Mon, 2015-08-31 16:13
เก็บประเด็นวงเสวนา “ความหวังของระบอบประชาธิ ปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่” หลากหลายวิทยากรย้ำ มองไม่เห็นความหวัง ระบุ รธน. เป็นการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ แม้หมวดสิทธิเสรีภาพเขียนดีแต่อาจเป็นเพียง ‘ผักชีโรยหน้า’
เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2558 เว็บไซต์ prachamati.org ร่วมกับองค์กรเครือข่าย จัดงานเสวนา “ความหวังของระบอบประชาธิ ปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่” ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุ งเทพมหานคร เพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับสั งคมต่อประเด็นต่างๆ ในร่างรัฐธรรมนูญที่ สปช. กำลั งจะลงมติรับหรือไม่รับ โดยมีวิทยากรประกอบด้วย โคทม อารียา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศราวุฒิ ประทุมราช สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน อธึกกิต แสวงสุข สื่อมวลชน ชลัท ประเทืองรัตนา นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ดำเนินรายการโดย ประทับจิต นีละไพจิตร
คลิปงานเสวนาโดยPITV
อธึกกิต แสวงสุข : รัฐธรรมนูญหอมหัวใหญ่ ปอกไปน้ำตาไหลทุกชั้น ซ้ำร้ายไม่มีประชาธิปไตยอยู่ภายใน
อธึกกิต หรือใบตองแห้ง เริ่มต้นด้วยการวิพากษ์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย คล้ายกับหอมหัวใหญ่ ที่ฉีดยาฆ่าแมลงอย่างเต็มที่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้มีเพียงแต่ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ที่จะมีวาระดำรงตำแหน่งเพียง 5 ปี เท่านั้นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หากแต่มีอีกหลายกลไกพิเพษ ยิ่งเมื่ออ่านรัฐธรรมนูญอย่างละเอียด หรือปอกลงไปในแต่ละชั้นของหัวหอมยิ่งน้ำตาไหล และยังเป็นพิษทุกชั้น และสุดท้ายเมื่อปอกเข้าไปถึงชั้นในสุดก็ยังไม่เจอประชาธิปไตย
อธึกกิต ระบุว่า ในมาตรา 278 มีลักษณะของการสืบทอดอำนาจ โดยระบุให้ คสช. ยังคงมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 แม้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตาม จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งหมายความว่า คสช. ยังมีอำนาจเต็มอยู่ และสามารถใช้มาตรา 44 ได้ ทั้งนี้เมื่อย้อนดูแล้วไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับไหนเขียนให้อำนาจคณะรัฐประหารมากเท่านี้มากก่อน
“คือร่างแรกเราก็บอกว่ามันหนักอยู่แล้ว ถ้าพูดถึงเนื้อหา การที่มีคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่างๆ มาคอยคุมรัฐบาล ผมถามว่าแล้วรัฐบาลมันจะทำอะไร คนที่มาจากการเลือกตั้งจะทำไร ถ้ากรรมการปฏิรูปด้านการศึกษา แผนให้ปฏิรูปการศึกษา และรัฐมนตรีศึกษาธิการจะทำอะไร ไปเปิดป้ายเปิดโรงเรียนอย่างนั้นเหรอ แค่นั้นเราก็ว่าแย่แล้ว สุดท้ายก็มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติขึ้นมาอีก” อธึกกิตกล่าว
อธึกกิต ตั้งข้อสังเกตถึงที่มาของคณะกรรมการยุทธศาตร์ฯ ในตำแหน่งที่นั่งของอดีตนายกรัฐมนตรี หากย้อนกลับไปดูบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ และไม่ได้เป็นนัการเมือง ทั้งยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ เช่น องคมนตรี ก็จะเหลือเพียงพลเอกประยุทธ์ เท่านั้น มากไปกว่านั้น การตั้งแต่งคณะกรรมการที่มาจากมติรัฐสภาอีก 11 คน มีความเป็นไปได้ว่า คณะกรรมการ 11 คน ที่จะมาการแต่งตั้งก่อนการเลือกตั้งโดย สนช. เนื่องจากในมตรา 280 ระบุเพียงแค่ให้รอคณะกรรมการโดยตำแหน่ง คือประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา และนายกรัฐมนตรี ไว้ก่อน นั้นหมายความว่าในส่วนที่เหลือสามรถแต่งตั้งได้ก่อน
ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญยังคงเปิดช่องให้มีการต่ออายุของคณะกรรมยุทธศาสตร์ฯ ได้ง่ายขึ้นไปอีก โดยมีการระบุช่องทางในการต่ออายุไว้ 2 ช่องทาง 1 คือให้ประชาชนลงประชามติ และ 2 ให้รัฐสภาลงมติ โดยช่องทางที่ 2 สามารถทำได้ง่ายกว่า
