วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระเจ้าช่วยกล้วยทอด ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/47/14047/images/Prem-Tinsulanonda.jpg
ที่มาของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

         1. เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ภายในราชอาณาจักร หรือ จะทรงบริหารพระราชภาระมิได้
             1.1 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง (มาตรา18)
             1.2 พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้ง ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อเพื่อขอความเห็นชอบต่อรัฐสภา (มาตรา19)
             1.3 ระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จฯ ตาม ม.18  ม.19 หรือ ผู้สำเร็จฯ ตาม ม.18  ม.19 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จฯ เป็นการชั่วคราว และคณะองคมนตรีที่เหลือต้องเลือกประธานองคมนตรีคนใหม่ขึ้นทำหน้าที่แทน

         2. กรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลง
             2.1 ในระหว่างที่ยังไม่มีการอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์ ให้ ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จฯ ไปพลางก่อน
            2.2 แต่หากทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จฯ ไว้แล้วตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการอัญเชิญฯ
             2.3 หากผู้สำเร็จฯ ตามที่กล่าวมาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ฯ ไปพลางก่อ


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๒ พระมหากษัตริย์

.
.

        ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 หากพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้แล้วตามกรณีที่ 1 สถานการณ์เปลี่ยนผ่านย่อมราบรื่น

       แต่ในกรณีที่ 2 ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 ลำดับสืบราชสันตติวงศ์ ท่านว่าให้เลือกตามสายตรงก่อนเสมอ
 

        ต่อเมื่อไม่สามารถจะเลือกทางสายตรงได้แล้ว จึงให้เลือกตามเกณฑ์ที่สนิทมากและน้อย และตำแหน่ง "สมเด็จหน่อพุทธเจ้า" คือมาตรฐานอ้างอิง

        แต่ รธน. 50  ม.23 วรรค 2 ระบุไว้ว่า "ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่ง ตั้งพระรัชทายาทไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา ๒๒ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ  


        ในการนี้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหา กษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ"

       ประเด็นคือ หาก "คณะองคมนตรี" เสนอตาม ม.22 ก็เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 คือ "สายตรง เกณฑ์สนิทมากและน้อย" และตามกฎมณเฑียรบาลฯ ม.13 ที่ว่า 

   
        "ในกาลสมัยนี้ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่ราชนารีจะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็น สมเด็จพระแม่อยู่หัวพระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงสำเร็จราชการสิทธิขาดอย่างพระเจ้าแผ่นดินโดยลำพังแห่งกรุงสยาม ฉนั้นท่านห้ามมิให้จัดเอาราชนารีพระองค์ใด ๆ เข้าไว้ในลำดับสืบราชสันตติวงศ์เป็นอันขาด" เป็นอันยังใช้ได้อยู่

          แต่หากคณะองคมนตรีเห็นควรเป็นอย่างอื่น คือ "เสนอนามพระธิดา"
ก็เป็นอันว่ากฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 ก็เป็นอันพับตกไป "ใช้ไม่ได้"

          เพราะ "ขัดรัฐธรรมนูณ" ที่เปิดโอกาสให้คณะองคมนตรีสามารถเสนอนามพระธิดาก็ได้ตาม ม.23 วรรค 2  


         ตามที่ รธน.50 ได้ระบุเอาไว้ตาม ม.6 ที่ว่า


         "มาตรา ๖ (กฎหมายสูงสุดของประเทศ) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้"

         ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องของ "แง่มุมทางกฎหมาย" และจะเป็น "กลเกมส์ในสภา" ต่อไปในอนาคตด้วย

.
.
.

เรากำลังอยู่ในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านในช่วงปลายรัชกาล...


