วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554


การเลือกตั้งถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐทหาร



สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เพรอฟฟ์ รายงานการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2554 ฉบับที่ 1
 

เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลไทยสังหารหมู่ประชาชน 91 รายเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกตั้งก่อนกำาหนดที่กลัวจะว่าพ่ายแพ้ แต่ในที่สุด การเลือกตั้งก่อนกำหนดที่คนเสื้อแดงหลายสิบรายเสียสละชีวิตเพื่อให้ได้มากำลังจะจัดขึ้นขึ้นราวเดือนมิถุนายนหรือ กรกฎาคม ปี 2554 ในขณะที่เราหวังว่า การเลือกตั้งจะปราศจากการโกงอย่างโจ่งแจ้งหรือบัตรผี แต่ศักยภาพการแข่งขันและความเป็นกลางของกระบวนการ [การเลือกตั้ง ] ถูกทำลายลงในหลายรูปแบบ

การเลือกตั้งที่กำลังในครั้งนี้จะถูกจัดขึ้นท่ามกลางการข่มขวัญและกดขี่ ร่วมกับความพยายามที่จะประกันชัยชนะให้กับพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่องของสถาบันรัฐแทบทุกสถาบันในประเทศไทย นอกจากจะแข่งขันกับพรรคฝ่ายตรงข้ามที่ยังโซซัดโซเซแล้วกฎเกณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้พรรค [ประชาธิปัตย์] ได้รับที่นั่งเพิ่มขึ้นแบบจอมปลอม ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้ใช้

ประโยชน์จากความช่วยเหลือของทหาร ข้าราชการ ตุลาการ และกลุ่มผู้นำาที่นิยมเจ้า โดยสถาบันเหล่านี้ได้เตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเรื่องทุนทรัพย์ ทรัพยากรทางด้านบริหารจัดการ และรายการโทรทัศน์ ซึ่งอาจจำาเป็นในการแต่งตั้งบุคคลที่อาจไม่ได้รับการเลือกตั้ง อย่างนายมาร์ค อภิสิทธิ์ ขึ้นสู่ตำแหน่ง

นี่คือหนึ่งรายในงานหลายฉบับที่สำานักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เพรอฟฟ์ได้อธิบายรายละเอียดถึงความพยายามของกลุ่มอำมาตย์ไทยที่จะเปลี่ยนผลการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้น รายงานฉบับนี้-เป็นรายงานลำาดับที่สองของรายงานทั้งหมด-ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่ความพยายามของกองทัพไทยในการปกป้องอำนาจที่ครอบงำชีวิตทางการเมืองของประเทศไทย โดยการผลิตชัยชนะเลือกตั้งให้แก่พรรคประชาธิปัตย์และเหมือนครั้งที่ผ่านมา ความรุนแรงและการข่มขวัญคือเครื่องมือของกลุ่มนายพลกลุ่มนี้

1. คำนำ

ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้สัญญากับประชาชนไทยว่ากองทัพจะสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554 ด้วยความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อพิจารณาว่า กองทัพไทยมีขนาดใหญ่ขึ้นตั้งแต่ปี 2554 เพื่อใช้ชี้นำผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคืนผลการเลือกตั้งที่พวกเขาต้องการ และโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จึงกล่าวได้ว่าการสนับสนุนของพวกเขาไม่มีคุณค่าอะไร และการใช้หุ่นเชิดของตนเองในการเลือกตั้งที่ดุเดือด จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เหล่านายพลจะไม่ยุ่งกับเรื่องนี้ ที่จริงแล้ว การเลือกตั้งปี 2550 กองทัพมีผู้เข้าชิงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีของพวกเขาเอง นั้นก็คือ นายมาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ทว่า ความพยายามที่จะป้องกันไม่ให้พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งในปี 2550 ของพวกเขาล้มเหลว

ครั้งนี้ กองทัพไทยมุ่งมั่นที่จะทำทุกอย่างที่จะผลิตที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ให้นายมาร์ค อภิสิทธิ์ เพราะไม่เพียงแต่บทบาทการครอบงำเหนือระบบการเมืองประเทศไทยของกองทัพจะสั่นคลอนในการเลือกตั้งเหล่านี้เท่านั้น แต่สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือ การชนะของฝ่ายตรงข้ามอาจส่งผลให้เหล่า
นายพลระดับสูงถูกสอบสวนและดำเนินคดีเรื่องบทบาทการสังหารหมู่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2553 ของพวกเขา

ดังนั้น การพ่ายแพ้การเลือกตั้งปี 2554 จึงไม่ใช่ตัวเลือกของกองทัพไทย ในการให้สัมภาษณ์เมื่อหลายเดือนก่อน นายมาร์ค อภิสิทธิ์จินตนาการกุเรื่องขึ้นมาว่ากองทัพไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน แต่เมื่อพิจารณาว่า เขาเป็นหนี้บุญคุณเหล่านายพลที่ช่วยอุ้มสมให้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านนายกน่าจะรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร การเลือกเอานายอภิสิทธิ์มาบังหน้า แสดงให้เห็นว่ากองทัพไทยเรียนรู้บทเรียนจากปี 2535 เพราะการที่พลเอกสุจินดา คราประยูรยืนยันจะดำารงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยตนเอง ทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และลงเอยด้วยการสังหารหมู่ผู้ประท้วงมือเปล่า ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นประจำ และเพื่อจะหลีกเลี่ยงหายนะดังกล่าวอีกครั้ง ภาพลักษณ์ที่สุภาพและความเป็นผู้ดีของนายอภิสิทธิ์จึงเป็นภาพอุดมคติที่นำมาใช้ปกปิดการครอบงำทางการเมืองของกองทัพความจริงคือ กองทัพไทยแทบจะไม่เคยอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนเลย ที่แย่กว่านั้นคือ ทุกวันนี้ เหล่านายพลมีอำานาจมากขึ้นกว่าเมื่อสิบปีที่แล้วมาก

