วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554


วิกิลีคส์:ฑูตอเมริกาชี้ปมต้านรัฐประหาร19กันยา ชืด

แปลโดย ดวงจำปา
ที่มา Internet Freedom

ในการเปิดเผยข้อมูลทางวิกีลีกค์ ซึ่งเป็นเรื่องในซีรี่ย์ของ PPT, ในวันนี้ เราก็จะเน้นความสนใจมากับตัวเคเบิ้ล ลงวันที่ 28 เมษายน 2551 ซึ่ง เอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกา นาย อีริค จอห์น ได้แสดงความคิดเห็นต่อคำถามที่ว่า: ทำไมกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 ถึงเป็นไปอย่างจืดชืดเช่นนี้? 

ข้อสังเกตดังกล่าวในความเห็นของเขา เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก:


“3. วรรค ซี. ผู้นำในกลุ่มกระทำการรัฐประหารนั้น ล้วนได้ประโยชน์จากการที่ทางฝ่าย[เซ็นเซอร์]ได้เผยให้เห็นถึงการรับรองในการกระทำอันนั้น.


[เซ็นเซอร์]เองก็ส่งสัญญาณให้เห็นทางสาธารณะแล้วว่า ได้ยินยอมพร้อมใจ (ถึงแม้ว่า ไม่ถึงกับสนับสนุน) เมื่อได้อนุญาตให้ (พลเอก) สนธิ (บุญยรัตกลิน) และคณะผู้ก่อการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในคืนวันก่อการรัฐประหาร เหมือนกับกลุ่มผู้ก่อการรุ่นก่อนๆ


หัวหน้าคณะรัฐประหารของปี พ.ศ. 2549 ได้แสดงภาพพจน์ของพวกเขาเองว่า ได้ถูกบังคับให้กระทำการเหล่านี้เพื่อปกป้องตัวพระมหากษัตริย์ ต้องการเน้นให้พระองค์ทรงเห็นความจงรักภักดี เมื่อกลุ่มของพวกเขาได้ ตั้งชื่อ คณะก่อการว่า (แปลอย่างคร่าวๆ) ว่า คณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค) และ ได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก[ซ็นเซอร์] ในรูปแบบของการ แต่งตั้งให้ สนธิ เป็นหัวหน้าของ คปค.


เราเชื่อได้ว่า นี่คือสัญญาณที่ฝ่าย[เซ็นเซอร์]ได้สนับสนุน – หรือ, อย่างน้อยที่สุด, ได้ยอมรับการกระทำนั้น –ซึ่งทำให้มีบทบาทอันสำคัญในการ เสริมสร้างให้ประชาชนทั่วไป ยอมรับในเรื่องการกระทำรัฐประหารครั้งนี้, ถึงแม้ว่า ตัวปัจจัยสำคัญอื่นๆ รวมไปถึง ความขุ่นข้องหมองใจที่แผ่กระจายออกไปในเรื่องวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และ ศรัทธาต่อคำสัญญาของบุคคลในคณะรัฐประหารว่า จะให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น อีกประมาณหนึ่งปีข้างหน้า.”

ที่แน่นอนที่สุด ก็คือ ตัวเอกอัครราชฑูตและเจ้าหน้าที่ในสถานฑูตเอง ก็ไม่ใช่ว่า สามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องเสมอไป

ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม, เคเบิ้ลอีกหลายชิ้นที่เราได้เห็นมา ก็บ่งบอกถึง ความสำคัญในส่วนที่ "รั่ว" ออกมานั้นว่า มันอยู่ที่การเปิดโปงในเรื่องของความเชื่อและทัศนคติ (ของตัวบุคคลที่เขียน นั่นก็คือ ตัวเอกอัครราชฑูต และเจ้าหน้าที่ของสถานฑูตเอง - ผู้แปล) ที่ได้กล่าวตามการอ้างอิงข้างบนนั้น, เราจะเห็นว่า ตัวเอกอัครราชฑูต จอห์นเอง – และ น่าจะรวมไปถึงเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ในสถานฑูตด้วย - มีความรู้สึกว่า บทบาทของทางฝ่าย(เซ็นเซอร์)นั้น มีนัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลดบทบาทของการต่อต้านการกระทำรัฐประหาร .

เป็นที่แน่นอนที่สุดว่า, ในปัจจุบันนี้ ฐานะสภาพต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก, และตัวฝ่าย[เซ็นเซอร์]เองก็ได้สูญเสียศรัทธาและความน่าเชื่อถือไปมากจากการที่มีส่วนเข้ามาร่วมในบทบาททางการเมือง

หมายเหตุ:ไทยอีนิวส์ได้เซ็นเซอร์บางคำที่ละเอียดอ่อน
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น