ขณะที่ พะเยาว์ อัคฮาด ยังเดินหน้าต่อ
ญาติฯ เม.ย.-พ.ค.53 ร้องนายกเร่งคดี ย้าย ‘ธาริต’ ไม่หนุน พรบ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัยThu, 2013-06-13 00:01
กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตฯ เม.ย. – พ.ค. 53 ร้องนายก ย้าย ‘ธาริต’ จากดีเอสไอ เหตุเป็นผู้มีส่วนได้-เสีย เร่งคดีที่ผ่านการไต่สวนสู่การพิจารณาของศาลอาญา ตั้งคณะกรรมการเร่งรัดคดี วอน รบ.ไม่สนุน ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ที่ไม่เอาผิดผู้สั่งการและผู้ปฏิบัติการในการสังหารหมู่ประชาชน
กลุ่มญาติฯ ขณะรอเข้ายื่นหนังสือ / ภาพโดย นิธิวัต วรรณศิริ
11 มิ.ย.56 เวลา 09.15 น. ที่ประตูฝั่งถนนราชดำเนิน ทำเนียบรัฐบาล นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา นางสาวกมลเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม 19 พฤษภาคม 2553 และนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ พ่อของน้อง “เฌอ” (สมาพันธ์ ศรีเทพ) พร้อมด้วยกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ทางการเมือง เม.ย. – พ.ค. 53 เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้โยกย้ายนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ออกไปจากการทำหน้าที่ในดีเอสไอ เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดคดีโดยมีข้าราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ดีเอสไอ อัยการ แพทย์ ฯลฯ เร่งรัดคดีที่ผ่านการไต่สวนขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลอาญา
และรัฐบาลต้องไม่สนับสนุน ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ที่มีเนื้อหาไม่เอาผิดผู้สั่งการและผู้ปฏิบัติการในการสังหารหมู่ประชาชน โดยมีนายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เป็นผู้รับหนังสือ โดย
มติชนออนไลน์รายงานด้วยว่า นายสุพร รับปากว่าจะนำข้อเรียกร้องดังกล่าวเสนอต่อนายกรัฐมนตรีให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ตนไม่อยากให้มีการออกมาชุมนุมปิดล้อมบริเวณทำเนียบรัฐบาล แต่หากนางพะเยาว์ต้องการมายื่นหนังสือขอให้ติดต่อมายังตนที่ห้องทำงานหรือห้องรับเรื่องร้องทุกข์ได้ตลอดเวลา
ขณะที่นายพันธ์ศักดิ์ศรีเทพ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เมษายน - พฤษภาคม 2553 มีแนวคิดว่าจะทำ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ที่จะล้างผิดให้กับประชาชนผู้ชุมนุมทุกกลุ่มทุกสี แต่จะไม่รวมผู้ปฏิบัติและสั่งการฆ่าประชาชน โดยร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ในเรื่องของเทคนิคด้านกฎหมายจะขอให้อาจารย์จากคณะนิติราษฎร์ เป็นที่ปรึกษา และจะประสานให้ ส.ส.เสื้อแดงของพรรคเพื่อไทย นำไปให้ ส.ส.ในพรรคลงชื่อให้การสนับสนุน นำส่งต่อรัฐสภาให้ทันก่อนเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญ ในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้สามารถพิจารณาร่วมกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับอื่น ๆ ได้ ส่วนพรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องของพรรค แต่เชื่อว่าเมื่อเข้าสู่กระบวนการแปรญัตติแล้วเนื้อหาก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ดี
นางพะเยาว์ อัคฮาด กล่าวด้วยว่า ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับของ นายวรชัย เหมะ สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย นั้น ในตอนแรกไม่ได้ดูร่างทั้งหมด แต่เมื่อได้มีการเปิดดูทั้งหมดแล้ว ถึงได้ทราบว่า ร่าง พรบ.ดังกล่าวมันมีการนิรโทษกรรมให้กับทหารด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการสอดไส้ ปกปิดประชาชนหนังสือที่กลุ่มญาติฯ ยื่นต่อนายกฯ :
กลุ่มญาติวีรชน เมษายน - พฤษภาคม 2553
วันที่ 11 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556
