22 พ.ค. 2558 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์ในโอกาสครบรอบหนึ่งปีรัฐประหาร ระบุตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาการดำเนินการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งผลกระทบด้านกระบวนการยุติธรรมและด้านสิทธิมนุษยชนจากการใช้อำนาจอย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้
1.การดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน
2. การดำเนินการผลักดันประชาชนออกจากพื้นที่ป่า หลังจากมีคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 64/2257 ซึ่งเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการเข้าไปจัดทรัพยากรป่าไม้และที่ดินโดยละเลยต่อบริบทพัฒนาการการใช้พื้นที่
3. การใช้อำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2557 (ฉบับชั่วคราว) ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจมากกว่ากฎอัยการศึกเนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารในฐานะเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยสามารถเข้าร่วมเป็นพนักงานสอบสวนได้
นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่หัวหน้า คสช.จะใช้อำนาจมาตรา 44 ในเรื่องต่างๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงยังรับรองคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทำให้ปราศจากความรับผิดใดๆ ทางกฎหมายและไม่สามารถเยียวยาความเสียหายซึ่งอาจขึ้นจากคำสั่งหรือการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นได้
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ คสช. 1.ยกเลิกและยุติการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร 2.ยกเลิกและยุติการใช้อำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และ 3.ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีที่มาจากประชาชน และจัดให้มีการเลือกตั้ง คืนอำนาจสู่ประชาชนโดยเร็ว
-
รายละเอียด มีดังนี้
แถลงการณ์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ครบรอบหนึ่งปีรัฐประหาร
เผยแพร่วันที่ 22 พฤษภาคม 2558
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ทำการเข้ายึดอำนาจการปกครองจากประชาชนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 อันเป็นวิธีการได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้บริหารประเทศผ่านประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 122 ฉบับ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 184 ฉบับ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 17 ฉบับ และมีร่างกฎหมายซึ่งเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว 112 ฉบับ แม้ คสช.จะแต่งตั้ง สนช.ให้ออกกฎหมาย แต่คสช.ยังคงอำนาจนิติบัญญัติและบริหารไว้โดยเด็ดขาด ดังปรากฏตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล ปราศจากความรับผิดของเจ้าหน้าที่ ส่วนอำนาจตุลาการ คสช.ได้ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจดำเนินคดีเหนือพลเรือน ถือเป็นการทำลายระบบนิติรัฐอย่างรุนแรงที่สุด
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจหลังรัฐประหารพบว่าตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาการดำเนินการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติส่งผลกระทบด้านกระบวนการยุติธรรมและด้านสิทธิมนุษยชนจากการใช้อำนาจอย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้
1. การดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน
คณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้อำนาจในการสร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพทั้งการเรียกบุคคลให้ไปรายงานตัวหรือเชิญตัวบุคคลไปปรับทัศนคติ กว่า 700 คน การห้ามชุมนุมทางการเมืองโดยมีจับกุมผู้ชุมนุมหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองกว่า 166 คน การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกกักตัวบุคคลไม่เกินเจ็ดวัน รวมถึงกำหนดให้การดำเนินคดีพลเรือนในความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ความมั่นคง ความผิดเกี่ยวกับอาวุธและคำสั่ง ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติในศาลทหาร
การใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนไม่กล้าใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และประชาชนบางส่วนเลือกที่จะหลบหนีออกนอกประเทศเนื่องจากหากเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาลทหารแล้วนั้นย่อมไม่มีหลักประกันในด้านความเป็นอิสระและเป็นกลางของผู้พิพากษาในการตัดสินคดีและความผิดซึ่งกระทำระหว่างประกาศกฎอัยการศึกยังคงไม่ได้รับสิทธิอุทธรณ์อันเป็นการขัดต่อหลักนิติรัฐและหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial)
2. การดำเนินการผลักดันประชาชนออกจากพื้นที่ป่า
หลังจากมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 64/2257 เรื่องการปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และการดำเนินนโยบายตามแผนแม่บท แก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งคาดการณ์ในเบื้องต้นว่ามีมากกว่า 100 ชุมชน และประชาชนหลายพันครัวเรือนได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ โดยเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการเข้าไปจัดทรัพยากรป่าไม้และที่ดินโดยละเลยต่อบริบทพัฒนาการการใช้พื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่พิพาทมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่รัฐใช้วิธีผ่อนผันให้ชาวบ้านทำกินหรืออยู่ในระหว่างการเจรจาแก้ไขปัญหา จนกระทั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ามาเร่งรัดการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐในการขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ โดยไม่สนใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา
3. การใช้อำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2557(ฉบับชั่วคราว)
แม้ว่าปัจจุบันคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะยกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกแล้วเจ้าหน้าที่ทหารยังได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 ซึ่งออกตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจมากกว่ากฎอัยการศึกเนื่องจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยสามารถเข้าร่วมเป็นพนักงานสอบสวนได้ ส่งผลให้คดีความผิดซึ่งต้องขึ้นศาลทหารนั้น สามารถมีเจ้าหน้าที่ทหารในการดำเนินการตั้งแต่จับกุมคุมขัง สอบสวน ส่งฟ้องและพิพากษาคดี ซึ่งเป็นการละเมิดต่อสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรงเนื่องจากขัดต่อความเป็นอิสระและเป็นกลาง
นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะใช้อำนาจมาตรา 44 ในเรื่องต่างๆมากยิ่งขึ้นทั้งเรื่องทางบริหารและนิติบัญญัติ รวมถึงการโยกย้ายข้าราชการ ผู้บริหารในองค์การอิสระ การกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษฯลฯ ซึ่งถือเป็นอำนาจเด็ดขาดผ่านการกลั่นกรองจากบุคคลเพียงคนเดียว รวมถึงยังรับรองคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทำให้ปราศจากความรับผิดใดๆทางกฎหมายและไม่สามารถเยียวยาความเสียหายซึ่งอาจขึ้นจากคำสั่งหรือการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นได้
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่านอกจากที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้ว การปกครองประเทศซึ่งขาดการมีส่วนร่วมและขาดการรับฟังความคิดเห็น โดยการจำกัดเสรีภาพของประชาชน และควบคุมกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกลุ่มหนึ่ง ไม่อาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประชาชนทุกฝ่ายไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างเสมอภาค ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอยืนยันให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
1.ยกเลิกและยุติการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร
2.ยกเลิกและยุติการใช้อำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
3.ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีที่มาจากประชาชน และจัดให้มีการเลือกตั้ง คืนอำนาจสู่ประชาชนโดยเร็ว
ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เผยแพร่วันที่ 22 พฤษภาคม 2558
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ทำการเข้ายึดอำนาจการปกครองจากประชาชนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 อันเป็นวิธีการได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้บริหารประเทศผ่านประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 122 ฉบับ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 184 ฉบับ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 17 ฉบับ และมีร่างกฎหมายซึ่งเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว 112 ฉบับ แม้ คสช.จะแต่งตั้ง สนช.ให้ออกกฎหมาย แต่คสช.ยังคงอำนาจนิติบัญญัติและบริหารไว้โดยเด็ดขาด ดังปรากฏตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล ปราศจากความรับผิดของเจ้าหน้าที่ ส่วนอำนาจตุลาการ คสช.ได้ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจดำเนินคดีเหนือพลเรือน ถือเป็นการทำลายระบบนิติรัฐอย่างรุนแรงที่สุด
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจหลังรัฐประหารพบว่าตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาการดำเนินการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติส่งผลกระทบด้านกระบวนการยุติธรรมและด้านสิทธิมนุษยชนจากการใช้อำนาจอย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้
1. การดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน
คณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้อำนาจในการสร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพทั้งการเรียกบุคคลให้ไปรายงานตัวหรือเชิญตัวบุคคลไปปรับทัศนคติ กว่า 700 คน การห้ามชุมนุมทางการเมืองโดยมีจับกุมผู้ชุมนุมหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองกว่า 166 คน การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกกักตัวบุคคลไม่เกินเจ็ดวัน รวมถึงกำหนดให้การดำเนินคดีพลเรือนในความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ความมั่นคง ความผิดเกี่ยวกับอาวุธและคำสั่ง ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติในศาลทหาร
การใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนไม่กล้าใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และประชาชนบางส่วนเลือกที่จะหลบหนีออกนอกประเทศเนื่องจากหากเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาลทหารแล้วนั้นย่อมไม่มีหลักประกันในด้านความเป็นอิสระและเป็นกลางของผู้พิพากษาในการตัดสินคดีและความผิดซึ่งกระทำระหว่างประกาศกฎอัยการศึกยังคงไม่ได้รับสิทธิอุทธรณ์อันเป็นการขัดต่อหลักนิติรัฐและหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial)
2. การดำเนินการผลักดันประชาชนออกจากพื้นที่ป่า
หลังจากมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 64/2257 เรื่องการปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และการดำเนินนโยบายตามแผนแม่บท แก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งคาดการณ์ในเบื้องต้นว่ามีมากกว่า 100 ชุมชน และประชาชนหลายพันครัวเรือนได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ โดยเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการเข้าไปจัดทรัพยากรป่าไม้และที่ดินโดยละเลยต่อบริบทพัฒนาการการใช้พื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่พิพาทมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่รัฐใช้วิธีผ่อนผันให้ชาวบ้านทำกินหรืออยู่ในระหว่างการเจรจาแก้ไขปัญหา จนกระทั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ามาเร่งรัดการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐในการขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ โดยไม่สนใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา
3. การใช้อำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2557(ฉบับชั่วคราว)
แม้ว่าปัจจุบันคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะยกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกแล้วเจ้าหน้าที่ทหารยังได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 ซึ่งออกตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจมากกว่ากฎอัยการศึกเนื่องจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยสามารถเข้าร่วมเป็นพนักงานสอบสวนได้ ส่งผลให้คดีความผิดซึ่งต้องขึ้นศาลทหารนั้น สามารถมีเจ้าหน้าที่ทหารในการดำเนินการตั้งแต่จับกุมคุมขัง สอบสวน ส่งฟ้องและพิพากษาคดี ซึ่งเป็นการละเมิดต่อสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรงเนื่องจากขัดต่อความเป็นอิสระและเป็นกลาง
นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะใช้อำนาจมาตรา 44 ในเรื่องต่างๆมากยิ่งขึ้นทั้งเรื่องทางบริหารและนิติบัญญัติ รวมถึงการโยกย้ายข้าราชการ ผู้บริหารในองค์การอิสระ การกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษฯลฯ ซึ่งถือเป็นอำนาจเด็ดขาดผ่านการกลั่นกรองจากบุคคลเพียงคนเดียว รวมถึงยังรับรองคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทำให้ปราศจากความรับผิดใดๆทางกฎหมายและไม่สามารถเยียวยาความเสียหายซึ่งอาจขึ้นจากคำสั่งหรือการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นได้
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่านอกจากที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้ว การปกครองประเทศซึ่งขาดการมีส่วนร่วมและขาดการรับฟังความคิดเห็น โดยการจำกัดเสรีภาพของประชาชน และควบคุมกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกลุ่มหนึ่ง ไม่อาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประชาชนทุกฝ่ายไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างเสมอภาค ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอยืนยันให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
1.ยกเลิกและยุติการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร
2.ยกเลิกและยุติการใช้อำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
3.ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีที่มาจากประชาชน และจัดให้มีการเลือกตั้ง คืนอำนาจสู่ประชาชนโดยเร็ว
ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น