู่ภายใต้พ.ร.บ. ความมั่นคงก็ตาม
โดยเฉพาะการชุมนุมของกลุ่ม พันธมิตรฯ ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงสูงกว่าการชุมนุมของกลุ่มนปช. ถึงจะมีจำนวนน้อยกว่าหลายเท่าตัว
นอกจากนี้เงื่อนไขร้อนๆ ที่กำลังลุกลามกลายเป็นปัญหาการเมืองภายใน ซึ่งหลายคนกำลังจับตาว่าจะส่งผลสะเทือนต่อเสถียรภาพของรัฐบาลรุนแรงมากน้อย ขนาดไหน
นั่นก็คือปัญหาเศรษฐกิจที่ก้าวเข้าสู่ยุค"ข้าวยากหมากแพง" และกำลังขยายตัวรวด เร็วเหมือนไฟลามทุ่ง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วทุกหย่อมหญ้า
จะทำให้กำหนดช่วงเวลาการยุบสภาต้องยืดยาวออกไป หรือในทางกลับกัน อาจส่งผลให้การเลือกตั้งใหม่เดินทางมาถึงเร็วขึ้น
ยังเป็นเรื่องยากจะคาดเดา
จากคำกล่าวของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ที่ว่ารัฐบาลต้องแก้ปัญหา ของแพงให้ได้ก่อนแล้วค่อยยุบสภา ถึงจะได้คะแนนนั้น
ไม่ ต่างจากคำรับสารภาพว่าปัญหาสินค้าประเภทอาหารพาเหรดขึ้นราคา กำลังเป็นปัญหาใหญ่ซ้ำเติมรัฐบาล ทั้งยังส่งผลต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลอีกด้วย
จาก เดิมที่มีอยู่สารพัดปัญหารุมกระหน่ำรอบทิศ ทั้งกรณีพิพาทกับกัมพูชา ไฟใต้ การโยกย้ายข้าราชการไม่เป็นธรรม การทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ
โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันปาล์มราคาแพงและขาดตลาด
ภาพ ประชาชนหาเช้ากินค่ำต้องมาเข้าคิวซื้อ ถึงขั้นแย่งชิงชกต่อยกัน กว่าจะได้น้ำมันมาทำอาหารกินแค่ขวดสองขวด เป็นภาพที่ไม่ค่อยเห็นบ่อยนักในสังคมไทย ที่เคยได้ชื่อเป็นสังคมโอบอ้อมอารี แบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
แต่นั่นยังไม่หนักสาหัสเท่ากับการ ที่มีข่าวนักการเมืองบางคนในซีกรัฐบาล เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนครั้งนี้
แม้ภาพภายนอกจะฉายให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหา
คณะ กรรมการนโยบายน้ำมันปาล์มแห่งชาติที่มี นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง นั่งเป็นประธาน ได้อนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก 3 หมื่นตัน ครั้งที่สอง 1.2 แสนตัน
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้การดูแลของพรรคภูมิใจได้สั่งผลิตน้ำมันปาล์มฝาสีฟ้า กระจายออกจำหน่ายให้ประชาชนซื้อได้ง่ายในราคาถูก
แต่ก็ดูเหมือนสถานการณ์จะไม่คลี่คลายง่ายๆ
ท่ามกลางกระแสข่าวนับวันยิ่งหนาหูว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่การเมืองของพรรคประชาธิปัตย์
มีนักการเมืองระดับ "คีย์แมน" ของพรรค ถือครอง พื้นที่สวนปาล์มจำนวนหลายหมื่นไร่ผ่านเครือญาติที่เป็นนอมินี
ได้รับประโยชน์เต็มๆ ด้วยการร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตดำเนินการกักตุนสินค้าน้ำมันปาล์มไว้เพื่อเก็งกำไร จากการขึ้นราคาและการนำเข้า
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงพอสรุปได้ว่า ปัญหาน้ำมันปาล์มถูกยกระดับขึ้นเป็นปัญหาทางการเมืองเรียบร้อยแล้ว
จุด เริ่มมีมาตั้งแต่ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์จากพรรคภูมิใจไทยออกมาตอบโต้กับส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ว่าด้วยเรื่อง "ต้นน้ำ-ปลายน้ำ" ของปัญหา
ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทยที่ ระบุถึงนักการเมืองชื่อย่อ "ส" อยู่เบื้องหลังการกักตุน ทั้งยังเสนอให้นายกฯอภิสิทธิ์ ดึงกระ ทรวงพาณิชย์กลับมาดูแลเอง
ในฐานะเป็นนักการเมืองอักษรนำหน้า "ส" ทำให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถึงกับนั่งไม่ติด
จำเป็นต้องสั่งการให้กรมสอบ สวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบว่า มีใครได้รับประโยชน์จากปัญหาน้ำมันปาล์มขาดตลาด
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากย้อนไปดูผลงานการสอบสวนคดี 91 ศพเหยื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอเช่นกัน
ก็พอเห็นถึงแนวโน้มว่าผลตรวจสอบปัญหาน้ำมันปาล์มจะออกมาอย่างไร
หลังการผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณกลางปีวงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท
การ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการกลางปีในเดือนเม.ย.ที่จะถึงนี้ รวมถึงการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ถูกมองว่าเป็นเป้าหมาย ต่อไปของรัฐบาลในการ "ทิ้งทวน" ก่อนกลับลงสู่สนามเลือกตั้ง
ในจังหวะที่วิกฤตการณ์น้ำมันปาล์มครั้งนี้
อีก มุมหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองบนความทุกข์ ร้อนของประชาชน เพื่อใช้เป็นทุนรอนสำหรับการเลือกตั้ง ซึ่งกำลังจะมีขึ้นในอนาคตไม่ใกล้ไม่ไกล
แต่เมื่อทุกอย่างถูกเปิดโปงถึงขั้นนี้แล้ว
การ ชิงยุบสภาเร็วกว่ากำหนดกลางปี อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลเลือกเดิน เพื่อตัดปัญหาการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน และการชุมนุมของคนเสื้อแดง ในวาระครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.2553
เพราะถ้าปล่อยให้ทุกอย่างไหลไปรวมใน ช่วงเวลาเดียวกันแล้ว ต่อให้มีการแก้ไขกฎกติกาเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองขนาดไหน ประชาชนคงไม่ยอมง่ายๆ แน่
ความหวังที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาล จึงอาจเป็นเรื่องห่างไกลเกินจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น