เพื่อไทย มีหลักฐานนายกฯ ได้ประโยชน์
จากการถือสัญชาติอังกฤษ Asia Update TV
ที่นี่ความจริง 1-3-54 Asia Update TV
สมชาย ปรีชาศิลปกุล: สองสัญชาติของผู้ดี
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
หลักการในการให้สัญชาติแก่บุคคลธรรมดาในการเกิดโดยทั่วไปในประเทศต่างๆ จะวางอยู่บนหลักการเรื่องหลักดินแดนและหลักสืบสายโลหิต
หลักดินแดน (jus soli) จะเป็นการให้สัญชาติแก่บุคคลที่ถือกำเนิดขึ้นมาในดินแดนของรัฐ โดยถือว่าบุคคลที่เกิดในดินแดนของรัฐใดก็ควรจะต้องมีความเกี่ยวพันกับรัฐนั้น จึงสมควรที่จะสามารถถือสัญชาติของรัฐในห้วงเวลาที่เกิด รัฐส่วนใหญ่มักให้สัญชาติของตนแก่บุคคลภายใต้เงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย
หลักสืบสายโลหิต (jus sanguinis) จะเป็นการให้สัญชาติแก่บุคคลที่บิดามารดาถือสัญชาติของรัฐ กรณีนี้ถือว่าสัญชาติจะส่งผ่านจากบิดามารดาไปยังผู้เป็นบุตร หากบิดามารดาเป็นผู้ถือสัญชาติของรัฐใดเมื่อมีบุตรขึ้นมา ผู้เป็นบุตรก็ควรที่จะได้รับสัญชาติของบิดามารดาเพื่อสามารถเข้าถึงสิทธิในฐานะพลเมืองเช่นเดียวกับบิดามารดา หลักสืบสายโลหิตจะให้สัญชาติโดยพิจารณาจากสัญชาติของบิดามารดาเป็นหลักแม้จะไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นภายในดินแดนแห่งรัฐที่บิดามารดาถือสัญชาติก็ตาม
หากพิจารณาจากหลักการดังกล่าว สภาวะของการมีสองสัญชาติจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาปัจจุบัน การแต่งงานระหว่างผู้คนที่ถือสัญชาติต่างกันและหากรัฐทั้งสองนั้นยินยอมให้สัญชาติตามหลักสืบสายโลหิตแก่บุตรที่เกิดจากบุคคลซึ่งถือสัญชาติของตน เช่น ก. สัญชาติ X แต่งงานกับ ข. สัญชาติ Y และโดยที่รัฐ X, Y ต่างก็ให้สัญชาติด้วยหลักสืบสายโลหิต บุตรก็ย่อมถือสัญชาติทั้งของรัฐ Xและ Y
หรือในกรณีที่บุคคลซึ่งเข้าเมืองไปในรัฐต่างๆ อย่างถูกกฎหมายและรัฐนั้นก็ให้สัญชาติตามหลักดินแดนแก่บุตรที่ถือกำเนิดขึ้น เด็กที่เกิดขึ้นมาในรัฐนั้นนอกจากจะได้สัญชาติของรัฐที่ตนเองเกิดแล้วก็ยังมีสิทธิที่จะได้สัญชาติตามบิดามารดาจากหลักสืบสายโลหิตเพิ่มเติมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องสัญชาติของบุคคลมักปรากฏความไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลธรรมดาเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ดังที่ในปัจจุบันก็มีความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนบางประการปรากฏอยู่ ดังต่อไปนี้
ประการแรก การมีสัญชาติมากกว่าหนึ่งสัญชาติเป็นสิ่งที่ไม่ได้ “ผิดปกติ” และสามารถเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวางในห้วงเวลาที่มีการข้ามรัฐอย่างกว้างขวางทั้งโดยสามัญชนและชนชั้นนำ คนสัญชาติไทยเป็นจำนวนมากที่ได้ทำมาหากินและตั้งถิ่นฐานจนกระทั่งได้รับสิทธิการอยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา บุตรที่เกิดมาก็ได้สัญชาติทั้งของไทยและของสหรัฐอเมริกา