นอกจากกองทัพไทยจะทำรัฐประหารมากกว่ากองทัพประเทศใดในโลกสมัยใหม่แล้ว กองทัพไทยยังมีอำนาจในทุกซอกทุกมุมของการเมืองไทย ขณะเดียวกัน งบประมาณที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของกองทัพไทยหลังจากรัฐประหารในปี 2549 รวมถึงเหตุการณ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมยังแสดงให้เห็นว่าหน้าที่และพันธกรณีของกองทัพมีต่อคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องที่เกินกว่าจะวิเคราะห์ได้ ต่างจากผู้นำทางทหารคนก่อน พลเอกประยุทธ์ จันโอชา บุคคลที่ดูเหมือนภาพล้อการ์ตูนผู้นำเผด็จการทั่วไปจากประเทศโลกที่สามมากขึ้นทุกวัน รู้สึกยากที่จะต่อต้านสิ่งล่อใจที่กระสันอยากจะย้ำเตือนสาธารณชนว่า เขาเป็นผู้ที่มีอำนาจอย่างแท้จริง โดยเกือบทุกวัน เขาออกมาข่มขู่ประชาชนด้วยการคุยโวโอ้อวดหลายเรื่อง ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจอันน้อยนิดตามรัฐธรรมนูญ และที่ยิ่งกว่านั้นคือสติปัญญาของเขา การจัดการเรื่องความขัดแย้งชายแดนกับประเทศกัมพูชาของกองทัพ ยังแสดงให้เห็นถึงหลักฐานชัดเจนที่เหล่านายพลไม่รับคำาสั่งจากพลเรือน

เมื่อไม่นานมานี้มีเรื่องที่น่าอับอายเกิดขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตรและพลเอกประยุทธ์ไม่ยอมให้อินโดนีเชียเข้ามาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหา ทั้งที่รัฐบาลนายอภิสิทธิเห็นชอบกับข้อเสนอทำให้เจ้าหน้ากัมพูชาสงสัยว่าเหล่านายพลหรือพลเรือนกันแน่ที่มีสิทธิ์เจรจาเพราะกองทัพมีอิสระที่จะเพิกเฉยต่อคำสั่งของรัฐบาลพลเรือนปัญญาอ่อนอย่างชัดแจ้ง พลเอกประยุทธ์จึงตั้งใจจะนำกลุ่มรัฐบาลทาสของนายมาร์ค อภิสิทธิ์กลับคืนสู่อำนาจ และถ้าหากเป็นไปได้ ก็จะทำโดยผ่านวิธีการที่ให้อำนาจรัฐบาลในการอ้างความถูกต้องตาม “ประชาธิปไตย”

อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้พิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพลเรือนและทหารในรัฐไทย เน้นเรื่องการครอบงำของกองทัพไทยที่มีเหนือรัฐบาลพลเรือนในประเทศ นอกจากนี้รายงานยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของทหารที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งที่กำาลังจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ข่าวลือเรื่องรัฐประหารบ่อยครั้ง การใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกล่าวหาผู้ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และคำขู่เรื่องอนาคตที่ไร้เสถียรภาพและวุ่นวายเป็นไปเพื่อข่มขวัญให้ทอดทิ้งฝ่ายตรงข้ามในการเลือกตั้ง และนอกจากนี้ กองทัพไทยใช้เงินจำนวนมหาศาล องค์กรและทรัพยากรกำลังทหารไปกับการหาเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครแบบแบ่งเขตระดมผู้ลงคะแนนเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์ และกดขี่การลงคะแนนเสียงของฝ่ายตรงข้าม

2 . กองทัพปกครองโดยใช้พลเรือนบังหน้า

หลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความพยายามของกองทัพในการอ้างสิทธิ์ใช้อำานาจในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน นับตั้งแต่เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ”ในปี 2535 จากวิสัยทัศน์ของกองทัพ รัฐประหารในวันที่ 1 9 กันยายน 2549 คือการกระทำาที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาหมดความสำาคัญจากการเมือง เหล่านายพลมุ่งมั่นอย่างรวดเร็วที่จะกำาจัดภัยที่คุกคามอำานาจนอกรัฐธรรมนูญของพวกเขา นั้นคือ
นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับความนิยม ประวัติศาสตร์ล่าสุดยังคงสอนกองทัพว่าการปกครองโดยตรงของกองทัพเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะหรือเป็นประโยชน์ในโลกสมัยใหม่ ดังนั้นแทนจะพยายามขยายฐานอำานาจของกลุ่มนายทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจในปี 2549 เหล่านายพลกลับหาวิธีสร้างความแข็งแกร่งให้กับอำานาจทางการเมืองของพวกเขา และในขณะเดียวกันก็ล่าถอยมาเพื่อกำบังตนเองอยู่หลังระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเพราะการกระทำที่ยุ่งเหยิงและน่าชิงชังอย่างต่อเนื่องของพวกเขา จึงทำให้กองทัพห่างไกลจากความสำาเร็จในความพยายามที่จะเข้าครอบงำระบบการเมือง
ไทยอีกครั้ง

แม้จะมีนโยบายที่ทำลายพรรคไทยรักไทยอย่างไม่หยุดหย่อน สิ่งที่พวกเขาต้องการประการแรกคือ นำรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอกลับเข้ามาบริหารประเทศเหมือนครั้งที่ประเทศไทยเคยเป็น ก่อนที่ทักษิณจะเข้ามามีอำนาจ นอกจากนี้เมื่อกองทัพล้มเหลวที่จะประกันชัยชนะการเลือกตั้งในปี 2550 ให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ กองทัพจึงร่างกลไกที่สร้างความมั่นคงของพวกเขาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้การพ่ายแพ้การเลือกตั้งมีผลกระทบในแง่ลบหรือนานจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะนี้เหล่านายพลสามารถพึ่งพากลุ่มตุลาการตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง -โดยพวกเขาได้รับอำานาจจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้เปลี่ยนผลการเลือกตั้งได้อย่างอิสระและช่วยทำาให้การถอดถอนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากคำาพิพากษาของศาล ที่สั่งยุบพรรคพลังประชาชน และสองพรรคเล็กร่วมรัฐบาลในปี 2551