  1. ต้นเหตุของความขัดแย้ง : ความไม่ราบรื่นในการเปลี่ยนผ่าน
  2. พัฒนาการของความขัดแย้ง : ความสุดขั้วของสองฝ่าย
  3. อนาคตที่จะต้องเผชิญ : สงครามภายใน 2 ครั้งใหญ่
  4. ทางออก : ร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล ................เพื่อกระชับพื้นที่แนวปะทะขยายแนวร่วม
  5. บทสรุป : ไม่มีวันที่สังคมไทยจะกลับไปเหมือนเดิม
1. ต้นเหตุของความขัดแย้ง : ความไม่ราบรื่นในการเปลี่ยนผ่าน

         ต้นเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้นั้น หากเพียงแต่มองย้อนไปที่เหตุรัฐประหาร 19กย49 แล้วชี้ว่าเป็น “ต้นเหตุ” ของความขัดแย้งคงจะไม่ถูกต้องนัก แต่ผลงานและความนิยมในตัวคุณทักษิณและ พรรค ทรท ในขณะนั้นนับวันแต่จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นี่ก็เป็นสาเหตุที่สอดคล้องกัน นั่นก็คือ รัฐบาล ทรท อาจจะอยู่ยาวจนถึงสถานการณ์เปลี่ยนผ่านและบารมีที่เพิ่มมากขึ้นตามผลงานที่ ชัดเจนของคุณทักษิณทั้งในและนอกประเทศ อาจจะส่งอิทธิพลต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านนี้ ดังนั้น จาก “ความขัดแย้งในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน” จนทำให้เกิดเหตุรัฐประหาร 19กย49 ส่วนหนึ่งมาจากการที่คุณทักษิณสนับสนุนคนที่อำนาจปัจจุบันไม่เห็นด้วยเรียกได้ว่า คุณทักษิณหนุนผิดคน(ไม่ใช่คนผิด) โดยจะเห็นได้จากการที่ Wikileaks ได้นำโทรเลขของสถานฑูตอเมริกาประจำประเทศไทยออกมาเปิดเผย กดที่นี่ จะทำให้ทราบถึงมูลเหตุของความขัดแย้งกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น 


         กล่าวคือ เป็นความ “ไม่มั่นคง” ของชนชั้นสูงของไทยต่อกรณี พฤติกรรม ภาพลักษณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณทักษิณกับ .......จนนำไปสู่การหาหน "ทางสำรอง" คือ........ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่พึ่งจะมาเกิดเอาเมื่อมีรัฐบาลทักษิณ แต่เค้าลางของความไม่ราบรื่นนี้(ไม่ขอกล่าวถึงพฤติกรรมส่วนตัวของว่า ที่)เริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่เริ่มมีการ “เตรียมการ” ให้เห็นใน รธน.17 ม.25 และ รธน.21 ม.20 

         กล่าวคือ รธน ทั้ง 2 ฉบับอ้างตามกฎมณเฑียรบาล2467 และการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลต้องทำเช่นเดียวกับการแก้ไข รธน นั่นก็คือเป็นหน้าที่ของ ครม หรือด้วยสมาชิกสภาฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ซึ่งตรงนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึง “พัฒนาการ” ในเรื่องของ “พระราชอำนาจ”  

          กล่าวคือ ตามกฎมณเฑียรบาลใช้มติคณะองคมนตรี โดยการกำหนดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนัดประชุมองคมนตรีให้มีองคมนตรีมาใน ที่ประชุมนั้นไม่น้อยกว่า ๒ ส่วนใน ๓ และใช้มติ ๒ ใน ๓ จึงให้แก้ได้ ส่วน รธน.17 - 21 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสภาฯ 

         แต่พอมาถึง รธน.34 ม.20-21, รธน40 ม.22-23, รธน50 ม.22-23 ก็พบกับความชัดเจนต่อแนวทางการเปลี่ยนผ่านว่า ได้ถูกเตรียมการเอาไว้แล้วอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก รวมถึงในด้านตัวบุคคลที่จะมาเป็น "ตัวแปร" นั่นก็คือ พล.อ.เปรม และที่สำคัญคือกำหนดให้การแก้ไขกฎมณเฑียรบาล2467 กลายเป็น “พระราชอำนาจโดยเฉพาะ

          ไม่ต้องใช้คณะองคมนตรีตามกฎมณเฑียรบาล 2467 หรือสภาฯ อย่างเช่นใน รธน17-21 อีกต่อไป เรียกได้ว่าเป็นการ “กระชับพระราชอำนาจ” ที่สุด

       ส่วน “ปม” ใน ม.13 ของกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ 2467 ม.13 ได้กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่า 


        “ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่ราชนารีจะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์” 

