วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์หลังโยน "วิจัยนาซ่า" เข้าสู่สภาฯ ปชป.ต้องรับผิดชอบ


วิเคราะห์หลังโยน "วิจัยนาซ่า" เข้าสู่สภาฯ ปชป.ต้องรับผิดชอบ
วิเคราะห์หลังโยน "วิจัยนาซ่า" เข้าสู่สภาฯ ปชป.ต้องรับผิดชอบ

         วิเคราะห์หลังนายกฯปูแถลงกรณีโครงการสำรวจชั้นบรรยากาศ นักข่าวถาม "กรณีประเทศชาติเสียหาย ฝ่ายค้านต้องรับผิดชอบหรือไม่"

           ข้อเท็จจริงคือ การเสนอข่าวทุกวันนี้ หลายคนยังไม่ทราบว่าที่จริงแล้วมี 2 โครงการ ซ้อนกันอยู่คือ

  1. โครงการศูนย์ภัยพิบัติ HADR และ
  2. โครงการสำรวจเมฆฝนของนาซ่า

"โครงการศูนย์ภัยพิบัติ HADR" โดยความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือสหรัฐกับกองทัพเรือไทย
ความเป็นมา

       1. อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์เสนอจัดตั้ง Humanitarian Assistance Disaster Relief ในลักษณะ ASEAN เสนอ UN โดยใช้ อู่ตะเภา” เป็นที่ตั้งศูนย์ภัยพิบัติดังกล่าวในเวทีอาเซียน ประเทศ เวียดนามสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์

      2. ล่าสุดเมื่มีข่าวที่สับสนเรื่องนาซ่าออกมา Leon E. Pannetta, Defense Secretary ของกองทัพสหรัฐฯ ออกมาเผยผ่านนสพ.วอชิงตันโพสท์ว่าสหรัฐฯมีแผนในการสร้าง ศูนย์ภัยพิบัติ” HADR ในปีนี้

       3. แต่ในข้อเท็จจริงโครงการนี้เป็นคนละโครงการกับการสำรวจเมฆฝนของนาซ่า เป็นเรื่องของกองทัพเรือที่ต้องพิจารณาไม่เกี่ยวกับรัฐบาล หรือ ครม. แต่อย่างใด

        ส่วน โครงการที่เป็นประเด็นคือ โครงการสำรวจเมฆฝน โดย องค์กรนาซ่า  โดยความร่วมมือระหว่าง NASA และ GISTDA

ความเป็นมา

           1. ความเป็นมาทั้งหมดของการวิจัยสำรวจเมฆ ฝน เป็นโครงการวิจัยที่การทดลองมาหลายครั้งแล้ว หลายประเทศที่มีศักยภาพ อาทิ DLR เยอรมัน, Jacksa ญี่ปุ่น (กรมแผนที่ทหาร/ กองทัพอากาศ)อังกฤษ ก็ทำการสำรวจเรื่องดังกล่าว


          2. ปี 1994 นาซ่าเคยสำรวจโครงการลักษณะเดียวกันในฮ่องกง ซึ่งในขณะนั้นฮ่องกงยังไม่ได้รวมตัวกับจีน


          3. เอกสารที่ ส.ส. ชวนนท์ ออกมาอ้างอิงจากเว็บนาซ่านั้นแล้วอ้างว่าจีนปฏิเสธความร่วมมือ แท้จริงแล้วเป็นเอกสารว่าด้วยเรื่อง MPLNET หรือ เครือข่ายสถานีภาคพื้นดินที่ยิงเลเซอร์ขึ้นไปสำรวจบนฟ้า เป็นคนละวิธีการกับ Flight Plan ที่ทางนาซ่าติดต่อเขามา


          4. ดร. นริศรา คนไทยที่ทำงานในนาซ่าเปิดเผยในงานเสวนาร่วมนักวิทยาศาสตร์จุฬาฯ วานนี้ว่า คณะทำงานเพิ่งกลับมาจากการสำรวจในฮ่องกง และในคณะทำงานที่บินขึ้นไปสำรวจชั้นบรรยากาศมีนักวิจัยจีนร่วมด้วยหลายคนเพราะจีนก็เห็นว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์กับทั้งจีนและทั้งโลกด้วยเช่นกัน



            จากการวิเคราะห์ของหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงในสุดๆ มองเกมส์การเมืองของฝ่ายค้านในเรื่องนาซ่าว่าปชป. รู้อยู่แก่ใจว่าเรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร แต่ตั้งใจตีขรุม สร้างวาทกรรมทางการเมืองผ่านสื่อค่ายเหลืองให้สังคมงงว่าเรื่อง ศูนย์ภัยพิบัติ HADR กับ เรื่องการสำรวจเมฆฝนของนาซ่าเป็นเรื่องเดียวกัน ตีกินพื้นที่ข่าวได้หลายด้าน ทั้งเรื่องความมั่นคง ผลประโยชน์ทับซ้อน มั่วข่าว ก่ิอนครม.ตัดสินใจ มีข่าวว่ามีผู้เตรียมร้องศาลปกครองให้ยกเลิกคำสั่งถ้าครม.อนุมัติโครงการสำรวจเมฆฝน และพร้อมจะยื่นถอดถอนครม.ต่อศาลรธน. ว่าครม.กระทำการขัดรธน.ม.190 วรรค (2) และอาจเป็นเหตุให้เกิดข้ออ้างของการชุมนุม "กู้ชาติ" อีกครั้งของพันธมิตร และปฏิวัติโดยทหารในที่สุด 



           อย่างไรก็ดีข่าวก็คือข่าว โปรดใช้วิจารณญาณในการบริโภคข้อมูลว่าจริงหรือไม่ แต่ถ้าโดยส่วนตัวผู้เขียน เหตุการณ์และข้อท้วงติงทางกฎหมายแบบนี้ทำให้นึกถึงกรณีเขาพระวิหาร ที่กล่าวหา คุณนพดล ที่ว่า "ขายชาติ" จนถึงทุกวันนี้แบบกู่ไม่กลับ คล้ายกับว่านี่เป็นบันไดเริ่มต้นที่รัฐบาลทักษิณเคยโดนกล่าวหา 4 ขั้น "โกง ขายชาติ ล้มเจ้า ปฏิวัติ" ฉันใดฉันนั้นทีเดียว


คำถามคือการสร้างความขัดแย้งระหว่าง ประเทศมหาอำนาจกับประเทศ คุ้มค่าแล้วกับการได้เปรียบทางการเมืองของปชป. หรือไม่
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น