การจัดการท่าทีระหว่างรัฐและประชาชน
โดย ผศ. เสถียร ชาวไทย
“มนุษย์” เป็น สัตว์สังคม ตามที่ นิยาม และ เข้าใจ กัน ซึ่งที่จริง “สัตว์” ประเภทอื่นก็เป็น สัตว์สังคม เหมือนกัน ถ้ามองในแง่ของสัตว์ประเภทนั้น ๆ และคำว่า “สังคม” ควรหมายถึงการ รวมตัวกัน (อยู่ด้วยกัน) ของ คน และ สัตว์ ตั้งแต่ สองคน/ สองตัวขึ้นไป
“พฤติกรรม” การรวมกลุ่มของสัตว์ทุกประเภท ที่ คล้ายกัน อย่างหนึ่ง คือ การแสดง “ความเป็นผู้นำ” และ “ผู้ตาม”
“มนุษย์” มี หัวหน้า (ราชา, ประธาน, ประธานาธิบดี, นายกรัฐมนตรี ฯลฯ)
“สัตว์”(อื่น ๆ) ก็มี “หัวหน้า” ช้าง, วัว ควาย, นก ฯลฯ มี หัวหน้า หรือ ตัวนำ เห็นได้ ช้าง จ่าฝูงพาไปทางไหน ลูกน้อง (บริวาร) ก็ไปทางนั้น “นก” บนเวหา บินมากันเป็นฝูงจะเลี้ยวลดคดเคี้ยวไปทางไหนย่อมไปตามหัวหน้านั่นแล บางทีเห็นเป็นความ อัศจรรย์ (ไม่น่าเชื่อ) ที่พวกมันบินไป ๆ รวดเร็วแล้วเลี้ยวกลับทันทีตามหัวหน้ามัน (โดยไม่ต้องอภิปราย โต้เถียง หรือตบ ต่อย ตีกัน)
สำหรับ “มนุษย์” ต้องถือเป็น กรณีพิเศษ โดยเหตุที่เป็นสัตว์ประเภท มีสมอง มีความคิด สติปัญญา มากกว่าสัตว์ประเภทอื่น (ตามความเข้าใจของมนุษย์) เพราะความเป็น “สัตว์พิเศษ” นี่แหละ มนุษย์จึงมีความซับซ้อน ซ่อนเงื่อน คดเคี้ยว หลายชั้นหลายหลืบ อันเป็นที่มาแห่งปัญหาต่าง ๆ มากมาย
“ท่าที” ต่อกันเป็น จุด สำคัญของการกระทำทั้งปวงของมนุษย์ ทั้ง ฝ่ายดี และ ฝ่ายเลว โดยที่ “ท่าที” เป็นความ รู้สึกนึกคิด (จิตใจ) อันเป็นตัวนำไปสู่การปฏิบัติต่อกัน ถ้า “ท่าทีดี” ย่อมมีแนวโน้มไปในทางปฏิบัติต่อกันด้วยดี อย่างมิตรไมตรี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน แต่หาก ท่าทีไม่ดี ก็ยากที่จะก่อผลดี หรือเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ “จิตใจ” สำคัญที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ไม่ว่า ใน ทางดี หรือ ทางเลว
“รัฐ” หมายถึง อำนาจรัฐ ซึ่ง กลุ่มบุคคล เป็น ผู้ถือ และ ใช้ อำนาจนั้นตาม ระบอบ/วิธีการ ที่กำหนดและ ยอมรับ กัน ไม่ว่า ระบอบ/วิธีการใด ในการ ถือ และ ใช้ อำนาจนั้น ย่อมมี เป้าหมาย อยู่ที่ “ผลประโยชน์” ของ ประชาชน หรือ คนทั้งหลาย ของแต่ละ กลุ่ม แต่ละ เผ่าพันธุ์ แต่ละ ประเทศ ผู้ถือและใช้อำนาจรัฐ แท้ที่จริงก็คือ ประชาชน (คน) เหมือน ๆ กับคนอื่น ๆ นั่นเอง
ใน กลุ่ม หรือ เผ่าพันธุ์ นั้น ไม่ใช่ ผู้วิเศษ หรือ เทวดา อินทร์ พรหม ที่ไหน ที่ถือว่าเป็น ผู้วิเศษ ประเสริฐ....ตาม จินตนาการ หรือความเชื่อ แล้วแต่จะกำหนดหรือเชื่อถือ ถ้าเชื่อว่า “วิเศษ” มันก็ “วิเศษ” ถ้าไม่เชื่อมันก็เป็นตรงข้าม เป็นเรื่องของใครของมัน ไม่ก้าวก่ายหรือดูถูกดูแคลนกัน
“ท่าที” ที่ ผู้ใช้อำนาจรัฐ ที่มีต่อประชาชน และ ท่าทีของประชาชน ต่อผู้ใช้อำนาจรัฐ ถ้า ดี ต่อกันก็ก่อผลดี แต่ถ้า เลว (ไม่ดี) ต่อกันก็เกิดผลร้ายตาม ขนาดของท่าทีนั้น อาจร้ายถึงขั้น เข่นฆ่า กันอย่างเหี้ยมโหดโดยไม่สึกรู้สาต่อ มโนธรรม สำนึกที่ดีใด ๆ เลย ก็ได้ พร้อมที่จะ หัวเราะ ยินดีต่อการเข่นฆ่าแต่ละฝ่ายในท่ามกลางความรู้สึกว่า ประสบความสำเร็จ ความรู้สึกภูมิใจ โดยไร้ หิริโอตตัปปะ แบบสุด ๆ เลยก็ได้ กรณีเกิดขึ้นในโลกแทบทุกประเทศ ไม่ว่า ลิเบีย ตูนิเซีย อียิปต์หรือแม้ ประเทศไทย ไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลย ใน เนื้อหา (รูปแบบ อาจแตกต่างกัน)