กองทัพไทยประสบความสำาเร็จในการใช้อิทธิพลของตนแต่งตั้งนายมาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้ดำรงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยการสนับสนุนของพรรคที่เข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบนักการเมืองที่ไร้หลักการอย่างที่สุดซึ่งเคยสนับสนุนรัฐบาลชุดก่อนก่อนการแต่งตั้งนายมาร์ค อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี กองทัพไทยได้ตกลงเจรจาเรื่องผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายกับพรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางได้รับตำาแหน่งอันทรงเกียรติและมีอิทธิพล โดยการอาศัยความแข็งแกร่งทางการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ในทางกลับกัน นักการเมืองประชาธิปัตย์เสนอคณรัฐบาลพลเรือนเพื่อเป็นคราบกำาลังให้เหล่านายพล สามารถใช้บริหารประเทศได้โดยไม่ต้องยึดอำานาจโดยตรง เพราะแนวคิดอนุรักษ์นิยมและต่อต้านประชาธิปไตยของพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงความอ่อนแอของพรรคร่วมรัฐบาล คณะรัฐบาลของนายมาร์ค อภิสิทธิ์จึงไม่เป็นภัยคุกคามต่อการปกครองและอิทธิพลของกองทัพแต่อย่างใด

ขณะที่การเลือกตั้งใหม่กำาลังใกล้เข้ามา ระดับการใช้อำานาจของกองทัพไทยขัดแย้งกับมาตรฐานอย่างต่ำสุดของการควบคุมโดยพลเรือนตามที่ระบุในระบอบประชาธิปไตย ทุกขอบเขตที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วไปใช้ประเมิน ตั้งอยู่บนหลักการของความสัมพันธ์ของพลเรือนและทหาร การควบคุมของกองทัพตามธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศ และการนำของพลเรือน ในบทความล่าสุด Croissantetal. ระบุถึงขอบเขตห้าประการซึ่งตั้งอยู่บนหลักการที่การควบคุมของพลเรือนสามารถกำหนดขอบเขตและประเมินได้อย่างเป็นระบบ
  1. การสรรหาผู้นำ อันบ่งบอกถึงกระบวนการที่นำไปสู่การคัดสรรและความชอบทางกฎหมายของผู้ดำรงตำาแหน่งทางการเมือง 
  2. นโยบายสาธารณะ อันประกอบด้วย การจัดตั้งแผนการกำหนดนโยบายและการดำาเนินการตามนโยบาย 
  3. ความมั่นคงภายใน 
  4. การป้องกันประเทศ
  5. องค์กรทหาร จะต้องอยู่ในระดับที่พลเรือนควบคุมขนาดโครงสร้างของกองทัพ หลักการการศึกษา รวมถึงจำานวนและชนิดในการจัดซื้ออาวุธ การสำรวจอย่างคร่าวๆของขอบเขตแต่ละข้อ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นห่างไกลจากอุดมคติที่ใกล้เคียงของหลักการ “การควบคุมโดยพลเรือน”
ลักษณะชัดเจนที่บ่งบอกถึงการพยายามของกองทัพในการก่อตั้งการครอบงำาเหนือระบบทางการเมืองที่เคยมีขึ้นมาใหม่ นั้นคือการที่กองทัพพยายามสรรหาผู้นำทางการเมืองเอง เริ่มจากการถอดถอนทักษิณชินวัตรในปี 2549 ซึ่งหลังจากนั้นกองทัพพยายามแทรกตัวเข้าไปในกระบวนการคัดสรรและหาผู้นำาพลเรือนคนใหม่อย่างต่อเนื่อง เป็นที่รู้ดีว่า กองทัพมีบทบาทสำคัญช่วยแต่งตั้งนายมาร์ค อภิสิทธิ์เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการโน้มน้าวอดีตพันธมิตรของทักษิณให้เปลี่ยนข้างไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ กระบวนการนี้ไม่ได้มีแค่จัดประชุมกับแกนนำของพรรคการเมืองขนาดเล็กเหล่านี้ที่บ้านของอดีตผู้บังคับบัญชาการทหารบก พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดาเท่านั้น แต่จบด้วยการเรียกร้องของ “ชายที่คำขอของเขาไม่อาจถูกปฏิเสธได้” 

ในเวลานั้น กองทัพทำทุกอย่างเพื่อแสดงว่าพวกเขไม่ยอมรับรัฐบาลตัวเลือกอื่น ด้วยการทำลายรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยเรียกร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรีลาออกหลังจากการปะทะกับระหว่างตำรวจและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยพลเอกอนุพงษ์ไม่ทำตามคำาสั่งรัฐบาลที่สั่งให้สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง

ส่วนนักการเมืองที่สนใจแต่ตำแหน่งตนเองเหนือสิ่งอื่นใดก็รู้สึกลังเลในข้อเสนอให้เปลี่ยนข้าง หลังจากคำมั่นสัญญาเรื่องเสถียรภาพของตำแหน่งจากกองทัพ โดยกองทัพจะหนุนหลังรัฐบาลนายมาร์คอภิสิทธิ์ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา กองทัพได้รักษาสัญญาเป็นอย่างดี โดยมีการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาลที่อ่อนแอ และสร้างวิกฤติ เรื่องฉาวโฉ่ ร่วมถึงการสังหารหมู่ ซึ่งจากองค์ประกอบเหล่านี้ไม่สามารถทำาให้รัฐบาลพลเรือนในไทยหรือที่ไหนในโลกบริหารประเทศต่อไปได้

