วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554



2 เขื่อนยักษ์ ปริศนาลับ! กำจัดปู! ..
2 เขื่อนยักษ์ ปริศนาลับกำจัดปู! ....
บทพิสูจน์น้ำ “หมื่นล้านคิว” มาจากไหน?ใครวางยา?
2 เขื่อนยักษ์ ปริศนาลับ! กำจัดปู! ..

บทพิสูจน์น้ำ “หมื่นล้านคิว” มาจากไหน? ..
ใครวางยา?
        .. คิดแบบคนทั่วไป หน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำคอยบริหารจัดการเขื่อน  แต่เพราะความกลัวภัยแล้ง จึงทำให้ไม่มีการพร่องน้ำเอาไว้เลย ทั้งๆที่หากเกิดภัยแล้งเชื่อว่าความเสียหายน่าจะมีเพียงในระดับพันล้านหรือหมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเข้าไปช่วยชดเชยให้ความช่วยเหลือ  แต่การเกิดอุทกภัยใหญ่ เพราะเขื่อนจำเป็นต้องปล่อยน้ำ จนเกิดน้ำท่วมใหญ่และเสียหายนับเป็นกว่า 5-6 แสนล้านบาทเช่นนี้ เป็นเรื่องที่จะต้องมีการทบทวน จะต้องถือเป็นบทเรียนสำคัญ เพราะไม่ว่าอย่างไรหน่วยงานเกี่ยวกับเรื่องน้ำ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องน้ำควรจะต้องรู้ดีกว่าประชาชนทั่วไป ไม่ควรปล่อยให้เกิดการวางแผนผิดพลาดได้ขนาดนี้

ลองอ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่ค่ะ :
http://www.bangkok-today.com/node/10905
โดย: Nidpin Pnews

2 เขื่อนยักษ์ ปริศนาลับ! 
กำจัดปู! บทพิสูจน์น้ำ “หมื่นล้านคิว” มาจากไหน? 
ใครวางงาน?
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 9:56 น.

           จนถึงวันนี้กองทัพน้ำจำนวนมหาศาล ที่ไหลบ่ามาล้อมกรุงเทพฯ ได้เริ่มทะลุทะลวงล่วงล้ำเข้ามาตามคลองในกรุงเทพฯและล้นเอ่อทะลักขึ้นตามท่อระบายน้ำแล้วในหลายเขตพื้นที่  ไม่นับกับปริมาณมวลน้ำมหึมาที่ยังคงไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา จนพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งได้รับผลกระทบอ่วมหนักไปตามๆกัน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่แต่ละเขต ว่าเป็นที่ลุ่ม ที่ต่ำ หรือที่สูง และสำคัญที่สุดพนังกั้นน้ำยังดีอยู่หรือไม่ มีใครไปรื้อแนวป้องกันออกหรือไม่ รวมไปถึงการทำหน้าที่ในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ของ 16 สถานีสูบน้ำใหญ่ของ กทม. ว่าทำงานได้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด?
กรุงเทพฯจะวิกฤติหรือไม่ ณ วินาทีนี้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

               แต่ปัจจัยที่ถือเป็นปัญหารุนแรงที่สุดของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็คือ ในภาวะที่ใกล้วิกฤติเช่นขณะนี้ กลไกทุกกลไกของภาครัฐจะต้องประสานรวมกันเป็นหนึ่งถึงจะฝ่าวิกฤตไปได้

           หากยังมีลักษณะต่างคนต่างพาย ยังมีลักษณะที่บางหน่วยงานยังอยากที่จะเป็นพระเอก ยังมีคนที่คิดจะฉวยโอกาสทางการเมืองอยู่ รวมทั้งยังมีพวกเสนอหน้าเข้ามาสร้างความวุ่นวายซ้ำซ้อนไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้แต่กองทัพยังออกมาปากว่า มีหน่วยงานราชการบางแห่งที่ยังคงเล่นเกมเกียร์ว่าง ทั้งๆที่นับวันจะวิกฤตมากขึ้นทุกทีเช่นนี้

               บอกได้เพียงว่า ในฐานะนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจจะต้องมีรายการลงดาบเล่นงานกันอย่างจริงๆจังๆโดยไม่เลือกหน้าไม่เลือกพวกไม่เลือกสีได้แล้ว ถ้าไม่เชือดไก่ให้ลิงที่วิ่งกันยั้วเยี้ยในเวลานี้ดูเสียบ้าง ก็ต้องระวังว่ารัฐบาลเองนั่นแหละที่จะสั่นคลอน เพราะในเวลานี้ ยังคงมีกลุ่มโซเชี่ยล เน็ตเวิร์ก ที่จ้องด่าจ้องโจมตีรัฐบาลในทุกๆเรื่องอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ส่งภาพส่งโพสต์สารพัดข้อกล่าวหาเข้าไปเล่นงานรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์อย่างต่อเนื่อง โดยไม่สนว่ามีประเด็นหรือไม่มีประเด็นก็ตาม ด่าเอาไว้ก่อน ตำหนิเอาไว้ก่อน กล่าวหาเอาไว้ก่อน... ซึ่งจนวันนี้รัฐบาลยังไม่สามารถที่จะแก้เกมหรือรับมือตรงนี้ได้เลย

              ณ วินาทีนี้เป็นการต่อสู้เพื่อโค่นล้มทางการเมืองที่แหลมคม ท่ามกลางกระแสน้ำที่จ่อล้นจะท่วมกรุงเทพฯอยู่ในขณะนี้นั่นเอง  ซึ่งในขณะที่เกมการเมืองกำลังเต็มไปด้วยการโจมตีอย่างหนัก แต่สำหรับประชาชนผู้ที่เดือดร้อน ล้วนแล้วแต่มีคำถาม หรือข้อสงสัยที่ตรงกันหมดกว่าครึ่งค่อนประเทศ ทั้งที่ประสบความสูญเสียจากน้ำท่วม และที่ลุ้นระทึกตลอดช่วงระยะเวลาครึ่งเดือนที่ผ่านมา นั่นคือข้อสงสัยที่ว่า น้ำจำนวนมหึมากว่า 1.1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรนั้น มันมาจากไหนกันแน่??? ทำไมทั้งๆที่กระจายท่วมท้นไปกว่า 30 จังหวัดแล้ว ยังคงมีมวลน้ำอยู่มากมาย ดูราวกับไม่หมดไม่สิ้นเสียที มากมายชนิดที่คนกรุงเทพฯยังไม่มั่นใจเลยแม้แต่น้อยว่า หากปล่อยให้เข้ามาท่วมกรุงเทพฯ เพื่อช่วยพี่น้องประชาชนในต่างจังหวัดและในพื้นที่จังหวัดปริมณฑลโดยรอบกรุงเทพฯแล้ว จะสามารถลดทอนน้ำในที่ต่างๆได้แค่ไหน???

