ไต่สวนการตาย 'พัน คำกอง'
| |
ไต่สวนการตาย 'พัน คำกอง' พันโทยันเสียงกระสุนM16 -‘สรรเสริญ’ย้ำ 10 เมษา สั่งถอนทหาร 5 โมง Fri, 2012-07-06 19:06 ‘สรรเสริญ แก้วกำเนิด’ เบิกความไต่สวนการตาย ‘พัน คำกอง’ จากกรณียิงรถตู้ที่ราชปรารภ กลางดึก 14 พ.ค.53 ระบุไม่รู้เรื่องทางปฏิบัติ ย้ำ 10 เมษา ศอฉ.สั่งทหารออกตั้งแต่ 5 โมงเย็นแต่ออกไม่ได้โดนบล็อก ปัดไม่มีบันทึกคำสั่งเป็นหนังสือ ด้านทหารยศพันโทระบุเสียงปืนในคลิปที่เกิดเหตุเป็นเสียง ‘M16’ และลูกซอง ขณะที่พยานทหารคนอื่นบอกไม่สามารถระบุชนิดปืนได้เพราะเสียงก้อง – 5 ทหารยืนยันตรงกันไม่พบชายชุดดำในบริเวณที่เกิดเหตุ 5 ก.ค.55 ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา รัชดา มีการไต่สวนการเสียชีวิตของานาย พัน คำกอง คนขับแท็กซี่ซึ่งถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภ ใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ซึ่งเป็นจุดประจำการของทหาร เมื่อหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พ.ค.ต่อกับวันที่ 15 พ.ค.53 จากกรณีที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ โดยในวันนี้มีการไต่สวนทหารจาก ปราจีนบุรี 2 นายซึ่งไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่เบิกความในส่วนของเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.53 ซึงหนึ่งในทหารผู้เบิกความถูกยิงที่บริเวณเหนือเข่า เหตุเกิดในการปะทะระหว่างทหารและผู้ชุมนุมรอบแรกช่วงบ่ายบริเวณถนนตะนาว และเห็นชายคนหนึ่งควักปืนมายิงจนตนได้รับบาดเจ็บดังกล่าว ในช่วงบ่าย พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อดีตโฆษก ศอฉ. ขึ้นเบิกความระบุว่าไม่ทราบรายละเอียดเหตุการณ์ยิงรถตู้ในวันที่ 15 พ.ค.53 เพราะรับผิดชอบในส่วนนโยบาย พร้อมเบิกความไล่เรียงตั้งแต่กลุ่ม นปช.เริ่มการชุมนุมเมื่อ 12 มี.ค.53 และเหตุที่ต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมเปลี่ยน ศอรส. เป็น ศอฉ. เพื่อควบคุมสถานการณ์ที่มีแนวโน้มความรุนแรง เนื่องจากผู้ชุมนุมบุกรัฐสภาและมีการยื้อแย่งอาวุธเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม การทำงานของเจ้าหน้าที่จะบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ชุมนุม และยึดหลักสากลจากเบาไปหาหนัก ซึงท้ายที่สุดหากจะมีการใช้กระสุนจริงจะเป็นการยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญ ถ้าไม่ได้ผลจะยิงไปในทิศทางที่ปลอดภัย ไม่มีผู้ชุมนุมอยู่ และจะยิงต่อเป้าหมายต่อเมื่อบุคคลนั้นจะทำร้าย ประทุษร้ายประชาชนหรือเจ้าหน้าที่เท่านั้นและมุ่งให้หยุดกากระทำไม่ประสงค์ให้ถึงแก่ชีวิต สั่งถอนทหารก่อน 5 โมงเย็น สั่งทางวิทยุ นอกจากนี้เข้ายังเบิกความถึงเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.53 ซึ่งมีการ “ขอคืนพื้นที่” จากผู้ชุมนุมที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าว่า ในวันดังกล่าวมีการปะทะกันแต่ไม่มีใครเสียชีวิต กระทั่งก่อนเวลา 17.00 น. เริ่มมีการปะทะกันมากขึ้นขณะที่แสงสว่างกำลังจะหมด ศอฉ.