วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554


มองไปข้างหน้า ทิ้งทุนนิยมไว้เบื้องหลัง





โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ


ขอแชร์ power point เรื่อง "ยุทธศาสตร์เพื่อก้าวไปข้างหน้า ทิ้งทุนนิยมไว้เบี้ยงหลัง" ซึ่งจริงๆ เป็นแนวยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานที่แนะนำให้กับทีมงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

แต่เห็นว่าในสภาพความร้อนแรงทางการเมืองและธรรมชาติในขณะนี้ มันอาจจะมีประโยชน์บ้างสำหรับคนไทยที่เหนื่อยหน่ายกับปัญหาในบ้านเมือง แล้วต้องการ "แสวงหาทางออก เพื่อก้าวไปข้างหน้า"

โดยจุดที่ข้าพเจ้าเห็นว่าผิดพลาด คือการทำแผนพัฒนาตามพิมพ์เขียวของสหรัฐฯ ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2500 นั้นผิดพลาดอย่างมหันต์ เพราะมันได้ไปทำลายจุดที่แข็งที่สุดของประเทศไทย คือ "วิถีเกษตรที่หลากหลายและมุ่งเพื่อการพึ่งตนเอง" ซึ่งตอนนี้มาส่งเสริมกันในนาม "เศรษฐกิจพอเพียง" มาสู่การเป็นประเทศแรงงานราคาถูกเพื่อการส่งออก ส่งเสริมเกษตาเกษตรเชิ่งเดียว ต้นทุนสูง ใช้สารเคดีเข้มข้น เพื่อการค้า โดยไม่ได้มองผลกระทบระยะยาวที่มีต่อทั้งต่อผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและชีวิตของทั้งเกษตรกร และสารเคมีและสารพิษตกค้างในผิวดิน ผิวน้ำ และอากาศ รวมทั้งการลดของพื้นที่ป่ากว่า 60% ในรอบเพียง 60 ปี - ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความแห้งแล้งอย่างแท้จริง
หนึ่งในการขับเคลื่อนของคนเสื้อแดง ซึ่งมีเกษตรและคนจากชนบทเยอะมาก ควรจะรื้อทฤษฎีปฏิวัติเขียวขึ้นมาวิพากษ์กันอย่างถึงราก รวมทั้งเปิดให้มีการถกเถียงเรื่องการส่งเสริมประเทศเป็น "แหล่งแรงงานราคาถูกให้กับทุนข้ามชาติ"

ตั้งคำถามเพื่อ "ก้าวไปข้างหน้า" กันให้มากขึ้น อาทิ การฟื้นฟูการสร้างความเข้มแข็งภายในทีสอดรับการสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ปรับยุทธศาสตร์ประเทศใหม่ โดยมุ่งส่งเสริให้ประเทศไทยนำร่องเรื่อง "ธนาคารอาหารออแกนิกส์ของโลก" และหักล้างทฤษฎีทุนนิยมและเสรีนิยมใหม่ที่นำโดยอเมริกาและยุโรป ที่มุ่งเพียงเพื่ออเมริกาและยุโรป - ที่ตกยุคสมัย และสร้างผลกระทบมากกว่าการเจริญเติบโตของประเทศอย่างแท้จริง

คนที่มีบทบาทในการนำเสนอด้านนโยบายควรมองปรากฎการณ์ต่างๆ อย่างวิพากษ์ และมุ่งคิดยุทธศาสตร์ที่ก้าวไปให้พ้นจากความเสียเปรียบของประเทศ และเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นในจุดแข็งที่ไทยมีและนำเสนอมันออกมาอย่างมี ศักดิ์ศรี มีมูลค่าจริง และเท่าเทียมค่ะ

ก้าวไปข้างหน้า ก้าวให้พ้นทุนนิยม ไม่ได้หมายถึงก้าวถอยหลังไปสู่สังคมนิยม แต่พูดถึงทษฎีการเมืองใหม่เลย ที่จะไม่ได้ปกครองด้วยวิถีแห่งลัทธิเดียว แต่อยู่กันด้วยยอมรับในความหลากหลายและซับซ้อนของสังคม และตัวบริหารใหญ่ต้องเป็นสภาที่ทุกคนมาจากการเลืิอกตั้ง ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าในความซับซ้อนทุกกลุ่มในสังคมต้องใช้พื้นที่สาธารณะ เพื่อนำเสนอปัญหาที่่อาจจะไม่มีตัวแทนนำเสนอในสภา