ส่วนใหญ่คนที่ได้สัญชาติในลักษณะนี้มักต้องการตั้งรกรากในดินแดนอีกแห่งซึ่งมักต้องแสดงออกให้เห็นด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกระทั่งสามารถเข้าเงื่อนไขเบื้องต้นที่จะทำให้ได้สิทธิในการอาศัยและสัญชาติของรัฐนั้น ซึ่งก็สามารถสืบต่อมายังบุตรของตน และเนื่องจากกฎหมายไทยในเรื่องสัญชาติไทยไม่ได้บังคับให้บุคคลต้องมีสัญชาติไทยเพียงอย่างเดียวโดยห้ามถือสัญชาติอื่น บุคคลจึงถือสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นควบคู่กันไปได้
บรรดาลูกท่านหลานเธอจำนวนมากที่ไปบิดามารดาไปคลอดในต่างประเทศก็ด้วยความคาดหวังว่าจะทำให้ลูกของตนสามารถมีอีกสัญชาติหนึ่งนอกไปจากสัญชาติไทยมิใช่หรือ
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าอับอายต่อการยอมรับว่าตนเองจะมีสัญชาติมากกว่าหนึ่งสัญชาติ เฉพาะอย่างยิ่งการได้สัญชาติอันเป็นผลมาจากการเกิดเพราะเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของบิดามารดา มิใช่เป็นการกระทำของตนแต่อย่างใด
ประการที่สอง การไม่ได้ใช้สิทธิในสัญชาติของบุคคลใดๆ ก็ตามจะไม่ได้เป็นผลให้บุคคลนั้นสิ้นสิทธิความเป็นสัญชาติไปโดยปริยาย
ดังเช่นหากมีคนสัญชาติไทยอพยพไปตั้งรกรากในประเทศอื่นเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่ได้กลับมายังประเทศไทยอีกเลยทั้งไม่เคยใช้สิทธิในฐานะของคนสัญชาติไทยทั้งด้านการศึกษา การเดินทาง การรักษาพยาบาล เป็นต้น การไม่ใช้สิทธิในฐานะของพลเมืองที่ถือสัญชาติไทยไม่ได้มีความหมายว่าบุคคลดังกล่าวจะสละสัญชาติไปในทางพฤตินัย บุคคลดังกล่าวก็ยังคงมีสัญชาติไทยต่อไปตลอดชีวิต
การจะสละสัญชาติจึงต้องดำเนินไปด้วยวิธีการที่ชัดเจน รัฐไม่มีอำนาจเพิกถอนสัญชาติของบุคคลด้วยหลักการที่ว่าบุคคลนั้นไม่ใช่สิทธิในสัญชาติของตนมาเป็นระยะเวลานาน
ประการที่สาม ที่ผ่านมาหลายๆ ปัญหามักถูกอธิบายด้วยการผูกติดอยู่กับเงื่อนไขเรื่องสองสัญชาติ กรณีความรุนแรงที่ภาคใต้ก็มีคำอธิบายชุดหนึ่งออกมาว่าสาเหตุที่ไม่อาจดำเนินการกับผู้กระทำความผิดได้ก็เพราะบุคคลเหล่านั้นถือสองสัญชาติ เมื่อกระทำความผิดในดินแดนของรัฐไทยก็จะหลบเลี่ยงความผิดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพราะฉะนั้น จึงควรจะต้องดำเนินการกับบุคคลที่มีสองสัญชาติหรือหลายสัญชาติด้วยการให้บุคคลนั้นเลือกถือสัญชาติแห่งใดเพียงแห่งเดียว
แนวความคิดเช่นนี้ผูกติดความจงรักภักดีของบุคคลให้ขึ้นอยู่กับการถือสัญชาติเพียงแห่งเดียวว่าจะทำให้สามารถกรองบุคคลผู้ไม่จงรักภักดีออกไปได้ (รวมถึงบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงสัญชาติไทยได้) แต่เมื่อเกิดปัญหาเรื่องสองสัญชาติกับชนชั้นนำของสังคมไทยกลับไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวหาเรื่องความไม่จงรักภักดีกับชนชั้นแต่อย่างใด
แน่นอนว่าการถือสัญชาติของบุคคลไม่ได้มีความหมายถึงความจงรักภักดีที่จะมีต่อสังคมแห่งใดแห่งหนึ่งได้อย่างแท้จริง แต่ในสังคมไทยนั้นในการพิจารณาเรื่องสัญชาติสำหรับสามัญชนจะมีความหมายแตกต่างไปอย่างสำคัญกับชนชั้นนำ สามัญชนควรมีเพียงหนึ่งเดียวเพราะหากมีหลายสัญชาติจะแสดงซึ่งความไม่ภักดี แต่สำหรับชนชั้นนำการมีหลายสัญชาติกลับเป็นเรื่องปกติที่สะท้อนให้เห็นถึง “อภิสิทธิ์” มากกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป
ดังนั้น ในทางนิตินัยการถือหลายสัญชาติมิได้เป็นการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมายไทย ในแง่มุมทางสังคม สำหรับบุคคลสองสัญชาติในหมู่ผู้ดีเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้เห็นถึงความต่างไปจากสามัญชน เพราะมีคนจำนวนเพียงหยิบมือเดียวในสังคมแห่งนี้ที่จะสามารถือสัญชาติของบรรดาอารยะประเทศ รวมถึงการได้รับการศึกษาแบบที่เป็นผู้ดีจากตะวันตก มีสามัญชนในยุคปัจจุบันจำนวนเท่าไหร่ที่สามารถจะถือสองสัญชาติในลักษณะนี้ได้บ้าง
เดาได้เลยว่าในบรรดาชนชั้นนำไทยจำนวนไม่น้อยก็ล้วนแล้วแต่น่าจะมีสัญชาติมากกว่าสัญชาติไทยเพียงอย่างเดียว
ด้วยเงื่อนไขทางสังคมเศรษฐกิจที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก วิธีการเดียวสำหรับสามัญชนที่จะทำให้บุตรของตนสามารถถือสัญชาติของประเทศอื่นได้ก็ด้วยการหาผัวฝรั่ง แต่สองสัญชาติของสามัญชนกับสองสัญชาติของผู้ดีก็ยังมีความแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
แม้ลูกจะอาจได้สัญชาติอังกฤษตามผัวแต่ก็ยังคงต้องให้ ด.ช. บักเคน ฟาร์เมอร์สัน เรียนที่โรงเรียนห้วยกระโทกวิทยาเหมือนเดิม ไม่มีโอกาสจะได้ไปเรียนที่ออกซ์เฟิร์ดเหมือนบรรดาอภิสิทธิชนทั้งหลายอย่างแน่นอน
เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์กฎเมืองกฎหมาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
http://prachatai3.info/journal/2011/03/33360
จากการถือสัญชาติอังกฤษ Asia Update TV
ที่นี่ความจริง 1-3-54 Asia Update TV
สมชาย ปรีชาศิลปกุล: สองสัญชาติของผู้ดี
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
หลักการในการให้สัญชาติแก่บุคคลธรรมดาในการเกิดโดยทั่วไปในประเทศต่างๆ จะวางอยู่บนหลักการเรื่องหลักดินแดนและหลักสืบสายโลหิต
หลักดินแดน (jus soli) จะเป็นการให้สัญชาติแก่บุคคลที่ถือกำเนิดขึ้นมาในดินแดนของรัฐ โดยถือว่าบุคคลที่เกิดในดินแดนของรัฐใดก็ควรจะต้องมีความเกี่ยวพันกับรัฐนั้น จึงสมควรที่จะสามารถถือสัญชาติของรัฐในห้วงเวลาที่เกิด รัฐส่วนใหญ่มักให้สัญชาติของตนแก่บุคคลภายใต้เงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย
หลักสืบสายโลหิต (jus sanguinis) จะเป็นการให้สัญชาติแก่บุคคลที่บิดามารดาถือสัญชาติของรัฐ กรณีนี้ถือว่าสัญชาติจะส่งผ่านจากบิดามารดาไปยังผู้เป็นบุตร หากบิดามารดาเป็นผู้ถือสัญชาติของรัฐใดเมื่อมีบุตรขึ้นมา ผู้เป็นบุตรก็ควรที่จะได้รับสัญชาติของบิดามารดาเพื่อสามารถเข้าถึงสิทธิในฐานะพลเมืองเช่นเดียวกับบิดามารดา หลักสืบสายโลหิตจะให้สัญชาติโดยพิจารณาจากสัญชาติของบิดามารดาเป็นหลักแม้จะไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นภายในดินแดนแห่งรัฐที่บิดามารดาถือสัญชาติก็ตาม
หากพิจารณาจากหลักการดังกล่าว สภาวะของการมีสองสัญชาติจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาปัจจุบัน การแต่งงานระหว่างผู้คนที่ถือสัญชาติต่างกันและหากรัฐทั้งสองนั้นยินยอมให้สัญชาติตามหลักสืบสายโลหิตแก่บุตรที่เกิดจากบุคคลซึ่งถือสัญชาติของตน เช่น ก. สัญชาติ X แต่งงานกับ ข. สัญชาติ Y และโดยที่รัฐ X, Y ต่างก็ให้สัญชาติด้วยหลักสืบสายโลหิต บุตรก็ย่อมถือสัญชาติทั้งของรัฐ Xและ Y