           สุดท้ายจะเป็นการเสียสละพื้นที่เศรษฐกิจที่สูญเปล่าหรือไม่ หากน้ำท่วมกรุงเทพฯแล้วปรากฏว่าน้ำในที่ต่างๆก็ไม่ได้ลดลง

           ดังนั้นปริศนามวลน้ำจำนวนมหาศาลที่ก่อให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่คราวนี้ จึงเป็นสิ่งที่คาใจและข้องใจของคนไทยทุกคน ซึ่งจากการติดตามความจริงในเรื่องนี้ บางกอก ทูเดย์ ไม่ได้ต้องการโทษความผิดให้ใคร แต่ต้องการให้ได้เรียนรู้จากความจริง และใช้เป็นบทเรียนไม่ให้เกิดขึ้นอีก เพราะน้ำจำนวนมหาศาลเป็นหมื่นๆล้านลูกบาศก์เมตรในครั้งนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการบริหารน้ำในเขื่อนสำคัญคือเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ นั่นเอง

           ปกติเขื่อนภูมิพล จะต้องมีระดับความจุเก็บกักน้ำต่ำสุดคือ 3,800 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ความจุเก็บกักน้ำต่ำสุดคือ 2,850 ล้าน บล.ม. ซึ่งก็จะมีปริมาณน้ำที่แม้จะน้อยแต่ก็พอประคองสถานการณ์ภัยแล้งได้บ้าง แต่ในปีนี้การดูแลน้ำในเขื่อนทั้ง 2 เกิดความวิตกในเรื่องภัยแล้งมากจนเกินเหตุ ทำให้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ทั้งๆที่ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีอยู่ที่ความจุ กว่า 6,000 ล้าน ลบ.ม. แล้ว แต่กลับไม่มีการพร่องน้ำเอาไว้เลยแม้แต่น้อย (ดูกราฟที่ 1 และ 2 ประกอบ)

           ทำให้ในช่วงเดือน พฤษภาคม มิถุนายน จนถึงกรกฎาคม น้ำในเขื่อนถูกเก็บกักเอาไว้สูงขึ้นเรื่อย ประกอบกับในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดช่วงสุญญากาศทางการเมือง รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลรักษาการอยู่จนถึงต้นเดือนสิงหาคม ทำให้การดูแลระดับน้ำในเขื่อนอยู่ในการดูแลรับผิดชอบของกรมชลประทาน

          เนื่องจากกว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์จะสามารถทำหน้าที่ได้ ก็เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม เวลาประมาณ 21.30 น. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะรัฐนตรี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จากนั้นในวันที่ 10 ส.ค. นางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี จึงได้นำคณะรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 14 รพ.ศิริราช ซึ่งในวันที่ 13 สิงหาคม ตามกราฟจะเห็นว่า เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีความจุน้ำพุ่งขึ้นไปถึง 8,400 ล้าน ลบ.ม.แล้ว ทำให้เมื่อเจอกับพายุเข้า 3-4 ลูกติดๆกัน น้ำในเขื่อนใหญ่ทั้ง 2 จึงขยับขึ้นมาเต็มเขื่อนอย่างรวดเร็ว

           เมื่อน้ำในเขื่อนสิริกิติ์แตะระดับ 9,500 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนภูมิพลแตะ 13,500 ล้าน ลบ.ม. ในต้นเดือนกันยายน จึงทำให้เขื่อนต้องเร่งระบายน้ำ และกลายเป็นมวลน้ำจำนวนมหึมาที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั่นเอง และกลายเป็นโศกนาฎกรรมใหญ่ในครั้งนี้

          คิดแบบคนทั่วไป หน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำคอยบริหารจัดการเขื่อน แต่เพราะความกลัวภัยแล้ง จึงทำให้ไม่มีการพร่องน้ำเอาไว้เลย ทั้งๆที่หากเกิดภัยแล้งเชื่อว่าความเสียหายน่าจะมีเพียงในระดับพันล้านหรือหมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเข้าไปช่วยชดเชยให้ความช่วยเหลือ แต่การเกิดอุทกภัยใหญ่ เพราะเขื่อนจำเป็นต้องปล่อยน้ำ จนเกิดน้ำท่วมใหญ่และเสียหายนับเป็นกว่า 5-6 แสนล้านบาทเช่นนี้ เป็นเรื่องที่จะต้องมีการทบทวน จะต้องถือเป็นบทเรียนสำคัญ เพราะไม่ว่าอย่างไรหน่วยงานเกี่ยวกับเรื่องน้ำ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องน้ำควรจะต้องรู้ดีกว่าประชาชนทั่วไป ไม่ควรปล่อยให้เกิดการวางแผนผิดพลาดได้ขนาดนี้ เพราะน้ำหลากน้ำท่วมจากสูงลงสู่ต่ำไปสู่อ่าวไทย สำหรับประเทศไทยนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่มีมานาน สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ทำให้พม่าไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ ก็เพราะฤดูน้ำหลากนี่แหละ ส่วนที่ต้องเสียกรุง 2 ครั้ง ก็เพราะการขาดความสามัคคีของคนในชาติ และปีนั้นน้ำแล้งจึงไม่มีน้ำหลากมาช่วยได้ทัน ตรงนี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของพื้นที่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำควรที่จะต้องรู้ประวัติศาสตร์ด้วย

          ความผิดพลาดครั้งนี้จึงเป็นบทเรียนราคาแพงอย่างยิ่ง  หากในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม มีการสั่งการให้กรมชลประทานพร่องน้ำเอาไว้ที่ระดับประมาณ 3,500 – 4,000 ล้าน ลบ.ม. ก็จะทำให้เขื่อนสามารถที่จะรับน้ำได้อีกถึงกว่า 5,000 – 6,000 ล้าน ลบ.ม.ได้อย่างสบายๆ ซึ่งปริมาณน้ำท่วมทุ่ง ก็จะไม่มากมายมหาศาลเท่ากับขณะนี้แน่ เพราะรวม 2 เขื่อนจะรับน้ำได้เป็นหมื่นล้าน ลบ.ม.นั่นเอง

           ขณะเดียวกันหากที่ผ่านมา กรมชลประทานมีการดูแลขุดลอกทรายในแม่น้ำ หรือให้สัมปทานดูดทรายขาย ถ้าปีนึงๆดูดทรายขึ้นไปได้สักล้าน ลบ.ม. นั่นก็คือการเพิ่มศักยภาพของแม่น้ำในการที่จะรองรับน้ำได้เพิ่มเป็นล้าน ลบ.ม.ด้วยเช่นกัน

          กรมชลประทานและบรรดาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องน้ำของรัฐ จากวันนี้ไปจึงควรจะต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดเหมือนในครั้งนี้อีก รวมทั้งในการแก้ไขปัญหาในขณะนี้ คงต้องบอกกันตรงๆว่า รัฐบาล กองทัพ กรมชลประทาน พยายามรับมือกันสุดกำลัง ทาง กทม.และพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องเลิกหวังชิงจังหวะทางการเมือง แต่ต้องหันมาเร่งระบายน้ำอย่างเต็มที่ เพราะคนที่เดือดร้อนคือประชาชน และเศรษฐกิจที่เสียหาคือเศรษฐกิจของกรุงเทพฯและประเทศชาติ

