พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่กองบัญชาการกองทัพบก (ที่มาของภาพ: ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล)
Mon, 2014-08-25 18:09
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี อยากให้ทุกฝ่ายร่วมปฏิรูป 11 ด้านไม่ต้องการให้ใครตกขบวน ปชต.-เผยจะมุ่งมั่นทุ่มเทเต็มที่ นำความสุข-ความร่มเย็นมาสู่ ปชช.-ประเทศมั่นคงสามัคคีทุกฝ่าย-ขอบคุณทุกคนที่ร่วมมือกับรัฐบาลและ คสช.
พล.อ.ประยุทธ์ รับสนองพระบรมราชโอการเป็นนายกรัฐมนตรี
25 ส.ค. 2557 - เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล รายงานวันนี้ (25 ส.ค.) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เชิญพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงกองบัญชาการกองทัพบก ซึ่งได้มีการจัดเตรียมสถานที่ในการรับสนองพระบรมราชโองการฯ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมคู่สมรส รศ.นราพร จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รักษาราชการแทนเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงต่างๆ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รออยู่ ณ บริเวณห้องพิธี
จากนั้น นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้อ่านพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ความว่า
พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี พระปรมาภิไธยภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการให้ประกาศว่า
โดยที่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงทรงพระราชดำริว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง แต่งตั้ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2557 เป็นปีที่ 69 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เสร็จแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถวายคำนับพระบรมสาทิสลักษณ์ฯ เปิดกรวยกระทงดอกไม้แล้วถวายบังคม และถวายคำนับพระบรมสาทิสลักษณ์ฯ เป็นเสร็จพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
พล.อ.ประยุทธ์ จะทุ่มเทเต็มที่นำความสุขความร่มเย็นมาให้ประชาชน และไม่อยากให้ใครตกขบวนปฏิรูป
โอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและกล่าวขอบคุณว่า ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และนับเป็นเกียรติอันสูงสุดในชีวิตแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้
พร้อมกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ตระหนักดีถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่ง ต่อจากนี้ต่อไป ต้องรับผิดชอบในการนำพาประเทศชาติและประชาชน เพื่อก้าวเดินไปข้างหน้า ซึ่งได้มีการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ได้แก่ การคัดเลือกรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อบริหารราชการแผ่นดินโดยเร็วที่สุด โดยจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ภายในเดือนกันยายน 2557
การบริหารประเทศในทุกๆ ด้าน ในบทบาทของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนงานเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา โดยรัฐบาล และ คสช. ต้องมีการหารือในการปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องระมัดระวังการก้าวล่วงซึ่งกันและกัน แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุลกัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ขอให้ทุกคนอย่าได้กังวลกับตัวบุคคลมากนัก
"วันนี้เราจะต้องสร้างระบบทุกระบบให้เข้มแข็ง เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นให้ได้โดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ส่วนราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ต้องเข้มแข็งพัฒนาปรับปรุงตนเองในทุกมิติ ทั้งนี้ เพื่อเตรียมการและรองรับการปฏิรูปที่จะต้องทำให้ฝ่ายการเมืองมีระบบธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศในระยะต่อไป และจะได้ร่วมกันนำพาประเทศชาติไปสู่อนาคต อย่างไรก็ตามประชาชนเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินในขณะนี้ สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้ ทั้งในงานด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีปัญหาสำคัญอยู่หลายประการด้วยกัน ทั้งภาคเกษตรกร รัฐ ประชาชนโดยทั่วไป ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน บ้านเมืองเรามีปัญหาสะสมสำคัญ ๆ มากมายมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ด้วย"
ด้านความมั่นคง ยังมีปัญหาอยู่หลายประการ อาทิ ปัญหาชายแดน ทั้งในเรื่องการปักปันเขตแดน การหลบหนี เข้าเมือง สินค้าหนีภาษี ปัญหาความมั่นคงภายใน ในเรื่องยาเสพติด อาชญากรรม อาวุธสงคราม การพนัน แรงงานต่างด้าว และอื่นๆ
ด้านเศรษฐกิจ การเดินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม การส่งเสริมการลงทุนในภาคต่างๆ การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และประชาชนผู้มีรายได้น้อย โครงสร้างภาษี พลังงาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัญหาปากท้องประชาชน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเวลานี้ ซึ่งพวกเราจะพยายามแก้ปัญหาให้ได้โดยเร็ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาระยะยาวต่อไปในอนาคต
ด้านสังคมและวัฒนธรรม ระบบการศึกษา การปลูกจิตสำนึก การปลูกฝังอุดมการณ์ การดำรงซึ่งวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังค่านิยมต่างๆ เหล่านั้น และอุดมการณ์ให้กับคนในชาตินั้น เป็นสิ่งที่จะทำให้การแก้ปัญหานั้นเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การแก้ไขกฎหมายที่ล้าสมัยไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับพันธะสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งกฎหมายที่ส่วนราชการต้องแก้ไข เพื่อความสะดวกและความถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมานั้น ยังดำเนินการไม่เรียบร้อย
สิ่งต่างๆ ที่เป็นปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น รัฐบาล คสช. และประชาชนทุกคน ต้องมาร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งเราไม่ปิดกั้นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือต้องการกำจัดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าในสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ไม่ได้มีข้อกำหนด ข้อห้ามต่างๆ เหมือนกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทุกประการ และต้องยึดหลักการหลายอย่างในการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ในส่วนสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องการให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุดในการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ทั้งกลุ่มการเมือง กลุ่มพลังประชาชน นักเศรษฐกิจ นักวิชาการ ข้าราชการ สื่อมวลชน และผู้แทนส่วนต่างๆ ทั้งนี้ไม่ต้องการให้ส่วนหนึ่งส่วนใดตกขบวนประชาธิปไตย เพื่อสร้างอนาคตของชาติให้มั่นคงและยั่งยืน ไม่ให้เกิดปัญหาต่อไปในอนาคต