หรือในกรณีที่บุคคลซึ่งเข้าเมืองไปในรัฐต่างๆ อย่างถูกกฎหมายและรัฐนั้นก็ให้สัญชาติตามหลักดินแดนแก่บุตรที่ถือกำเนิดขึ้น เด็กที่เกิดขึ้นมาในรัฐนั้นนอกจากจะได้สัญชาติของรัฐที่ตนเองเกิดแล้วก็ยังมีสิทธิที่จะได้สัญชาติตามบิดามารดาจากหลักสืบสายโลหิตเพิ่มเติมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องสัญชาติของบุคคลมักปรากฏความไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลธรรมดาเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ดังที่ในปัจจุบันก็มีความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนบางประการปรากฏอยู่ ดังต่อไปนี้
ประการแรก การมีสัญชาติมากกว่าหนึ่งสัญชาติเป็นสิ่งที่ไม่ได้ “ผิดปกติ” และสามารถเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวางในห้วงเวลาที่มีการข้ามรัฐอย่างกว้างขวางทั้งโดยสามัญชนและชนชั้นนำ คนสัญชาติไทยเป็นจำนวนมากที่ได้ทำมาหากินและตั้งถิ่นฐานจนกระทั่งได้รับสิทธิการอยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา บุตรที่เกิดมาก็ได้สัญชาติทั้งของไทยและของสหรัฐอเมริกา
ส่วนใหญ่คนที่ได้สัญชาติในลักษณะนี้มักต้องการตั้งรกรากในดินแดนอีกแห่งซึ่งมักต้องแสดงออกให้เห็นด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกระทั่งสามารถเข้าเงื่อนไขเบื้องต้นที่จะทำให้ได้สิทธิในการอาศัยและสัญชาติของรัฐนั้น ซึ่งก็สามารถสืบต่อมายังบุตรของตน และเนื่องจากกฎหมายไทยในเรื่องสัญชาติไทยไม่ได้บังคับให้บุคคลต้องมีสัญชาติไทยเพียงอย่างเดียวโดยห้ามถือสัญชาติอื่น บุคคลจึงถือสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นควบคู่กันไปได้
บรรดาลูกท่านหลานเธอจำนวนมากที่ไปบิดามารดาไปคลอดในต่างประเทศก็ด้วยความคาดหวังว่าจะทำให้ลูกของตนสามารถมีอีกสัญชาติหนึ่งนอกไปจากสัญชาติไทยมิใช่หรือ
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าอับอายต่อการยอมรับว่าตนเองจะมีสัญชาติมากกว่าหนึ่งสัญชาติ เฉพาะอย่างยิ่งการได้สัญชาติอันเป็นผลมาจากการเกิดเพราะเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของบิดามารดา มิใช่เป็นการกระทำของตนแต่อย่างใด
ประการที่สอง การไม่ได้ใช้สิทธิในสัญชาติของบุคคลใดๆ ก็ตามจะไม่ได้เป็นผลให้บุคคลนั้นสิ้นสิทธิความเป็นสัญชาติไปโดยปริยาย
ดังเช่นหากมีคนสัญชาติไทยอพยพไปตั้งรกรากในประเทศอื่นเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่ได้กลับมายังประเทศไทยอีกเลยทั้งไม่เคยใช้สิทธิในฐานะของคนสัญชาติไทยทั้งด้านการศึกษา การเดินทาง การรักษาพยาบาล เป็นต้น การไม่ใช้สิทธิในฐานะของพลเมืองที่ถือสัญชาติไทยไม่ได้มีความหมายว่าบุคคลดังกล่าวจะสละสัญชาติไปในทางพฤตินัย บุคคลดังกล่าวก็ยังคงมีสัญชาติไทยต่อไปตลอดชีวิต
การจะสละสัญชาติจึงต้องดำเนินไปด้วยวิธีการที่ชัดเจน รัฐไม่มีอำนาจเพิกถอนสัญชาติของบุคคลด้วยหลักการที่ว่าบุคคลนั้นไม่ใช่สิทธิในสัญชาติของตนมาเป็นระยะเวลานาน