         แต่ถ้าสังเกตุว่าใน หมวดที่2 ม.4(2) ได้บรรยายศัพท์เอาไว้ว่า "สมเด็จพระยุพราช" คือ พระรัชทายาทที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเป็นตำแหน่งสมเด็จพระยุพราช โดยพระราชทานยุพราชาภิเษกหรือโดยพิธีอย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 

        นัยที่สำคัญคือ “พิธีอย่างอื่น” ไปเชื่อมโยงกับการสถาปนาพระอิสริยยศและพระอิสริยศักดิ์ เมื่อ 5 ธค 20 “ให้ทรงรับพระราชบัญชาและสัปตปฎลเศวตฉัตร (เศวตฉัตร 7 ชั้น)” กดที่นี่ และคำว่า “สัปตปฎลเศวตฉัตร หรือ เศวตฉัตร 7 ชั้น” นี้ ทรงความหมายอย่างยิ่ง เพราะสัปตปฎลเศวตฉัตรนี้ กดที่นี่ ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงพระราชทานเป็นพิเศษ

        นัยอยู่ที่ “สมเด็จพระยุพราช” ซึ่งถ้าใช้กับสมเด็จพระยุพราช จะเรียกว่า "พระบวรเศวตฉัตร" และ สัปตปฎลเศวตฉัตร มีนัยเกี่ยวเนื่องไปที่ หมวดที่2 ม.4(2) ในกฎมณเฑียรบาล2467 “หรือโดยพิธีอย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ”

         และล่าสุด วิกิซอร์ส ได้แจ้งว่า ม13 ในกฎมณเฑียรบาล ได้ถูกยกเลิกโดย รธน ม.23 อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าถึงกาลสมัยที่ “ราชนารีจะขึ้นทรงราชย์” ได้แล้ว

         เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเตรียมการว่าได้เกิดขึ้นมานานแล้ว จนอาจจะทำให้ “ว่าที่” เกิดอาการ “ถอดใจ” ไปแล้วหากไม่มีคุณทักษิณและ ทรท

        ความไม่ราบรื่นที่แสดงเห็นได้ชัดเจนอีกอย่างก็คือ การที่คุณทักษิณได้เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้กับสำนักข่าว Times Online เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2552 กดที่นี่ ยิ่งจะทำให้ได้เห็นความชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก รวมทั้งทิศทางที่ “น่าจะเป็น” ในยุคสมัยหน้าด้วย กล่าวคือ ได้มี “รหัส” อยู่ในหลาย ๆ คำให้สัมภาษณ์นี้

        เป็นต้นว่า การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญจะต้องยึดถือปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด(สถาบันกษัตริย์ต้องมีการปรับปรุง),  (รัชสมัยใหม่)คนใกล้ชิดราชวังจะมีขนาดเล็กลง, กษัตริย์ทรงต้องหมุนเปลี่ยนไปพร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยนี้เช่น กัน(สมเด็จฯ ทรงเป็นคนรุ่นใหม่ ทันสมัย เข้าใจโลกสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง), (ราชวงศ์ไทยในยุคสมัยหน้า)เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเข้าใจว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือนัยที่แสดงให้เห็นว่า “คุณทักษิณมีแนวคิดต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่อย่างใด”

         แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยปรากฏเป็นแนวทางที่ชัดเจนพอที่จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการ "ชี้นำสังคม" ได้

       และหากเป็นจริงได้ตามนั้น ก็เชื่อได้ว่าน่าจะเป็น "ทางออกที่แท้จริงและอะลุ่มอะล่วยที่สุดของสังคมไทย" อย่างแน่นอน

      แต่จากความเห็นต่างต่อรัชสมัยใหม่ที่ Wikileaks นำมาเปิดเผยนั้น แน่ นอนว่าแนวทาง ....... ย่อมเป็นการรักษาสถานะของอำนาจและบริวารเดิมตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้า ....... สามารถขึ้นแท่นได้ ย่อมมีการ “เอาคืน” จากที่เคยเป็นฝ่ายถูกกระทำมาหลายปี จึงเป็นความหวาดผวาของแผงอำนาจ เก่าที่จะถูกกระทำเมื่อเวลานั้นมาถึง ซึ่งสิ่งที่ได้กล่าวมาเกี่ยวกับความไม่ราบรื่นในการเปลี่ยนผ่านนี้จะเป็น เหตุเป็นผลและนำไปสู่พัฒนาการของความขัดแย้งในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านในช่วง ปลายรัชกาลอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