          เนื่องจากประชาชนไม่เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับระบบการจัดการระบายน้ำในคลองของ กทม. เพราะจากข้อมูลของ กทม.เอง โดยสำนักการระบายน้ำของ กทม. ณ วันที่ 31 ตุลาคม ที่เผยแพร่ในเว็บไซด์ dds.bangkok.go.th/canal/ ยกตัวอย่างเฉพาะแค่คลองเปรมประชากร ซึ่งทำให้เขตดอนเมืองวิกฤตนั้น พบข้อมูล (ตามภาพประกอบ) ว่าน้ำในคลองช่วง สน.ดอนเมือง เขตดอนเมืองอยู่ที่ 1.55 เมตร แต่ถัดมาแค่ช่วงวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร ระดับน้ำอยู่ที่ 1.01 เมตร ห่างกันกว่า 50 เซนติเมตร ยิ่งลงมาที่ช่วงสถานีน้ำอุโมงค์คลองเปรมฯ เขตบางซื่อ ระดับน้ำอยู่ที่ 0.04 เมตร ซึ่งมองตามประสาประชาชนทั่วไป ที่เห็นกราฟนี้แล้วไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ยิ่งเมื่อคลิกดูหลายๆคลองใน กทม. ก็ไม่ต่างกัน คือหลายคลองยังแห้งผากอยู่ จึงไม่รู้ว่ามีใครอยากจะเป็นพระเอกหรือไม่ หรือมีใครเล่นอะไรอยู่

             เรื่องนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เมื่อเห็นกราฟแล้ว จะต้องเร่งตรวจสอบและหาคำตอบมาให้กับประชาชนด้วย ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น???เพราะเวลานี้รัฐบาลเองก็พยายามเปลี่ยนคนที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์วิกฤตออกไปแล้ว อย่างโฆษก ศปภ. ก็เอานายธงทอง จันทรางศุ มาทำหน้าที่ให้ข้อมูลกับประชาชน ซึ่งก็สามารถที่จะทำความเข้าใจได้มากขึ้น ในขณะที่โฆษกคนเก่า ซึ่งโดนโจมตีหนัก และลามไปถึงขั้นว่าเป็น “เด็กใคร???” ทำให้ว่ากันว่าขาใหญ่ในพรรคที่ใกล้ชิดกับนายวิม ยังสะดุ้งโหยงไปด้วยตอนนี้ เพราะโดนเมนท์แหลกราญไปหมดแล้ว

          ดังนั้นเวลานี้จึงไม่ใช่เวลาที่อยากเป็นพระเอก ไม่ใช่เวลาที่จะมาเสนอหน้า หรือไม่ใช่เวลาที่อยากจะเป็นรัฐมนตรี เป็นเสนาบดี


เวลานี้คือเวลาวิกฤตที่ต้องช่วยประเทศชาติและประชาชน
หากใครยังขืนงี่ๆเง่าๆไม่เลิก ระวัง... เราเตือนคุณแล้วนะ!!

000000000000000000000000000000000000000000000000000000

จาก Internetfreedom.us


คนคำนวณหรือจะสู้ฟ้าลิขิต
วันอังคาร, พฤศจิกายน 01, 2011

สิ่งที่น่าคิดทั้ง 12 ประเด็นนี้ คือ มีการคำณวนเป็นอย่างดีที่จะสร้างความหายนะให้กับประเทศชาติ แลกกับการรักษาอำนาจของพวกธุรกิจผูกขาด
            แต่คนคำนวณหรือจะเท่าฟ้าลิขิต เมื่อฝนไม่มาตามนัด ปริมาณน้ำก็ไม่มากพอ จำเป็นต้องพังเขื่อน พังพนังกั้นน้ำ พังประตูระบายน้ำกันด้วยกำลัง อย่างนี้คงต้องพังกันลงไปข้างหนึ่ง หลังน้ำท่วมคงได้เวลาถอนรากถอนโคนแล้ว

โดย Pegasus
1 พฤศจิกายน 2554

           มาถึงวันนี้คงไม่มีใครสงสัยแล้วว่าเขื่อนกักน้ำหรือไม่กักน้ำอย่างไร สำนักข่าวต่างประเทศระดับแนวหน้าก็ยังตั้งข้อสงสัยกันทั่วไปหมด แต่คราวนี้ขอเปิดประเด็นใหม่ให้คนรักประชาธิปไตยได้คิดกัน

           ประเด็นแรก ที่สงสัยมานานแล้วว่า รัฐบาลที่แล้วทำไมยุบสภาเร็วนัก เพราะโดยวิสัยแล้วจะต้องแต่งตั้งข้าราชการของตัวและกินหัวคิวงบประมาณต้นปีให้ได้เสียก่อน อันนี้เป็นธรรมเนียมของพรรคการเมือง หรือไม่ก็ไม่อาจคาดเดา

            แต่ก็เห็นได้ชัดว่าถ้ายุบสภาในเดือนธันวาคมอย่างที่ควรจะเป็น รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศประมาณมีนาคม มันก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องมือในการล้มรัฐบาลใหม่ นอกจากมวลชนสลิ่มที่หมอตุลย์ ได้ระดมมาได้ล้นหลามเกือบสามสิบคน

            และหากให้รัฐบาลมีเวลาเกินหกเดือน มีเวลาทำการแก้ไขกฎหมายทหารกับองค์กรอิสระสำเร็จก็จะหมดอาวุธในมือ การประท้วง ด่าว่า ขัดขวาง ก็คงไม่อาจทำได้ง่ายๆ ในเวลานั้นคงสองจิต สองใจว่าจะให้รัฐบาลยุบสภาดีหรือไม่ดี จะชนะอย่างที่ห้อยโหนคุยโวไว้หรือไม่ก็ไม่แน่ใจ

             ปรากฏการณ์ทางการเมืองจึงออกมาอย่างที่เห็นทั้งๆที่เป็นจุดอ่อนให้รัฐบาลใหม่สามารถแต่งตั้งโยกย้ายประจำปีได้ง่ายกว่าเลือกตั้งสิ้นปีก็ตาม อย่างไรก็ตามด้วยความอ่อนหัดของรัฐบาล กำลังทหารในมือเผด็จการก็เลยยังเหนียวแน่น ทำให้ตุลาการภิวัฒน์พลอยมีกำลังตามไปด้วยพร้อมที่จะยุบพรรคได้ทุกเวลา

             ข้าราชการประจำก็เลยยังไม่ย้ายข้างเต็มที่ เห็นผลจากการสู้กับน้ำท่วมที่เสกมานี้ การท้าทายรัฐบาลจึงมีอยู่ตลอดเวลา ดังจะเห็นว่ากลางวันวางกระสอบทราย แต่กลางคืนไม่รู้ใครไปรื้อกระสอบทราย เป็นต้น

              ประเด็นที่สอง คือ เมื่อมีการวางแผนจะใช้น้ำในการทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ถูกคนต่อว่า แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากเป็นนักวางแผนเสกน้ำท่วมครั้งนี้ สิ่งที่คาดสำหรับฝ่ายเผด็จการคือ เงินรัฐบาลหมด ประชานิยมต้องหยุด เพื่อให้สามารถฟ้องยุบพรรคได้ ทหารจะได้หน้าเรียกศรัทธาประชาชนกลับมา ทั้งๆที่เป็นคำสั่งรัฐบาลให้ไปช่วยประชาชน แต่ก็จะใช้สื่อบิดเบือนว่า เป็นความเมตตาของทหาร ส่วนรัฐบาลจัดการไม่ได้เรื่อง ฯลฯ อะไรก็ว่าไป

             มีการะดมสื่อถล่มรัฐบาล สร้างสถานการณ์ต่างๆให้คนตื่นกลัวให้มากที่สุด เพื่อที่ว่ารัฐบาลจะได้หมดความชอบธรรมในการเป็นรัฐบาล (อ้อ มีข่าวลือเสียอีกว่ามีข้อต่อรองให้รัฐบาลลาออกเพื่อแลกกับการไม่ให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ เท็จจริงประการใดไม่ทราบ)

