พนักงานไทยพีบีเอสเคลื่อนไหวต่อ แม้ได้ ผอ.คนใหม่แล้ว
แม้ผลการเลือกผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือไทยพีบีเอสจะสรุปแล้วว่าได้นายสมชัย สุวรรณบรรณ แต่พนักงานของทางไทยพีบีเอสยังไม่หยุดเคลื่อนไหว โดยขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับนางพรพิมล เสณผดุง ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นน้องสาวหรือไม่ รวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับด้านบริหาร และสำนักอำนวยการ
โดยเอกสารฉบับล่าสุด เริ่มจากการนำเสนอแผนภูมิำการบริหารงานของไทยพีบีเอส และสิ่งที่อยากให้มีการตรวจสอบ
พนักงานเรียกร้องให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบดังต่อไปนี้
1. ประธานกรรมการนโยบายเป็นพี่ชายของผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล เป็นประเด็นที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นร่วมเกือบสามปีที่ผ่านมา
2. ก่อนมีผู้อำนวยการการคลังท่านใหม่ มีผู้บริหารระดับสูงพยายามจัดสรรการเคลื่อนย้ายตำแหน่งผอ.การคลังท่านเดิม จนท้ายสุดท่านตัดสินใจลาออก ดังนั้นเป็นประเด็นที่ควรมีกลไกตรวจสอบเชื่อมโยงกับประเด็นในข้อที่ 3 และ 4
3. เชื่อว่ารองผู้อำนวยการส.ส.สท.ด้านบริหารคือบุคคลที่ผอ.สำนักทรัพยากรบุคคลนำมาหรือชักชวนมา
4. เชื่อว่าผอ.สำนักคลังและสำนักกฎหมายคือคนรู้จักที่ที่รองผอ.ส.ส.ท.ด้านบริหารนำมาเข้าสู่ตำแหน่งฯ
5. เชื่อว่าผอ.การคลังขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารการคลังของไทยพีบีเอส เนื่องด้วยพื้นเพการทำงานเคยเป็นแค่หัวหน้าในส่วนงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผลงานด้านการแสดง Performance ของการบริหารงานที่ลูกน้องในสายงานลาออกไปหลายคน นับตั้งแต่ผอ.การคลังเข้ามาดำรงตำแหน่ง
6. เชื่อว่าผอ.กฎหมายขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารงานด้านกฎหมายของไทยพีบีเอส ด้วย Performace การบริหารที่เป็นที่ประจักษ์และผ่านการประเมินงานได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกรรมการการประเมินงานที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายมาร่วมประเมิน ?
7. ผอ.สำนักบริหารขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานตามข้อร้องเรียนของพนักงานที่รายงานชี้แจงข้อเท็จจริงของการบริหารงานที่ล้มเหลวและขาดธรรมภิบาล ตามที่เคยมีการเคลื่อนไหวจากพนักงานเรียกร้องให้พิจารณาคุณสมบัติ ผอ.ท่านนี้เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ท้ายสุดประเด็นเรียกนี้ก็เงียบไป ไม่มีการชี้แจงใดๆ ที่ชัดเจนเกิดขึ้น เป็นที่รู้กันว่าระดับรองผู้อำนวยการสสท.ด้านบริหาร มีอิทธิพลในการสร้างสมเรื่องการบริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาลไว้มาก ซึ่งขณะนี้กลุ่มพนักงานผู้ร้องเรียน รวมพลังทะยอยยื่นข้อมูลให้แก่หน่วยงานภายนอกเพื่อเข้ามาตรวจสอบโดยเร่งด่วน
8. ตรวจสอบกระบวนการสอบและการประเมินผลผอ.ทุกท่านภายใต้รองส.ส.ท.ด้านบริหาร เพราะเชื่อว่าไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องเพราะเริ่มต้นมาจากสานสัมพันธ์ในการเป็นพวกพ้องที่รู้จักชักจูงกันเข้ามาบริหารงานเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อกัน
9. ตรวจสอบได้จากประสิทธิภาพการบริหารงานที่สามารถชี้วัดในเชิงรูปธรรม เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำคัญในเรื่องกระบวนการคัดเลือก/เลือกสรรบุคลากรที่ไร้ประสิทธิภาพเพราะขาดความโปร่งใส
10.ตรวจสอบบุคลากรภายใต้สำนักบุคลากรจะพบว่ามีพนักงานจำนวนมากที่มาจากเครือข่ายเดิมของผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล
11.ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสื่อสารสังคมได้รับการบรรจุเข้าตำแหน่งได้อย่างไร ทั้งที่ไม่มีการประกาศสอบ และตำแหน่งเดิมเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราว ประเด็นที่สำคัญคือการการคุณสมบัติเฉพาะด้านของการทำงานด้านสื่อสารองค์กรในระดับอาวุโส
source : www3.thaipbs.or.th (Image)