2. พัฒนาการของความขัดแย้ง : ความสุดขั้วของสองฝ่าย

        พัฒนาการของความขัดแย้งเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเกิดปรากฏการณ์ “การเลือกฝ่าย” ขึ้น โดยมีคุณสมัครอดีตนายกฯ ผู้ล่วงลับและได้ชื่อว่าเป็นพวก “ขวาจัด” แต่ยอมเป็นผู้ถือธงนำให้กับพรรคพลังประชาชน พร้อมทั้งการกลับมาของ พล.อ.ชวลิต รวมทั้งอดีตนายทหารเก่าอีกหลายนาย และฝ่ายที่ได้ชื่อว่าเคยเป็น “ฝ่ายผู้ล่า” อย่าง พล.อ.พัลลภ และ พล.ต.ขัติยะ หรือ เสธ.แดง ผู้โด่งดัง แต่ต้องมาถูกลอบสังหารกลางกลุ่มผู้ชุมนุม แต่การยอมเข้าร่วมเป็นพวกกับ พ.ต.ท.ทักษิณของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านี้เมื่อพิจารณาให้ดี ด้วยสภาพและสถานะที่คุณทักษิณกำลังเป็นฝ่ายถูกกระทำ จึงไม่น่าจะใช่เพราะเกิดจาก อำนาจ หรือ บารมี ของคุณทักษิณ หรือนโยบายของพรรค หรือยอมรับในอุดมการณ์ของ “คนเสื้อแดง” แต่อย่างใด 


         แต่มันน่าจะเกิดจากการเลือกที่จะยืนอยู่ข้างฝ่ายที่คุณทักษิณให้การสนับสนุน นั่นก็คือที่มาของคำว่า “แดงทรงเจ้า” ดังจะเห็นได้จากทิศทางของคนเสื้อแดงก่อนปี53 จะเดินแนวทางเทิดทูลสถาบันฯ อย่างเข้มข้นในทุกโอกาส จนหลังจากเกิดเหตุการณ์ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค.53  จึงได้เกิดพัฒนาการของฝ่าย “แดงตาสว่าง” เกิดขึ้น ซึ่งกำลังจะพัฒนาไปสู่ความ “สุดขั้ว” ของฝ่ายคนเสื้อแดง นั่นก็คือ “การล้มล้าง

        ส่วนฝ่ายอำมาตย์เอง จากการที่เคยเตรียมการสำรองแนวทาง...... เอาไว้ หากต้องมาพบกับอุปสรรคใหญ่คือเกิด “บารมีทักษิณ” ทำให้ ......มองเห็นโอกาสที่จะร่วมกับคุณทักษิณ คือ ในสภาฯ มีพรรคของคนเสื้อแดงคือ “พรรคเพื่อไทย” ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลต่างก็เป็นอุปสรรคต่อแนวทาง การเปลี่ยนผ่านด้วยแนวทางสำรองนี้ 


         กล่าวคือ เพราะการเปลี่ยนผ่านนี้ต้องเสนอให้ “รัฐสภาให้ความเห็นชอบ” ในการรับรองการเปลี่ยนผ่าน และแน่นอนว่าหากมีรัฐสภาในสภาพปกติแบบนี้ต่อไปโดยที่มีฝ่ายคนเสื้อแดงหรือ พรรคเพื่อไทยทีมีคุณทักษิณอยู่เบื้องหลังและเบื้องหลังของคุณทักษิณก็ยังมี .......

          เมื่อ มีการเสนอแนวทางสำรองเข้าสู่สภาย่อมต้องมีการ “อภิปราย” ถึงความถูกต้องชอบธรรมหรือความเหมาะสมต่าง ๆ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความวุ่นวายจนอาจจะไม่สามารถควบคุมได้ ทางแก้ของแนวทางสำรองนี้ หากจะเปลี่ยนไปเป็น “รัฐบาลแห่งชาติ” ก็ไม่สามารถเป็นจริงได้ด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งได้พัฒนาไปไกลเกินกว่าจะมี รัฐบาลแห่งชาติได้ 

        แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์ "แตกดับ" นั้นมาถึง เพื่อกำจัดอุปสรรค “อำนาจทักษิณ” ออกไปจากระบบให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จำเป็นจะต้องมี “รัฐบาลพิเศษ” ที่ปราศจาก “ขั้วสีแดง” อยู่ในระบบสภา แล้วให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาแทนตามที่ รธน ระบุไว้ จึงเห็นได้ว่ามีการ “เตรียมการ” ในส่วนที่เป็น สว สรรหาเพื่อการนี้ทั้ง ๆ ที่ระบบสรรหานี้ขัดกับหลักการประชาธิปไตย ซึ่งหากบ้านเมืองอยู่ในสภาพปกติ การเปลี่ยนผ่านด้วย “สภาเท่านั้น” จึงจะทำให้เกิดความ “สง่างาม” ได้แต่ จากสถานการณ์ในปัจจุบันเมื่อยุบสภาแล้วให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทน ใช่ว่าปัญหาจะถูกขจัดสิ้นไปได้ เพราะถึงแม้อุปสรรคในสภาจะหมดไป หากแต่นอกสภาฯ ยังมี “คนเสื้อแดง” ที่เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุด

           แนวทางสำรองนี้จึงทำท่าว่าจะยังไม่ใช่หนทางที่ “มั่นคง” ต่ออนาคตของผู้ที่ยังจะต้องอยู่ต่อไป

         จึงได้เห็นแนวทางของขั้วอำนาจใหม่ภายใต้นักการเมืองสีน้ำเงินผนึกกำลังกันกับบูรพาพยัคฆ์หรือทหารเสือราชินี


        เพื่อเดินแนวทาง “ผู้สำเร็จฯ” โดยยึดระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านให้ยาวออกไปควบคู่กับการ "จัดการ" ให้สถานการณ์เบ็ดเสร็จและราบคาบต่อไป แต่แนวทาง “ผู้สำเร็จฯ” นี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้วิธีการ “"ยึดอำนาจ” เท่านั้น

        และโดยสัจธรรม ผู้ที่กำลังจะจากไปอาจจะไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างที่เคย เป็น และผู้ที่จะอยู่ต่อไปนั่นต่างหากจะต้องดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อความอยู่รอด

3. อนาคตที่จะต้องเผชิญ : สงครามภายใน 2 ครั้งใหญ่

สงครามแย่งอำนาจของชนชั้นสูง


           สถานการณ์ในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในระหว่างช่วงปลายรัชกาลที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย แต่จากความไม่ลงตัวในหลาย ๆ ด้าน จึงทำให้กลายมาเป็นสงครามแย่งอำนาจของชนชั้นสูง ดังนั้น นอกจากความสูญเสียในปี 53 แล้วยังจะต้องมีความสูญเสียครั้งใหญ่จากการแก่งแย่งรออยู่อีกในเบื้องหน้า ซึ่งไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดสามารถยึดครองอำนาจได้ แต่หากยังขืน “คงรูปแบบเดิม” อีกต่อไป จะนำไปสู่สงครามภายในครั้งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติ นั่นก็คือ

สงครามเลือกฝ่าย

         สังคมไทยเคยเผชิญหน้าและเข้าห้ำหั่นกันมาแล้วหลายครั้ง ส่วนมากเป็นการกระทำโดยฝ่ายที่คุมอำนาจรัฐเข้ากระทำพร้อมกองกำลังและอาวุธ ทำให้ฝ่ายประชาชนสูญเสียมากมาย สุดท้ายก็จะมีผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “เป็นผู้หลักผู้ใหญ่” ออกมา “ห้ามทัพหย่าศึก” เอาน้ำเย็นเข้าลูบ ไกล่เกลี่ย และสุดท้ายก็ “ไม่มีใครผิด” มีแต่ประชาชนที่ “ตายเปล่า” และบารมีที่เสริมเพิ่มขึ้นของ “ผู้ใหญ่” 


         ซึ่งคำว่า “ผู้หลักผู้ใหญ่” นี้จะเป็นเหตุใหญ่ของสังคมไทย เพราะสังคมไทยให้ความสำคัญกับ “ผู้ใหญ่” มากกว่าหลักการที่เป็นสากล 