            ดังนั้นโดยสรุปแล้ว จะใช้เครื่องมือเดิมที่เคยได้ผลในสมัยล้มรัฐบาลหลวงธำรงค์ฯ รัฐบาลทักษิณฯ รัฐบาลสมัครฯ รัฐบาลสมชายฯ ตั้งแต่สร้างกระแสข่าวให้คนกรุงเทพฯตระหนก สร้างภาพการเข้ามาช่วยน้ำท่วมแบบสมานฉันท์ เอาผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมาหลอกรัฐบาล แย่งซีนรัฐบาลในทุกเรื่องให้กระจายไปในกลุ่มต่างๆของตนที่ได้วางตัวไว้แล้ว สร้างภาพทหารเป็นพระเอกในทุกสื่อซึ่งนับว่าได้ผล

             ประกอบกับความมือใหม่ของรัฐบาลในเรื่องการแถลงข่าว ความไม่รู้เท่าทันในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ กว่าจะพบว่าถูกหลอกให้น้ำมาพังทำนบหรือพนังกั้นน้ำ ก็สูญเสียนิคมอุตสาหกรรมไปเกือบหมดแล้ว แล้วหลังจากนี้ล่ะ ผู้วางแผนก็น่าจะคาดว่า คนกรุงเทพฯบางส่วนจะโกรธแค้นรัฐบาล และจะออกมาร่วมชุมนุมขับไล่ถ้าสามารถสร้างม็อบแบบเหลืองขึ้นมาอีก โดยคราวนี้ใช้ประเด็นความเสียหายจากน้ำท่วมเป็นเครื่องล่อ หลังจากนั้นก็ใช้ม็อบสร้างความรุนแรงที่รัฐบาลคุมไม่ได้ ต้องให้ทหารออกมายึดอำนาจ หรือทำให้บริหารงานไม่ได้เป็นเป็ดง่อย จนใช้ตุลาการภิวัฒน์จัดการไปเหมือนสองรัฐบาลก่อนแล้วประชาชนจะสนับสนุนเพราะเห็นว่าอยู่ไปก็ทำอะไรไม่ได้

           ประเด็นที่สาม คือเรื่องประกาศิตล้มรัฐบาลที่ออกมาตั้งแต่รัฐบาลเพิ่งจะบริหารงาน และข่าวน้ำท่วมยังไม่มี

           ทำไมจึงแน่ใจอย่างนั้น ถ้านำเรื่องเวลามาประกอบกับเหตุการณ์น้ำท่วม ก็จะเห็นได้ชัดว่า การกำหนดกรอบเวลาในการล้มรัฐบาลมาจากการวางแผนสังหารประชาชนและล้มรัฐบาลด้วยน้ำท่วมนี้นี่เอง ประกาศิตล้มรัฐบาลนี้เป็นข่าวลือที่พูดกันไปทั่วแบบภาษาฝรั่งว่า talk of the town จึงน่าจะมีที่มาเช่นนี้ แต่จะเป็นผู้ใดปล่อยข่าวลือหรือต้องการบอกออกมาเอง เพื่อเป็นการเริ่มนับถอยหลัง และให้สมุนออกมาทำงานตามขั้นตอนต่างๆก็ไม่อาจทราบได้

            ประเด็นที่สี่ ลองมาย้อนรอยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาดู เพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายเผด็จการซ่อนรูปได้ชัดเจนขึ้น และแน่นอนสิ่งนี้รัฐบาลและนปช.รวมถึงอดีตนายกฯทักษิณฯ ย่อมอ่อนหัดเกินกว่าจะมองออก คงจำกันได้ถึงวันยุบสภาฯคือวันที่ 10 พ.ค. ก่อนวันระลึกการสังหารหมู่ประชาชน 9 วัน เพื่อปิดปากฝ่ายประชาธิปไตยไม่ให้ลากไส้ออกมามากกว่านี้ กำหนดเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. ยื้อการรับรอง ส.ส. ไปจนวันสุดท้ายของอำนาจ กกต. จนกว่าจะตั้งคณะรัฐมนตรีได้ก็ทุลักทุเลและมีการห้ามฝ่ายเสื้อแดงเข้าไปเป็นรัฐมนตรี แถมวางคนของตัวไว้อีก จากนั้นใช้เวลาอีกนานมากกว่าจะสามารถบริหารงานได้ก็ในเย็นวันที่ 7 ส.ค. สรุปแล้วฝ่ายเผด็จการซ่อนรูปมีเวลาเตรียมการทั้งหมด 3 เดือน รัฐบาลใหม่มีเวลาตั้งตัวเดือนเดียว กันยายนน้ำก็ท่วมใหญ่แล้ว

              ประเด็นที่ห้า ลองมาทบทวนจังหวะการกักน้ำ ปล่อยน้ำของเขื่อนใหญ่ทั้งสองอีกครั้ง ในต้นเดือน พ.ค. ได้มีการแถลงข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตว่า ปีนี้น้ำล้นเขื่อนต้องระบายน้ำออกมาแล้วเนื่องจากใกล้จะเต็ม แต่พอมีการยุบสภาการระบายน้ำกลับหยุดลง โดยอ้างสาเหตุว่า ไม่ต้องการระบายน้ำให้พื้นที่ใต้เขื่อนท่วม อันนี้ต้องทำความเข้าใจกันในฐานะคนไทยว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในเดือน พ.ค. แต่เป็นช่วงต้นฤดู คือจะมีฝนฟ้าคะนอง ด้วยการปะทะกันระหว่างอากาศร้อนมาขับไล่อากาศหนาว แล้วหน้าฝนจริงๆ จะมีในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม คือช่วงเข้าพรรษา ก่อนจะถึงฤดูน้ำหลากคือน้ำเต็มตลิ่งจากช่วงวันลอยกระทง พ.ย.นี้ ดังเพลงของรุ่งเพชร แหลมสิงห์ที่ว่า “ ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ต๊กพรำๆ” ดังนั้นถ้าเขื่อนจะระบายน้ำ ก็ต้องรู้ว่าเข้าเดือน พ.ค.คือเดือนหกฝนจะมาและจะมาเรื่อยๆ อาจมีทิ้งช่วงบ้าง แต่ก็คือหน้าฝน ปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้นถ้าน้ำจะเต็มเขื่อนก็ต้องระบายออกในต้นเดือนหกนี่แหละก่อนที่ฝนจะมาแล้วจะระบายไม่ได้ แล้วจะรอไปเมื่อไหร่กันจริงหรือไม่จริง ท่านผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ท่านผู้คุมเขื่อนทั้งสองแห่ง หรือว่ามีการสั่งให้เก็บน้ำ จะเป็นใครสั่งไม่ทราบ แต่ท่านสมควรเข้าคุก และชดใช้ฐานละเมิดด้วย ป.อาญา ม. 291 ผู้ใดกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และ ป.แพ่งฯ ม 420 ในการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน.ต้องชดใช้สินไหมให้กับผู้ประสบภัยทุกรายไป หรือท่านจะเถียงว่าไม่ใช่ แท้จริงแล้วเป็นการเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนใช่หรือไม่