จึงมีคำสั่งให้ทุกหน่วยหยุดปฏิบัติการและถอนตัว เพราะในยามคำคืนอาจมีคนสวมรอยมาทำร้ายผู้ชุมนุมหรือเจ้าหน้าที่ได้ แต่บริเวณสี่แยกคอกวัวเจ้าหน้าที่ถอนกำลังไม่ได้เนื่องจากถูกผู้ชุมนุมปิดล้อมทั้งด้านหน้าด้านหลัง ขณะที่ชายชุดดำที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้อาวุธยิงเข้ามาจนทำให้มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตตามที่เป็นข่าว รวมถึง พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ด้วย พ.อ.สรรเสริญ ตอบทนายถามว่า มีมติสั่งให้ถอนกำลังจริง ซึ่งในที่ประชุมมีพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่ด้วย ส่วนตนเองนั้นเดินเข้าๆ ออกๆ สำหรับการออกคำสั่งของ ศอฉ.นั้นไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแต่จะใช้วิธีสั่งการทางวิทยุทหาร โดยแต่ละหน่วยจะมีเจ้าหน้าที่วิทยุเข้าไปอยู่ในที่ประชุมอยู่แล้วและสามารถสั่งการได้เลย นอกจากนี้ยังระบุว่าคำสั่งกระชับวงล้อมนั้นอนุญาตให้ใช้กระสุนจริงได้ตามเอกสารที่นำส่งศาล ส่วนจะใช้กำลังเท่าไร อาวุธอะไรบ้างนั้นตนไม่ทราบในรายละเอียด ปืนหายหลายกระบอก วันเดียวกันในช่วงบ่ายแก่ที่บริเวณสะพานปิ่นเกล้าและถนนดินสอมีผู้ชุมนุมบางส่วนได้เข้าแย่งยึดอาวุธของทหาร มีการนำไปแสดงบนเวทีปราศรัยแต่ไม่ได้ส่งคืน ทหารสามารถยึดคืนไดจำนวนมากแต่ก็ยังมีบางส่วนสูญหาย ซึ่งได้มีการแจ้งความไว้ที่ สน.บางยี่ขันได้แก่ ปืนทราโวล 12 กระบอก ปืนลูกซอง 35 กระบอก นอกจากนี้ พ.อ.สรรเสริญยังกล่าวถึงการปรับกำลังพลหลังจากที่พยายามผลักดันผู้ชุมนุมมานานแต่ไม่สำเร็จว่า ได้มีการปิดเส้นทางต่างๆ มากขึ้น และปรับกำลังในการรับผิดชอบพื้นที่ต่างๆ โดยกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ จำนวน 22 กองร้อย รักษาความสงบ และจำนวน 19 กองร้อยปราบจลาจล ได้เข้าปิดเส้นทางบริเวณถนนราชปรารภ เพชรบุรี พญาไท ราชวิถี ศรีอยุธยา แต่ก็ยังไม่สำเร็จนักเนื่องจากมีตรอกซอกซอยเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งวันที่ 19 พ.ค.53 ศอฉ.มีคำสั่งกระชับวงล้อม เนื่องจากที่ผ่านมาทหารถูกชายชุดดำโจมตีด้วย M79 แต่กำลังทหารเข้าไปได้ไม่ถึงจุดที่มีการตั้งเวทีปราศรัย 5 ทหารเบิกความ 4 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ค.55 ก็มีการไต่สวนการเสียชีวิตของนาย พัน คำกอง เช่นเดียวกัน โดยมีทหารจากกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งประจำการบริเวณดังกล่าวขึ้นเบิกความ 5 นาย ต่อจากวันที่ 3 ก.ค.ที่มีการเบิกความไปแล้ว 4 นาย จัดกำลัง รปภ.