อธึกกิต กล่าวถึงกรณีการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการตีความมาตรา 7 และมีอำนาจในการควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่า เป็นการปิดทาง และกีดกั้นระบอบประชาธิปไตย
ศราวุฒิ ประทุมราช : สิทธิเสรีภาพยังสับสน และไม่ครอบคลุม
ศราวุฒิ เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงเรื่อง สิทธิมนุษยชน โดยระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการเขียนสิทธิเสรีภาพที่ค่อนข้างสับสน คือมีการเขียนแยกสิทธิเสรีภาพไว้ ประกอบด้วยสิทธิเสรีภาพของบุคคล สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย
“เวลาเรื่องพูดเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ควรจะแยกว่าเป็นบุคคล หรือชนชาวไทย คือเราเป็นมนุษยต้องถือว่าคนทุกคนมีความเสมอภาคกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน และไม่ควรแยกปฏิบัติด้วยความแตกต่างในเรื่องของเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ทีนี้พอเขียนแยกมันเลยเกิดคำถามว่า เวลาจะมีสิทธิเสรีภาพ จะคุ้มครองเฉพาะพลเมืองไทยมากกว่า คนต่างชาติที่อยู่ประเทศไทยหรือเปล่า ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ของคนต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยได้” ศราวุฒิกล่าว
ศราวุฒิ มีความเห็นว่า ในหมวดเรื่องสิทธิเสรีภาพ ควรเพิ่มเรื่องการซ้อมทรมาน การลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และบังคับสูญหาย ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่มี
ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ : รัฐธรรมนูญฉบับหนองใน เสรีภาพเป็นเพียงผักชีโรยหน้ารัฐธรรมนูญ
ปูนเทพ มองว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ต้ องการใช้ร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็ นรัฐธรรมนูญถาวร แต่ต้องการให้มีกลไกพิเศษในช่ วงเวลา 5 ปี ต่อจากนี้ เพราะผู้ร่างมองว่าในช่วงนี้น่ าจะมีเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่ สถานการณ์ที่ต้องควบคุมให้ได้ โดยเห็นได้ชัดเจนว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประกาศใช้แล้ว คงไม่จำเป็นต้องทำรัฐประหารอีก เพราะมีกลไกพิเศษเขียนไว้ในรั ฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว
ต่อหมวดเรื่องสิทธิเสรีภาพ ปูนเทพ มองว่า เป็นเพียงการเขียนมาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ภายนอกให้กับรัฐธรรมนูญเพียงเท่านั้น พร้อมกับตั้งฉายาให้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า “รัฐธรรมนูญฉบับหนองใน” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ข้างนอกดูสวย แต่ว่าภายในกลับอันตราย โดยจุดขายสำคัญซึ่งผู้ร่างรั ฐธรรมนูญใช้ในการประชาสัมพันธ์ คือ บทบัญญัติในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นจุดขายเดียวกับที่ เคยใช้มาแล้วในการรณรงค์ให้รั บร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 และ ปี 2550 อย่างไรก็ตาม อยากตั้งข้อสังเกตว่า บทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพเป็ นเหมือน “ผักชีโรยหน้า” หากกลไกต่างๆ ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่มี ประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพอย่างเพียงพอ
“รัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ การเปลี่ยนอำนาจพิเศษต่างๆ ที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญให้เข้ามาอยู่ในรัฐธรรมนูญ ทหารก็ดี องค์กรต่างๆ ที่ล้มรัฐธรรมนูญ ที่ฉีกรัฐธรรมนูญ ได้เข้ามาอยู่ในรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องพูดถึงบริบทว่ามันต้องมีหลักประชาธิปไตย ต้องเชื่อมโยงกับประชาชน ต่อไปหากรัฐธรรมนูญฉบับนี้บังคับใช้ก็ไม่จำเป็นต้องมีรัฐประหาร เราสามารถเอานายกออก เราสามารถมีผู้มีอำนาจเต็มเข้ามาใช้อำนาจต่างๆ ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ออกคำสั่งต่างๆ ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องฉีกรัฐธรรมนูญ เป็นการรัฐประหารภายใต้รัฐธรรมนูญเอง” ปูนเทพกล่าว