         แต่หากวันใดที่สังคมไทยไร้ซึ่งผู้ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่อย่างแท้จริง ก็จะกลายเป็นสังคมที่ไร้หลักยึดเหนี่ยว และจากยุคสมัยของโลกไร้พรหมแดนในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาในอดีต ทั้งที่เป็นข้อมูลจาก “ประสบการณ์จริง” และจากการ “ประมวล” เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ระบบโลกไร้พรหมแดนนี้ รวมทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังของเหตุการณ์เหล่านั้น ทำให้ได้รู้ว่า “ใคร” คือตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โหดสังหารหมู่คนไทยด้วยกันเอง และข้อมูลเหล่านี้เริ่มกระจายขยายวงออกไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นกระแสโกรธแค้นที่โดนหลอกลวงมาตลอด ทำให้สังคมไทย “ไร้แล้วอย่างสิ้นเชิง” ของผู้ที่มีบารมีพอที่จะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อเป็น “หลักยึด” ให้กับบ้านเมืองได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมาสังคมไทยได้ให้ความสำคัญกับ “ตัวบุคคล” มากกว่าสิ่งอื่นใดดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เมื่อ “สิ้น” ตัวบุคคลที่มีบารมีพอ กอปรกับสถานการณ์เลือกฝ่ายอย่างเด่นชัดของคนในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน

       การเผชิญหน้ากันในครั้งต่อไป จึงไม่มีใคร “มีบารมีจริง” พอที่จะสามารถออกมา “หย่าศึก” ได้อีก  และสิ่งที่เป็นความจริงอย่างที่สุดก็คือ “ทุกคนในสังคมไทย” ได้เกิดการ “เลือกฝ่าย” ไปแล้ว  อนาคตมีแต่จะห้ำหั่นกันจนย่อยยับกันไปข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้นเอง

4. ทางออก : ร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล
...............เพื่อกระชับพื้นที่แนวปะทะขยายแนวร่วม


        จากการเปลี่ยนผ่านในหลายครั้งที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่กำลังจะจากไปอาจจะไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างแท้จริง อย่างที่เคยเป็น เพราะเมื่อมีนัยบางอย่างแสดงว่ายุคสมัยใกล้จะสิ้นสุดลง ดุลอำนาจย่อมถ่ายเทไปสู่บุคคลที่คาดว่าจะมาสืบทอด ถ้าหากเป็น “ขั้ว” เดียวกัน ก็ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่น แต่หากมีขั้วอำนาจหลายขั้วต่างกัน “ดุลอำนาจ” ที่เป็น “ตัวแปรหลัก” ที่จะส่งผลต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านในแต่ละยุคสมัยคือ “กองทัพ” ขั้วอำนาจใดยึดกุมสภาพกองทัพได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดก่อน ผู้นั้นจะเป็นผู้กำหนดทิศทางแห่งการเปลี่ยนผ่าน แต่จากสภาพของกองทัพในปัจจุบันภายใต้ผู้นำที่มาจาก “บูรพาพยัคฆ์” กลายเป็นกองทัพที่แตกแยกและร้าวลึก 

 
         ส่วนหนึ่งมาจากการจัดสรรตำแหน่งที่ไม่เป็นธรรม เพราะ “วงศ์เทวัญ” ไม่ได้เกิด ซึ่งความจริงก็คือเพื่อยึดกุมสภาพของกองทัพให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อที่จะได้เป็นผู้ “ชี้นำ” ทิศทางการเปลี่ยนผ่าน บูรพาพยัคฆ์จำเป็นจะต้องยึดกุมสภาพกองทัพให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และเมื่อกองทัพอยู่ภายใต้การนำของบูรพาพยัคฆ์หรือทหารเสือราชินี จึงทำให้มองเห็นทิศทางที่ควรจะเป็นของการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้

         แต่จากปรากฏการ “มวลชนคนเสื้อแดง” ทำให้ “ดุล” ที่เคยเป็นของกองทัพฝ่ายเดียวได้ถูกถ่ายเทไป จึงทำให้เกิดเป็นภาวะคานอำนาจกันระหว่าง “กองทัพ” ที่มี “อาวุธ” กับ “มวลชน” ที่มี “ปริมาณ” ซึ่งหากเกิดการปะทะกัน 