สถานที่ และการควบคุมฝูงชน พ.ท.พงศกร อาจสัญจร (ขณะนี้ยศ พ.อ.) ผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 (ผบ.ร. 1 พัน 3 รอ.) เบิกความโดยสรุปในช่วงแรกว่า วันที่ 14 พ.ค.53 เวลา 11.00 น.ได้มีเหตุรื้อกระสอบทรายบริเวณแยกจตุรทิศ ตนได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ให้ไปที่เกิดเหตุเนื่องจากการจราจรอัมพาตมากเข้าไปเพื่อไปเคลียสถานการณ์ให้เรียบร้อย โดยมีรองผู้บังคับกองพัน(พ.ท.ทรงสิทธิ ไชยยงค์) เป็นผู้คุมกำลังไป 1 กองร้อย หรือ 150 นาย ซึ่งที่เกิดเหตุนั้นมีกลุ่มประชาชนจำนวนมากได้รื้อกระสอบทรายที่เอาไว้ตั้งจุดตรวจ กำลังที่จัดไปนั้นเป็นกำลัง รปภ.สถานที่ และการควบคุมฝูงชน ที่กฎเกณฑ์การใช้อาวุธเป็นการใช้จากเบาไปหาหนัก 7 ขั้นตอน แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อะไรได้เพราะห้อมล้อมไปด้วยผู้ชุมนุมจำนวนมาก ตนจึงได้รายงานไปยังผู้บังคับการกรมฯ ขอไปที่เกิดเหตุ นำกำลังไปเสริมอีก 1 กองร้อยหรือ 150 นาย ในเวลาประมาณ 13.00 น. โดยได้นำกำลังไปลงที่ปากซอยรางน้ำฝั่งราชปรารภและนำกำลังเดินเข้ามายังแยกจตุรทิศ โดยในขณะนั้นมีรถบรรทุกของทหารจอดอยู่บริเวณดังกล่าวแล้วมีผู้ชุมนุมเข้าไปแย่งยึดและกระชากกำลังพล 2 คนที่อยู่บนรถลงมา ทีมของตนได้เข้าไปช่วยกำลังพลมาได้ แต่ไม่สามารถนำรถออกมาได้เนื่องจากผู้ชุมนุมได้ล้อมไว้ พ.ท.พงศกร อาจสัญจร เบิกความต่อว่า ขณะนั้นมีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 700 คน อยู่บนสะพานจตุรทิศและด้านล่างก็มีทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมและผู้สัญจรเนื่องจากการจราจรขณะนั้นยังไม่ได้มีการปิด หลังจากนั้นตนพยายามแจ้งผู้บังคับบัญชาให้ปิดการจราจรให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ออกจากพื้นที่ไปเพื่อความปลอดภัย สุดท้ายไม่แน่ใจว่ามีเจ้าหน้าทีมาปิดหรือไม่แต่สัก 20 นาที ถนนก็ไม่มีรถเข้ามาแล้วขณะนั้น ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. หลังจากที่ตนไปถึงก็ประเมินว่าคนจำนวนมากกำลังตนมีน้อยเมื่อเทียบกับผู้ชุมนุม เกรงว่าจะมีการกระทบกระทั่งได้จึงได้แจ้งขอกำลังเพิ่มเติมไปกับผู้บังคับบัญชา โดยหลังจากนั้นมีกำลังของกองพันที่ 31 ทหารปืนใหญ่ รักษาพระองค์ (ป.พัน.31 รอ.) เข้ามาประมาณ 2 กองร้อย โดยอยู่คนละฝั่งกับชุดของตนชุดของตนอยู่ทางด้านขวา และของ ป.พัน.31 รอ. อยู่ทางด้านซ้าย และตนเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในบริเวณพื้นที่อีกด้วย ประชาชนฝั่งหนึ่งตะโกนด่า ฝั่งหนึ่งเอาน้ำมาให้ พ.ท.พงศกร อาจสัญจร เบิกความว่า เวลา 16.00 น.ของวันที่ 14 พ.