บทบาทสำคัญของกองทัพในการสรรหากลุ่มผู้นำยังมีรูปแบบที่เห็นไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากการเพิ่มระดับของการทำงานร่วมกันของกองทัพและองคมนตรี องคมนตรีมีอิทธิพลในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหลายตำาแหน่งเป็นเวลานาน ข้อเท็จจริงคือ สมาชิกองคมนตรีบางคนที่เคยเป็นอดีตนายพลมีบทบาทสำาคัญ ทำให้สถาบันสองสถาบันมีความใกล้ชิดและมีวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน องคมนตรีเป็นเครื่องมือใช้ปกป้องรัฐบาลนายมาร์ค อภิสิทธิ์อย่างมาก และยังพยายามหาทางทำทุกทุกอย่างที่จะผลักดันให้คนที่ “เหมาะสม” เข้าไปนั่งในตำแหน่งเจ้าหน้าระดับสูง นายพสิษฐ์ ศักดณรงค์ อดีตเลขานุการประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่วิดีโอนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์พยายามล๊อบบี้ศาลในคดียุบพรรคการเมืองล่าสุด และยังแสดงให้เห็นว่ามีการเพิกเฉยต่อข้อหาของพรรคประชาธิปัตย์ตามคำสั่งของประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติณลสูลานนท์และจากสถานการณ์เดียวกันนี้ นักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล นายชุมพล ศิลปอาชายังบ่นว่าการคัดเลือกวุฒิสภาสรรหา (จำนวนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภา) ถูกผูกขาดโดย “ชายนิรนาม” ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นพลเอกเปรม

แม้กองทัพจะใช้อำานาจมหาศาลอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย แต่เหล่านายพลมักพอใจที่จะปล่อยให้การกำหนดนโยบายภายในส่วนใหญ่ตกอยู่ในกำามือของผู้นำกลุ่มอื่น ซึ่งรวมถึงข้าราชการและนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล แท้จริงแล้วสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เคยกล่าวว่าพวกเหล่านายพลต่าง “กลัวหางจุกตูด” ที่จะต้องบริหารประเทศโดยตรง โดยไม่มีรัฐบาลพลเรือนบังหน้าให้ แต่กองทัพสามารถบังคับให้ใช้นโยบายที่พวกเขาต้องการหรือไม่ยอมรับนโยบายที่พวกเขาไม่เห็นด้วยเมื่อไรก็ได้ เช่นเรื่องสำาคัญอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนในเรื่องของความมั่นคงภายใน การป้องกันประเทศ และองค์กรทหาร กองทัพมีอำานาจควบคุมอย่างชัดเจน

ในกรณีของเรื่องความมั่นคงภายใน กองทัพไทยควบคุมกิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการปราบปรามในภาคใต้และยังรักษาเสถียรภาพของรัฐด้วยการทำลายภัยคุกคามที่เกิดจากกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตย อำนาจเก่าในกองทัพได้สร้างความเข้มแข็งในการควบคุมเรื่องความมั่นคงภายในประเทศโดยการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินปี 2548 และพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในปี 2551 กฎหมายทั้งสองฉบับนิยามสถานการณ์ที่สามารถประกาศใช้กฎหมายฉุกเฉินที่กว้างจนเกินสงวนขอบเขต และให้อำานาจที่ปราศจากความรับผิดแก่กองทัพ

ตอนที่กฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศประณามกฎหมายดังกล่าวว่าเป็นภัยคุกคามระบอบการปกครองประชาธิปไตยในประเทศไทย และก่อนการร่างพระราชบัญญัติความมั่งคงภายในของรัฐบาลทหารจะเสร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2550 องค์กรฮิวแมนไรท์ประณามการกระทำดังกล่าวว่า “มุ่งที่จะทำให้ทหารปกครองประเทศตลอดกาล” และเพื่อที่จะปล่อยให้ประเทศไทยตกอยู่ใน “สถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้อำานาจอย่างทารุณและตามอำาเภอใจ”

กว่าสองปีที่ผ่านมา การทารุณอย่างเป็นระบบที่บัญญัติในกฎหมายทั้งสองฉบับซึ่งขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศได้ให้อำานาจกองทัพครั้งลิดรอนสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญแล้วครั้งเล่า ยึดอำานาจรัฐบาล และละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบโดยไม่ต้องรับผิดใดๆ ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ในปี 2553 คนใดถูกดำาเนินคดีอาญา ข้อเท็จจริงคือ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีส่วนร่างแผนการสลายการชุมนุมได้รับการปูนบำาเหน็จโดยการเลื่อนตำแหน่ง

ส่วนเรื่องการป้องกันประเทศก็ไม่แตกต่างกันนัก เพราะตั้งแต่นายมาร์ค อภิสิทธิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี กองทัพได้อำนาจผ่านรัฐบาลพลเรือน และใช้อำนาจในการปฏิเสธคำาสั่งรัฐบาลครั้งแล้วครั้งเล่า ในรอบสองปีที่ผ่านมา เช่น กองทัพบังคับใช้ นโยบายผลักเรือที่ไม่มีเครื่องมือนำทางของผู้ลี้ภัยทางการเมืองโรฮิงญาออกสู่น่านน้ำทะเลสากลอย่างต่อเนื่อง แม้นโยบายนี้จะทำให้ผู้ลี้ภัยเสียชีวิตหลายร้อยคน แต่ไม่มีสมาชิกกองทัพรายใดถูกสอบสวนทางอาญาหรือทางวินัย