             ประเด็นที่หก ทำไมต้องเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค.และตั้งรัฐบาลได้ก็ต้องไปเกือบกลางๆ ส.ค. ถ้าดูวันเข้าและออกพรรษาจะพบว่านี่คือหน้าฝน หน้าฝนจริงๆ จะเป็นฝนตกพรำๆทั้งวันติดต่อกันปกติก็สองหรือสามวันขึ้นอยู่กับว่า มีพายุหรือไม่ ถ้าปีใดน้ำอุดมสมบูรณ์พายุก็จะเข้าทางเวียดนามมาภาคอีสานของไทย สองหรือสามลูกต่อปี ซึ่งจะถือว่าโชคดีน้ำอุดมสมบูรณ์ โดยพายุส่วนใหญ่จะเข้าไทยในช่วงฤดูฝนนี้และจะหยุดลงในเดือนพฤศจิกายนสำหรับภาคกลาง จากนั้นจะเป็นภาคใต้ซึ่งไม่ใช่เป้าหมาย แล้วปีนี้พายุเข้าไทยกี่ลูกกัน ลูกแรกคือ ไหหม่าเข้ามากลางมิ.ย. นกเตน ปลาย ก.ค. ไห่ถางและเนสาด ปลาย ก.ย. นาลแกต้นตุลาคม และสุดท้ายคือบันยันแต่ก็วิ่งแฉลบขึ้นไปทางจีนไม่มีผลอะไร

           สรุปแล้วพายุเข้าไทยจริงๆ 5 ลูก แต่ที่ต้องคิดคือพายุเข้าไทยจะผ่านเวียดนามก่อน แล้วจะลดกำลังลงเหลือแค่ดีเพรสชั่น หรือหย่อมความกดอากาศสูงเท่านั้น ไม่นับว่าเป็นพายุ นี่คือข้อดีของที่ตั้งประเทศไทย นอกจากจะผ่านอ่าวไทยข้ามไปอ่าวเบงกอลของพม่าในช่วงปลายปีนี้ ทำให้มีโอกาสอยู่ในทะเลนานๆจนกลายเป็นพายุกำลังแรงได้ ตรงนี้ต้องระวังเพราะเป็นของจริง แต่ถ้าจะสรุปตอนนี้ก็จะพบว่า พายุนั้นเข้ามาในช่วงเข้าพรรษาพอดีตามฤดูกาล เพียงแต่ปีนี้น้ำมากทางตอนเหนือก่อนมีพายุนี้ โดยมีร่องความกดอากาศต่ำกับสูงปะทะกันทีภาคเหนือบ่อยมาก ทำให้อากาศเย็นผิดเวลาในตอนต้นปีในเดือนมีนาคม ที่ทำให้ภาคใต้มีฝนหนักน้ำท่วม ทางเหนือก็จะมีน้ำสะสมแล้ว ทำให้น้ำเต็มเขื่อนใหญ่ทั้งสองก่อน พ.ค.นั่นเอง ทีนี้ก็คงพอนึกออกแล้วว่าทำไมต้องเลือกตั้ง ก.ค. ตั้งรัฐบาลให้ยืดไปถึง ส.ค. ประการแรก เพราะเป็นช่วงต้นหน้าฝนต้องให้เข้ามารับผิดชอบก่อน จากนั้นประการที่สองก็ยึดเวลาการจัดตั้งรัฐบาลให้ยาวออกไป จะได้ทำอะไรไม่ได้เข้าทำนองขึงพืดไว้ การกำหนดแผนการก็คงเป็นแบบคร่าวๆ จะให้ไปสั่งฝนหรือพายุมาตามใจคงไม่ได้ ได้แต่ดูที่ฤดูกาลที่เหมาะเท่านั้น

              ประเด็นที่เจ็ด แล้วฝนฟ้าของเราปีนี้มันผิดปกติมากหรืออย่างไร
คำตอบก็ต้องไปเทียบกับปีที่มีฝนมากน้ำท่วมคือปีรัฐประหาร 2549 ปีนั้นคงจำกันได้รัฐบาลขิงแก่มาดูน้ำท่วมทำอะไรไม่เป็น ชาวบ้านจมน้ำอยู่หลายเดือน แต่ก็ไม่สาหัสเท่าปีนี้ ดังนั้นลองดูทีรึว่า น้ำท่าปีนี้กับปี 49 มันเป็นยังไงกันทำไมถึงพินาศวอดวายกันหมด จากข้อมูลของกรมอุตุฯเริ่มกันที่ภาคเหนือต้นตอน้ำเขื่อนก่อน แน่ละมีนาคมที่น้ำท่วมใต้เหนือหนาวจัด ฝนก็ตกมากเป็นพิเศษด้วย แต่เดือน เม.ย.และพ.ค. ปริมาณฝนเท่ากับปี 49 หรือน้อยกว่าเล็กน้อย ตรงนี้คือช่วงที่เขื่อนออกปากว่า อยากระบายน้ำ นี่คือก่อนเลือกตั้ง แต่ในช่วงเลือกตั้งจนถึงได้รัฐบาลคนละพรรคกับรัฐบาลเดิมฝนในเดือน มิ.ย. และ ก.ค.มีมากผิดปกติแล้วและมีสถิติสูงมาก ในตอนนั้นเขื่อนยังไม่ระบายน้ำกลับสะสมน้ำอย่างเต็มที่ ส.ค.ปริมาณฝนภาคเหนือลดลงอย่างรวดเร็ว ก.ย.ปริมาณฝนภาคเหนือน้อยมาก ฝนเลื่อนลงมาภาคกลางแล้ว

           หันมาดูภาคกลาง มี.ค.-พ.ค.ปริมาณฝนก็สูงตามภาคเหนือ แต่ยังไม่มีพายุเข้า เป็นเพียงร่องความกดอากาศปกติ แต่หลังจากนั้น มิ.ย.- ปัจจุบัน มากกว่าปี 49 ก็จริง แต่กลับน้อยกว่าหรือเท่ากับปีก่อนคือปี 53 ด้วยซ้ำไป

จากข้อมูลนี้บอกอะไรเราได้บ้าง

              ประการแรก คือน้ำฝนมีมาก แต่มีที่ภาคเหนือและภาคกลางก่อนน้ำท่วมใหญ่ จริงอยู่อาจจะทำให้ดินมีความชุ่มน้ำก่อนเวลา แต่พายุ 4-5 ลูกที่กล่าวมาแล้วก็ไม่ได้มีผลอะไรมากเมื่อเทียบกับการมีพายุในปีผ่านๆมาโดยเฉพาะปี 53 เราคงพอจำกันได้ว่าช่วงเสื้อแดงจะชุมนุมปลายเดือนตุลาคม 53 มีข่าวพายุเข้าน้ำท่วมเมืองโคราช แต่พายุที่จะเข้าซ้ำเจ้ากรรมเกิดวิ่งขึ้นไปจีน ชาวบ้านเลยเห็นน้ำที่ท่วมมาจากเขื่อนป่าสักฯ เป็นน้ำใสๆ ไม่ใช่น้ำป่าจากฝนไปซะงั้น