เรื่อง ขอให้เร่งรัดคดีสังหารหมู่ประชาชน ในการสลายการชุมนุม เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ข้าพเจ้านางพะเยาว์ อัคฮาด ในฐานะตัวแทนกลุ่มญาติวีรชน เมษายน - พฤษภาคม 2553 ขอเรียนให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ทราบว่ากลุ่มญาติวีรชนเมษายน - พฤษภาคม 2553 ได้มีการประชุมปรึกษาหารือถึงการดำเนินคดีสังหารหมู่ประชาชน ในการสลายการชุมนุม เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 พบว่าเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้หลักฐานทั้งวัตถุพยาน และ/หรือ พยานบุคคลได้สูญหายและไม่สามารถติดตามมาร่วมเป็นพยานในคดีจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มญาติฯเกรงว่าหากปล่อยให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างล่าช้าตามกระบวนการของทางราชการที่ไร้ประสิทธิภาพแล้วอาจจะทำให้คดีเหล่านี้ในหลายสำนวนมีปัญหาได้ในอนาคต
กอปรกับผู้รับผิดชอบหลักคือนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดีดังกล่าวด้วย เนื่องจากดำรงตำแหน่งกรรมการในศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ความตามรายละเอียดซึ่งฯพณฯทราบดีอยู่แล้ว
นอกจากนั้น การที่คดีเหล่านี้ไม่มีการเร่งรัดใดๆ จากรัฐบาล ก็อาจทำให้ รัฐบาลของ ฯพณฯ ถูกกล่าวหาจากนานาอารยะประเทศว่าไม่มีความจริงใจในการสะสางปัญหาที่เชื่อได้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายสถาน มีประชาชนจำนวนมากกว่า 100 คนต้องเสียชีวิต บาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน รวมถึงผู้ต้องขังเพราะเหตุทางการเมืองนี้กว่า 200 คน ทั้งที่พ้นโทษเพราะถูกจำขังมาจนครบกำหนด รวมถึงผู้ที่ยังต้องขังตามคดีอยู่
และที่สำคัญในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้มีการเสนอร่าง พรบ.นิรโทษกรรมจำนวนหลายฉบับ แต่ต่างมีเนื้อความคล้ายกันแทบทั้งสิ้น นั่นคือ การนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดและผู้มีอำนาจสั่งการในการประกอบอาชญากรรมร้ายแรงในคดีสังหารหมู่ประชาชน ในการสลายการชุมนุม เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ทางกลุ่มญาติฯจึงมีข้อเรียกร้องเพื่อให้ ฯพณฯ พิจารณาดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังต่อไปนี้
- ออกคำสั่งโยกย้ายนายธาริต เพ็งดิษฐ์ จากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ไปดำรงตำแหน่งอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีคดีสังหารหมู่ประชาชน ในการสลายการชุมนุม เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดีดังกล่าว ตามที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้
- เร่งรัดคดีด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ อัยการ แพทย์ ฯลฯ ที่จะทำหน้าที่เร่งรัด สืบสวน สอบสวน และนำคดีขึ้นไต่สวนการตาย รวมถึงเป็นโจทย์ร่วมกับผู้เสียหายในการฟ้องร้องเอาผิดผู้กระทำผิดและผู้มีอำนาจสั่งการในการประกอบอาชญากรรมร้ายแรงในคดีสังหารหมู่ประชาชน ในการสลายการชุมนุม เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 เพื่อให้การเร่งรัดคดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลของ ฯพณฯ มิได้นิ่งนอนใจต่อการดำเนินคดีอาชญากรรมร้ายแรงดังกล่าว
- เนื่องจากคดีจำนวนหนึ่งผ่านการไต่สวนและพิสูจน์การตายจากศาลอาญาแล้ว แม้จะไม่ระบุผู้กระทำความผิดแต่พบแนวโน้มว่าน่าจะมาจากปฏิบัติการทางทหาร จึงขอให้มีการเร่งรัดคดีที่ผ่านการไต่สวนแล้วให้มีผลในทางปฏิบัติด้วยการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลโดยเร็วยิ่งขึ้น