ค.53 สถานการณ์คลี่คลายลงไปในทางค่อนข้างที่จะดี ตนได้รับคำสั่งให้อยู่ที่ถนนศรีอยุธยา ประจำอยู่ใต้สะพานลอยหน้าโรงพยาบาลพญาไท 1 โดยตนดูจากสถานการณ์และรายงานผู้บังคับบัญชาว่า 1 กองร้อยจะอยู่ที่ถนนศรีอยุธยาและอีก 1 กองร้อยที่ พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ นำมาจะอยู่ที่แอร์พอตลิงก์ ซึ่งตนประจำอยู่บริเวณดังกล่าวจนเสร็จสิ้นภารกิจในวันที่ 22 พ.ค.53 หลังจากที่ไปประจำจุดดังกล่าวบริเวณซอยที่เชื่อมไปซอยรางน้ำก็มีกลุ่มผู้ชุมนุมมาตะโกนต่อว่า โดยฝ่ายทหารไม่ได้มีการตอบโต้อย่างใดแต่ได้นำเอารั้วลวดหนามไปวางกันไว้ จริงๆแล้วในพื้นที่ตรงนี้เป็นจุดตรวจมาก่อนเพราะว่ามีการประกาศ พรก.ไปแล้ว มีการต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ ซึ่งพื้นที่บริเวณตรงที่ตนอยู่ก็พยายามอยากให้ผู้ชุมนุมออกจะได้ปลอดภัย เพราะฉะนั้นพื้นที่ดังกล่าวก็พยายามทำให้ปลอดภัย โดยสภาพโดยรวมบริเวณที่ตนอยู่ฝั่งรางน้ำก็จะมีคนมาตะโกนด่า แต่อีกฝั่งถนนพญาไทมีประชาชนเอาน้ำมาให้ทหาร เป็นภาพความแตกต่าง ได้ยินเสียงระเบิดคล้าย M203 แต่ไม่ทราบเสียงปืนเพราะเสียงก้อง พ.ท.พงศกร อาจสัญจร เบิกความอีกว่า ช่วงค่ำมีข่าวแจ้งเตือนให้ระมัดระวังว่าอาจจะมีการยิงมาในพื้นที่ และได้ยินเสียง M203 เป็นปืนเครื่องยิงลูกระเบิดยิงมาตกตรงไหนไม่แน่ชัด แต่ได้ยินเสียงแน่นอนเพราะเสียงมันก้อง เสียงดังมาจากทางประตูน้ำ ในช่วงประมาณ 19.00 – 21.00 น. ประมาณ 6-8 นัด และจากการรายงานทางวิทยุโดย พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ ทำให้ทราบว่าตกอยู่ตรงสะพานลอยแถวถนนราชปรารภ หน้าโรงแรมอินทรา ได้รับรายงานทางวิทยุสื่อสารเวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง มีเสียงปืนดังติดต่อกันประปราย ทราบว่ามีรถวิ่งผ่านมา ตนอยู่ในมุมที่ไม่ได้ยินมากเพราะเสียงมันก้องๆ หลังจากเสียงปืนสงบลง อัยการสอบถามเพิ่มเติมว่าพยานหรือพ.ท.พงศกร อาจสัญจร แยกออกไหมว่าเสียงปืนนั้นคือเสียงอะไร ในเมื่อเสียงระเบิดพยานทราบว่าเป็นเสียงระเบิดอะไร พ.ท.พงศกร อาจสัญจร ตอบว่า ไม่แน่ใจเพราะว่าว่าเสียงก้อง และได้แจ้งกับ พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ ว่าหากมีสิ่งใดให้ปฏิบัติตามผู้บังคับบัญชาที่อยู่ตรงนั้นได้เลย เนื่องจากตรงจุดเกิดเหตุมีผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าตนอยู่ด้วย คือ พ.อ.ณัฐวัฒน์ อัคนิบุตร อัยการถามต่อว่าพยานทราบหรือไม่ว่าที่มีการยิงรถตู้มีการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บกี่ราย พ.ท.พงศกร อาจสัญจร ตอบว่า ได้ยินรายงานทางวิทยุว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บและนำส่งโรงพยาบาล ตนรับทราบเพียงเท่านั้น ไม่มีกำลังพลได้รับบาดเจ็บ จนเสร็จสิ้นภารกิจ ตั้งแต่วันที่ 14 – 22 พ.ค.53 เสร็จสิ้นภารกิจ พ.ท.พงศกร อาจสัญจร ยืนยันว่าไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ส่วนในการจัดกำลังพลนั้น พ.ท.