           ดังนั้นในปีนี้จะโทษพายุด้วยข่าวพายุ ดูจะไม่ใช่เสียแล้ว ด้วยว่าทุกอย่างก็ปกติมันต้องมีพายุอย่างนี้ทุกปีอยู่แล้ว เพียงแต่ปีนี้มาเพิ่มอีกสองลูกและเป็นปลายฤดูแล้ว แม้จะทำให้ภาคกลางมีฝนมากแต่ถ้าไม่มีน้ำเขื่อนมาผสมมากนักปัญหาก็คงไม่หนักเช่นนี้

           ประเด็นที่แปด ลองข้ามเรื่องฝนไปดูเรื่องคนกันบ้าง

           เอาล่ะเราอาจข้ามเรื่องทำไมน้ำไม่ท่วมสุพรรณฯไปก่อน รวมถึงว่าทำไมบางพรรคเจาะจงต้องคุมกระทรวงนี้เป็นการเฉพาะ และต่อเนื่องด้วยน่าสงสัยไม่น้อยเรื่องคนเรื่องแรกคือการที่ประตูระบายน้ำพังต่อเนื่องกัน พนังกั้นน้ำพังต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะก่อนเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะและนวนคร ทำไมไม่ทำคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเร่งด่วน และให้มีความสูงมากๆไปเลย จะมาหวังพึ่งอะไรกับกระสอบทราย น่าคิดหรือไม่ในประเด็นนี้ พอน้ำมาถึงกรุงเทพฯ ทำไมไม่ให้มีการรีบทยอยระบายน้ำลงคลองชายทะเล ออกคลองแสนแสบ คลองประเวศน์ฯ คลองสำโรง โดยให้น้ำผ่านเจ้าพระยาแบบจัดการบริหารได้ ทำไมต้องห้ามเด็ดขาดจาก กทม.จนรัฐบาลต้องใช้อำนาจจาก พรบ.ป้องกันภัยฯ เข้ามาควบคุม กทม. ณ เวลาที่เกือบสายไปแล้ว นอกจากนั้นพนังกั้นน้ำต่างๆ ก็จะมีการแอบมาพัง หรือน้ำมาไม่มากก็พังพนังกั้นน้ำของคลองประปา เพื่อให้น้ำดื่มใช้ไม่ได้จะได้เดือดร้อนกันถ้วนหน้า ทำไมต้องมีเจ้าหน้าที่รัฐ ไปพังพนังกั้นน้ำและประตูระบายน้ำในที่ต่างๆ จนต้องมีการย้ายด่วนกันวุ่นวายไปหมดทำไมน้ำที่ควรจะระบายไปด้านตะวันออกตั้งแต่ต้นๆเดือน ตุลาคมถึงไปได้ช้านัก รออะไรอยู่หรือ หรือว่ารอให้น้ำผ่าน กทม.ไม่ได้ ไปทางตะวันออกก็ไม่ได้ มาอัดกันที่รังสิตคลอง 1-6 เพื่อที่พนังกั้นน้ำจะได้พัง น้ำจะได้เข้ามาท่วมด้านดอนเมือง หลักสี่ ซึ่งเป็นที่มั่นของรัฐบาลจนสำเร็จ เป็นสัญลักษณ์ว่ารัฐบาลไม่มีน้ำยาแก้ปัญหาอะไรไม่ได้

            ประเด็นที่เก้า ขอเจาะปัญหาเฉพาะกรมชลประทานก่อน
ทำไมจึงมีเครื่องสูบน้ำน้อยเหลือเกินในการสูบไปด้านตะวันออก เพื่อไปออกที่ประตูระบายน้ำคลอง 13 ซึ่งเป็นจุดสูบน้ำไปลงแม่น้ำบางปะกง คลองรพีพัฒน์ฝั่งใต้ และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ทำไมจุดแยกระหว่างคลอง 13 กับคลองหกวา ซึ่งเป็นคลองเชื่อมกับดอนเมืองจึงไม่มีการสูบน้ำ เพิ่งจะมาทำกันในตอนหลังนี่เอง พอไม่สูบน้ำรอให้น้ำระบายเอง เมื่อไหร่จะหมด น้ำก็อัดมาเต็มคลองต้นทาง ในที่สุดพนังกั้นน้ำที่มีคนไปกรีดกระสอบทราย ไปแอบขโมยทรายฯลฯ จนพังสมใจในที่สุด ยังไม่รวมการไม่พยายามสูบน้ำที่ชุมชนคลองเตย ที่ปลายคลองประเวศน์ฯ ฯลฯ ต่างๆเหล่านี้สุดที่จะพรรณนา ประการสำคัญคือ เจ้าหน้าที่กรมชลประทานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ จะไม่รู้หรอกหรือว่าปริมาณน้ำขนาดนี้ กระสอบทรายจะเอาอยู่หรือไม่ และหากพังไปที่หนึ่งแล้ วที่อื่นเปลี่ยนวิธีได้หรือไม่ เช่นเอาปูนที่เขาใช้กั้นถนนมาวางสองชั้นเอาทรายลงตรงกลาง ถ้าอยากให้สูงก็ขยายฐานปูนกับทรายนั้น หรือนิคมที่อยู่ไกลออกมา ให้ทำคอนกรีตเสริมเหล็กเสียเลย ทำได้สูงกี่เมตรก็ได้อยู่แล้ว

            สำคัญคือกรมชลประทานทำไมไม่ให้ข้อมูลเรื่องนี้ จะบอกว่าไม่รู้ไม่ได้เพราะปริมาณน้ำจากเขื่อน บวกกับน้ำท่าที่กระจายนั้นดูจากภาพถ่ายดาวเทียมก็คำนวณได้ว่า ควรจะมีปริมาณกี่ลูกบาศก์เมตร และควรสร้างพนังกั้นน้ำสูงเท่าไร ถ้าที่โรจนะสูงสี่เมตรไม่อยู่ ที่นวนคร ก็ควรสูงอย่างน้อยหกถึงแปดเมตรไปเลย จะทำได้หรือไม่ แล้วทำไมไม่ทำ เป็นต้น นี่คือเรื่องต้องทบทวนกันอย่างหนัก สร้างตึกเป็นสิบๆชั้นทำได้ กลับสร้างกำแพงสูงแค่สี่เมตรประหลาดดีหรือไม่

            อีกเหตุการณ์หนึ่งเป็นข่าวเล็กๆภาคดึก คือองค์กรท้องถิ่นที่จังหวัดตากจะเข้าชื่อกันขับไล่ อธิบดีกรมชลประทาน ด้วยว่าได้เคยทำหนังสือไปยังกรมชลประทานแล้วว่า ปีนี้น้ำเหนือหลากมาขอให้เขื่อนระบายน้ำหรือพร่องน้ำไว้ล่วงหน้า เพื่อรอรับน้ำเหนือ แต่อธิบดีกรมชลประทานตอบกลับมาว่าปีนี้จะขาดน้ำ มีภัยแล้ง จึงไม่อนุญาตให้ระบายน้ำจากเขื่อน เหตุการณ์นี้ต้องเกิดหลัง พ.ค.เพราะน้ำเหนือเพิ่งมากต้นเดือน พ.ค. และกำลังเดินทางลงมาจังหวัดตาก ทำให้สงสัยในแนวคิดของกรมชลประทานอย่างมากเพราะเดือน มี.ค.กีมีฝนมาก กรมอุตุฯก็บอกว่าปีนี้น้ำจะมาก เพราะปรากฏการณ์โลกร้อนใครๆก็รู้ยกเว้น กรมชลประทาน น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่ง และที่น่าคิดคือ กว่าน้ำจะมาถึงเขื่อนก็สามารถจะคำนวณได้ว่าน้ำจะมาเท่าไร ถ้าเรื่องอย่างนี้คำนวณไม่ได้ อย่ารับพวกวิศวกรรมชลประทานมาทำงานเลย เปลืองข้าวสุกเปล่าๆ

              ประเด็นที่สิบ ขอเจาะปัญหาที่ กทม.

