ภาวะหนึ่งที่คนเราหนีไม่พ้นเมื่ออายุมากขึ้น คือการเผชิญกับปัญสุขภาพที่เสื่อโทรมลง เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ฯลฯ ยังต้องเผชิญกับปัญหาสายตาด่าง ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นโรคตาต้อ จอประสาทตาเสื่อม ซึ่งบางคนอาจตกใจกลัวว่าตัวเองจะตาบอด แต่หากเริ่มรักษาแต่เนิ่นๆ หรือปฏิบัติ ตัวอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยบรรเทาอาการ หรือรักษาให้หายได้
ต้อลม (pinguecula)
คนส่วนมากเมื่อตรวจพบว่าเป็นต้อ มักเข้าใจกันไปเองว่าโรคนี้ร้ายแรงจนถึงขั้นให้ตาบอด แต่ความจริงแล้วโรคตาที่เรียกว่า "ต้อ" มีอยู่หลายชนิด บางชนิดไม่อันตราย ไม่ทำให้ตาบอด แต่บางชนิดก็เป็นอันตราย อาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นเมื่อรู้ว่าเป็นโรคตาต้อชนิดไหน ต้องรักษาให้ถูกวิธี
ต้อลม คือ ภาวะที่เยื่อบุตาขาวหนาตัวขึ้น มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อขนาดเล็ก นูน มีสีขาว หรือสีเหลือง คล้ายๆ กับการด้านของหัวเข่าหรือข้อศอกที่ถูกเสียดสีนาน ๆ ต้อลมเกิดจากการแพ้ฝุ่นละออง ลม แสงแดด สิ่งแวดล้อม มักเกิดข้าง กระจกตา แต่ไม่ลุกลามเข้าไปในตาดำ ซึ่งหาลุกลามเข้าไปในตาดำจะเรียกว่า "ต้อเนื้อ"
สาเหตุ เกิดจากการแพ้และระคายเคืองจากลม ฝุ่นละออง ควัน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ร่วมกับการที่ตาได้รับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตจากแสงแดดเป็นเวลานาน โรคนี้จึงมักเกิดกับผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง
อาการของผู้ที่เป็นต้อลม ผู้ที่เป็นต้อลมจะมีอาการคันตา เคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล และ แสบตา
การรักษา
ใส่แว่นกันแดดเมื่อยู่กลางแจ้ง เพื่อลดอาการต่าง ๆ ทำให้รู้สึกสบายตาขึ้น
หยอดตาในระยะที่ยังเป็นไม่มาก แพทย์จะให้ยาหยอดยา เพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง และทำให้ตาไม่แดง แต่ยาหยอดตานี้ไม่ได้ทำให้ต้อเนื้อ หรือต้อลมหายไป
หากต้อลมไม่อักเสบก็ไม่จำเป็นต้องรักษา เนื่องจากต้อลมจะไม่ลามเข้าตาดำ หรือทำให้ตามัวลง น้อยรายมากที่จะทำให้เกิดความรำคาญ ซึ่งอาจพิจารณาผ่าตัดลอดออกได้ แต่อาจจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นไม่สวยงาม จักษุแพทย์มักจะแนะนำให้รักษาแบบประคับประคอง คือหยอดยาเมื่อมีอาการคัน สาเหตุที่ไม่ตัดออกตั้งแต่ยังเป็นไม่มาก เนื่องจากต้อลมนั้นมีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ค่อนข้างมากหลังจากผ่าตัดออกไปแล้ว โดยทั่วไปวิธีตัดออกนั้นมีหลายวิธี แพทย์จะเป็นผู้เลือกว่าวิธีใดเหมาะสม และ มีโอกาสที่ต้อลมกลับมาเป็นใหม่ได้น้อยที่สุด ภายหลังทำการผ่าตัดออก ต้องหลีกเลี่ยงฝุ่น แดด และลมแรง ๆ
ต้อเนื้อ (pterygium)
เมื่อเป็นต้มลมนาน ๆ พังผืดจะมีเส้นเลือดงอกออกมากขึ้น และเนื้อพังผืดโตขึ้นลามเข้าไปในกระจกตา หรือตาดำ ลักษณะนี้เรียกว่า "ต้อเนื้อ" ต้อเนื้อจะโตช้า ใช้เวลาร่วม 10 ปี แต่ถ้าเป็นมากจนคลุมไปถึงตรงกลางตาดำ จะทำให้ตามัว ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อลอกต้อเนื้อออก่อนที่จะโตคลุมไปถึงตาดำ
สาเหตุและอาการ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระจกตาเสื่อสภาพคือสายลม และแสงแดดโดยปกติกระจกตาจะมีน้ำหล่อลื่นเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าถูกลม หรือแสงแดดบ่อย ๆ ก็จะทำให้ตาแห้ง และเสื่อมสภาพ ดังนั้นจึงไม่ใช่เพราะอายุ หรือวัยที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจ ถึงแม้จะอยู่วัยหนุ่มสาว แต่ถ้าต้องใช้ชีวิต หรือทำงานอยู่กลางเเจ้งบ่อยๆ ก็มีแนวโน้มที่จะถูกต้อเนื้อเล่นงานเอาได้
ผู้ป่วยที่เป็นต้อเนื้อจะมีอาการเคืองตา ตาแดงเป็นๆ หาย ๆ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ แล้วไม่รักษา ต้อเนื้อจะค่อย ๆ ลุกลามเข้าไปใจกลางตาดำทำให้บดบังการมองเห็น ต้อเนื้อไม่สามารถหายเองได้ และความเชื่อที่ว่า มียาหยอดตาที่ทำให้ต้อเนื้อหายไป ก็ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด ทางที่ดีควรไปพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมจะดีกว่า
การรักษาต้อเนื้อ
ในกรณีที่เป็นต้อเนื้อระยะแรก คือ ต้อเนื้องอกเข้าไปในตาดำไม่ถึง 1 ใน 3 ของความกว้างของตาตามแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยสวมแว่นที่มีเลนส์ป้องกันรังสี UV ซึ่งจะช่วยปกป้องดวงตาจากลมได้ด้วย ร่วมกับการใช้ยาหยอดควบคุมการอักเสบของต้อเนื้อ การปล่อยให้ต้อเนื้อมีการอักเสบบ่อยๆ อาจจะทำให้ต้อเนื้อโตเร็วมากขึ้น
ส่วนต้อเนื้อที่งอกลุกลามเข้าไปในตาดำเกิน 1 ใน 3 ของความกว้างของตาดำ ควรผ่าตัดลอกออกก่อนที่จะเข้าสู่ใจกลางตาดำ เพราะถ้าปล่อยไปถึงขั้นนั้นแล้ว แม้จะลอกออกได้แต่ก็มักจะเกิดแผลเป็น ทำให้กระจกตาขุ่นมัว และมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเดิม
สำหรับการผ่าตัดลอกต้อเนื้อเป็นการผ่าตัดที่สะดวก ไม่ยุ่งยากแพทย์จะใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ และใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย โดยไม่ต้องนอนพักค้างคืนที่โรงพยาบาล หลังผ่าตัดลอกเนื้อออกแล้ว โอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับไปเป็นใหม่ก็มีทางเป็นไปได้ หากดวงตายังคงถูกลม และแสงแดดมากๆ
ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงมักจะให้ยาหยอดตาป้องกันการกำเริบหลังผ่าตัดทุกราย ตัวผู้ป่วยเองก็ควรหาทางป้องกันด้วยการสวมแว่นตาที่มีเลนส์ป้องกันรังสี UV ซึ่งเป็นการปกป้องลมไปด้วยอีกทางหนึ่ง นอกจากนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ ได้แก่ น้ำมันตับปลา นม และผลิตภัณฑ์นม ไข่แดง ตับหมู ตับวัว ผักใบเขียว ผลไม้ที่มีเนื้อสีเหลือง และสีส้ม ฯลฯ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมที่สร้างสารเมือก และไขมัน ทำให้ผิดกระจกตาและเยื่อบุตาขาวชุ่มชื้น สามารถทนแดดทนลมได้ดีขึ้น โอกาสที่จะเกิดต้อเนื้อก็จะช้าลง หรอืไม่เกิดขึ้น
ต้อกระจก (cataract)
ต้อกระจก เป็นปัญหาทางสายตาของผู้สูงอายุทั่วโลก WHO ประเมินว่าในประชากร 6 พันล้านคน มีคนเป็นต้อกระจกประมาณ 40 ล้านคน ในจำนวนนี้มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศที่มีฐานะยากจนมีผู้ป่วยเป็นโรคต้อกระจก และโรคแทรกซ้อนถึง 45 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในแถบประเทศที่ไม่ร่ำรวยนัก ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดจัด
ต้อกระจก คือ ภาวะของเลนส์ตาขุ่น ส่วนใหญ่เกิดจากการมีอายุมากนอกจากนี้ ยังเกิดจากการติดเชื้อ การอักเสบ อุบัติเหตุ จากกระแสไฟฟ้าแรงสูง รังสี การขาดอาหาร และ ทางพันธุกรรม สภาพโรคบางอย่างทำให้เกิดเป็นต้อกระจกได้เร็วกว่าปกติ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งคนที่เป็นโรคเบาหวานจะเป็นต้อกระจกเร็วกว่าคนปกติถึง 10 เท่า
อาการ
1. ตาจะค่อย ๆ มัวลง โดยไม่มีอาการปวด เมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมาก ตาจะมัวกว่าอยู่ในที่มืด
2. มี contrast sensitivity หรือการแยกความแตกต่างระหว่างของความมืด และความสว่าง ลดลง
3. ในระยะแรก ๆ ที่เป็นต้อกระจก สายตาจะมีการเปลี่ยนแปลง ในทางที่เป็นสายตาสั้นมากขึ้น คือมองไกลจะไม่ค่อยชัด แต่มองใกล้จะชัดหรือเรียกว่า myopic shift
4. monocular diplopia คือ ระยะที่เป็นต้อกระจกแรก ๆ จะเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยข้างเดียว
5. โรคแทรกซ้อนจากการเป็นต้อกระจก อาจมีโรคต้อหินแทรกซ้อนได้ กรณีที่ต้อกระจก อาจมีโรคต้อหินแทรกซ้อนได้ กรณีที่ต้อกระจกสุกหรือขุ่นมากจะทำให้ตามัว ปวด และแดง
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ปัจจุบันมียาหยอดที่ใช้รักษาอยู่หลายยี่ห้อ โดยมากจะรับประกันว่าสามารถทำให้เลนส์ที่ขุ่นใสได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้อาการขุ่นที่ค่อยๆ มากขึ้นนั้น ขุ่นช้าลงกว่าเดิม ยาบางตัวก็ได้ผลจริงอย่างที่โฆษณา คือ ในผู้ป่วยบางคนมองเห็นได้ชัดขึ้นจริง อ่านตัวหนังสือที่มีขนาดเล็กลงได้มากกว่าก่อนใช้ยา แต่ไม่ค่อยได้ผลมากเท่าไรนักในกรณีที่เลนส์ตาขุ่นมากแล้วซึ่งโดยมากมักใช้ในกรณีที่เพิ่งเริ่มเป็น มากกว่า โดยมักจะต้องหยอดยาวันละ 3-4 ครั้ง เป็นเวลาหลายเดือน ผู้ใช้ยาบางท่านเข้าใจผิดว่า หยอดยาแค่ 2-3 อาทิตย์แล้ว จะมองเห็นได้ชัดเจนทันที เหมือนกับการกินยาแก้หวัดหรือแก้ปวดหัว ตัวร้อนทั่วไป ซึ่งก็คงต้องอธิบายกันตรงนี้ว่า ยานี้เห็นผลช้ามาก และในบางคน ถึงหยอดไปก็ไม่ได้ช่วยให้มองเห็นชัดขึ้นเลย
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาต้อกระจกสมัยใหม่ไม่พบปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป เพราะหลังจากลอกเอาต้อกระจกออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่เลนส์ธรรมชาติ จักษุแพทย์จะคำนวณและเลือกเลนส์ที่มีกำลังพอดี เพื่อแก้ไขสายตาสั้น หรือยาวที่เป็นอยู่เดิมได้ในคราวเดียวกัน ทำให้การมองเห็นชัดเจนและเป็นธรรมชาติเหมือนปกติด้วยตาเปล่า จึงมีแนวโน้มที่แพทย์จะผ่าตัดต้อกระจกได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอให้ต้อสุก เพราะหลังผ่าตัดไปแล้วผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพสายตากลับคืนเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว การรักษาต้อกระจกด้วยวิธีนี้ถือเป็นการรักษาที่ให้ผลสำเร็จดีที่สุด แล้วเป็นวิธีการ รักษาที่นิยมมากที่สุดในวงการแพทย์วิธีหนึ่ง
Intracapsular cataract extraction (ICCE) with/without intraocular lens implantation
นิยมกันในแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อกว่าสิบปีก่อน คือการผ่าตัดเข้าไปในลูกตา และดึงเอาเลนส์ออกมาทั้งอัน แล้วค่อยใส่เลนส์เทียมเข้าไปแทนหรือไม่ใส่ก็ได้ แล้วเย็บปิดแผล ซึ่งจะลดโรคแทรกซ้อนได้ แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงอยู่มาก ปัจจุบันแทบไม่มีใครทำ ยกเว้นในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยที่เยื่อยึดเลนส์หย่อน หรือฉีกขาด หรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระแทกที่ตาอย่างรุนแรงเท่านั้น
Exttracapsular cataract extraction with (ECCE)/ without intraocular lens implantation