อย่างไรก็ตาม การจัดการเรื่องความขัดแย้งชายแดนกับประเทศกัมพูชาของกองทัพคือหลักฐานอันเลวร้ายที่สุดที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ากองทัพมีอำานาจเหนือนโยบายการต่างประเทศ มีรายงานว่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 เหล่านายพลสั่งให้ใช้อาวุธหนักอานุภาพทำลายล้างสูงอย่างระเบิดดาวกระจายยิงใส่พื้นที่กัมพูชา โดยไม่หารือกับรัฐบาลพลเรือน เมื่อรัฐบาลเห็นชอบกับการให้อินโดนีเชียเข้ามาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาหลักจากการปะทะนองเลือด เหล่านายพลระดับสูงเข้าแทรกแซงและไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว วันรุ่งขึ้น รองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณต้องรีบออกมาไกล่เกลี่ยเรื่องความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ

ในที่สุด ประเทศตกลงจะลงตัวแทนไปประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการร่วมแก้ไขปัญหาชายแดนที่อินโดนีเชีย หลังจากที่อินโดนีเซียตกลงจะไม่เข้าร่วมเจรจา นอกจากจะไม่ทำาตามรัฐบาลพลเรือนที่ไร้อำานาจแล้ว การแทรกแซงของกองทัพยังคงทำาลายการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในเรื่องขององค์กรทหาร กองทัพมีอำานาจควบคุมทั้งนโยบายและงบการจัดซื้อตั้งแต่การทำารัฐประหาร งบการประมาณกองทัพไม่เพียงแต่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2549 เท่านั้น แต่เหล่านายพลยังได้รับอนุญาตให้จัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อะไรก็ได้ การฉ้อโกง ความคร่ำครึ และการจัดซื้อเกินราคา สร้างโอกาสทางด้าน
ผลประโยชน์ตอบแทนและสร้างความร่ำรวยมหาศาลให้พวกเขา แม้ว่าจะมีเงินเดือนข้าราชการอันน้อยนิดก็ตาม

เมื่อครั้งที่รัฐบาลยอมรับว่าเครื่องตรวจระเบิด GT-200 เป็นเรื่องต้มตุ๋นในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2010 ทุกกรมกองของกองทัพไทยร่วมกันแถลงข่าวประณามนายมาร์ค อภิสิทธิ์ และยืนยันว่าเครื่องมือดังกล่าว
ทำงานได้จริง แม้ว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะระบุเป็นอย่างอื่นก็ตาม ต้นปีนี้รัฐบาลสมรู้ร่วมคิดอนุมัติงบประมาณ 2.3 พันล้านดอลล่าสหรัฐ เพื่อตั้งกรมทหารม้าใหม่ที่ภาคอีสาน ซึ่งถูกมองว่าเป็น “ความปรารถนาครั้งสุดท้าย” ของพลเอกเปรม และยังตามมาด้วยการอนุมัติให้ตั้งกรมทหารราบอันไร้ประโยชน์ขึ้นที่เชียงใหม่อย่างรวดเร็ว

3 . ลงคะแนนเสียงให้ทหาร?

ข้อเท็จจริงคือ ประเทศไทยไม่ได้ปกครองโดยรัฐทหารแต่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น สิ่งที่แยกประเทศออกจากการปกครองโดยกองทัพอย่างสมบูรณ์อย่างง่ายๆ คือ การที่กองทัพเลือกจะซ่อนตัวอยู่หลังรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอ และไม่มีความสนใจที่จะสร้างนโยบาย เพราะไม่กระทบต่ออำนาจ ความสำคัญ และการดำเนินกิจการต่างๆของเหล่านายพล แต่ขณะนี้ [อำนาจของพวกเขา] ไม่มีความมั่นคงเพราะพวกเขาก้าวมาถึงจุดนี้ได้ด้วยไม่เคารพกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ และรักษาอำนาจด้วยวิธีการอันเลวร้ายที่สุด นั้นคือการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยหลายครั้ง

ด้วยเหตุผลเหล่านั้น การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงจึงเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของกองทัพ กล่าวคือ ชัยชนะที่ได้รับการยอมรับและ “ขาวสะอาด” ของพรรคประชาธิปัตย์จะทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันอ้างความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่มีในตอนนี้ อีกประการหนึ่งคือ คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะเพิ่มความแข็งแกร่ง ให้กับสถานการณ์ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ [ อำนาจกองทัพ] เพราะจะเป็นการปิดปากฝ่ายตรงข้ามในการเรียกร้องประชาธิปไตยและอีกอย่างคือ ชัยชนะของฝ่ายตรงข้ามอาจบังคับให้กองทัพต้องเลือกระหว่างสามตัวเลือกที่ไม่พึงประสงค์นี้-ยอมรับบทบาทที่น้อยลง พึ่งกระบวนการตุลาการเพื่อตัดสินให้ผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือทำารัฐประหารอีกครั้ง

ผลที่สุดคือกองทัพไทยเกี่ยวข้องลึกซึ้งกับแผนการช่วยนายมาร์ค อภิสิทธิ์ โดยอย่างน้อยที่สุดคือเอาใบตองมาปกปิดความน่าอายในเรื่องความชอบธรรมจากการเลือกตั้งให้นายมาร์ค นอกจากนี้ ผู้สังเกตการณ์มักจะไม่ได้คาดหวังว่าจะมีการโกงเลือกตั้งอย่างโจ่งแจ้ง จงใจใช้บัตรผี ทำาลายคะแนนเสียงการของฝ่ายตรงข้าม หรือการกดขี้ทางกายต่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม มันอาจเป็นเรื่องไร้เดียงสาที่จะมองข้ามความเป็นไปได้ โดยเฉพาะ หากเหล่านายพลเห็นว่าราคาที่ต้องจ่ายในการทำาลายผลการเลือกตั้งอันไม่น่าพึงประสงค์อาจะมากกว่าผลิตผลการเลือกตั้งที่น่าพอใจเสียเอง


