วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

เตรียมงัด ม.44 เร่งสปีด เด้ง ขรก. เกี่ยวข้องทุจริต เซ็ตแรกปลิว 100 รายชื่อ


มติ. คตช. จ่อใช้ ม.44 เร่งสปีด เด้ง ขรก. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต  วิษณุ เผย ใช้อำนาจหัวหน้า คสช. เปิดตำแหน่งใหม่ ให้ประจำสำนักนายกฯ แต่อย่าเรียกว่า ’สุสานคนโกง’
21 เม.ย. 2558 มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นำแถลงผลการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) โดยมีคณะกรรมการ และอนุกรรมการชุดต่างๆของคตช. ร่วมแถลงด้วย  
วิษณุ กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นการประชุมคตช.ครั้งที่ 3/2558 โดยวาระสำคัญวันนี้แบ่งเป็น 3 เรื่อง เรื่องที่ 1.เป็นการรายงานความคืบหน้าการดำเนินการงานของอนุกรรมการชุดต่างๆ ของคตช. 2.เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่สืบเนื่องมาจากการประชุมสองครั้งแรก ในเรื่องของ "ข้อตกลงคุณธรรม" ซึ่งหมายถึงข้อตกลงที่หน่วยของรัฐทำกับเอกชนโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มี ความเป็นกลางเข้ามาช่วยตรวจสอบการทำสัญญาของรัฐและ 3.เรื่องเกี่ยวกับข้อเสนอ ว่าการที่เราจะแสดงความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐที่นอกจากอาศัยความร่วม มือในประเทศแล้วต้องอาศัยกติกาที่เป็นสากลเพื่อเป็นที่ยอมรับของต่าง ประเทศ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีนโยบายสนับสนุนให้ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์กรหรือเข้าร่วม โครงการระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงด้านความโปร่งใส
วิษณุกล่าวถึงกรณีข้าราชการ 100 รายชื่อ ที่ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.) ระบุว่าเข้าข่ายการทุจริตว่า พลเอกประยุทธ์ในฐานะประธานที่ประชุมแจ้งในที่ประชุมถึงเรื่องดงกล่าวให้ที่ประชุม คตช.รับทราบ ซึ่งมีการรายงานมาที่นายกเป็นที่เรียบร้อยแล้วในขั้นตอนขณะนี้ ซึ่งถือว่า 100 รายชื่อนี้เป็นรุ่นที่หนึ่ง
ส่วนรุ่นต่อไปก็มีการตรวจสอบไปเรื่อยๆ ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ไม่ได้มาจากรัฐบาล แต่มาจากองค์กรตรวจสอบ ได้แก่  คณะกรรมการป.ป.ช. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง) ป.ป.ท สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)  ที่มีหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว
"ซึ่งมีการตรวจสอบก่อนที่คสช.จะเข้ามา แต่บางครั้งเรื่องเรื่องเงียบหรือไม่มีความคืบหน้า แต่รัฐบาลนี้ก็เข้ามาดำเนินการ โดยไม่ได้เป็นการแก้แค้น ไม่ต้องการปิดประตู ใครไม่ผิดก็ปล่อยออกไป ใครผิดก็ต้องดำเนินการไม่ต้องลูบหน้าปะจมูก ไม่ต้องหนีเสือปะจรเข้ มีการส่งชื่อ ส่งประวัติ ส่งพฤติกรรมมาที่คณะทำงานเพื่อประมวล ก็พบว่ามีชื่อซ้ำพฤติกรรมซ้ำ จึงมีคนที่เกี่ยวข้องในข่ายด้วยข้อหาที่ต่างกันมาก ที่ยังไม่อาจปักใจได้ว่าคนนับร้อยนั้นทุจริต เพราะถ้าตราหน้าเขาทุจริตก็ต้องถึงมีการฟ้องร้อง" วิษณุ กล่าว
