พิธีเปิดวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกจัดโดยยูเนสโกและรัฐบาลลัตเวีย - ผู้รายงานพิเศษยูเอ็นแสดงความห่วงใยต่อภาวะที่สื่อทั่วโลกถูกคุกคาม โดยเฉพาะประเทศไทยที่รัฐบาลทหารคุกคามสื่อ ปิดกั้นสื่อ จนท.จับกุมประชาชนที่เป็นผู้ใช้สื่อออนไลน์ - ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนยูเอ็น ชี้ว่าผู้คุกคามสื่อไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย ถือเป็นอุปสรรคสำคัญของคนทำสื่อ
คลิปสัมภาษณ์เดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและปกป้องสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก โดยเขา เรียกร้องให้รัฐบาลทหารให้หลักประกันเสรีภาพสื่อ อย่างที่สื่อไทยเคยมีเสรีภาพสื่อในอดีต
รีกา, 3 พ.ค. - พิธีเปิดอย่างเป็นทางการวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก หรือ World Press Freedom Day ประจำปี 2015 ซึ่งจัดที่กรุงรีกา สาธารณรัฐลัตเวียนั้น ปีนี้องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO และกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศลัตเวีย ร่วมเป็นเจ้าภาพ โดยปีนี้ประเด็นหลักของงานคือสวัสดิภาพสื่อและสื่อยุคดิจิทัล
เดซ เมลเบด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศลัตเวีย กล่าวถึงการได้รับเสรีภาพของลัตเวียเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ซึ่งต้องต่อสู้เพื่อบรรลุอิสรภาพของประเทศ แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต ซึ่งสื่อก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลานั้น บทบาทของสื่อมวลชนในลัตเวียต่อการประกาศเสรีภาพ การต่อสู้กับผู้เผด็จการ ส่งเสริมประชาธิปไตย นักข่าวและสื่อมวลชนชาวลัตเวียหลายคนถูกฆ่าตายในช่วงเวลาดังกล่าว ทว่า แต่ก็น่าเสียใจว่าสื่อมวลชนทั่วโลกทุกวันนี้ก็ยังคงเผชิญการคุกคามชีวิต อันเนื่องจากการทำงานเชิงลึก
เดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและปกป้องสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก กล่าวถึงภาวะที่สื่อทั่วโลกถูกคุกคามโดยยกตัวอย่างในหลายประเทศที่สื่อตกอยู่ในภาวะถูกคุกคามอย่างรุนแรง เขายังกล่าวถึงประเทศไทย ว่ากำลังเผชิญกับรัฐบาลทหารคุกคามสื่อ จับกุมคุมขังสื่อ ปิดกั้นสื่อ ตำรวจและทหารเข้าจับกุมประชาชนที่สื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์รวมไปถึงปิดการเข้าถึงคลิปต่างๆ ที่เป็นหลักฐานความรุนแรงโดยรัฐ และเป็นที่น่าเสียใจว่าการคุกคามสื่อนั้นมักไม่มีการสืบสวนสอบสวนและลงโทษผู้กระทำ
ฟลาเวีย แพนซิเอรี รองข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ หรือ OHCHR กล่าวว่าสื่อยุคดิจิทัล สื่อใหม่นั้นท้าทายความหมายของนิยามคำว่าสื่อมวลชน เมื่อคนใช้งานสื่อดิจิทัลกลับมีบทบาทในการปกป้องเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ดังนั้นบล็อกเกอร์และนักกิจกรรมออนไลน์ก็ควรได้รับการปกป้องในการทำงานของพวกเขาเช่นกัน
เธอกล่าวย้ำถึงภาวะการไม่ต้องรับผิดของผู้คุกคามสื่อซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการทำงานทุกวันนี้
ในอีกประเด็นคือ ความท้าทายในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำงานต่อไป เพราะทุกวันนี้สื่อมวลชนหญิงยังคงถูกคุกคามและเลิอกปฏิบัติทางเพศ และส่วนใหญ่การละมิดความเท่าเทียมทางเพศนี้ก็เกิดในห้องข่าวนั้นเอง
วันเสรีภาพของหนังสือพิมพ์โลกที่น่าสนใจมากfun88https://halsat.com/หัวหอมสมุนไพร/
ตอบลบ