จากมุมมองดังกล่าว เราสามารถคาดหวังว่ากองทัพจะพยายามทำาทุกอย่าง ยกเว้นโกงการเลือกตั้งอย่างโจ่งแจ้ง และหลังจากนั้นร่วมกันฉ้อโกงการเลือกตั้งทุกรูปแบบที่ไม่ดึงดูดการประณามจากประชาคมโลกช่วยพรรคประชาธิปัตย์ และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่นำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ของผู้ลงคะแนนเสียง อาวุธที่ทรงอานุภาพมากที่สุดของกองทัพคือการข่มขวัญ และทรัพยากรขององค์กรที่จ่ายโดยภาษีประชาชนการข่มขวัญผู้ลงคะแนนเสียง ไม่ได้นำโดยใครอื่นนอกจากผู้บังคับบัญชาการกองทัพบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และจากการส่งสัญญาณหลายครั้งบ่งบอกว่าเขาไม่ลังเลที่จะแทรกแซง หากสถานการณ์ไม่เป็นไปดั่งที่เขาต้องการ

เมื่อไม่นานมานี้ พลเอกประยุทธ์เรียกร้องให้ผู้ลงคะแนนเสียงคนไทยออกมาต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม ผู้บังคับบัญชาการกองทัพบกได้ยกเอาคำเตือนของนายกรัฐมนตรีมากล่าวซ้ำว่า การเลือกตั้งครั้งนี้คือตัวเลือกระหว่างนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ หรือวงจรความรุนแรงและไร้เสถียรภาพอีกครั้งหนึ่ง ความหมายโดยนัยคือ หากคนลงคะแนนเสียงไม่เลือกนายมาร์ค อภิสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง กองทัพไม่ลังเลที่จะปฏิบัติกัรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกับรัฐบาลสามชุดก่อน หากพิจารณาตัวเลือกของพวกเขา การไม่ลงคะแนนเสียงให้อภิสิทธิ์เป็นการย้ำเตือนผู้ลงคะแนนว่า อาจจะมีรัฐประหาร สังคมที่ไร้ขื่อแป และการสังหารหมู่เกิดขึ้นอีกระลอกหนึ่ง

นอกจากจะข่มขวัญผู้ลงคะแนนเสียงด้วยคำาขู่แบบอ้อมๆหยอมแหยมด้วยเรื่องความรุนแรงและวุ่นวายแล้ว ผู้นำกองทัพและพลเรือนยังมีส่วนร่วมกับโครงการคุกคามบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามวิจารณ์สถานการณ์ประเทศแต่พอดี และยังมีระบบกฎหมายของรัฐบาลที่ทำให้การแสดงออกทางความเห็นของตรงข้ามเป็นอาชญากรรมโดยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 และมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นระบบตามลักษณะของมัน และในระดับที่ไม่เคยมีเคยมีมาก่อนภายในเวลาสองปีที่ผ่านมา

การใช้วิธีการที่กดขี่เหล่านนี้ดีจะทำให้การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงตึงเครียดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ผู้ออกแบบเวปไซต์ของฝ่ายตรงข้าม นายธันย์ฐวุฒิทวีวโรดมกุลถูกตัดสินจำาคุก 13 ปีข้อหาตีพิมพ์ข้อความทาง
อินเตอร์เน็ตที่เขาไม่ได้มีส่วนร่วมในร่างหรือโพสต์เลย ส่วนรายอื่นถูกจับกุมในการชุมนุมคนเสื้อแดงครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากแจกจ่ายเอกสารเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 หรือเผยแพร่รายการสารคดีของสำนักข่าวออสเตรเลียเอบีซี วันที่ 11 เมษายน 2553

พลเอกประยุทธ์จัดตั้งกลุ่มทหารตนเองเพื่อเข้าแจ้งความดำาเนินคดีหมนิ่ พระบรมเดชานุภาพกับสามแกนนำเสื้อแดง (สองรายเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ที่ปราศรัยในงานครบรอบหนึ่งปีการสังหารหมู่ที่กระทำาทหารเมื่อปี 2553 คำพูดข้อพิพาทไม่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์หรือสมาชิกราชวงศ์ แต่เป็นคำพูดที่ประณามการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเรียกร้องให้ทหารหยุดใช้สถาบันกษัตริย์อำพรางตนเอง เพื่อปกป้องอำนาจและสร้างความชอบทำให้กับการกระทำาที่ผิดกฎหมายของพวกเขา

เมื่อพลเอกประยุทธ์อธิบายการการกระทำของตนเองต่อหน้าสื่อมวลชน เขาพูดโอ้อวดโดยบอกว่าการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคือการ “ปกป้องสถาบันกษัตริย์” สามวันหลังจากนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประกาศว่า ตอนนี้แกนนำาเสื้อแดง18 คนอยู่ในระหว่างสอบสวนคดีหมิ่นพรบรมเดชานุภาพเนื่องจากคำปราศรัยในวันที่ 10 เมษายน 2554 หลังนั้นจากเปิดเผยว่าแกนนำาส่วนใหญ่ถูกสอบสวน เพราะในวิดีโอ พวกเขาให้ “ภาษากายที่บ่งว่าให้การสนับสนุน เช่น การตะโกน โห่ร้อง และปรบมือ” ในระหว่างการปราศรัยที่มีคำาพูดข้อพิพาทดังกล่าว ดีเอสไอแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปลุกระดมต่อพวกเขาการออกมาเตือนว่าบุคคลที่ “ทำให้สถาบันขุ่นเคือง” จะถูกตามล่าเหมือนสุนัข ทั้งกองทัพและรัฐบาลพลเรือนจอมปลอม ที่มีเหล่านายพลที่อยู่เบื้องหลังหมายความว่าบุคคลที่ต่อต้านพวกเขาคือศัตรูของ
สถาบันกษัตริย์นั้นเอง

