สมศักดิ์ เจียมฯ:กรณีโบอิ้ง737ถูกเยอรมันอายัด | |
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่มา เฟซบุ๊คสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จริงๆวันก่อนที่ผมทักคุณแอนดรูเรื่อง เครื่องบิน 737 ที่ถูกอายัดที่มิวนิคว่า ไม่น่าจะเรียกว่า "private" เพราะน่าจะเป็นทรัพย์สินของหน่วยราชการใดหน่วยราชการหนึ่ง (ถ้าไม่ใช่ สำนักพระราชวัง ก็กองทัพอากาศ) ผมไม่ได้นึกว่าประเด็นนี้จะเป็นเรื่อง"ซีเรียส"อะไรนะ ปรากฏว่า ตอนนี้ ดูเหมือนกรณีทั้งหมดนี้จะมาลงที่ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่แล้ว เพราะถ้าทางการไทยสามารถ"พิสูจน์"ได้ว่า เครื่องบินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของหน่วยงานรัฐบาล ทางศาลเยอรมันก็ย่อมไม่สามารถอายัดได้ (นี่คือประเด็นสำคัญที่กษิตอ้างต่อเยอรมัน) ตามข่าวมติชนล่าสุดเมื่อคืนนี้ กองทัพอากาศได้ยืนยันว่า ได้ "ถวาย..เป็นเครื่องบินส่วนพระองค์" ไปตั้งแต่ปี 2550 แล้ว (ดูhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310740901&grpid=00&catid&subcatid ) ผมไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไรนะครับ แต่ตามที่คุณ Bangkok Pundit โพสต์เรื่องนี้เมื่อวันก่อน โดยอ้างแหล่งข้อมูลของกองทัพอากาศเอง ในปี 2549 ว่า กองทัพอากาศกล่าวถึงเครื่องดังกล่าวในลักษณะที่เป็นของกองทัพอากาศ แหล่งข้อมูลที่คุณ BP อ้างถึงคือ http://www.rtaf.mi.th/rtafnews/rtafnewsdetail.asp?id=582 และ http://www.rtaf.mi.th/rtafnews/rtafnewsdetail.asp?id=820 อย่างไรก็ตาม คุณ BP ยังได้ให้ link รายชื่อเครืองบินทีจดทะเบียนกับกรมการบินพลเรือนล่าสุดไว้ ซึงดูได้ทีนี่ http://goo.gl/jFCPj (ไฟล์เป็น Excel นะครับ ดูยากสักนิด ผมหาอยู่ตั้งนาน วิธีดูคือ ไปที่ด้านล่างสุดของจอ มันจะมี tabs หลายอันเป็นภาษาอังกฤษ รายชื่อเจ้าของเครื่องบิน เลื่อนไปทางขวาเกือบสุด คำว่า HRH แล้วคลิ้ก จอจะแสดงรายการเครื่องบินทั้งหมด 4 เครื่องที่ "เจ้าของ" คือ HRH รวมทั้งเครื่องที่กำลังเป็นปัญหาอยู่นี้ อยู่ที่หมายเลข 4 ตามข้อมูลนี้ เครื่องนี้จดทะเบียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2548) เมื่อดูข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว ผมรู้สึกว่า มีปัญหาชวนให้น่าคิดในแง่ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอยู่ 2 ประเด็น คือ 1. ตามรายการของกรมการบินพลเรือน ซึ่ง update ล่าสุดปีนี้เอง เครื่องดังกล่าว OWNED โดย HRH จริง แต่ในการแถลงข่าวของกองทัพอากาศในปี 2549 แถลงในลักษณะที่ว่า เครื่องเป็นของกองทัพอากาศ (และไม่ได้บอกในลักษณะที่ว่าจะ "ถวาย" จริงๆถ้าอ่านตามข่าวจะเห็นว่า พูดในลักษณะที่วา เครืองนี้ จะยังอยู่ในกองทัพอากาศไปจนถึงปี 2553 เมื่อหมดอายุใช้งาน) แม้ในการแถลงล่าสุด ตามข่าวมติชนเมื่อคืน (link แรกข้างบน) จะบอกว่า ได้ "ถวาย...