             เรารู้หรอกว่าคนละพรรคกับรัฐบาล แต่ทำไมไม่ยอมช่วยระบายน้ำตั้งแต่ต้น ทำตัวเป็นเขื่อนกักน้ำอยู่ตลอดเวลา โชคดีที่รัฐบาลไหวทัน แม้จะช้าไปมากเพราะเชื่อใจเจ้าหน้าที่ และคนทำงานว่ าจะไม่ใจดำและโหดร้ายกับประชาชนทุกอย่างเป็นความเลินเล่อเท่านั้น แต่เมื่อสถานการณ์มากขึ้นทุกทีก็พอจับทางได้ จึงพอกล้อมแกล้มไปได้ สิ่งที่น่าคิดคือ กทม.แถลงว่า เหตุที่ไม่ระบายน้ำเนื่องจากต้องระวังพายุจะเข้า เดี๋ยวคลองต่างๆจะรับน้ำไม่ไหว อันนี้เป็นบทที่มีคนเขียนให้หรือเปล่า คนวางแผนน่ะ เพราะปีนี้ประหลาดหนาวมาเร็ว ปกติต้องกลางพ.ย.ไปแล้วจึงหนาว และช่วงนี้ควรมีฝนตกภาคกลางตอนล่างคือ กทม.นั่นเอง หยิบบทที่เขาเขียนมาให้อ่านโดยไม่มีความรู้ทางวิชาการเลยนี่ก็เกินไป ใครๆก็รู้ว่าหน้าหนาวมา พายุจะไปทางภาคใต้ ใกล้ไกลว่ากันอีกที

              ประเด็นที่สิบเอ็ด พระสยามเทวาธิราชมีจริง อันนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เพียงแต่ไม่ได้เข้าข้างเผด็จการ แต่มาเข้าข้างประชาชน ตาดำๆ ใครเป็นคนไม่ดี คิดร้ายต่อบ้านเมือง สงสัยต้องมีอันพินาศไป เพราะประเด็นนี้ก็เหมือนกับน้ำท่วมปี 53 ที่ผิดแผนเพราะเห็นพายุจะเข้าภาคอีสาน ก็ปล่อยน้ำจากเขื่อนมา แต่เจ้ากรรมพายุนั้นโดนอภินิหารพัดไปเข้าทางจีน จากนั้นก็เข้าหน้าหนาว คราวนี้ก็ไม่ต่างกัน แต่เพราะน้ำมามาก อภินิหารจึงบันดาลให้หมดหน้าฝนเร็วไปเกือบ 1 เดือนเต็ม เรียกว่าพอหมดพรรษา หน้าฝนในภาคกลางก็หมดทันทีเหมือนกัน ทีนี้ก็เกิดปัญหาสิ เพราะน้ำไม่มากเท่าที่ควร ปกติจะเกิดปัญหาหนักนั้น ต้องมีฝน มีน้ำเหนือ มีน้ำทะเลหนุน แต่จากการคำนวณรู้ว่า น้ำทะเลหนุนจะเป็นช่วงปลายตุลาคม ส่วนช่วงกลางถึงปลาย พ.ย.นั้นไม่มีความหมายแล้ว ดังนั้น ต้องคำนวณน้ำและดึงน้ำปริมาณมหาศาลให้ผ่านเข้ามาเขต กทม.ในปลายเดือน ต.ค.อย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ แต่เจ้ากรรมหรือเคราะห์ดีหรือพระสยามเทวาธิราชปกป้องคนดี ด้วยว่าเห็นมีประชาชนเสียชีวิตไปแล้วจำนวนมาก หมดเนื้อหมดตัวก็ทั้งประเทศ จึงบันดาลให้ฝนหยุดเสียก่อนสิ้นเดือนตุลาคม เมื่อคำนวณแล้วตั้งแต่ เม.ย. หรือ พ.ค.ว่า น้ำเหนือกับน้ำทะเลหนุนจะมาบรรจบกันกลางเดือนถึงปลายเดือนตุลาคม การปล่อยน้ำ การทำฝนเทียมตั้งแต่ต้นปีสะสมน้ำ ทุกอย่างเป็นไปตามแผน ยกเว้นฝนจากฟ้า

             ประเด็นที่สิบสอง ลองทบทวนความจำนิดหนึ่งจะเห็นว่า มีการพยายามดึงคำทำนายของพวกโหร คมช. หรือไปอาศัยอ้างอิงจากเกจิอาจารย์ทั้งหลาย จะรู้ตัวหรือไม่รู้ก็ตามว่า สุภาพสตรีปกครองจะเกิดภัยและภัยนั้นมาจากน้ำเสียด้วย ลองไปหาวารสารรายสัปดาห์ของพวกเหลืองอ่านดูก็จะเห็นการตีข่าว และเผยแพร่ผ่านสื่อหลักของฝ่ายอำมาตย์มาล่วงหน้า เป็นการปูพื้นมาก่อนเกิดเหตุซึ่งเป็นแนวทางปกติของการสร้างบทละครแบบนี้อยู่แล้ว เรื่องนี้เกิดมาเมื่อรัฐบาลตั้งใหม่ๆ ช่วงเดือน ก.ค. ส.ค. ที่เขื่อนอัดน้ำเต็มที่พร้อมปล่อยแต่ปล่อยก่อนไม่ได้ ต้องคำนวณเวลาน้ำทะเลหนุนเต็มที่ก่อนลอยกระทงและน้ำฝนเต็มที่เดือน ต.ค.นี้นั้นเอง ท่านผู้อ่านมีดวงตาเห็นธรรมหรือยัง

              ดังนั้น เราอาจสรุปจากสิ่งที่น่าคิดทั้ง 12 ประเด็นนี้ได้ว่า มีการคำนวณเป็นอย่างดีที่จะสร้างความหายนะให้กับประเทศชาติแลกกับการรักษาอำนาจของพวกธุรกิจผูกขาด แถมได้สองเด้งด้วยกล่าวคือ ถนนพัง บ้านพัง กิจการก่อสร้างก็ต้องร่ำรวย ใครเป็นเจ้าของบริษัทก่อสร้าง บริษัทวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูน หิน ทราย ย่อมร่ำรวยบนความทุกข์ยากของประชาชนทั้งสิ้น ก็คงไม่พ้นพวกธุรกิจกลุ่มเหลืองนั่นเองที่จะนอนกินสบายไป ทีนี้พอประชาชนเดือดร้อน ก็จะหงุดหงิด ขั้นต่อไปก็จะหาทางระดมคนมาขับไล่รัฐบาลเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการ ใช้ตุลาการภิวัฒน์เด็ดหัวรัฐบาลจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ฯลฯ คนที่มาโดยพื้นก็เป็นทหารปลอมตัวมาร่วมกับสมาชิกบางพรรคการเมืองอย่างที่ทราบ เขาหวังเพียงสลิ่มในกรุงจะชักชวนคนมาร่วมได้มากขึ้นเท่านั้น