“อย่าแปลกใจ” ว่า ทำไม? จึงลงเอยกัน แบบนี้ (รุนแรง, ฆ่าแกง, โหดเหี้ยม...) ทั้ง ๆ ที่ ทุก ชีวิต ในกลุ่มคนพวกนั้นล้วนต้องการ ความสุข ความเจริญ ความก้าวหน้า...ของตน และ ประเทศ ตน (ใครจะปฏิเสธว่าไม่จริง)
“อย่าแปลกใจ” เพราะในใจ มนุษย์ มี ซาตาน เหี้ยมโหดสิงแอบอิงอยู่ พร้อมที่จะ สำแดงฤทธิ์เดช ออกมาเมื่อโอกาสอำนวย ไม่ว่าคนนั้นจะอยู่ใน บทบาท อำนาจ หรือ ชนชั้นใด ถ้าคนนั้นยังเป็น ปุถุชน แม้เสแสร้งจะเป็นผู้ดีมี คุณธรรม สูงส่งอย่างไรก็ตาม
“ท่าที” ที่ประชาชนมีต่อ “รัฐ” หรือรัฐมีต่อประชาชน จะยังคง o.k. (เข้ากันได้, ดีอยู่, เป็นมิตรกันอยู่) ตราบเท่าที่ “ผลประโยชน์” ยังร่วมกันอยู่ คือ ยังไม่ออกนอก เป้าหมาย ที่ว่า ประโยชน์ สุข ของทุก ๆ คน ในกลุ่มชน/เผ่าพันธุ์/ประเทศนั้น ๆ
ดังนั้น ใครก็ตามที่ได้ อำนาจ รัฐแล้ว เปลี่ยนท่าทีจากเป้าหมายนี้ ซึ่งตามปกติ (ส่วนมาก) จะเกิดขึ้นเมื่อได้อำนาจรัฐ โดย เข้าใจ (สรุปเอง) ว่า ตนและ/หรือกลุ่มตนเป็นคน พิเศษ (ดี,เก่ง...) กว่าคนอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้อำนาจนั้น
ความคิดว่าตนเป็นคนพิเศษนี้เอง นำไปสู่ปัญหา การจัดการ ทุกอย่างภายใต้อำนาจของตน แบบไม่ เป็นมิตร ต่อ คนทั้งหลาย ภายใต้อำนาจนั้น ซึ่งมี ความคิดเห็น แตกต่างจากตน หนักเข้า ๆ หลงรู้สึกว่า อำนาจรัฐนั้นเป็นของตนจริง ๆ
เพราะ อำนาจรัฐ เป็นที่มาแห่งผลประโยชน์ ซึ่งสัตว์ทุกประเภทต่างดิ้นรนเพื่อผลประโยชน์ทั้งสิ้น เพราะ ผลประโยชน์ หมายถึงการมีชีวิตบนโลกใบนี้ ซึ่งหากขาดเสียแล้ว ชีวิตก็อยู่ต่อไปไม่ได้ หรืออยู่ต่อได้แบบทนทุกข์ทรมาน ซึ่งไม่มีสัตว์ประเภทใดต้องการ มันเป็น สัญชาตญาณ (รู้เอง, เกิดเอง, ทำเอง...) โดยแท้ ที่จะดิ้นรนเพื่อมีชีวิตบนโลกใบนี้ (หรือโลกอื่นใด)
ความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ล้วนอยู่ใน ความคิดจิตใจ ของทุกคน ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกชนชั้น กระนั้นก็ตาม การ จัดการ ต่อท่าทีที่ไม่ดีต่อกันก็ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดปัญหารุนแรงดังกล่าว เหตุเพราะ การศึกษา การอบรมบ่มเพาะ จิตสำนึกในความเป็น มนุษย์ ของกันและกันยังไม่เข้มแข็งพอที่จะ สร้าง ท่าทีที่ดี ต่อกันได้อย่าง กว้างขวาง ลึกซึ้ง
การศึกษาในแง่ของศาสนา จึงมุ่งไปที่การ ขัดเกลาจิตใจให้ บริสุทธิ์ สะอาด มี ความรัก ความเมตตา กรุณา ต่อกัน แต่เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จของการศึกษานี้ก็มีไม่มาก ซ้ำร้ายอาจมีการเบนเป้าหมายของการศึกษาในแง่ของศาสนาไปอีกทิศทางหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามทั้งโดย จงใจ และ ไม่จงใจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่มนุษย์จะต้องพยายามต่อไป ในการจัด การศึกษา ที่จะเอื้อให้เกิดการ มีท่าที ต่อกัน ของรัฐ และ ประชาชน และท่าทีของ ประชาชน ต่อรัฐ....../
“ผ.ศ. เสถียร ชาวไทย...จ.พะเยา” |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น