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวให้คำมั่นต่อประชาชนว่า จะมุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่ ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน นำความสุข ความร่มเย็นมาสู่พี่น้องประชาชน และทำให้ประเทศชาติมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงพร้อมไปกับการสร้างความรักสามัคคีในทุกกลุ่มทุกฝ่าย พร้อมขอบคุณสำหรับความร่วมมือที่ทุกคนในชาติจะมอบให้กับรัฐบาล และ คสช. ในการปฏิบัติงานในห้วงต่อไป
000
นอกจากนี้เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ได้เผยแพร่ประวัติของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประวัติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลำดับที่ 29
วัน/เดือน/ปีเกิด 21 มีนาคม 2497
ตำแหน่งปัจจุบัน : ผู้บัญชาการทหารบก
วัน/เดือน/ปีเกิด 21 มีนาคม 2497
ตำแหน่งปัจจุบัน : ผู้บัญชาการทหารบก
การศึกษา
พ.ศ. 2514 – โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12
พ.ศ. 2519 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
พ.ศ. 2519 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51
พ.ศ. 2524 – หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34
พ.ศ. 2528 – หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63
พ.ศ. 2550 – หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20
พ.ศ. 2519 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
พ.ศ. 2519 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51
พ.ศ. 2524 – หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34
พ.ศ. 2528 – หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63
พ.ศ. 2550 – หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารบกที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.)
พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาพที่ 1 (มทภ. 1 )
พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการการทหารบก (ผบ.ทบ.)
พ.ศ. 2557 – หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.)
พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาพที่ 1 (มทภ. 1 )
พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการการทหารบก (ผบ.ทบ.)
พ.ศ. 2557 – หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
พ.ศ. 2533 – เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร
พ.ศ. 2542 – ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว)
พ.ศ. 2548 – ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2551 – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2553 – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2533 – เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร
พ.ศ. 2542 – ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว)
พ.ศ. 2548 – ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2551 – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2553 – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์/เครื่องอิสริยาภรณ์ ต่างประเทศ
พ.ศ. 2554 – Honorary Malaysian Armed Forces Order for Valour (First Degree)
Gallant Commander of Malaysian Armed Forces (มาเลเซีย)
พ.ศ. 2555 – Pingat Jasa Gemilang (Tentera) (สาธารณรัฐสิงคโปร์)
พ.ศ. 2555 – Bintanng Kartika Eka Pakci Utama (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
พ.ศ. 2556 – Region of Merit (Degree of Commander) (สหรัฐอเมริกา)
Gallant Commander of Malaysian Armed Forces (มาเลเซีย)
พ.ศ. 2555 – Pingat Jasa Gemilang (Tentera) (สาธารณรัฐสิงคโปร์)
พ.ศ. 2555 – Bintanng Kartika Eka Pakci Utama (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
พ.ศ. 2556 – Region of Merit (Degree of Commander) (สหรัฐอเมริกา)
ราชการพิเศษ ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท
พ.ศ. 2530 – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ราชองครักษ์เวร
พ.ศ. 2542 – ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารเสริมกำลังพิเศษ
พ.ศ. 2444 – ปฏิบัติหน้าที่ รองหัวหน้านายทหารเสริมกำลังพิเศษ
พ.ศ. 2552 – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ราชองรักษ์พิเศษ
พ.ศ. 2555 – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ตุลาการศาลทหารสูงสุด
ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษฯ ประจำหน่วย
พ.ศ. – 2545 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. – 2547 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. – 2549 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ
พ.ศ. – 2554 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ฯ
พ.ศ. 2542 – ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารเสริมกำลังพิเศษ
พ.ศ. 2444 – ปฏิบัติหน้าที่ รองหัวหน้านายทหารเสริมกำลังพิเศษ
พ.ศ. 2552 – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ราชองรักษ์พิเศษ
พ.ศ. 2555 – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ตุลาการศาลทหารสูงสุด
ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษฯ ประจำหน่วย
พ.ศ. – 2545 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. – 2547 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. – 2549 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ
พ.ศ. – 2554 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ฯ
รางวัลทางสังคม
พ.ศ. 2548 – ได้รับรางวัลคนดีสังคมไทย สาขาส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงของชาติ
พ.ศ. 2549 – รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร
พ.ศ. 2553 – รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2554 – ได้รับการลงคะแนนให้เป็นอันดับ 1 สุดยอดซีอีโอของภาคราชการและเจ้าหน้าที่รัฐแห่งปี 2554 จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
พ.ศ. 2549 – รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร
พ.ศ. 2553 – รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2554 – ได้รับการลงคะแนนให้เป็นอันดับ 1 สุดยอดซีอีโอของภาคราชการและเจ้าหน้าที่รัฐแห่งปี 2554 จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น