พงศกร อาจสัญจร เบิกความว่า 1 กองร้อยจะมี โล่ ตะบอก ปืนลูกซองกระสุนยาง ปืนลูกซองมี 30 กระบอก และมีลูกกระสุนยางกระบอกละ 10 นัด รวมเป็น 300 นัด กระสุนยางคนละอย่างกับลูกแบงก์ ลูกแบงค์ใช้ซ้อมรบจะมีแต่เสียงเพื่อให้เกิดความสมจริง ลูกแบงก์หัวจะเป็นจีบ แต่ถ้าอยู่ในระยะ 1 เมตร ความแรงของดินปืนจะทำให้เกิดการไหม้ได้ แต่ไม่มีหัว ส่วนกระสุนยางใช้กับปืนลูกซอง ในระยะ 10 เมตร ก็จะจุกแต่ไม่ถึงแก่ชีวิต ไม่สามารถทะลุแผ่นเหล็กหรือไม้ได้ ทนายถามว่าตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 22 พ.ค.53 ที่บริเวณพยานปฏิวัติหน้าที่ พญาไท ราชปรารภ นั้น นอกจากหน่วยของพยานแล้วมีหน่วยอื่นหรือไม่ พ.ท.พงศกร อาจสัญจร ตอบว่า ไม่แน่ใจว่ามีหน่วยไหนบ้าง แต่ทราบว่ามี ป.พัน.31(กองพันที่ 31 ทหารปืนใหญ่ รักษาพระองค์) และทนายถามอีกว่าในการสังการตอนนั้นในฐานะที่พยานเป็นผู้บังคับบัญชาสังการอย่างไร พ.ท.พงศกร อาจสัญจร ตอบว่าใช้วิทยุสั่งการ สามารถใช้กระสุนจริงได้บางกระบอก พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ รองผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 พัน 3 รอ.) เบิกความอีกว่า การใช้กระสุนจริงกับกระสุนยางแตกต่างกัน เช่น ลักษณะการบรรจุกระสุน ทิศทางการเล็ง เทคนิคก็จะต่างกัน จะยิงเพื่อให้เขาหนีหรือหยุดการกระทำ อัยการถามต่อถึงปืนที่ใช้กระสุนยางกับกระสุนจริงสามารถใช้ร่วมกันได้หรือไม่ พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ ตอบว่าใช้ได้บางกระบอก บางกระบอกใช้ไม่ได้ใช้เฉพาะกระสุนยาง มี M16 จำนวน 20 กระบอก และไม่ถูกปล้น พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ เบิกความว่าหน่วยของตนมีปืนลูกซอง 30 กระบอก มี M16 ไปด้วย 20 กระบอก โดยมีกำลังพลที่กำหนดตัวเป็นผู้ใช้ แต่มีข้อแม้อยู่คืออาวุธปืน M16 จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาก่อน โดย พ.อ.นัฐวัฒน์ อัครนิบุตร และ พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ เบิกความต่อว่าปืน M16 กับปืนลูกซองจะแตกต่างกัน ปืนลูกซองจะติดตัว ส่วนปืน M16 จะเก็บไว้ในที่มีกำลังพลรับผิดชอบดูความปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแย่งชิงซึ่งการที่จะนำปืน M16 มาใช้ตนซึ่งเป็นรองผู้พันก็ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและตัดสินใจก่อน สำหรับ M16 จะเป็นกระสุนซ้อมรบคือลูกแบงค์ ซึงจะแยกกันไประหว่างปืนกับกระสุนซึ่งมี 400 นัด โดยจะมีการบรรจุเหมือนกับลูกจริงคือมีซองกระสุน 20 นัดต่อกระบอก ลักษณะใช้จะเป็นการยิงเตือน แต่สามารถยิงต่อเนื่องอัตโนมัติได้ มี M79 และ RPG ปริศนาลงใกล้ทหาร อัยการซักต่อว่าอาวุธและกระสุนของหน่วยถูกปล้นไปหรือไม่ พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ ยืนยันว่าไม่มีใครปล้นไป และคืนวันที่ 14 พ.