วิธีการผ่าตัดต้อกระจก ECCE เป็นวิธีที่ผ่าตัดโดยเปิดแผลกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร เพื่อเอาเลนส์ขุ่น หรือต้อกระจกออกทั้งอัน โดยเหลือถุงเลนส์เอาไว้ เมื่อล้างส่วนที่เหลือของเเลนส์ออกหมดแล้ว จึงใส่เลนส์แก้วตาเทียม เข้าไปในถุงเลนส์ เย็บปิดผลประมาณ 1-5 เข็ม ด้วยไนลอน 10-0 ซึ่งเป็นด้ายไนลอนที่มีความบางกว่าเส้นผม เป็นวิธีที่นิยมใช้ในต้อกระจกที่สุกมาก และต้อกระจกที่แข็งมาก เป็นวิธีที่ปลอดภัย และก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนน้อย
วิธีผ่าตัด ECCE with IOL
A ขยายม่านตา
B เจาะถุงเลนส์ด้านหน้า
C ถุงเลนส์เจาะโดยรอบ
D เลื่อนเลนส์ขุ่นออกทั้งอัน
E ดูดเลนส์ที่เหลือออก
F ใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าในถุงเลนส์
รูปแสดงการผ่าตัดต้อกระจกแบบ ECCE เปิดแผลกว้างแล้วเอาเลนส์ขุ่นออกทั้งอัน
วิธีผ่าตัดแบบสลายต้อกระจก
Phacoemulsification and aspiration with/without intraocular lens implantation
การผ่าตัดต้อกระจกโดยวิธีสลายต้อกระจก ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์เป็นการผ่าตัดต้อกระจกที่เปิดแผลเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ไม่เอาเลนส์ขุ่นออกทั้งอัน แต่ใช้อัลตร้าซาวน์ หรือเรียกว่าคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นตัวสลายเลนส์ขุ่น หรือต้อกระจก แล้วล้างส่วนเลนส์ที่เหลืออยู่ เมื่อหมดแล้วจึงใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดพับได้ ผ่านเข้าไปในแผลเล็ก (ไม่จำเป็นต้องขยายแผลให้กว้างขึ้น) ใส่เลนส์เข้าไปในถุงเลนส์ เมื่อเสร็จแผลก็จะปิดได้เอง
รูปแสดงการผ่าตัดสลายต้อกระจก
เลนส์แก้วตาเทียมชนิดโฟกัสระยะเดียว (Monofocal) และ หลายระยะ (Multifocal) ต่างกันอย่างไร
เลนส์แก้วตาเทียมที่ใช้ทั่วไปเป็นเลนส์ชนิดที่โฟกัสได้ระยะเดียว เนื่องจากวัสดุสังเคราะห์ที่ใช้ทำเป็นพลาสติกที่ยืดหยุ่นตัวไม่ได้ ดังนั้นการใส่เลนส์ชนิดนี้ทำให้สามารถมองระยะกลางหรือระยะไกลได้ชัด จึงต้องอาศัยแว่นตาช่วยในการมองระยะใกล้ เช่น ในขณะอ่านหนังสือ
ในปัจจุบันมีการพัฒนาเลนส์แก้วตาเทียมชนิดใหม่ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาสายตาดังกล่าว คือ เลนส์โฟกัสหลายระยะ เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนี้ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Diffraction หรือ Refraction ทำให้มีความสมดุลของการโฟกัสภาพทั้งใกล้และไกล ตามกิจกรรมที่ทำและสภาวะของแสงทำให้สามารถมองเห็นได้ทุกระยะ เเละกว้างขึ้น ตั้งแต่ใกล้ไปจนถึงไกลหลังจากใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนี้ จะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องสวมแว่นตาอ่านหนังสือเมื่อต้องมองระยะใกล้ ๆ เหมือนเลนส์แก้วตาเทียมแบบเดิม แต่ถ้ามีสายตาเอียงอาจต้องใส่แว่นตาเสริมความคมชัด
การรักษาต้อกระจกด้วยเลนส์แก้วตาเทียมชนิดใหม่นี้ถือเป็นมาตรฐานสูงสุดของการรักษาต้อกระจก วัสดุที่ใช้ได้รับการพิสูจน์มานานหลายทศวรรษว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง เลนส์แก้วตาเทียมระยะเดียว ผลิตจากอคริลิค (Acrylic) หรือ ซิลิโคน (Slilicone) เพียงแต่ผิวเลนส์ถูกออกแบบเป็นพิเศษด้วยกรรมวิธี Diffractive หรือ Refractive คล้ายขั้นบันได เพื่อโฟกัสให้ภาพจากระยะไกลและใกล้ชัดขึ้น
วิธีอื่น ๆ
อาจช่วยการมองเห็นด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การใช้แว่นสายตา เพื่อแก้ไขภาวะสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยไม่แก้ไขที่เรื่องต้อกระจกโดยตรง เพราะการมองไม่ชัดของคนเราแต่ละคนอาจมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น มีต้อกระจกร่วมกับสายตาสั้น เป็นต้น หากต้องการมองเห็นชัดขึ้นแต่ยังไม่ต้องการผ่าตัด หรือผ่าตัดไม่ได้ด้วยสาเหตุหรือภาวะใดก็ตามอาจใส่แว่นแก้ไขในส่วนของสายตาสั้นไปก่อน นอกจากนั้น จึงค่อยแก้ไขเรื่องต้อกระจกในภายหลัง ซึ่งในระยะยาว เมื่อต้อกระจกขุ่นมัวมากขึ้นก็ต้องมารักษากันที่โรคต้อระจกอยู่ดี
ใช้เลนส์เทียม (ภาพ IOL) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สังเคราะห์ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อทำงานแทนเลนส์ธรรมชาติในดวงของเราที่ขุ่นมัวและต้องถูกเอาออกไป โดยจะทำหน้าที่รวมแสงให้ได้โฟกัสภาพสู่จอประสาทตาปัจจุบันมีเลนส์มากมายหลายสิบชนิดวางขายอยู่ในท้องตลาด แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ซึ่งการเลือกใช้ชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย และการพิจารณาของแพทย์ที่วางแผนการรักษาให้
ต้อหิน
หลายคนคุ้นเคยกับคำว่าต้อหินพอๆ กับต้อกระจก ต้อกระจกเป็นภาวะที่ตาขุ่นมัวมองเห็นได้ไม่ชัด เหมือนกระจกเป็นผ้า แต่สำหรับต้อหินนั้นไม่ได้หมายความว่าเลนส์ตาของเราแข็งเหมือนหิน แต่หมายถึงการเสื่อมของขั้วประสาทตาที่เกิดจากความดันในตาจะสูงหรือต่ำก็ได้