วิษณุ กล่าวอีกว่า ที่จริงเรื่องพวกนี้ตนรายงานในที่ประชุมแม่น้ำห้าสายแล้วว่าที่รัฐบาลจับตาดูอยู่ ซึ่งมี 30 คดี ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐสามารถตอบได้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อหาของประชาชน แต่ชื่อข้าราชการที่ส่งมาวันนี้อยู่ในข่ายที่คิดว่าเมื่อคิดว่าเป็นคนของรัฐบาล เจ้าน้าที่ฝ่ายบริหาร ข้าราชการ ก็ต้องคิดว่าจะจัดการยังไง บางคนปล่อยเขาไปเพราะไม่ถึงจับให้มั่นคั้นให้ตายเพราะหลักฐานไม่ชัดเจน แต่บางพวกถ้าปล่อยให้อยู่ต่ออาจจะเป็นปัญหาในการไป หยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานจนอาจทำให้เสียรูปคดีหรือเป็นปัญหาในทางปกครอง จึงทำให้คิดว่าจะจัดการอย่างไรในเชิงบริหาร จึง ไม่มีอะไรมากกว่าการโยกย้ายสลับสับเปลี่ยน การเอามาแขวนให้พ้นจากตำแหน่งเดิม เพื่อแสดงว่าเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหา
"จากนี้จะเห็นการแต่งตั้งโยกย้ายนอกฤดูกาลเกือบครึ่ง ที่โดยปกติจะโยกย้ายช่วงเดือนตุลาคม ส่วนการโยกย้ายช่วงเม.ย. จะมีแค่ตำรวจ ทหาร แต่ก็จะเห็นมากขึ้นเพื่อจัดการกับคนบางประเภท แต่ต้องย้ำว่ายังไม่ถึงกับการทุจริต" วิษณุ กล่าว
วิษณุ กล่าวอีกว่าการโยกย้ายจะมี 3 ประเภท กับคน 3 ประเภท คือ หนึ่ง เป็นการแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ไม่เกี่ยวกับร้อยกว่าชื่อที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี  สอง เรื่องของการสลับสับเปลี่ยนเพื่อประสิทธฺิภาพของงาน ที่ คนเดิมที่อยู่อาจจะไม่ถนัดงานนั้น ก็ไม่ได้ผิดไม่ได้มัวหมอง แต่ต้องจำเป็นต้องสลับจากกรมนี้ไปกรมโน้น และ สาม นับร้อยคนที่มีการส่งชื่อมา ขณะนี้กำลังตรวจสอบว่าร้อยกว่าคนที่ว่าอยู่ในขั้นจะต้องจัดการทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งพบว่ามีตั้งแต่ซี 3 ถึงซี 11 เรียกว่ามีตั้งแต่ผู้น้อยถึงผู้ใหญ่ ที่ขณะนี้นายกฯให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบว่าใครอาจจะไม่ต้องไปกระทบกระเทือน อะไรเพราะอยู่ไปก็ไม่ยุ่งเหยิงหรือไม่ทำให้เสียรูปคดีได้หรือไม่ได้เป็น ผู้ใหญ่มากนักแต่อย่างน้อยก็ต้องให้รู้ว่ามีข้อหาที่ต้องสอบสวนต่อไป
"แต่ในเรือนร้อยมีไม่มากนักที่อาจทำให้ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานจนเสียรูปคดีที่ อยู่แล้วอาจจะไม่ได้รับความเคารพจากผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะทำให้ผู้ใต้ บังคับบัญชาไม่กล้าข้อมูลก็อาจจะมีการแต่งตั้งโยกย้ายที่อาจจะทำแบบปกติทั้ง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และบางกรณีที่เป็นข้าราชการระดับสูงอาจจะหาตำแหน่งรองรับ ที่ในระบบปกติหาตำแหน่งได้ยากเพราะตำแหน่งเต็มหมดแล้ว ซึ่งอาจจะใช้มาตรการชั่วคราว ดังที่เคยใช้มาแล้วที่หัวหน้าคสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ที่อาจจะสร้างตำแหน่งใหม่ขึ้นมา โดยให้หลักประกันว่าเป็นมาตรการชั่วคราว ถ้าไม่ผิดก็กลับมาตำแหน่งเดิม ถ้าผิดก็เลี้ยวขวาไปอีกทางหนึ่ง" วิษณุ กล่าว
วิษณุ กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องใช้มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการ เนื่องจากหากใช้กระบวนการตามปกติ จะเกิดความล่าช้า เพราะกว่าคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะอนุมัติ อาจใช้เวลาหลายเดือน ส่วนตำแหน่งที่จะให้บุคคลที่โดนโยกย้ายออกเข้ามาทำหน้าที่ รัฐบาลกำลังตัดสินใจแต่ไม่ให้อยู่กระทรวงเดิมแน่นอน ทุกคนจะมาประจำที่สำนักนายกรัฐมนตรี อาจเป็นที่ปรึกษานายกฯ อย่างไรก็ตาม ตนไม่อยากใช้คำว่าสุสานคนโกง เพราะหลายคนสุดท้ายเขาก็ไม่ได้ผิดอะไร
