วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554


ปฏิรูปประเทศไทย:”ความเพ้อเจ้อ”ของนายประเวศ วะสี

ณ ปัจจุบันนี้ นายประเวศ ก็ยังไม่มีการพูดถึงการล้อมปราบการสังหารประชาชน 91 ศพ ในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต ทั้งที่ปากเขาชอบพร่ำบ่นถึงความยุติธรรม


โดย ไกรก้อง กูนอรลัคขณ์
22 มีนาคม 2554

นายประเวศ วะสี ประธาน คสป. แถลงว่า วันที่ 24-26 มีนาคมนี้ จะมีการจัดสมัชชาปฏิรูปเป็นการประชุมสุดยอดทางสังคมที่ไม่เคยมีมาก่อน 

เพื่อร่วมจัดทำฉันทามติแก้ทุกข์ของชาติซึ่งไม่มีรัฐบาลใดอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจะแก้ไขได้ เพราะเกิดจากโครงสร้างที่ทำให้คนส่วนน้อยเอาเปรียบชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย

โดยกล่าวว่า จะมีการขอ ฉันทามติ เรื่องการกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น กระจายการที่ดิน พลังศิลป์เยียวยาการชิงชังและทอนกำลังกัน

แน่นอนว่า ณ ปัจจุบันนี้ นายประเวศ ก็ยัง ไม่มีการพูดถึง การล้อมปราบการสังหารประชาชน 91 ศพ ในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต ทั้งที่ปากเขาชอบพร่ำบ่นถึงความยุติธรรม 

นายประเวศ มักกล่าวถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เป็นแนวคิดหน้าที่ว่าด้วยการสมานฉันท์ การปรองดอง การที่แต่ละส่วนมีหน้าที่ในการผลักดันให้องคาพยพเคลื่อนตัวไป

เหมือนดั่งกับว่า สังคมในโลกนี้ไม่มีความขัดแย้ง 

เป็นทฤษฎีเดียวกับฮิตเลอร์เผด็จการนิยมใช้กล่าวอ้างในการควบคุมประชากรไม่ให้กระด้างกระเดื่องต่ออำนาจผู้ปกครอง

แท้จริงแล้ว ปัญหาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ปัญหากระจายการถือครองที่ดิน และ การปฏิรูประเทศไทยนั้น ย่อมเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมไทย ที่โยงใยกับปัญหาการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่? อย่างไร?

ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการจัดตั้งองค์กรในการเคลื่อนไหวแค่ไหน? ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีหรือไม่ ?

ปัญหาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งนายประเวศเสนอ ก็ไม่ได้ฟันธงว่า คือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่?

ยังพูดลอยเพ้อๆอยู่ และการเลือกตั้งผู้ว่าที่มีการเสนอมีนาน ก็มักถูกขัดขวางจากระบบราชการส่วนสำคัญของระบอบอำมาตยาธิปไตย

นายประเวศ อาจจะพูดถึง การกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แต่นายประเวศไม่ได้ทบทวนบทเรียนว่า อุปสรรคสำคัญในการกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นก็มักเป็นหน่วยงานระบอบราชการที่มีวิธีคิดแบบรวมศูนย์อำนาจนั่นเอง

นายประเวศ พูดถึงการกระจายการถือครองที่ดิน แม้แต่การเปิดเผยข้อมูล ว่าใครถือครองที่ดิน เท่าไร ที่ไหน ก็ยังมิอาจกระทำได้จริง

ดูเหมือนนายประเวศ จะเพ้อๆว่า ปัญหาโครงสร้าง ถ้าทุกคนรู้ก็จะประเทืองปัญญา ตรัสรู้ได้ก็สามารถแก้ปัญหาได้ในทันทีทันใด ซึ่งนายประเวศทำประจำมาทุกรัฐบาล

นายประเวศ แถลงว่าจะมีประชาชนและหลายองค์กรมาร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวนมาก แต่นายประเวศก็ไม่ได้บอกว่า ใครจ่ายงบประมาณ มีเบี้ยเลี้ยงไหม ใช้งบประมาณอย่างพอเพียงไหม?

หรือว่า “ กูมาเอง ไม่มีใครจ้างกูมา ” หรือว่า “กูต้องมาเพราะไม่มาสสส. สกว. พอช. จะตัดทุนโครงการกู” นายประเวศก็ควรชี้แจงให้โปร่งใสด้วย มิฉะนั้น “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง”


ผู้เขียนเอง มีความคิดว่า มีแต่สังคมประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะนำเปิดทางให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มสร้าง อำนาจอย่างเสรีต่อรอง กดดัน สร้างพลัง เพื่อให้ชนชั้นที่เอาเปรียบ ยอมกระจายการกระจุกตัวของที่ดินที่ตนเองครอบครองอยู่ ยอมที่จะจ่ายภาษีก้าวหน้า เพื่อกระจายความมั่งคั่งที่ตนเองเสพสุขอยู่บนความทุกข์ของคนจำนวนมาก ฯลฯ

ปัญหารากเหง้าในเงื่อนไขสภาพทางการเมืองที่สำคัญในช่วงประวัติศาสตร์ ปัจจุบัน คือ ระบอบอำมาตยาธิปไตย มีปรัชญาความเชื่อว่า คนยังโง่อยู่ ไม่มีความรู้ จึงต้องเป็นพลเมืองชั้นสอง จึงต้องมีคนที่เหนือกว่าปกครองดูแล จึงเป็นเพียงไพร่ ที่มูลนายต้องบังคับควบคุมดูแล เหมือนเฉกเช่นสมัยในอดีตสังคมศักดินาไทย

ข้อเสนอของนายประเวศ เป็นการบิดเบือนหลอกลวง การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง เนื่องเพราะว่า การปฏิรูปประเทศไทย ที่สำคัญคือการปฏิรูปกองทัพและองคมนตรี ซึ่งล้วนเป็นจักรกลของระบอบอำมาตย์ทั้งสิ้นที่คอยขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้า เช่น การรัฐประหาร การแทรกแซงทางการเมือง เป็นต้น

การปฏิรูปประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ด้วยไม่เพียงต้องสร้างนโยบายและกฎหมาย เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่ล้าหลังขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยในหลายมาตรา การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยต้องลดอำนาจนอกระบบ เช่น การให้อำนาจกับกระบวนการตุลาการมากเกินไปโดยไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชนแต่อย่างใด สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งถึง 74 คน ฯลฯ และอื่นๆที่ต้องช่วยคิดช่วยผลักดัน

การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม (เหมือนสูตรที่นายประเวศท่องจำตลอดเวลา แต่กลับไม่นำมาใช้มาปฏิบัติ) ซึ่งต้องมีกระบวนการจากล่างสู่บนเหมือนเช่นกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 40 ต้องมีการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนสาขาอาชีพต่างๆ มิใช่เพียงภาคประชาชน ภาคประชาสังคม เพียงน้อยนิดของนายประเวศและเหล่าอำมาตย์เอ็นจีโอทั้งหลายเท่านั้น

การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายให้มีความยุติธรรมเท่าเทียมกันไม่ใช่ระบบสองมาตรฐานอย่างที่เห็นและเป็นอยู่

การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องปฏิรูปความคิดจิตสำนึกให้คนในสังคมไทยรักประชาธิปไตย เคารพหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง เคารพกติกาประชาธิปไตย ฯลฯ และอื่นๆอีกมากมายที่ต้องช่วยคิดช่วยผลักดัน

ดังนั้น การปฏิรูปประเทศไทย จึงมิเป็นเพียงของนายประเวศและคณะ เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น