การจะเข้าโรคต้อหินต้องเข้าใจจึงโครงสร้างของตาเสียก่อน ตาของเรามีลักษณะกลม มีเปลือกตาขาว (Sclera) หุ้มอยู่ภายนอก และคลุมด้วยลูกตา ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็น เยื่อบางขาว ๆ (Conjunctiva) กระจกตา (Cornea) ด้านหน้าเป็นทางให้แสงผ่าน ซึ่งหากขุ่นมัวเราสามารถผ่าตัดเปลี่ยนได้ ถัดไปก็จะเป็นรูม่านตาจะเล็ก ถ้ามืดรูม่านตาจะขยายกว้าง เพื่อให้แสงผ่านเข้าตาได้ได้มากขึ้น โดยแสงจะผ่านไปที่เลนส์ (Lens) เเละไปที่จอรับภาพ (Retina) ในตาจะมีน้ำหล่อเลี้ยงเลนส์และกระจกตาเรียกว่า Aqueous humor ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงนี้จะถูกดูดซึมตามท่อข้าง lris muscle ทำให้มีความสมดุลของน้ำในตา
ต้อหินคืออะไร
ต้อหินเป็นภาวะเสื่อมของขั้วประสาทตาอาจจะเกิดจากความดันในลูกตาสูงหรือไม่สูง การเสื่อมของขั้วประสาทตา ร่วมกับการสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาจะกดดันขั้วประสาทตา (Optic nerve) ให้เสื่อม ซึ่งหากมีความดันสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ประสาทตาเสื่อม และสูญเสียการมองเห็น การสูญเสียการมองเห็น จะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังคงเห็นชัด หากไม่ได้รักษาจะมองเห็นภาพขนาดเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ เป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ถ้าไม่มีความเจ็บปวดส่วนมากมักเป็นทั้งสองข้าง โดยอาจจะเริ่มต้นเป็นที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อน
สาเหตุของการเกิดต้อหิน
1. เกิดจากการใช้ยาหยอดตา ที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เช่น บางคนเป็นต้อลม ต้อเนื้อหรือคันตา เมื่อไปซื้อยามาใช้เอง ยานั้นอาจจะมีสเตียรอยด์ผสมอยู่ หรือเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคไดต้องกินยาสเตียรอยด์ประจำ เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และเกิดเป็นต้อหินได้ หรือบางคนไปพบจักษุแพทย์ด้วยเรื่องต้อลม ต้อเนื้อ พอจักษุแพทย์จ่ายยาให้ก็เก็บตัวอย่างยาไว้ เมื่อเป็นขึ้นอีกภายหลัง ก็เอาตัวอย่างยานี้ไปซื้อมาใช้เอง ใช้ไปนาน ๆ ก็เกิดต้อหินขึ้น ดังนั้น จึงขอแนะนำว่า ดวงตาเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่จำเป็นอย่าไปซื้อยาหยอดตามาใช้เอง ควรให้จักษุแพทย์ตรวจดีกว่า
2. อุบัติเหตุ เช่น ตีแบด หรือตีเทนสิส แล้วลูกกระแทกใส่ตา ทำให้เกิดแผลบริเวณรูระบายน้ำภายในลูกตา ซึ่งจะทำให้ระบบน้ำภายในลูกตาผิดปกติ ก่อให้เกิดความดันตาสูงขึ้น เกิดภาวะต้อหินได้ เนื่องจากลูกตาเราจะเป็นลูกกลมๆ ภายในตาจะมีน้ำอยู่ 2 ส่วน ส่วนหน้าต่อเลนส์ตา จะเป็นน้ำใสๆ ไม่เหนียวเรียกว่าน้ำหน้าเลนส์ตา ส่วนหลังต่อเลนส์ตา จะเป็นน้ำใสที่เหนียวหนืดเรียกว่าน้ำวุ้นตา น้ำทั้ง 2 ชนิดนี้ จะช่วยให้ลูกตาเราคงตัวเป็นทรงกลมได้ เช่นเดียวกับลูกบอล ที่ต้องมีลมข้างใน เพื่อทำให้ลูกตาเราคงตัวเป็นทรงกลมได้ เช่นเดียวกับลูกบอล ที่ต้องมีลมข้างใน เพื่อทำให้ลูกบอลเป็นทรงกลมได้ ทั้งนี้นำ้หน้าเลนส์ตา ถ้าถูกสร้างและระบายออกด้วยปริมาณที่เท่า ๆ กัน ความดันภายในลูกตาก็จะคงที่ ถ้าสร้างด้วยอัตราเดิม แต่ระบายออกได้น้อยลงจะทำให้ความดันตาสูงขึ้นอุบัติเหตุตาโดนกระแทก จะทำให้เกิดแผลเป็นตรงรูระบายน้ำภายในตา ทำให้การระบายออกของน้ำในลูกตาลดลง และให้ความดันตาสูงขึ้น
3. ภาวะอักเสบภายในลูกตา หรือที่จักษุแพทย์เรียกว่า ม่านตาอักเสบ ซึ่งช่วงที่มีการอักเสบ มีโปรตีน หรือเม็ดเลือดขาวลอยไปอุดรูระบายของน้ำภายในลูกตา ก่อให้เกิดการอุดตันของรูระบายน้ำ และทำให้ความดันตาสูงขึ้นได้
บางครั้งภาวะต้อหินที่เกิดจากม่านตาอักเสบ อาจเกิดจากยาที่ใช้ในการรักษาก็ได้เนื่องจากโรคม่านตาอักเสบนี้ ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุและยาที่เป็นหลักใหญ่ ของการรักษากลุ่มโรคม่านตาอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุ ยาที่ใช้เป็นหลักใหญ่ ของการรักษากลุ่มโรคม่านตาอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุและยาที่เป็นหลักใหญ่ ของการรักษากลุ่มโรคม่านตาอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุ ยาที่ใช้รักษาจึงมักเป็นยาที่มีส่วนผสมอขงสเตียรอยด์ ซึ่งบางครั้งอาจต้องห้ไปในรูปแบบของยารับประทาน หรือฉีดเข้าไปบริเวณรอบ ๆ ลูกตา เพื่อให้ตัวยาซึมลูกตาอย่างช้า ๆ ดังนั้นการรักษาโดยการใช้สเตียรอยด์ จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความดันตาสูงขึ้นได้
4. จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน และไม่เคยได้รับการตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์ ในบั้นปลายจะเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ซึ่งในระยะท้าย ๆ ของโรคนี้จะมีเส้นเลือดเกิดใหม่ที่ม่านตา และทำให้เกิดการตันของรูระบายน้ำภายในลูกตา กรณีนี้เรียกว่า ภาวะต้อหินชนิดที่มีเส้นเลือดใหม่บริเวณม่านตา ซึ่งจะรักษายากที่สุดในบรรเทาอาการปวดเท่านั้น แต่สายตาไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นจึงขอแนะนำให้คนที่เป็นเบาหวานไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจว่ามีเบาหวานขึ้นบนจอตาหรือไม่ โดยให้ถือตามเกณฑ์ง่าย ๆ ดังนี้
1. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุไม่ถึง 30 ปี ให้ไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจหาเบาหวานขึ้นจอตา ภายในระยะเวลา 5 ปี ภายหลังจากที่ตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน
2. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุเกิน 30 ปี หรือผู้ป่วยหญิงที่ตั้งครรภ์ ขอให้หาเวลาว่างไปพบจักษุแพทย์สักครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจหาเบาหวานขึ้นจอตา ทั้งนี้การตรวจหาเบาหวานขึ้นจอตา จักษุแพทย์จะทำการขยายม่านตา เพื่อดูบริเวณจอประสาทตา หลังจากตรวจเสร็จแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวจากการขยายม่านตาประมาณ 6 ชั่วโมง ดังนั้นจึงควรพาญาติไปด้วย เพื่อช่วยพากลับหลังจากตรวจเสร็จแล้ว
นอกจากนี้ต้อหินยังอาจเกิดจากต้อกระจกที่สุกแล้ว ทำให้เลนส์ตาที่สุกเกิดการบวมน้ำขึ้นไปอุดรูระบายน้ำภายในลูกตา ภาวะนี้ก่อให้เกิดต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน คนไข้จะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดตามาก ตาแดงและเมื่อตรวจจะพบต้อกระจกที่สุกแล้วเกิดบวมน้ำขึ้น วิธีการรักษาในภาวะแบบนี้คือ การลดความดันตาลง และทำการผ่าตัดต้อกระจกที่สุกแล้วออกกรณีเช่นนี้แม้จะพบอยู่บ้างแต่ก็มีไม่มาก
อีกสาเหตุหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของผู้ที่เป็นต้อหินก็คือ เกิดเองโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่จะพบว่าเป็นในกลุ่มคนที่มีประวัติเหล่านี้ คือ
1. ประวัติครอบครัว ถ้ามีประวัติพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคต้อหินมากว่าคน ทั่วไป
2. อายุที่มากขึ้น พบว่าโรคนี้มีอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นตามอายุ ในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสพบต้อหินร้อยละ 1.5 ส่วนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสพบต้อหินร้อยละ 3
3. เชื้อชาติ พบว่าคนผิวดำมีโอกาสเกิดโรคต้อหินากกว่าคนผิวขาวประมาณ 3 เท่า
4. สายตา พบว่าสายตาสั้นจะมีโอกาสเกิดโรคต้อหินชนิดมุมเปิดสูงส่วนสายตายาวจะมีโอกาสเกิดต้อหินชนิดมุมปิดสูง
5. ค่าความดันตา พบว่าคนที่มีความดันตาเกิน 22 มิลลิเมตร ปรอท ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินมากกว่าคนที่มีความดันตาต่ำกว่า 22 มิลลิเมตร ปรอท ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินมากกว่าคนที่มีความดันตา ต่ำกว่า 22 มิลลิเมตรปรอท
ชนิดของโรคต้อหิน
1. ต้อหินชนิดมุมเปิด
แนวสีเขียวเป็นแนวทางน้ำเลี้ยงตาไหลเวียนและไลเข้าท่อระบายน้ำเลี้ยงตา
(Drainage canals) การอุดจะเกิดในบริเวณที่ทางเดินท่อน้ำตาถูกอุดตัน เป็นต้อหินชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงตาอุดตัน ทำให้ความดันในลูกตาสูง (Intraocular pressure IOP) ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ และไม่มีสัญญาณเตือน หากไม่พบก็จะมีการเสื่อมของสายตา ต้อหินชนิดนี้ตอบสนองดีต่อการักษาด้วยยา
2. ต้อหินชนิดมุมปิด
พบไม่บ่อย เกิดเมื่อมุมระหว่าง lris และ Cornea แคบ ต้อหินชนิดนี้จะเกิดอาการอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากมีการอุดของระบบท่อระบาย ทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยาบางชนิดหรือการอยู่ในที่มืดจะทำให้รูม่านตาขยายและก่อให้เกิดให้เกิดต้อหินชนิดนี้ขึ้นได้ อาการที่สำคัญคือ ปวดศรีษะ ปวดตา คลื่นไส้อาเจียน เห็นแสงเป็นสายรุ้งรอบดวงไฟ และตามัวลง หากมีอาการนี้ต้องรีบพบแพทย์ เพราะหากช้าประสาทตาจะถูกทำลาย การรักษามักจะต้องผ่าตัด
ต้อหินที่เกิดจากสาเหตุอื่น
เช่น การอักเสบของตา การได้รับอุบัติเหตุ โรคเบาหวาน หรือการใช้ยา เช่น สเตียรอยด์ ต้อหินชนิดนีี้จะมีอาการไม่รุนแรง การรักษาก็ขึ้นกับความรุนแรง และชนิดของต้อหิน
3. Normal tension glaucoma NTG
ต้อหินชนิดนี้จะมีความดันลูกในตาปกติ แต่มีการเสื่อมของประสาทตารวมทั้งสายตาและลานสายตาไปเรื่อยๆ ต้องตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอจึงจะตรวจพบ การรักษาด้วยยาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้อหินชนิดนี้ถึงจะพบได้น้อยกว่า 2 ชนิดแรก แต่ก็ไม่ควรละเลยหากมีอาการผิดปกติในการมองเห็นควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคและรักษาอย่างถูกต้อง
4. Pigmentary glaucoma
ต้อหินชนิดนี้มักพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-50 ปี เกิดจากเม็ดสีของตาหลุดไปอุดท่อระบายน้ำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันลูกในตาขึ้น ต้อหินชนิดนี้มักเกิดขึ้นเอง การรักษาให้ใช้ยาหรือเลเซอร์
การวินิจฉัย
หากแพทย์สงสัยว่าจะเป็นต้อหิน แพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียดตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. ตรวจความดันลูกตา Tonometry เป็นการวัดความดันลูกตา แพทย์จะหยอดยาชา หลังจากนั้น จะวัดความเป็นการวัดความดันลูกตา ค่าความดันของลูกตาปกติ 12-22 มิลลิเมตรปรอท คนที่เป็นต้อหินมากจะมีความดันในลูกตามากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท
2. ตรวจประสาทตาและจอรับภาพ Ophthalmoscopy