เป็นเครื่องบินส่วนพระองค์" ตั้งแต่ปี 2550 แต่ปัญหาก็ยังมีว่า ทำไมในการแถลงเมื่อปี 2549 เองยังกล่าวในลักษณะที่ว่า เครื่องเป็นของกองทัพอากาศ? หรือว่า ปีต่อมา (2550) ได้ "ถวาย" ไป? (เรืองที่รายการของกรมการบินพลเรือนบอกว่า เครื่องนี้จดทะเบียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2548 ผมว่า น่าจะไมใช่ปัญหาเพราะการจดทะเบียนครั้งแรก กับเจ้าของ ณ ปัจจุบัน อาจจะไม่ตรงกันก็ได้ รายการของกองการบินเป็นรายการ update ปีนี้ ดังนั้น อาจจะเพิ่งมาเปลี่ยน หรือไม่ รายการของกองการบินเอง ที่ใช้คำว่า OWNED นี่ ไม่แน่ใจว่า หมายถึงในทางกฎหมายหรือแค่หมายถึงในแง่ที่เป็นเครื่องบินราชพาหะนะเฉยๆ) 2. ยังมีปัญหาทีตามมาสำคัญอีกประเด็นหนึง คือ สมมตุิว่า การแถลงของกองทัพอากาศล่าสุดนี้เป็นความจริง คือ แม้ว่า ในปี 2549 ตามข่าวเก่าของ BP กองทัพอากาศจะพูดในลักษณะว่า นีเป็นเครื่องของกองทัพอากาศ (และจะเป็นจนหมดอายุใช้งาน) แต่ในปีต่อมา 2550 กองทัพอากาศอาจจะได้ "ถวาย" ไป เป็นเครืองส่วนพระองค์ จริงๆก็ได้ แต่ผมสงสัยว่าในทางกฎหมาย การ "เปลี่ยน" (ในกรณีนี้คือยกให้เปล่า หรือ "ถวาย") สิ่งทีเป็นทรัพย์สินราชการ (กองทัพอากาศ) ให้เป็นของ "เอกชน" (HRH) จะทำได้ในทางกฎหมายอย่างไร? ผมเคิดว่า จริงๆคงทำได้ (นึกถึงประเด็นที่ราชกาาร "แจก" สิ่งของให้ราษฎร สิ่งของนั้น เดิมก็ต้องซื้อมาในเงินราชการ) แต่ปัญหาคือมีการทำในลักษณะใดในทางกฎหมายจริงๆหรือไม่? และแน่นอนว่า "นัยยะ" ของการ "ถวาย" เช่นนี้ รวมถึงประเด็นว่า หากได้ "ถวาย" ไปแล้วจริงๆ การบำรุงรักษา ณ ปัจจุบัน ใครเป็นผู้บำรุงรักษาและงบประมาณใคร (ส่วนพระองค์? หรือ ในนามงบประมาณกองทัพอากาศ?) สรุปแล้ว ผมไม่ทราบ ข้อเท็จจริง ไม่มีข้อสรุป เพียงแต่เขียนบอกเรื่องข้อมูลไว้เท่านั้น ล่าสุด ผมเห็นที่เว็บไซต์บางแห่งคนไทยในเยอรมัน เขียนทำนองว่า ศาลเยอรมันเห็นว่าเรือ่งนี้ไมใช่เรื่องเร่งด่วน จึงจะไม่เปิดการพิจารณาคำร้องของ รัฐบาลไทย จนกว่าจะปลายสัปดาห์หน้า - เรื่องนี้ ผมไม่สามารถยืนยันได้ เพราะอ่านภาษาเยอรมันไม่ได้ | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น