เรื่องเกษตรเชิงเดี่ยว นี่คือปัญหา นี่คือพิมพ์เขียวของปฎิวัติเขียวที่ถูกทำมาใช้จนระบบเกษตรเราล่มสลาย ไม่ได้หมายความว่าเอา "เกษตรเชิงเดี่ยว" กลับมา แต่เตะมันลงนรกไปเลย แต่ต้องส่งเสริมเกษตรอินทรัพย์ เกษตรธรรมชาติ ฯลฯ และที่สำคัญพี่ยอมรับว่าต้องมีการทำการตลาดได้บ้าง ชาวบ้าน เกษตรกรก็ต้องใช้เงิน นั่นก็คือต้องมีธนาคารอาหารออแกนิกส์

หลายคนคงผ่านตาข่าว EU ตรึงเข้มเรื่องคุณภาพผักไทยกันมาบ้าง นั่นล่ะคือต้นต่อปัญหาที่เราต้องก้าวข้ามไปให้พ้นจากวิถี "เกษตรฆ่าชีวิต" ที่ผูกติดกับแค่ ปลูก ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และยากำจัดวัชพืน รวมทั้งสารเร่งการเจริญเติบโตต่างๆ ที่ฆ่าทั้งชีวิตเกษตรกรและชีวิตผู้บริโภค

การที่เติบโตมากับภาคเกษตร ทั้งทำไร่และทำนา ทำให้ได้เห็นผลกระทบที่เกิดกับครอบครัวตัวเองและคนรอบข้างมากมาย ในการทำตามคำส่งเสริมของรัฐบาลเพื่อทำเกษตรเพื่อกาค้าราวกับคนตาบอด นับตั้งแต่ปี 2548 ข้าพเจ้าและผู้ช่วยได้จึงได้เริ่มการทดลองบ้านออแกนิกส์ ซึ่งพวกเราเรียกมันว่า ไร่เปิดใจ (Open Heart)

การนำเสนอยุทธศาสตร์ "ข้ามให้พ้น" ไปจากคิดและหาคำตอบอย่างง่ายๆ สำหรับอนาคตของประเทศที่มีความซับซ้อน หลากหลาย มีประชากร 65 ล้านคน เราจำต้องมารื้อวิธีคิดกันใหม่ และก็จำต้องเริ่มต้นกระบวนการวิเคราะหใหม่ ด้วยการสร้างจิตสำนึกให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้คนในสังคมลุกขึ้นมายอมรับใน ความซับซ้อน และหลายหลาย ของประเทศ ไม่ใช่การดำเนินนโยบาย "เอาสะดวก" และเราต้องมาตีความและวิพากษ์อย่างตรงไปตรงมาต่อความเป็น "เอกบุรุษ" "เกษตรเชิงเดี่ยว" "ตลาดโลกเดียว" และ "การเมืองสองขั้ว" ไปสู่ การถกเถียงนโยบายสำคัญของชาติใน "สภาที่มีผู้แทนราษฎรอย่างแท้จริง" และที่สำคัญเพื่อตอบรับกับวิกฤติธรรมชาติโลก ไทยควรเร่ง" ส่งเสริมระบบเกษตรนิเวศน์ที่ยอมรับความหลากหลายที่จำเป็นมากในสภาวะวิกฤติ เรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อม" หยุดเล่นการเมือง และยอมรับกฎิกาประชาธิปตย และการเมืองหลายพรรค" หรือ "การเมืองหลายขั้้วอำนาจ" ที่ภาคประชาสังคมจะต้องสามารถร่วมต่อรองได้โดยไม่ถูกปราบปรามในปัญหาและผลก ระทบที่เกิดขึ้นกับพวกเขา"

และท้ายที่สุด ต้องสามารถประสานจุดร่วม สงวนจุดต่างที่ส่งผลกระทบต่อคนกลุ่มใหญ่ในสังคม และเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ และทั้งนั้น ปัญหาใหญ่ที่เห็นมากๆ ในสังคมไทยตอนนี้คือมันถูกบ่มเพาะด้วย "จิตวิทยาที่ว่าการคอรัปชั่นทำได้ไม่ผิดกฎหมาย" ที่ไม่อิงกับ "หลักการสิทธิมนุษยชน" และ "ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ" ที่ไม่ยอมรับในความหลากหลายและซับซ้อนเหล่านี้

สิ่งที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นตอนนี้ สังคมไทยจะยังไม่เตรียมรับมือกับวิกฤติ และยังมาเสียเวลากับการเมืองรักษาอำนาจของคนกลุ่มเดียว โดยเอาคนทั้งประเทศเป็นตัวประกันมหันตภัยกันอยู่อย่างนี้ได้อีกต่อไปหรือ?

รายละเอียดในสไลด์นำเสนอโดยละเอียด . .
























ดาวโลดฉบับเต็ม 


บทความ ถ้าไม่มีประชาธิปไตย เราจะไม่สามารถรับมือวิกฤติโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน ฉบับไม่เซนเซอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น