เป็นการใช้เครื่องมือส่องเข้าไปในตา เพื่อตรวจดูประสาทตา ผู้ป่วยบางคนอาจจะต้องหยอดยาขยายม่านตา เพื่อให้ตรวจได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินเรื้อรังเส้นประสาทตาจะซีด และมีขนาดใหญ่
3. การตรวจลานสายตา Perimetry
เป็นการตรวจลานสายตาของผู้ป่วย กล่าวคือ เวลามองเราจะสามารถ มองเห็นได้เป็นบริเวณกว้าง แต่หากเป็นโรคต้อ หินพื้นที่ที่เรามองจะเห็นแคบลงดังแสดงในรูปข้างบน วิธีการตรวจจะให้ผู้ป่วยมองตรง ไปยังหลอดไฟ หรือ แสงที่วางในตำแหน่งต่าง ๆ กัน แล้วบอกว่าเป็นตำแหน่งใดบ้าง แพทย์จะจดตำแหน่งที่เห็นเพื่อตรวจสอบลานสายตาว่าแคบ หรือปกติ
การตรวจ Gonioscopy
เป็นการตรวจมุมของกล้ามเนื้อ lris กับ Cornea เพื่อบอกว่าเป็นต้อหินชนิดมุมปิดหรือมุมเปิด โดยแพทย์จะหยอดยาชา และเอาเครื่องมือติดที่ตา ซึ่งจะมีกระจกให้แพทย์สามารถมองเห็นว่าเป็นมุมปิด หรือมุมเปิด
การรักษา
โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินแล้วต้องตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง หลักการคือการลดความดันในลูกตา ป้องกันตาบอดโดยการใช้ยาหยอด การรับประทานยา และการผ่าตัด
การใช้ยาหยอดตา
ยาหยอดตาที่ใช้รักษาต้อหินหากใช้ไม่ถูกต้องจะเกิดผลข้างเคียงและไม่มีประสิทธิภาพวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องมีดังนี้
- ตรวจชื่อยาว่าถูกต้องหรือไม่
- ล้างมือให้สะอาด
- เขย่ายาให้เข้ากัน
- เอนตัวไปข้างหลัง
- เหลือกบตามองไปข้างบน
- ดึงหนังตาล่างออก เพื่อหยอดยา
- หยอดยาลงบนหนังตาล่าง แล้วปิดตา เอนนอน
- อย่าให้ขวดยาสัมผัส
- กดที่หัวตาเบาๆ 2-3 นาที เพื่อมิให้ยาไหลลงในท่อน้ำตา
- ใช้ผ้าเช็ดยาที่เลอะรอบตา
- ล้างมืออีกครั้ง
- หากต้องหยอดยาอีกชนิดหนึ่งให้รอ 5 นาที ค่อยหยอดชนิดใหม่
การรักษาโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดทุกชนิดจะมีความเสี่ยง แพทย์จะหลีกเลี่ยงการผ่าตัด แต่การผ่าตัดปัจจุบันก็ประสบผลสำเร็จด้วยดี การผ่าตัดมักจะเลือกผ่าข้างใดข้างหนึ่ง การรักษาโดยการผ่าตัดเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดมุมปิด close glaucoma หรือในรายที่ใช้ไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงของยา การผ่าตัดมีสองชนิดใหญ่ คือ
Laser surgery
การผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ แพทย์จะหยอดยาชาที่ตา หลังจากนั้นจะใช้พลังงานจากแสงเลเซอร์ เปิดทางเดินน้ำเลี้ยงตา ขณะรักษาท่านอาจจะเห็นแสงวูบเหมือนถ่ายรูป และมีอาการระคายเคืองตา การรักษาโดยวิธีนี้จะช่วยลดความดันลูกตา วิธีการผ่าตัดเลเซอร์ มี 3 ชนิด คือ
Laser peripheral iridotomy คือ การใช้เลเซอร์ยิงม่านตาบริเวณริมตาเพื่อลดความดันตา
Argon Laser Trabeculoplasty คือ การยิงเลเซอร์เพื่อเปิดทางระบายน้ำในตา
Laser cyclophotocoagulation คือ การยิงเลเซอร์ที่มุมตาเพื่อลดการสร้างน้ำในลูกตา
การรักษาด้วยเลเซอร์ทั้ง 3 ชนิดนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินและขึ้นอยู่บริเวณที่ยิงเลเซอร์เพื่อจะทำการรักษา หลังการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยา บางรายอาจจะต้องผ่าตัดซ้ำ
Microsurgery
การผ่าตัดวิธีนี้เหมาะสำหรับต้อหินทุกชนิด ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง การผ่าตัดอาจจะใช้ยาชาเฉพาะที่ หรือดมยาสลบ หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเินและกลับบ้านได้โดยมีผ้าปิดตา และห้ามโ ดนน้ำ ห้ามออกกำลังกายอย่างหนัก ห้ามก้ม ห้ามดำน้ำ หรืออ่านหนังสือเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังการผ่าตัดลูกตาทานจะเหมือนปกติ จะมีรูเล็กๆ ที่ตาขาว ซึ่งถูกหนังตาบนปิดบังอยู่
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่เป็นต้อหิน
- จะต้องตรวจวัดความดันลูกตาตามแพทย์นัด หรือทุกเดือน จนกระทั่งความดันในตากลับสู่ปกติ
- ให้ใช้ยยาอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าความดันลูกตาจะกลับสู่ปกติ
- ให้ใช้ยาเวลาที่สะดวกที่สุด เช่น หลังตื่นนอน หรือ ก่อนนอน
- หากลืมหยอดยา ให้หยอดยาทันทีที่นึกขึ้นได้
- หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้
- เตรียมยาสำรองหากต้องเดินทาง
- จดชื่อยาที่ใช้ รวมทั้งขนาดที่ใช้ไว้กับตัว
- ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการหยอดยาที่ถูกต้อง
- จดตารางการหยอดยา และยารับประทานไว้ในที่ซึ่งมองเห็นได้ง่าย
- ต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียง
- เมื่อไปพบแพทย์ท่านอื่นต้องบอกว่าท่านเป็นต้อหิน และกำลังใช้ยาอยู่
- หากมีอาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตาต้องรายงานแพทย์
- ไปตามแพทย์นัด และให้แพทย์นัดครี้งต่อไป
- หาไม่ได้ยาต้องบอกแพทย์ทุกครั้ง
การดูแลตา
- ใช้เครื่องสำอางที่ไม่ก่อให้้อาการแพ้
- ห้ามขยี้ตา
- หากมีการผ่าตัดตา ให้สวมแว่นกันฝุ่น หรือกันน้ำเวลาทำงาน หรือ ว่ายน้ำ
- ดูแล้สุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง
- รับประทานอาหารคุณภาพ ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ลดปริมาณกาแฟ ควบคุมน้ำหนัก
- ลดความเครียด
- เมื่อดื่มน้ำให้ดื่มครั้งละไม่มาก แต่บ่อยๆ
โรคตาที่เกิดจากเบาหวาน