       แน่นอนว่าความสูญเสียมหาศาลย่อมเกิดแก่ฝ่ายประชาชน ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะทำให้เหล่าทัพหันมาร่วมมือกับประชาชนได้นั้น แน่นอนว่าจะต้องมี “เงื่อนไข” ที่มองเห็นร่วมกันอย่างชัดเจนแล้วว่า “เป็นทางออกและยังประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง” โดยต้องเป็นแนวทางที่ทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นความเป็นไปได้ในอนาคตร่วมอย่างเป็น รูปธรรม 

          การ “ร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบสากล” โดยมองไปที่ “ญี่ปุ่น” ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้ประจักษ์อยู่แล้ว ด้วยวิธีการนี้จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้สามารถ “ตัดวงจร” ที่จะทำให้สังคมเดินไปสู่สงครามระรอกสอง และจะเป็นการลดระดับความรุนแรงจากสงครามแก่งแย่งครั้งนี้ลงไปได้ กล่าวคือ สภาพของสังคมไทย ณ ปัจจุบัน กำลังเผชิญอยู่กับสงครามชิงอำนาจของชนชั้นสูงที่ไม่มีฝ่ายใดยึดกุมสภาพได้ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด 

           ฝ่ายหนึ่งมี “กองทัพ” ก็เป็นกองทัพที่ “แตกแยกและร้าวลึก” ฝ่ายที่มี “อำนาจรัฐ” ก็เป็นอำนาจที่ “ไร้สภาพ” ไม่มีอำนาจเต็มและ “มวลชน” ก็เป็นมวลชน “ตาสว่าง” และเริ่มขยายวงออกไปเรื่อย ๆ  

           จากสภาพของแต่ละฝ่ายที่เป็นอยู่แบบนี้ เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีฝ่ายใดสามารถที่จะ “คุม” ได้แม้แต่สภาพของตนเอง จึงเกิดเป็นความระส่ำระสาย ความไม่มั่นคง ที่ปรากฎอยู่ในกลุ่มก๊กต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว และหากเกิดการ “แตกดับ” ขึ้น ก็ถึงเวลาที่ต่างฝ่ายต่างจะ “หมดความเกรงใจ” ต่อบารมีที่ยังคงพอมีเหลืออยู่นี้ และเมื่อนั้น สภาพของบ้านเมืองที่ขาด “หลักยึดที่แท้จริง” จะปรากฏ การปะทะกัน เหตุรุนแรง จะลุกลามและมีอยู่ในทุกหย่อมหญ้า สงครามกลางเมืองจะกลายเป็นเรื่องเด็ก ๆ การแสดงเจตนาร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบของ “ญี่ปุ่น” โดยผู้ที่มีความ “ชอบธรรม” ต่อรัชสมัยใหม่เป็นผู้ “ถือธงนำ” ในการเปลี่ยนผ่าน จึงจะเป็นแนวทางที่จะสามารถทำให้เป็นทางออกอย่างแท้จริงให้กับสังคมไทยได้ เป็นการลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ปะทะกันลงได้มากที่สุด โดยจะต้องมีการพูดคุยกันด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อจำกัด ผลที่จะเกิด อย่างครอบคลุมรอบด้าน เพื่อนำมาทำให้เป็น “รูปแบบ” ที่จะใช้เป็น “แนวทาง” ในการแสวงหาพันธมิตรที่กำลังระส่ำระสายอยู่ในแต่ละฝ่าย ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้มองเห็นทางออกเป็นรูปธรรมได้ง่าย 

          โดยเฉพาะจะทำให้คนในกองทัพเล็งเห็นว่า แนวทางนี้ไม่เป็นการล้มล้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นการรักษาสถาบันอย่างแท้จริง ฝ่ายประชาชนก็จะเข้าใจสถานการณ์และแนวทางที่ประเทศชาติจะเดินไป โดยมี “ภาพ” ของญี่ปุ่นเป็นแบบอย่างที่ดีให้เห็นอยู่แล้ว ทำให้ภาพการล้มล้างกันด้วยความรุนแรงลดระดับลง ทุกฝ่ายมองเห็นความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัย และมองเห็น “ทางออกร่วมกัน” อย่างแท้จริง ส่วนเรื่องพฤติกรรมและภาพลักษณ์ส่วนตัวหากเทียบกับการรับรู้ของสังคมไทยว่า “ใคร” คือคนต่อไปย่อมไม่มีน้ำหนัก ยิ่งถ้าเป็นผู้แสดงความชัดเจนเองต่อสถานภาพในอนาคตที่พร้อมจะเห็นแก่ส่วนรวม มากกว่าส่วนตัว(แต่โดยความเป็นจริงแล้วคือ “สภาพบังคับ”)

