วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554



"บอมบ์"ราชดำเนิน สัญญาณเตือนภัย"รัฐบาลปู"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323316138&grpid=01&catid=&subcatid=
 (ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม 2554)




          เหตุลอบวางระเบิดบริเวณ "หน้ากองสลากกินแบ่งรัฐบาล" ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสรุปว่า "คนร้าย" ต้องการสร้างความปั่นป่วน เพราะต่อวงจรไม่สมบูรณ์และตั้งเวลาระเบิดในช่วงที่กิจกรรมย่านนั้นเลิกราไปแล้ว
          แต่ถือเป็นการสร้างความปั่นป่วนที่เปี่ยมไปด้วยสัญญาณ "ทางการเมือง" สถานที่เกิดเหตุ วัน เวลา เป็นเรื่องน่าคิด ท้าทายให้‰ประเมินว่าเป็นการลองเชิง-ชิมลาง-หยั่งกระแส ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ 


          เพราะการสร้างสถานการณ์จนทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เป็นสาเหตุที่ให้ "รัฐบาล" อยู่ไม่ได้มานักต่อนักแล้ว โดยเฉพาะรัฐบาลที่มีความเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
          ซึ่งในอดีตปรากฏให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลที่มีความเกี่ยวข้องกับ "พ.ต.ท.ทักษิณ" มี "จุดอ่อน" อยู่ที่งาน "ด้านความมั่นคง" มักโดนเขย่าอำนาจด้วยการลอบวาง "ระเบิด" ก่อกวนมาเกือบทั้งหมด
           โดยเฉพาะรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ยุค สมัคร สุนทรเวช มีการลอบวางระเบิดในช่วงการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลของ "คน เสื้อเหลือง" กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จนทำให้สถานการณ์ปั่นป่วนวุ่นวายจนยากจะควบคุม จนกระทั่ง "ศาลรัฐธรรมนูญ" วินิจฉัยให้ "นายกฯสมัคร" สิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีจากกรณีเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์แล้วได้รับค่าตอบแทน
           รัฐบาล "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" มีการชุมนุมทางการเมืองเกิดเหตุ "ระเบิด" และเกิดเหตุปะทะกันขึ้นมากมาย จนกระทั่ง "ศาลรัฐธรรมนูญ" ออกมาทำหน้าที่ "ยุติเกมการเมือง" อีกครั้ง กับการอ่านคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชนเป็นเหตุให้ "สมชาย" สิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี
           ขณะที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งที่เจอเหตุการณ์การชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม "คนเสื้อแดง" กลางเมืองหลวง แต่ "อภิสิทธิ์" สามารถประคับประคองให้รัฐบาลอยู่ได้ ซึ่งปัจจัยด้าน "ความมั่นคง" ทั้งทหาร-ข่าวกรอง คือกลไกสำคัญที่่ เอื้ออำนวยและค้ำจุนตำแหน่งฝ่ายบริหาร ซึ่งนั่นอาจจะอธิบายได้จาก "ความสัมพันธ์" ระหว่างรัฐบาลและกองทัพมีความแนบแน่น
           สวนทางกับ รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ทั้งที่เสมือนมี "ช่องว่าง" อันมีพื้นฐานมา จาก "คนเสื้อแดง" ที่เป็นมวลชนของ พรรคเพื่อไทยซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองทัพ
          จึงทำให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่สามารถ "จูนความสัมพันธ์" กับกองทัพได้ .. แต่นั่นก็มีเหตุและปัจจัยอื่นที่เข้ามาแทรกซ้อนทำให้ไม่สามารถ "กำจัดจุดอ่อน" ได้สำเร็จ
          ตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาลมาเมื่อเดือนสิงหาคม "ยิ่งลักษณ์" ไม่เคยเรียกประชุม "หน่วยงานด้านความมั่นคง" อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ทำให้การประเมินและประมวลข่าวสารทางลับจากหน่วยงานต่างๆ แคบลง เพราะส่วนใหญ่รับรู้แค่ข่าวจาก "สันติบาล" อันเนื่องมาจากคนในรัฐบาลเต็มใจใช้บริการตำรวจมากกว่าทหาร
          ทำให้ข่าวลับจาก "กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร" (กอ.รมน.) "สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ" (สขช.) ถูกปิดตายเกือบทั้งหมด การรับรู้ ข้อมูลความเคลื่อนไหว "บนดิน-ใต้ดิน" ของฝ่ายตรงข้าม มีข้อจำกัดและด้อยประสิทธิภาพลงไป!!
          และหากหันไปตรวจแนวความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาล "นิ่งเฉย" กับฝ่ายความมั่นคง ที่นับตั้งแต่พรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศ มีการประชุมและมอบหมายงานกันแค่ครั้งเดียว ทั้งๆ ที่เกิดเหตุระเบิดทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิตต่อเนื่องเกือบทุกสัปดาห์
           การลอบวางระเบิดแม้จะไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะมีความเกี่ยวพันกับปัญหาในภาคใต้ แต่ในภาวะที่เกิดความห่างเหินของรัฐบาลกับฝ่ายความมั่นคง ขณะที่ปรากฏการณ์นี้มองกันว่า "ลองของ" รัฐบาล
          แต่หากไม่มีการปรับเปลี่ยนการทำงานและเตรียมรับมือ เหมือนที่เคย "ผิดพลาด" ในการบริหารจัดการน้ำมา เหตุการณ์ ระเบิดป่วนเมืองส่งท้ายปีเก่าต‰อนรับปีใหมˆเหมือนในอดีต อาจกลับมาเขย่าขวัญอีกครั้งก็ได้
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น