กลุ่มโรคตาที่เกิดจากเบาหวาน ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ซึ่งมีความรุนแรงตั้งแต่ทำให้ตามั่วไปจนถึงตาบอด ประกอบด้วย เบาหวานขึ้นจอรับภาพ (Diabatic Retinopathy) มีการเปลี่ยนแปลงผนังของเส้นเลือดที่เลี่้ยงจอรับภาพ ต้อกระจก (Cataract) เลนส์แก้วตาเปลี่ยนสภาพจากใสเป็นขุ่นเร็วกว่าคนปกติ ต้อหิน (Glaucoma) ความดันตาสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำลายขั้วประสาทตาทำให้ตาบอดแบบค่อยไปโดยไม่รู้สึกตัว เมื่อมีเส้นเลือดงอกในม่านตา
เบาหวานขึ้นจอรับภาพพบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของตาบอดอันดับหนึ่งในคนอเมริกัน เมื่อเป็นเส้นเลือดที่เลี้ยงจอรับภาพผิดปกติ ผนังเส้นเลือดจะมีการไฟลของน้ำเหลือง ทำให้จอรับภาพบวม เกิดเส้นเลือดงอกผิดปกติที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในจอประสาทตา เพราะเส้นเลือดเหล่รนี้จะเปราะและแตกง่าย
คนไข้เบาหวานทุกคน ยิ่งเป็นเบาหวานนานเท่าไร โอกาสเกิดเบาหวานขึ้นตาก็ยิ่งมากขึ้น พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของคนไข้เบาหวาน เกิดเบาหวานขึ้นจอรับภาพ แต่ความรุนแรงอาจแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยเบรหวานจึงมีอัตราเสี่ยงที่จะตาบอดมากกว่าคนธรรมดาถึง 20 เท่า เพราะอาการ "เบาหวานขึ้นตา" ตามระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และ ความรุนแรงของเบาหวาน
เบาหวานขึ้นตา
สาเหตุ
เมื่อป่วยเป็นเบาหวานนานหลายๆ ปี เส้นเลือดฝอยทั่วร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งที่ผนังหลอดเลือดในจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาบวม ขาดออกซิเจน หากเป็นเช่นนี้นาน ๆ เข้า จะเกิดเส้นเลือดงอกใหม่ เลือดออก น้ำวุ้นตาขุ่นมัว จอประสาทตาลอก และทำให้ตาบอดในที่สุด เราเรียกโรคแทรกซ้อนนี้ว่า "เบาหวานขึ้นตา"
เบาหวานขึ้นตาพบมากแค่ไหน
ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และประเทศในยุโรป เบาหวานขึ้นตาเป็นสาเหตุทำให้คนช่วงอายุ 40-60 ปี ตาบอดเป็นอันดับ 2 แต่ปัจจุบันวิวัฒนาการการรักษาจอประสาทตาด้วยเลเซอร์แพร่หลายขึ้น จึงทำให้สถิติตาบอดจากโรคนี้ลดลงเป็นอับดับที่ 4
ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากที่ไม่ทราบถึงอันตรายจากโรคแทรกซ้อนี้ และไม่ได้รับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องทำให้สูญเสียสายตาไปเป็นจำนวนมาก
ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้ตาบอด
เบาหวานขึ้นตา เป็นโรคที่เกิดบริเวณจอประสาทตา ซึ่งอยู่ภายในลูกตาให้ ไม่สามารถตรวจเช็คได้ด้วยตาเปล่า ผู้ป่วยไม่ว่าจะควบคุมเบาหวานดีเพียงใด แต่เมื่อเป็นเบาหวานนานหลายปี ก็มีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตาได้ทั้งนั้น เมื่อรู้ว่าเป็นเบาหวาน อาจจะเป็นมานานแล้ว หรือเพิ่งเริ่มเป็น ควรพบจักษุแพทย์เพื่อวัดสายตา เช็คจอประสาทตาตั้งแต่ทราบว่าเป็นเบาหวาน เพราะเบาหวานขึ้นตาในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยยังไม่มีอาการตามัวจนกว่าอาการแทรกซ้อนของเบาหวานขึ้นตาจะเข้ามาใกล้ศูนย์กลางของการเห็น ผู้ป่วยจึงจะเริ่มรู้สึกตามัว ซึ่งขณะนั้นอาจเป็นระยะที่เบาหวานขึ้นตาขั้นรุนแรง
วิธีการตรวจจอประสาทตา
- วัดสายตา
- วัดความดันตา
- หยอดยาขยายม่านตา
- ใช้กล้องสอ่งจอประสาทตา
- ตรวจพิเศษด้วยการฉีดสีฟลูออเรสซีน เป็นบางกรณี
การรักษาและติดตามอาการของโรค
ถ้าจักษุแพทย์ตรวจจอประสาทตาแล้ว ไม่พบเบาหวานขึ้นตา จะนัดตรวจทุก1 ปี หรือ 6 เดือน ถ้ามีเบาหวานขึ้นตา จักษุแพทย์จะวินิจฉัยความเหมาะสมว่าควรนัดรักษาด้วยเลเซอร์เมื่อใด เพื่อไม่ให้จอประสาทตาบวมมากขึ้น เส้นเลือดที่งอกใหม่ในจอประสาทตาจะลดน้อยลง เมื่อได้รับการรักษาด้วยแสงเลเซอร์แล้ว
หลังการรักษาด้วยเลเซอร์
หลังการรักษาด้วยเลเซอร์ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ นอนพักผ่อนประมาณ 2 ชั่วโมง ไม่ควรออกกำลังกายภายในวันนั้น ตาข้างที่รักษาไม่จำเป็นต้องปิดตา ม่านตาที่หยอดยาขยายจะเล็กลงเป็นปกติภายใน 4 ชั่วโมง ถ้ามีอาการปวดตา สามารถทานยาแก้ปวดได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการปวดหรือบวมหลังการรักษาด้วยเลเซอร์ บวมให้ใช้น้ำเย็นประคบประมาณ 10 นาที จะรู้สึกสบายขึ้น รับประทานอาหารได้ตามปกติ
เมื่อทำการรักษาด้วยเลเซอร์เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะนัดมาตรวจเป็นครั้งคราว การใช้แสงเลเซอร์รักษาอาจทำได้เพิ่มเติมเป็นครั้งคราว แล้วแต่อาการผิดปกติของเส้นเลือดในจอประสาทตาของผู้ป่วย ในกรณีมีจอประสาทตาบวมและเส้นเลือดจอตางอกผิดปกติ อาจใช้การฉีดยาเข้าในน้ำวุ้นตาเป็นครั้งคราว ปัจจุบันวิธีนี้ช่วยให้สายตาดีขึ้นมาก
ผลการรักษา
การรักษาจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน ถ้ามารักษาในระยะที่เริ่มเป็นจะได้ผลดี แต่ถ้าเป็นมากแล้วจนมีเส้นเลือดงอกออกมามาก เลือดออกในน้ำวุ้นตา จอประสาทตาลอก อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะทิ้งไว้นานเกินไป การรักษาก็จะยาก สายตาอาจไม่ดีขึ้น อาจต้องทำการผ่าตัดน้ำวุ้นตา และใช้แสงเลเซอร์ขณะทำการผ่าตัด
นอกจากโรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีโรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ ตาแห้ง/แสบตา/น้ำตาไหล (Dry eye/Burning/Watery) เป็นโรคที่เกิดบ่อยมากในคนสูงอายุ โดยทั่วไปโรคเหล่านี้จะไม่ค่อยมีผลต่อการมองเห็น นอกจากทำให้คนไข้รำคาญ ซึ่งก็เป็นการเสื่อมสภาพตามอายุของระบบผลิต และขับถ่ายของน้ำตา
หนังตาหย่อน/ หนังตาบนตก (Dermatochalesis/Ptosis) เป็นโรคที่เกิดจากการหย่อนตัวของหนังตา และการเสื่อมของกล้ามเนื้อตาที่จะดึงหนังตาบนขึ้น ถ้าหนังตาบนตกลงมามากจนรบกวนการมองเห็น การผ่าตัดก็มีความจำเป็น
หนังตาล่างม้วนเข้า/ม้วนออก(Entropion/Ectropion)ปัญหานี้มักจะทำให้เกิดอาการตาแห้ง และมีแผลที่กระจกตาดำ ซึ่งนอกจากจะระคายเคืองแล้ว ยังรบกวนต่อการมองเห็น ฉะนั้นการผ่าตัดแก้ไขจึงเป็นสิ่งจำเป็น
เนื้องอกของหนังตา (Eye lid tumors) มักจะเกิดในผู้สูงอายุ มีทั้งที่ไม่ร้ายแรง และร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็ง ถ้าเป็นชนิดร้ายแรงต้องอาศัยการผ่าตัดรักษา
งูสวัด (Herpes Zoster) โรคนี้เกิดขึ้นบ่อยสำหรับผู้สูงอายุ และในคนที่มีภูมิกันโรคต่ำ ถ้างูสวัดลามเข้าไปในลูกตา จะมีอันตรายอาศัยการผ่าตัดรักษา
จอประสาทตาเสื่อม (Macular degenration) โรคนี้ส่วนใหญ่มักเป็นในผู้สูงอายุ ซึ่งรักษายากมาก การรักษาด้วยแสดงเลเซอร์ อาจไม่ได้ผลเสมอไป
จอประสาทตาลอก (Retinal detachment) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้คนตาบอดอยู่ในทุกประเทศของโลก
ตะกอนวุ้น (Vitreous floater) โรคนี้จะทำให้้คนใช้มองเห็นจุดดำ ๆ เล็กๆ คล้ายแมลงหวี่ลอยไปมา โรคนี้สร้างความรำคาญให้แก่คนไข้อย่างมาก แต่โดยทั่วไปมักไม่ค่อยทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของการมองเห็นจุดดำๆ นี้ร่วมกับแสงไฟแลบ หรือจุดดำ ๆ จำนวนมากหรือเป็นจุดที่ค่อนข้างใหญ่ ต้องไปรับการตรวจจากจักษุแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการเริ่มเเรกของจอประสาทตาลอกได้ หรือเริ่มมีรูฉีกขาดที่จอประสาทตา
โรคจอประสาทตาเสื่อม เอ เอ็ม ดี (AMD : Aged Macular Degeneration)
โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ ที่มีมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แต่ในบางครั้งอาจพบในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี
โรคจอประสาทตาเสื่อม เอ เอ็ม ดี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ชนิดที่หนึ่ง เกิดจาก จอรับภาพตรงกลางเกิดความเสื่อมของเซล (Macular Degeneration Dry Type) ทำให้ไม่สามารถอ่านหนังสือตัวเล็ก ๆ ได้ มักไม่รุนแรง ไม่ถึงกับตาบอด
ชนิดที่สอง จอประสาทตาตรงกลางเกิดมีเส้นเลือดงอกมาจากชั้นคลอรอย เข้ามาในจุดศูนย์ กลางของจอรับภาพ ทำให้มองภาพคดและเบี้ยว ถ้าเส้นเลือดแตก จะเกิดอาการมองตรงกลางไม่ได้ ซึ่งหากทิ้งไว้นนานจะเสียการมองตรงกลางอย่างถาวร แต่ถ้าสามารถตรวจพบในขณะที่เส้นเลือดยังไม่แตก อาจรักษาให้เส้นเลือดผ่อไปได้ ด้วยการใช้วิธี PDT และฉีกยาเข้าไปในวุ้นตา Intra Vitreous Injection Anti VEGF (Vascular endothelial growth factor) ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถ รักษาได้ผลดีที่สุดในขณะนี้ แต่อาจจะต้องทำหลายครั้ง
โรค อาร์ พี หรือ โรคตาบอดตาใส คืออะไร
โรค RP.(Retinitis Pigmentosa) หรือ โรคตาบอดใสนั้น มองดูภายนอกจะเห็นว่าดวงตาเป็นปกติ แต่จะมีอาการมองไม่ค่อยเห็น มักจะเริ่มเป็นในวัยกลางคน อายุประมาณ 40 ขึ้นไป โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม และผู้ป่วยมักมีประวัติครอบครัว หรือบิดามารดาเป็นญาติใกล้ชิดกัน
อาการ คือ แรก ๆ จะมองไม่ค่อยเห็นในที่มืด ต่อมาจะมีอาการตามัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีอาการปวดตาแต่อย่างใด จะตรวจพบก็ต่อเมื่อเซลประสาทตาเสื่อมมากขึ้น ลานสายตาแคบลง และเมื่อตรวจจอประสาทตา จะพบว่ามีปื้นดำ ๆ กระจัดกระจายอยู่รอบ ๆ ของจอประสาทตา ถ้าเป็นมากขึ้น จะมีป้นดำ ๆ คือ เซลล์จอประสาทตาเสื่อมมากขึ้น และใกล้เข้าจุดศูนย์กลางการรับภาพ
ข้อควรปฏิบัติ เมื่อเป็นโรค อาร์ พี
เซลล์ของจอประสาทตาจะเสื่อมเร็วถ้าถูกแสงอัลตราไวโอเลท ดังนั้นควรใส่แว่นที่มีสารป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลท ได้มากๆ แต่ไม่ควรเป็นแว่นดำมาก เพราะคนที่เป็นโรคนี้ มักมองไม่ค่อยเห็นในที่มืด ถ้ามีโรคตาอื่นๆ ตามมา ก็ต้อง รักษาโรคตานั้น ๆ ตามปกติที่รักษากันอยู่ โดยยังสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
โรคตาต่างๆ ที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงโรคที่พบได้บ่อย และน่าสนใจให้ผู้อ่านศึกษาดู แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมได้หมดทุกๆ เรื่อง หรืออาจจะขาดบางเรื่องที่ผู้อ่านสนใจศึกษา หากผู้อ่านไม่เป็นโรคอะไรที่กล่าวมานี้ก็นับว่าดีมาก แต่ถึงแม้ว่าวินิจฉัยแล้วเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อย่าได้ตกใจ หรือกังวล ค่อย ๆ ทำความรู้จักกับโรคที่มาเยี่ยมเยือน และอยู่ด้วยกันอย่างสันติ อย่ากังวล เพราะความกังกลจะทำให้เป็นโรคอื่น ๆ ตามมาอีก
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น