เมื่อถามว่าจะเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า หากบุคคลใดไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่จะถูกดำเนินการอย่างเด็ดขาด วิษณุ อาจไม่ถึงกับเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญโดยละเอียด แต่จะเขียนในภาพกว้างเพราะสภาต่างๆที่ถูกแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หากทำได้จริงก็จะเข้ามาช่วยตรวจสอบข้าราชการอยู่แล้ว
"วันนี้ ปัญหาของการทุจริตคือคนไทยเห็นแก่หน้ากันไม่กล้าทำอะไรกันมากความจริงผมได้ เรียนกับนายกฯไปว่าไม่ต้องไปดูรายชื่อว่าเป็นใครบ้างเพราะหากไปดูจะเกิดความ รู้สึกสิ่งแรกที่รัฐบาลต้องยอมรับคือทุกหน่วยงานรายงานมาให้รัฐบาลทราบ เรามีหน้าที่จัดประเภทและสอบถามไปยังต้นสังกัดว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใดแล้ว หากอยู่ในขั้นสอบสวนก็ขอให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต้นสังกัด แต่รายไหนที่นั่งทับตำแหน่งตัวเองอยู่โดยไม่ทำอะไร รัฐบาลมีหน้าที่เข้ามาดำเนินการ ขณะนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องการคือทำให้การตรวจสอบการทุจริตมีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะฉะนั้นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการปฏิรูป" วิษณุ กล่าว
วิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ห่วงข้าราชการระดับล่างเท่าข้าราชการระดับบนรวมถึงนักการเมืองด้วย อย่างไรก็ตามนายกฯ ได้มอบคำสั่งว่าหากนายกฯ กลับจากการปฏิบัติภารกิจระหว่างประเทศแล้ว หน่วยงานต่างๆ สามารถส่งรายชื่อข้าราชการที่ส่อว่าทุจริตเข้ามาได้อีก ส่วนนักการเมืองหรือข้าราชการใครทุจริตมากกว่ากันนั้น มองว่านักการเมืองไม่มีโทษทางวินัย หากจะจัดการต้องมีการฟ้องร้องเพียงอย่างเดียว ส่วนข้าราชการสามารถโยกย้ายได้
วิษณุ  กล่าวว่า นายกฯได้เน้นมาตรการ 4 ขั้นตอน จากเบาสุดไปหาหนักสุดในการทำงานตรวจสอบการทุจริต หนึ่ง มาตรการเบาสุดคือทำให้ผู้กระทำผิดหรือผู้ที่มีแนวโน้มกระทำผิดต้องยั้งคิด คือหยุดนึกว่าถ้าทำต่อจะเสียหาย โดยให้กลับไปปฏิบัติตามกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร และพ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ที่ต้องพูดจาปราศัยกับประชาชนอย่างไร ใช้เวลาในการทำงานเท่าไร ถ้าทำงานตามนี้ก็หมดเรื่อง ขั้นที่สอง จะถูกตรวจสอบ ถ้ายังทำผิดต่อไปก็ต้องตรวจสอบ ว่าที่ฝ่าฝืนนั้นผิดหรือประมาทหรือจงใจหรือไม่ องค์กรต่างๆก็จะเข้ามาตรวจสอบ อาทิ ป.ป.ง  ป.ป.ท สตง. และคตร.เข้ามาตรวจสอบ ซึ่งพบว่ามีการรายงานลับมาถึงนายกเป็นจำนวนมาก สาม จัดการในทางบริหาร โดยยังไม่ฟ้องร้อง ยังไม่ไปถึงศาล จะเป็นการย้ายออกจากจุดที่ล่อแหลม หรือหาหลักฐานดำเนินคดี ซึ่งบางคนปล่อยได้ แต่บางคนปล่อยแล้วในภาษากฎหมายขืนอยู่จะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานจนเสียรูปคดี แบบนี้ต้องเอาออก และ สี่ ฟ้องร้องดำเนินคดี ฐานทุจริต หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา157 ก็จะต้องดำเนินคดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น