- ขอให้ ฯพณฯ และรัฐบาล ฯพณฯ ยืนยันต่อสาธารณะและนานาอารยะประเทศว่าจะไม่ให้การสนับสนุนใดๆ ต่อร่าง พรบ.ปรองดอง และ/หรือ ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ที่มีเนื้อหานิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดและผู้มีอำนาจสั่งการในการประกอบอาชญากรรมร้ายแรงในคดีสังหารหมู่ประชาชน ในการสลายการชุมนุม เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 โดยเด็ดขาด
ข้าพเจ้าในฐานะตัวแทนกลุ่มญาติฯ และกลุ่มญาติฯ ต่างหวังว่า ฯพณฯ จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้องนี้ เพื่อทำให้ปาฐกถาของ ฯพณฯ ที่กล่าวถึงความสำคัญของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยได้เกิดการปฏิบัติตามสิ่งที่ ฯพณฯ เคยได้กล่าวไว้ในที่ต่างๆ เป็นจริง มากกว่าที่จะเป็นคำกล่าวลอยๆ ที่มิได้มีการปฏิบัติใดๆอย่างเป็นรูปธรรม
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา
ด้วยความเคารพอย่างสูง
นางพะเยาว์ อัคฮาด
ตัวแทนกลุ่มญาติวีรชน เมษายน - พฤษภาคม 255
แมลงสาบ ยังคงกะล่อนรายวัน
ปชป.หนุน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ 'แม่พยาบาลเกด' ระบุ คดีม.112 ล้างผิดไม่ได้
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับฉบับ 'แม่พยาบาลเกด' สอดคล้องกับพรรคฯ ลหุโทษ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาได้รับการนิรโทษกรรม แต่กรณีผู้สั่งการ, มุ่งหมายต่อชีวิต การวางเพลิง, ประทุษร้ายต่อชีวิต รวมทั้งคดี ม.112 จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม
17 ก.ค.56 ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการที่มีกลุ่มภาคประชาชน นำโดยนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของน.ส.กมลเกด อัคฮาด ที่เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ว่า
พรรคประชาธิปัตย์เริ่มเห็นคำตอบให้กับประเทศ เพราะร่างดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์
เนื่องจากไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้สั่งการ คนทำผิดกฎหมายอาญา มีการแบ่งแยกผู้กระทำผิดอย่างชัดเจนคือ เป็นเรื่องลหุโทษ การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา จะได้รับการนิรโทษกรรม แต่คนที่มีพฤติกรรมหรือมีเหตุอันเชื่อว่า มุ่งหมายต่อชีวิต การวางเพลิงเผาทำลายทรัพย์สิน ประทุษร้ายต่อชีวิตประชาชน และทหาร จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม
ดังนั้นถ้ารัฐบาลยอมถอยถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ทั้งหมดที่อยู่ในสภา ทั้งร่างของนายวรชัย เหมมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ร่างของวิปรัฐบาล และอีก 4ร่างที่ยังค้างอยู่ และเดินหน้าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ภาคประชาชน
“ผมเชื่อว่าจะมีทางออก โดยอาจมีประเด็นปลีกย่อยบางประการที่ต้องระบุให้ชัด เช่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ควรจะได้รับการนิรโทษกรรม กรณีผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง ซึ่งจะต้องมานั่งคุยกัน วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ จะยืนอยู่ข้างประชาชนที่เสนอร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยหลังจากที่เราตกลงระบุรายละเอียดให้ชัดแล้วขอให้กลุ่มประชาชน เดินไปบอกรัฐบาลให้ถอนร่างทั้งหมดในสภาออก แล้วเรามาร่วมกันพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ เพื่อพาประเทศไทย เดินหน้าไปสู่ความปรองดอง ความสงบ และสันติ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นข้อเสนอให้กับรัฐบาลแล้ว หวังว่าจะมีคำตอบให้กับเรื่องนี้โดยเร็ว”นายชวนนท์ กล่าว
แต่ต่อมาสื่้อลงข่าวอีกอย่าง หน้ามือเป็นหลังตีนเลย
ลองอ่านเปรียบเทียบดูก่อน จะได้รู้ว่าร่างไหนเป็นไง อย่างไรครับ
หนังสือหนุนร่างฯ ฉบับวรชัย ของกลุ่มญาติฯ อีกกลุ่ม ภาพโดย go6TV
อ่านร่าง พ.ร.บ.
บ.นิรโทษกรรม โดยญาติวีรชน.pdf
บ.นิรโทษกรรม โดยวรชัย เหมะ.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น