ประการที่สาม ที่ผ่านมาหลายๆ ปัญหามักถูกอธิบายด้วยการผูกติดอยู่กับเงื่อนไขเรื่องสองสัญชาติ กรณีความรุนแรงที่ภาคใต้ก็มีคำอธิบายชุดหนึ่งออกมาว่าสาเหตุที่ไม่อาจดำเนินการกับผู้กระทำความผิดได้ก็เพราะบุคคลเหล่านั้นถือสองสัญชาติ เมื่อกระทำความผิดในดินแดนของรัฐไทยก็จะหลบเลี่ยงความผิดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพราะฉะนั้น จึงควรจะต้องดำเนินการกับบุคคลที่มีสองสัญชาติหรือหลายสัญชาติด้วยการให้บุคคลนั้นเลือกถือสัญชาติแห่งใดเพียงแห่งเดียว
แนวความคิดเช่นนี้ผูกติดความจงรักภักดีของบุคคลให้ขึ้นอยู่กับการถือสัญชาติเพียงแห่งเดียวว่าจะทำให้สามารถกรองบุคคลผู้ไม่จงรักภักดีออกไปได้ (รวมถึงบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงสัญชาติไทยได้) แต่เมื่อเกิดปัญหาเรื่องสองสัญชาติกับชนชั้นนำของสังคมไทยกลับไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวหาเรื่องความไม่จงรักภักดีกับชนชั้นแต่อย่างใด
แน่นอนว่าการถือสัญชาติของบุคคลไม่ได้มีความหมายถึงความจงรักภักดีที่จะมีต่อสังคมแห่งใดแห่งหนึ่งได้อย่างแท้จริง แต่ในสังคมไทยนั้นในการพิจารณาเรื่องสัญชาติสำหรับสามัญชนจะมีความหมายแตกต่างไปอย่างสำคัญกับชนชั้นนำ สามัญชนควรมีเพียงหนึ่งเดียวเพราะหากมีหลายสัญชาติจะแสดงซึ่งความไม่ภักดี แต่สำหรับชนชั้นนำการมีหลายสัญชาติกลับเป็นเรื่องปกติที่สะท้อนให้เห็นถึง “อภิสิทธิ์” มากกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป
ดังนั้น ในทางนิตินัยการถือหลายสัญชาติมิได้เป็นการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมายไทย ในแง่มุมทางสังคม สำหรับบุคคลสองสัญชาติในหมู่ผู้ดีเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้เห็นถึงความต่างไปจากสามัญชน เพราะมีคนจำนวนเพียงหยิบมือเดียวในสังคมแห่งนี้ที่จะสามารถือสัญชาติของบรรดาอารยะประเทศ รวมถึงการได้รับการศึกษาแบบที่เป็นผู้ดีจากตะวันตก มีสามัญชนในยุคปัจจุบันจำนวนเท่าไหร่ที่สามารถจะถือสองสัญชาติในลักษณะนี้ได้บ้าง
เดาได้เลยว่าในบรรดาชนชั้นนำไทยจำนวนไม่น้อยก็ล้วนแล้วแต่น่าจะมีสัญชาติมากกว่าสัญชาติไทยเพียงอย่างเดียว
ด้วยเงื่อนไขทางสังคมเศรษฐกิจที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก วิธีการเดียวสำหรับสามัญชนที่จะทำให้บุตรของตนสามารถถือสัญชาติของประเทศอื่นได้ก็ด้วยการหาผัวฝรั่ง แต่สองสัญชาติของสามัญชนกับสองสัญชาติของผู้ดีก็ยังมีความแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
แม้ลูกจะอาจได้สัญชาติอังกฤษตามผัวแต่ก็ยังคงต้องให้ ด.ช. บักเคน ฟาร์เมอร์สัน เรียนที่โรงเรียนห้วยกระโทกวิทยาเหมือนเดิม ไม่มีโอกาสจะได้ไปเรียนที่ออกซ์เฟิร์ดเหมือนบรรดาอภิสิทธิชนทั้งหลายอย่างแน่นอน
เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์กฎเมืองกฎหมาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
http://prachatai3.info/journal/2011/03/33360
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น