ค.53 พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ เบิกความว่าตนอยู่กับผู้การ พ.อ.นัฐวัฒน์ อัครนิบุตร บนชั้น 2 แอร์พอร์ตลิงก์ และมีกำลังพลอยู่ชั้น 3 ของแอร์พอร์ตลิงก์ด้วย ส่วนพ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ เบิกความอีกว่าในช่วงกลางคืนมีเสียงปืนดังทุกทิศทุกทาง มีกระสุน M79 มาตกด้านหน้าแอร์พอร์ตลิงก์หลายลูก นอกจากนี้เห็นระเบิดไม่ทราบชนิดแต่มาเห็นตอนเช้า โดยดูจากร่องรอยแล้ววิเคราะห์เอา ว่าเป็น RPG บริเวณตึกแถวฝั่งตรงข้ามโรงแรมอินทรา อัยการถามถึงเหตุการณ์ต่อจากนั้นเกิดอะไรขึ้น พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ เบิกความว่า ทราบจากรายงานทางวิทยุสื่อสารจากส่วนกลางหรือส่วนควบคุมว่ามีรถตู้วิ่งเข้ามาจากทางประตูน้ำ ในเวลาเที่ยงคืนไปแล้ว หลังจากรถตู้เข้ามาได้ยินเสียงอาวุธปืนดังขึ้น หลังเหตุการณ์ได้ลงไปดูกับผู้บังคับบัญชา มีรถมูลนิธิมารับผู้บาดเจ็บ แต่ตนไม่เห็นผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ทราบภายหลังว่ามีนายพัน คำกอง ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้ง คนขับรถตู้(สมร ไหมทอง)และเด็ก(ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ) เปิดวีซีดีคลิปวิดีโอของนักข่าวเนชั่น ทหารชี้เสียงปืนลูกซองและ M16 หลังจากนั้นอัยการได้เปิดวีซีดีคลิปวิดีโอของนักข่าวเนชั่น(http://www.youtube.com/watch?v=JBCyoTDdJok)ที่ถ่ายเหตุการณ์ในที่เกิดเหตุ [เป็นคลิปเต็มที่ยังไม่ได้ตัดต่อดังที่นำมารายงานข่าว-ประชาไท ] มีความยาวประมาณ 10 กว่านาที ไม่มีรายงานเรื่องชายชุดดำ อัยการสอบถาม พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ ถึงเรื่องได้พบเห็นชายชุดดำ ตลอดที่ปฏิบัติภารกิจถึงวันที่ 22 พ.ค.53 หรือไม่ พ.ท.ทรงสิทธิ์ ไชยยงค์ ยืนยันว่าไม่มีรายงานเรื่องชายชุดดำ ปืนสามารถใช้ได้ทั้งกระสุนยางและกระสุนจริง ร.อ.เกริกเกียรติ ปลีหจินดา ผบ.มว.อาวุธหนัก ร. 1 พัน 3 รอ. ซึ่งเป็นผู้คุมกำลังอยู่ใต้แอร์พอร์ตลิงก์ บริเวณแยกจตุรทิศ เบิกความว่า กระสุนยางการบรรจุกระสุนเหมือนกับกระสุนจริง และปืนสามารถใช้ได้ทั้งกระสุนยางและกระสุนจริง ท่าการยิงใช้เหมือนกันไม่มีท่าเฉพาะ ส่วนเสียงปืนนั้น ร.อ.เกริกเกียรติ ปลีหจินดา เบิกความว่า เสียงลูกแบงก์หรือลูกซ้อมกับลูกจริงนั้นต่างกัน โดยลูกจริงจะดังแน่นกว่า โดยเหตุการณ์วันที่ 14 พ.ค.53 ทาง ร.อ.เกริกเกียรติ ปลีหจินดา ได้เบิกความว่าตนนำกำลังไปที่หน้าโรงหนังโอเอ อยู่ในซอยหลังกำแพงและช่วงเกิดเหตุการณ์รถตู้เข้ามานั้นตนอยู่ที่พักคอยจึงไม่ทราบเหตุการณ์ภายนอก มาทราบช่วงเช้าจากที่มีการรายงานทางวิทยุ และทราบแต่เพียงว่ามีคนเจ็บ โดยไม่ทราบว่ามีคนเสียชีวิต แต่มาทราบภายหลังจากหนังสือพิมพ์ว่ามีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว อัยการมีการเปิดวีซีดีคลิปวิดีโอของนักข่าวเนชั่นอย่างเช่นเดียวกับพยานคนอื่นๆ โดยมาการสอบถามถึงประเภทของอาวุธที่ได้ยินเสียงกระสุน ร.