              แต่อย่างที่เล่าให้ฟังไป คนคำนวณหรือจะเท่าฟ้าลิขิต เมื่อฝนไม่มาตามนัด ปริมาณน้ำก็ไม่มากพอ จำเป็นต้องพังเขื่อน พังพนังกั้นน้ำ พังประตูระบายน้ำกันด้วยกำลัง เห็นมีข่าวลือว่าทหารปลอมเป็นชาวบ้านมาพังโดยพกอาวุธมาด้วยเท็จจริงเป็นประการใดไม่ทราบ แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง สำหรับคนกรุงเทพฯ ถ้าสังเกตดีๆ เราจะพบว่า ยกเว้นกรณีไปรื้อพนังกั้นน้ำที่ด้านเทศบาลหลักหก และคลองรังสิต จนน้ำทะลักเข้ามา กับริมคลอง ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะท่วมกันตามปกติแม้ว่าจะสูงกว่าเดิมบ้างแล้ว ไม่มีการท่วมหนักที่ไหน สาเหตุมาจากแค่สองแหล่งนี้เท่านั้น ถ้าหากรัฐบาลสามารถหาเครื่องสูบน้ำมาดึงน้ำออกไปจากดอนเมืองได้ คลองลาดพร้าว หลักสี่ ก็จะไม่ท่วม เหลือแต่การซ่อมที่ประตูระบายน้ำหลักหก น้ำก็จะเลิกท่วมทางติวานนท์ ทุกอย่างก็จะเป็นปกติ ส่วนประชาชนส่วนใหญ่ในเขตชั้นใน หรือ รอบๆ ที่ไม่ใช่เขตน้ำท่วมปกติอย่างบางใหญ่ บางบัวทอง สายไหม ก็จะไม่ได้รับความเดือดร้อนมากนัก คงเป็นไปตามน้ำทะเลหนุนเป็นครั้งคราว และพอพ้นต้นเดือน พ.ย.ไปทุกอย่างก็จะเรียบร้อย น้ำเหนือก็จะผ่านไปหมดพอดี

สรุปแล้วก็คือเสกน้ำมาน้อยไป ถือว่าคำนวณผิดพลาดสำหรับน้ำเหนือ

            ยังมีเรื่องประหลาดอีกคือ ข่าวลือว่า กองทัพสหรัฐฯที่มาช่วยน้ำท่วมนั้นถอนกำลังออกไปแล้ว ในทำนองว่าทิ้งรัฐบาลนี้แล้ว แต่ผลปรากฏว่าสหรัฐฯปฏิเสธ แถมรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งปกติจะต้องแถลงเกี่ยวกับเรื่อง รบรา เท่านั้นออกมาบอกว่า รัฐบาลแก้ปัญหาน้ำท่วมได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ แทนที่จะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ น่าแปลกใจหรือไม่ในประเด็นนี้ พูดชมรัฐบาลหรือพูดให้ใครฟังกันแน่ว่า อย่าแหยม ข้ารู้ว่าพวกเอ็งทำอะไรกันอยู่

          ยังมีอีก จีนซึ่งส่งทั้งเงิน ทั้งผู้เชี่ยวชาญ และให้ซื้อเครื่องสูบน้ำราคาถูกจำนวนมาก เมื่อจะเข้ามาศึกษาและวางระบบการชลประทานให้ไทย ก็ปรากฏว่า มีทหารไทยชุดหนึ่งของกองกำลังผาเมืองทางภาคเหนือไปสังหารผู้โดยสารชาวจีนทั้งลำเรือปรากฏเป็นข่าว ลำพังชุดทหารคงไม่น่าสงสัย แต่หัวหน้าทีมกลับเป็นหน่วยข่าวลับของทหาร แสดงว่าเรื่องนี้ไม่ธรรมดา ไม่ใช่กองกำลังปกติที่ลาดตระเวนแล้วไปเจอ แสดงว่างานนี้มีใบสั่ง จะให้ไทยกับจีนมองหน้ากันไม่ติด แต่จีนก็เจ้ากรรมอีกดันบอกว่าไทยให้ความร่วมมือจับคนร้ายดี และจะส่งตำรวจจีนมาร่วมคลี่คลายคดีด้วย ฯลฯ

           สำนักข่าวต่างประเทศทั้งสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศสหรือออสเตรเลีย ต่างก็เจ้ากรรมดันสงสัยว่า น้ำท่วมประเทศไทยครั้งนี้เป็นแผนการยึดอำนาจรัฐบาล ถึงกับบางแห่งลงว่า เป็นการยึดอำนาจด้วยอุทกภัยไปเสียอีก ช่างกระไรเลยพวกฝรั่งนี่ ทำไมไม่รู้จักคนไทยอย่างที่เราเป็นนะ (คำโอดครวญของเหล่าสลิ่มกินหญ้า)

            “ทั้งโรคซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น มิเล็งเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา” จริงๆ สำหรับเหล่าเผด็จการซ่อนรูป เล่นการเมืองทั้งบนดินและใต้ดิน ลงมือหฤโหด ใจดำ อำมหิตกับประชาชนจนเหลือที่จะทนทาน ก็อย่างที่นักวิชาการบางท่านเช่น อ.สมศักดิ์ฯคนดัง (ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม) กล่าวไว้ในทำนองว่าคงต้องพังกันลงไปข้างหนึ่ง หรือที่ผู้เขียนคิดว่าหลังน้ำท่วมคงได้เวลาถอนรากถอนโคนแล้ว คำถามคือจะทำอย่างไร ง่ายๆ เอาศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาก่อนเพื่อนเลย โดยรัฐบาลแค่แถลงยอมรับด้วยมติคณะรัฐมนตรีก็เป็นการให้สัตยาบันแล้ว อย่าหลงประเด็นเอาไปเข้าสภาฯเป็นอันขาด จากนั้น แก้กฎหมายทหารสามวาระรวด เพราะเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น จากนั้นแก้กฎหมายลูกเกี่ยวกับองค์กรอิสระทำให้คณะกรรมการปัจจุบันต้องลาออกจากตำแหน่งทั้งหมด ส่วนการแก้นอกจากแก้ไขในสาระสำคั ญแล้วก็เพิ่มเติมคำสั้นๆ ในเรื่องที่มาว่าการสรรหาให้วุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้สรรหาก็จบกระบวนความ วุฒิลากตั้งก็หมดความหมาย ซึ่งแน่ละทำสามอย่างนี้จะทำให้เผด็จการซ่อนรูปหมดอำนาจลง แต่จะทำอย่างไรได้ เพราะมีศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาแล้ว และกำลังสอบสวนทหารอยู่ ทหารที่เกี่ยวข้องยังเอาตัวไม่รอดจะมายึดอำนาจให้คงยาก เผลอๆทหารที่เหลือจะมาเข้ากับรัฐบาลทำการสถาปนาประชาธิปไตยเพื่อความอยู่รอดเสียด้วยซ้ำ และคงมีคำพูดแก้ตัวแต่เพียงว่า “มันจบแล้วครับนาย” การกระทำเป็นของคนผลเป็นของฟ้า คนคำนวณหรือจะเท่าฟ้าลิขิตก็เป็นดังนี้แล

........................................................
จาก ไทอีนิวส์
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น