แผนการดังกล่าวนั้นชัดเจนมากเพราะการกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีมักทำต่อนักกิจกรรมฝ่ายตรงข้ามและ
พวกเขาตกยังถูกปฎิบัติอย่างทารุณโดยระบบกฎหมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้ามในสายตาของสาธารณชน และทำให้ผ่ายตรงข้ามรู้สึกท้อแท้ไม่อยากต่อต้านโครงสร้างอำนาจที่แท้จริงของประเทศไทย ในเวลาเดียวกัน การสร้างภาพว่าฝ่ายตรงข้ามคือศัตรูของชาติและสถาบันกษัตริย์เป็นการเตรียมการของกองทัพเพื่อก่อรัฐประหารหากฝ่ายตรงข้ามชนะการเลือกตั้ง

เหตุผลที่ทำเช่นนั้นต่อสาธารณชนก็เพื่อเป็นการบอกผู้ลงคะแนนเสียงอย่างเด็ดขาดว่าหากต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความวุ่นวายที่อาจจะเกิดขึ้นจากรัฐประหาร พวกเขาก็ควรจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้ ขนาดของกองทัพยังขยายใหญ่อย่างไม่สามารถประมาณได้ เป็นที่รู้กันดีว่ากองทัพเข้ามาช่วยจัดการเลือกตั้ง ในปี 2550 และหลายวันก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้ว

องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ออกรายงานประณามคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ล้มเหลวในการคัดค้านความพยายามของกองทัพในการทำลายความเป็นธรรมและเสรีภาพของกระบวนการการเลือกตั้ง องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์อ้างข้อความในบันทึกที่รั่วไหลของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือรัฐบาลทหารหลังจากนั้น ที่ระบุว่าสามเดือนก่อนการเลือกตั้ง กองทัพวางยุทธวิถีการเพื่อทำลายพรรคพลังประชาชนและช่วยให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง รวมถึง “ปฏิบัติการหลายอย่างเพื่อข่มขู่ขัดขวาง และทำาลายความน่าเชื่อถือของพรรคพลังประชาชนและผู้สนับสนุนพรรค” และ “ตระเตรียมสถานีโทรทัศน์ทหาร สถานีวิทยุ หน่วยราชการลับ และหน่วยความมั่นคงเพื่อรายงานและปล่อยข่าวลือทำาลายความน่าเชื่อถือของพรรคพลังประชาชนและทักษิณ” และเช่นเดียวกัน องค์กรสังเกตการณ์การเลือกตั้ง  ENFREL พบว่าการกระทำของกองทัพ “สร้างบรรยากาศความน่าสะพึงกลัวขัดเจนเนื่องจากเสรีภาพของการแสดงออกและสมาคมถูกลิดรอน” แต่ในต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะลงมติ 4-1 ตัดสินว่ากองทัพล้มเหลวที่จะวางตัวเป็นกลางระหว่างการเลือกตั้ง และระบุว่าเหล่านายพลเสวยสุขจาก “ความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญ” ในความพยายามที่จะรักษาหน่วยงานรักษาความมั่นคง

เห็นได้ชัดว่าภายใต้เกมของกฎเกณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐประหาร 2549 การโกงเลือกตั้งกลายเป็นสิ่ง ที่สำคัญที่สุดตามรัฐธรรมนูญ บางทีอาจเป็นเพราะมันไม่ต้องรบกวนให้กองทัพต้องออกมาทำรัฐประหารเพราะความล้มเหลวโครงการรณรงค์ของกองทัพในปี 2550 รวมถึงราคาที่กองทัพต้องเสีย (ในเรื่องของภาพลักษณ์ ความสามัคคีภายใน และชีวิตมนุษย์) ให้กับความพยายามที่จะทำลายผลการเลือกตั้ง กลุ่มนายพลใช้วิธีการที่รุกหนักยิ่งกว่าในโครงการปี 2554 เพราะกองทัพไม่คิดจะยอมรับผลการเลือกตั้งที่ “ผิด” อีกต่อไปเหมือนกับเมื่อสี่ปีที่แล้ว อย่างที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น ความเสี่ยงมีมากขึ้นหลังจากการสังหารหมู่ปี 2553 เพราะเหล่านายพลระดับสูงต้องการการรับประกันว่าตนเองจะไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำใดๆอีกต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อไม่นานมานี้ ฝ่ายตรงข้ามได้เปิดเผยรายละเอียดของแผนการดังกล่าว ซึ่งแผนการระบุรายละเอียดการเตรียมการปฏิบัติการในการเลือกตงั้ และจะมีการใช้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงโน้มน้าวการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนด้วยการข่มขวัญ รวมถึงใช้การซื้อเสียงสนับสนุนจากบุคคลที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น และสร้างบรรยากาศความกลัวด้วยการกุเรื่องที่ฝ่ายตรงข้ามสนับสนุนแผนการลับสมรู้ร่วมคิดล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แผนการนี้ยังรวมถึงการสร้างสถานการณ์การเลือกตั้งที่ไม่ปกติ ซึ่งอาจช่วยป้ายสีผู้สมัครฝ่ายตรงข้ามโดยมี “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือ เช่น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสิทธิหรือยุบพรรคการเมือง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ผลประโยชน์จากความผิดปกตินี้ในปี 2550 โดยในเวลานนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง เข้าแทรกแซงประกาศให้ชัยชนะการเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมได้รับเป็นโมฆะตามมาด้วยการสั่งยุบพรรคพลังประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญด้วยข้อกล่าวหาที่ได้กล่าวมาแล้ว

หากพิจารณาระดับความเสี่ยงและความพยายามของรัฐบาล รวมถึงหน่วยงานความมั่นคงที่จะเปลี่ยนผลการเลือกตั้ง จึงไม่น่าแปลกใจที่รองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณจะปฏิเสธอย่างเกรี้ยวกราดถึงความเป็นได้ที่จะเชิญผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติ [เพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้ง] ไม่ใช้เพราะว่า “เขาไม่เคารพฝรั่ง” หรือกังวลเรื่องอธิปไตยเหนือประเทศไทยตามที่เขาอ้าง แต่ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติขู่จะเปิดโปงว่า ทั้งรัฐบาลและทหารจะพยายามเหยียบย่ำอธิปไตยของปวงชนไทยมากเท่าไรต่างหาก