อ.เกริกเกียรติ ปลีหจินดา เบิกความว่าไม่สารมารถแยกได้ว่าเป็นปืนหรือกระสุนชนิดใด หลังจากนั้นทนายได้ถามถึงอาวุธที่หน่วยของพยานมี ร.อ.เกริกเกียรติ ปลีหจินดา ระบุว่าทางหน่วยมี M16A1 และทราโว ส่วนปืนลูกซองที่นำไปใช้ไม่ใช่ของหน่วย พึ่งได้รับมาช่วงเหตุการณ์ และกระสุนที่ใช้กับ M16A1 ของทางหน่วยเป็นกระสุนหัวตะกั่วหุ้มทองแดง ร.อ.เกริกเกียรติ ปลีหจินดา ยังได้เบิกความว่า ไม่ทราบว่าหน่วยไหนอยู่บริเวณแอร์พอร์ตลิงก์บ้าง ตนไม่ได้ประสานกับหน่วยข้างเคียงเลยเพราะเป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชา มีอาวุธประจำกายเป็น M16 กระสุนซ้อมรบจำนวน 20 นัด สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย จาก กองพันที่ 31 ทหารปืนใหญ่ รักษาพระองค์ ( ผบ.ป.พัน.31 รอ.) จังหวัดลพบุรี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ฝั่งซ้ายของแอร์พอร์ตลิงก์ หากหันหน้าไปทางประตูน้ำ หรือฝั่งคอนโด Ideao โดย สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย เบิกความว่า ตนมีอาวุธประจำกายเป็น M16 กระสุนซ้อมรบจำนวน 20 นัด ซึ่งได้มาตั้งแต่ลพบุรี ต้องดูแลรักษาและเอาไปคืน มีหลักเกณฑ์การใช้อาวุธเมื่อตัวเองหรือคนอื่นจะได้รับอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และห้ามใช้กับ เด็ก สตรีและผู้ไม่มีอาวุธ สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย เบิกความต่อว่า เวลา 19.00 น. วันที 14 พ.ค.53 ถึงเช้าวันที่ 15 พ.ค. ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ฝั่งซ้ายของแอร์พอร์ตลิงก์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่หลงเข้ามา ไม่เห็นชายชุดดำหรือคนอื่นนอกจากเจ้าหน้าที่ทหาร ในช่วงเกิดเหตุยิงรถตู้ สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย เบิกความว่า เวลาประมาณเที่ยงคืนได้ยินเสียงรถประชาสัมพันธ์บอกให้รถตู้(คันเกิดเหตุ)กลับออกไป ให้ใช้เส้นทางอื่น เป็นเวลาประมาณ 10 นาที ต่อมาได้ยินเสียงคลายเสียงปืนไม่ทราบทิศทางเพราะเสียงก้อง ไม่ทราบจำนวนนัด โดยรถตู่หยุดอยู่ที่ใต้สะพานแอร์พอร์ตลิงก์ ใกล้กับรถประชาสัมพันธ์ และขณะนั้นไม่เห็นชายชุดดำหรือคนอื่นนอกจากเจ้าหน้าที่ทหาร สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย เบิกความต่อว่าตนไม่ได้เข้าไปที่เกิดเหตุเนื่องจากไม่ได้รับคำสั่ง และเห็นรถพยาบาลเข้ามาช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ ทราบภายหลังว่ามีผู้เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 1 คนเป็นคนขับรถตู้ และไม่ทราบว่าคนเสียชีวิตอยู่บนรถตู้หรือไม่ สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย เบิกความต่อว่าชุดของตนไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บและอาวุธไม่มีการถูกช่วงชิง และทนายได้ถามความเข้าใจของ สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย ถึงชายชุดดำว่าเป็นอย่างไร สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย ตอบว่า คือชายชุดดำที่ถืออาวุธ หากใส่ชุดดำแต่ไม่ถืออาวุธไม่ใช่ชายชุดดำ ได้รับ M16 แจกเป็นอาวุธประจำกาย แต่ไม่ได้รับแจกกระสุน สิบเอกวรากรณ์ ผาสุก จาก กองพันที่ 31 ทหารปืนใหญ่ รักษาพระองค์ (ป.พัน.31 รอ.) จังหวัดลพบุรี เบิกความว่าได้รับคำสังจากผู้บังคับบัญชาให้อยู่บริเวณฟุตบาท หน้าคอนโด Ideao แอร์พอร์ตลิงก์ ใกล้ตู้โทรศัพท์ ตรงร้านอินเดียฟู้ดส์ ซึ่งอยู่กับ ร.อ.เสริมศักดิ์ คำละมูล ผู้บังคับการกองร้อยจนถึงเช้า สิบเอกวรากรณ์ ผาสุก ยงได้เบิกความต่ออีกว่า รถตู้ที่เกิดเหตุมาเวลาประมาณเที่ยงคืนกว่าออกมาจากซอยวัฒนวงศ์ (ราชปรารภ 8) มีเสียงประกาศให้รถตู้ถอยกลับไปประมาณ 10 นาที แต่ไม่มีใครลงจากรถหรือถอยกลับไป จุดดังกล่าว สิบเอกวรากรณ์ ผาสุก เบิกความว่าชุดของตนเองอยู่ใกล้สุด ห่างประมาณ 80 เมตร โดยปากซอยมีรั้วลวดหนามวางไว้ด้วย โดยปกติหากมีรั้วลวดหนามจะผ่านไม่ได้ อัยการถามว่าได้มีการเข้าไปเตือนโดยตรงหรือไม่ สิบเอกวรากรณ์ ผาสุก เบิกความว่าตนไม่ได้เข้าไปเตือนเนื่องจากไม่ทราบว่าเป็นรถอะไร และหลังจากนั้นรถตู้คันดังกล่าวออกจากซอยเลี้ยวซ้ายไปทางแอร์พอร์ตลิงก์ รถประชาสัมพันธ์ก็ยังประกาศเตือนต่อแต่รถตู้ก็ยังวิ่งเข้ามา หลังจากนั้นจึงได้ยินเสียงคลายเสียงปืนดังขึ้นไม่ทราบทิศทาง ตัวสิบเอกวรากรณ์ ผาสุก เบิกวามว่าขณะนั้นตนเองหลบเข้าที่กำบังนอนหมอบราบกับพื้น ไม่ได้มองว่าอะไรเกิดขึ้น เสียงปืนดังไม่นาน หลังเสียงปืนสงบก็ไม่ได้เข้าไปดูและไม่ได้ยินวิทยุสื่อสารว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่ทราบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีใครได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ส่วนกำลังพลไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ อัยการได้สอบถามถึงชายชุดดำ สิบเอกวรากรณ์ ผาสุก ยืนยันว่าตลอดเวลาที่อยู่ไม่พบชายชุดดำ โดยไม่พบหน่วยอื่นนอกจากทหาร ส่วนฝั่งตรงช้ามบริเวณโรงแรมอินทราไม่ทราบว่ากลุ่มคนที่มายืนอยู่เป็นใคร อัยการสอบถามว่าหากไม่ทราบว่ากลุ่มคนดังกล่าวเป็นใครแล้วได้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือไม่ สิบเอกวรากรณ์ ผาสุก เบิกความว่าไม่มีการแจ้ง เนื่องจากเป็นหน้าที่ของผู้บังคับการกองร้อย | |
http://redusala.blogspot.com
|
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ไต่สวนการตาย 'พัน คำกอง'
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น