  • ส่วนความชัดเจนจะเกิดขึ้นได้นั้น “ตัวแปร” อยู่ในกลุ่มคนเสื้อแดงเอง
  • ระหว่าง “แดงทรงเจ้า” กับ “แดงตาสว่าง”
  • แนวทาง "แดงตาสว่าง" ที่ขยายวงกว้างอยู่ ณ ขณะนี้นั้น
  • จะเป็น "เงื่อนไข" ที่ใช้ในการ "ต่อรอง"
  • เพื่อให้เกิดการ "เปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบที่เป็นสากล"


5. บทสรุป : ไม่มีวันที่สังคมไทยจะกลับไปเหมือนเดิม”

สังคมไทยจะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกแล้ว


           เหตุเพราะการรับรู้ของสังคมนั้นไปไกลและลึกซึ้งถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง ผ่านการสื่อสารไร้พรหมแดนในยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น การดึงดันมุ่งแต่จะรักษาอำนาจและผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มเฉพาะตน ย่อมนำไปสู่หายนะที่ไม่อาจเรียกกลับมาเหมือนเดิมได้อีก สิ่งที่ควรทำที่สุดคือ “การเปลี่ยนแปลง” ไปสู่สิ่งที่เป็นสากล แต่จะมีวิธีการใดที่จะสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่านี้ เป็นไปได้อย่างนุ่มนวลที่สุด จำกัดวงการเผชิญหน้าให้เหลือแคบที่สุด เพื่อลดความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินได้นี้ให้ลดลงเหลือน้อยที่สุด

         การระดมความคิดเห็นอย่างเปิดกว้างและจริงจังเท่านั้น จึงจะทำให้สังคมไทยเผชิญวิกฤติปัญหาได้อย่างเท่าทัน  การจมจ่อมอยู่แต่กับอดีตและปัจจุบัน อาจจะทำให้เรามืดบอดต่ออนาคตที่เปิดรอท่าเราอยู่ก็เป็นได้
.
.
.
            บารมีของทักษิณที่ใช้ตัวแทนผ่านในระบบบรัฐสภา เป็น "บารมีในระบบ" ที่ทั้งถูกต้องและชอบธรรม แต่เป็นอุปสรรคที่อำนาจของชนชั้นสูงกำจัดได้อยากที่สุด
เพราะทั้งการรัฐประหารและการใช้กระบวนการทางศาลนั้น  เป็นเรื่องที่โจ่งแจ้งเกินไปในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าทั้งสองกรณีจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีก  และการ "ยุบสภา" คือวิธีการ "กำจัดอำนาจในระบบของทักษิณ" ได้อย่างทรงประสิทธิภาพที่สุด

         แล้วถ้าหากยังขืนปล่อยให้ตัวแทนอำนาจของฝ่ายทักษิณ มีโอกาสกลับเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องชอบธรรมได้นั่นก็คือ "รัฐสภา" ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอำนาจในรูปแบบของ "รัฐบาล หรือ ฝ่ายค้าน" ต่างก็เป็นอุปสรรคต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านรัชสมัยที่กำลังจะเกิดขึ้น 


        ดังนั้น การไม่ปล่อยโอกาสให้ตัวแทนอำนาจของฝ่ายทักษิณเข้าสู่ระบบรัฐสภาได้ ในท่ามกลางของสถานการณ์ในปัจจุบันนี้มีอยู่ทางเดียวที่เอื้ออำนวยมากที่สุด
คือ "ยับยั้งกระบวนการที่จะทำให้เกิดสภาปกติด้วยวิธีพิเศษ" ซึ่งจะต้องมี "สถานการณ์พิเศษ" เพื่อให้มีเหตุผลรองรับในการกำเนิด "รัฐบาลพิเศษ"
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น