วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556


พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556




               เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้



หน้า ๑
เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๑๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๙ ธันวาคม ๒๕๕๖

พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. ๒๕๕๖

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน


               พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า


               โดยที่นายกรัฐมนตรีได้นําความกราบบังคมทูล ฯ ว่า ตามที่รัฐบาลได้เข้ารับหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐบาลได้มีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเท่าเทียมกันของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนั้น รัฐบาลได้ดําเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการเกษตร ภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกําลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็ง อย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค เพื่อรองรับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือ กับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ


                 รัฐบาลได้ให้ความสําคัญในการปฏิรูปการเมืองโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางแต่เนื่องจากปัจจุบันได้เกิดปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกของชนในชาติ ส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนชื่อเสียงของประเทศชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลได้พยายามคลี่คลายปัญหาด้วยสันติวิธีและดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและวิถีทางของรัฐธรรมนูญแล้วก็ตามแต่ไม่อาจยุติปัญหาดังกล่าวได้ จึงเห็นสมควรยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อคืนอํานาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนทั้งประเทศและให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง


            อาศัยอํานาจตามความในมาตรา๑๐๘ และมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้



  • มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๖”
  • มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
  • มาตรา ๓ ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
  • มาตรา ๔ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ ๒
  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
  • มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น