แม้ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาสังเกตการณ์ในกระบวนการนี้ เราสามารถยืนยันได้เลยว่ารัฐบาลจะเรียกกองทัพออกมารับประกัน “ความปลอดภัย” ในแต่ละหน่วยการเลือกตั้งทั่วประเทศแน่นอน เพราะเรามักพบว่า เจตนาของกองทัพในเรื่อง “ความปลอดภัย” มักจะเกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของรัฐบาลหุ่นเชิดอย่างต่อเนื่อง และการข่มขู่ทำร้ายผู้ลงคะแนนจัดอยู่ในเรื่อง “ความปลอดภัยของประเทศ” บางทีเรื่องที่น่ากังวลใจมากที่สุดในกรณีนี้คือ ประวัติศาสตร์ความรุนแรงก่อนการเลือกตั้ง (ที่รู้จักกันดีในยุค 70) ความเกี่ยวข้องกับการลอบวางระเบิด และเหตุการณ์ความรุนแรงอื่นในช่วงปี 2553 ของกองทัพ ซึ่งเป็นใน “ยุทธวิถีการสร้างความตึงเครียด” และถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการใช้อำานาจฉุกเฉินและออกข้อกำาหนดที่ทารุณเพื่อลิดรอนสิทธิฝ่ายตรงข้าม นายฟิลิปป์ วิลเลนเขียนอ้างถึง “ยุทธวิถีการสร้างความตึงเครียดที่คิดค้นโดยฝ่ายขวาและส่วนหนึ่งของรัฐบาลอิตาลีในปลายยุค 60 ว่า “ความสะพรึงกลัวทำาให้ประชาชนต้องการความปลอดภัยมากกว่าการเปลี่ยนแปลง” เมื่อใดก็ตามที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตย กองทัพไม่เคยลังเลที่ใช้ความรุนแรงและความหวาดผวา เพื่อสร้างความกลัวในหัวใจของคนที่อยากให้เหล่านายพลกลับไปอยู่ในค่ายทหาร

4 . การท้าทายอำนาจกองทัพ

มีการกล่าวถึงบ่อยครั้งว่า กองทัพไทยไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องประเทศจากภัยคุกคามภายนอก แต่ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัยส่วนตัวเพื่อปกป้องกลุ่มอำมาตย์ (ซึ่งรวมถึงนายพลระดับสูง) จากความต้องการประชาธิปไตยของประชาชน และกองทัพยังมีอำนาจทางการเมืองล้นฟ้าเพื่อยับยั้งเครือข่ายทางการเมืองอีกด้วย กองทัพไทยไม่เคยรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน การสังหารหมู่และการยึดอำนาจเมื่อระบอบประชาธิปไตยคุกคามกลุ่มอำามาตย์และผลประโยชน์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งไม่แตกต่างจากเหล่าผู้นำากองทัพในละตินอเมริกา เพราะการช่วยเหลือของสหรัฐรวมถึงการไม่มีภัยคุกคามจากภายนอก ทำให้กองทัพไทยใช้เวลากว่าหลายสิบปีที่ผ่านมาทุ่มเทเพิ่มพูนอำนาจและงบประมาณ โดยการทำลายหลักนิติรัฐ สถาบันพลเรือน สมรรถภาพของรัฐ และเสรีภาพของประชาชนชาวไทย

วันนี้กองทัพไทยยังคงแข็งเกร่งจุ้นจ้าน และโหดร้ายเหมือนเดิม ความขัดแย้งทางการเมืองไทยยากจะแก้ไขอย่างเต็มที่ นอกจากสถาบันที่ดื้อรันไม่ยอมปล่อยให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยไม่ถูกเช็ดถูหรือปฏิรูปไม่ต้องสงสัยเลยว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้จะเสนอตัวเลือกที่ชัดเจนแก่ประชาชนไทยตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าว อย่างไรก็ตามการตัดสินใจดังกล่าวมีมากกว่าการสนับสนุนตัวเลือกทางนโยบายหรือผู้ลงสมัครแข่งขัน ตัวเลือกที่พวกเขาต้องเลือกคือการทจี่ ะต้องยอมรับกฎเกณฑ์ของกองทัพและให้ความชอบธรรมกับรัฐบาลที่ใช้บังหน้ากองทัพหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การทำลายกลุ่ม อำมาตย์ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอีกครั้งโดยการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นถึงความอดทนและยึดมั่นต่อประชาธิปไตยและความมุ่งมั่นที่จะกำหนดชีวิตตนเองของคนไทย การเลือกประชาธิปไตยมากกว่าจะเลือกเผด็จการจึงมีราคาที่ต้องจ่ายอย่างแน่นอน เพราะกองทัพไทยไม่เคยตอบโต้การท้าทายของประชาชนอย่างมีไมตรีจิตร แต่กระนั้น ก็เป็นเรื่องที่แย่ยิ่งกว่าที่คนไทยผู้มีสิทธเลือกตั้งจะยอมจำนนต่อการข่มขู่และความกลัว ยอมปล่อยให้ลูกหลานในอนาคตต้องเป็นผู้นำพาประเทศออกจากการปกครองโดยกองทัพ การให้โอกาสเหล่านายพลสร้างความมั่นคงทางอำนาจให้กับกลุ่มตนเองถือเป็นสร้างความเสียหายมากขึ้นหลายเท่าตัวเมื่อต้องจัดการกับกองทัพในทีหลัง โศกนาถกรรมเมื่อปี 2553 ได้ย้ำเตือนเราทุกคนว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นคือชีวิตมนุษย์
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น