แม้ผลการเลือกผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือไทยพีบีเอสจะสรุปแล้วว่าได้นายสมชัย สุวรรณบรรณ แต่พนักงานของทางไทยพีบีเอสยังไม่หยุดเคลื่อนไหว โดยขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับนางพรพิมล เสณผดุง ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นน้องสาวหรือไม่ รวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับด้านบริหาร และสำนักอำนวยการ
โดยเอกสารฉบับล่าสุด เริ่มจากการนำเสนอแผนภูมิำการบริหารงานของไทยพีบีเอส และสิ่งที่อยากให้มีการตรวจสอบ
พนักงานเรียกร้องให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบดังต่อไปนี้
1. ประธานกรรมการนโยบายเป็นพี่ชายของผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล เป็นประเด็นที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นร่วมเกือบสามปีที่ผ่านมา
2. ก่อนมีผู้อำนวยการการคลังท่านใหม่ มีผู้บริหารระดับสูงพยายามจัดสรรการเคลื่อนย้ายตำแหน่งผอ.การคลังท่านเดิม จนท้ายสุดท่านตัดสินใจลาออก ดังนั้นเป็นประเด็นที่ควรมีกลไกตรวจสอบเชื่อมโยงกับประเด็นในข้อที่ 3 และ 4
3. เชื่อว่ารองผู้อำนวยการส.ส.สท.ด้านบริหารคือบุคคลที่ผอ.สำนักทรัพยากรบุคคลนำมาหรือชักชวนมา
4. เชื่อว่าผอ.สำนักคลังและสำนักกฎหมายคือคนรู้จักที่ที่รองผอ.ส.ส.ท.ด้านบริหารนำมาเข้าสู่ตำแหน่งฯ
5. เชื่อว่าผอ.การคลังขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารการคลังของไทยพีบีเอส เนื่องด้วยพื้นเพการทำงานเคยเป็นแค่หัวหน้าในส่วนงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผลงานด้านการแสดง Performance ของการบริหารงานที่ลูกน้องในสายงานลาออกไปหลายคน นับตั้งแต่ผอ.การคลังเข้ามาดำรงตำแหน่ง
6. เชื่อว่าผอ.กฎหมายขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารงานด้านกฎหมายของไทยพีบีเอส ด้วย Performace การบริหารที่เป็นที่ประจักษ์และผ่านการประเมินงานได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกรรมการการประเมินงานที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายมาร่วมประเมิน ?
7. ผอ.สำนักบริหารขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานตามข้อร้องเรียนของพนักงานที่รายงานชี้แจงข้อเท็จจริงของการบริหารงานที่ล้มเหลวและขาดธรรมภิบาล ตามที่เคยมีการเคลื่อนไหวจากพนักงานเรียกร้องให้พิจารณาคุณสมบัติ ผอ.ท่านนี้เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ท้ายสุดประเด็นเรียกนี้ก็เงียบไป ไม่มีการชี้แจงใดๆ ที่ชัดเจนเกิดขึ้น เป็นที่รู้กันว่าระดับรองผู้อำนวยการสสท.ด้านบริหาร มีอิทธิพลในการสร้างสมเรื่องการบริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาลไว้มาก ซึ่งขณะนี้กลุ่มพนักงานผู้ร้องเรียน รวมพลังทะยอยยื่นข้อมูลให้แก่หน่วยงานภายนอกเพื่อเข้ามาตรวจสอบโดยเร่งด่วน
8. ตรวจสอบกระบวนการสอบและการประเมินผลผอ.ทุกท่านภายใต้รองส.ส.ท.ด้านบริหาร เพราะเชื่อว่าไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องเพราะเริ่มต้นมาจากสานสัมพันธ์ในการเป็นพวกพ้องที่รู้จักชักจูงกันเข้ามาบริหารงานเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อกัน
9. ตรวจสอบได้จากประสิทธิภาพการบริหารงานที่สามารถชี้วัดในเชิงรูปธรรม เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำคัญในเรื่องกระบวนการคัดเลือก/เลือกสรรบุคลากรที่ไร้ประสิทธิภาพเพราะขาดความโปร่งใส
10.ตรวจสอบบุคลากรภายใต้สำนักบุคลากรจะพบว่ามีพนักงานจำนวนมากที่มาจากเครือข่ายเดิมของผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล
11.ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสื่อสารสังคมได้รับการบรรจุเข้าตำแหน่งได้อย่างไร ทั้งที่ไม่มีการประกาศสอบ และตำแหน่งเดิมเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราว ประเด็นที่สำคัญคือการการคุณสมบัติเฉพาะด้านของการทำงานด้านสื่อสารองค์กรในระดับอาวุโส
source : www3.thaipbs.or.th (Image)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น