ชลัท ประเทืองรัตนา : การปฏิรูปในร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องรองดูกันต่อไป
ชลัท เริ่มต้นด้วยการ พูดถึงด้านดีของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ การยกเลิกการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งถึงว่าเป็นความหวังของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต่อมาในเรื่องของปฏิรูป ชลัทมองว่า กรรมาธิการยกร่าง มีสมมติฐานว่า การปฏิรูปไม่เคยเกิดขึ้นได้จริง ในแง่ของการพลักดันให้รัฐบาลรับไปปฏิบัติ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา จึงทำให้มีความเชื่อว่านักการเมือง อาจจะไม่ผลักดันเรื่องการปฏิรูป ทำให้ต้องมีการเขียนบังคับเอาไว้ในรัฐธรรมนูญว่า “ต้องปฏิรูป” และ ”ต้องรักกัน”
ชลัท เห็นว่า เนื้อหาที่เกี่ ยวข้องกับการปฏิรูปในร่างรั ฐธรรมนูญล้วนเป็นเรื่องที่ หลายฝ่ายตั้งความหวั งมายาวนานแล้ว แต่ในหลายเรื่อง ก็ต้องรอดูร่างกฎหมายที่เกี่ ยวข้องกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดที่ชั ดเจนขึ้นต่อไป
ชลัท กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ จะมีอำนาจหน้าที่ในสองระดับ คือในสถานการณ์ปกติ และในสถานการณ์พิเศษ ในภาวะปกติมีอำนาจบังคับให้คณะรัฐมนตรี ต้องปฏิบัติตามเรื่องการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เสนอ พร้อมกันนี้ยังมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระสร้างความปรองดอง ซึ่งร่างเดิมมีการแต่งตั้งแยกออกมาต่างหาก แต่ในร่างใหม่นี้ได้ให้อำนาจในการแต่งตั้งไว้กับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ โดยชลัท หวังว่าจะมีองค์ประกอบที่ทุกฝ่ายยอมรับ
โคทม อารียา : จากร่างสำลักคุณธรรม สู่ร่างกรงขังประชาธิปไตย
โคทม เริ่มต้นด้วยการต้นชื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อเดือนเมษายนว่าเป็น ร่างรัฐธรรนูญฉบับสำลักคุณธรรม แต่ว่าหลังจากแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการยกร่าง คุณธรรมที่ระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญก็ลดลงไป ขณะเดียวกันเรื่อง พลเมือง ก็มีการตัดออกไป และใช้ความว่า บุคคล และชนชาวไทยแทน โดยรวมแล้วในหมวดสิทธิเสรีภาพ ถูกเขียนไว้ได้เป็นอย่างดี
ขณะที่เรื่องดีอีกประเด็นหนึ่ง โคทมเห็นว่า มาตรา 199 เรื่ององค์บริหารท้องถิ่น โดยระบุว่ารัฐจะต้องให้อิสระในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของคนในท้องถิ่น และยังเขียนไว้ด้วยว่า สามารถมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
อย่างไรก็ตาม โคทม ได้วิพากษ์ วิจารณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ว่า เป็นการปกครองโดยกฎหมาย คือผู้มีอำนาจจำนวนน้อย ต้องการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยมีนัยยะว่ากฎหมายที่เขาเป็นผู้ร่าง ต้องเป็นกฎหมายที่ดี เมือดีแล้วห้ามใครมาแก้ไขปรับเปลี่ยน
“กฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ และรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ จะเป็นกฎหมายที่แก้ไขยากมาก โดยตัวเองก็แก้ยากอยู่แล้ว แต่ยังตั้งองครักษ์ พิทักษ์ทั้งกฏหมายรัฐธรรมนูญ และกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ โดยฝากความหวังไว้กับศาลรัฐธรรมนูญ ผมเห็นว่าตรงนี้มันเป็นการล๊อคโครงสร้างเอาไว้” โคทมกล่าว
ต่อกรณีการสืบทอดอำนาจ โคทมเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในร่างรัฐธรรมนูญสะท้อนว่า คสช. กำลังสืบทอดอำนาจผ่านกฎหมาย โดยผู้ที่ถูกริดรอนอำนาจมากที่สุดคือ นักการเมือง ซึ่งถือเป็นการริดรอนสิทธิของประชาชนในการเลือกผู้แทนให้ไปใช้อำนาจแทนตนด้วย โดยจะเห็นว่า ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งจะถูกคานอำนาจทุกระดับ โดยวุฒิสภา และศาลรัฐธรรมนูญ
อีกกรณีที่น่าสนใจ โคทม ชี้ให้เห็นว่า การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ซึ่งเขียนไว้ในมาตร 196 คือระบุให้มีคณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่อยากจะให้ขยายไปรวมถึงข้าราชการทหาร และตำรวจด้วย อย่างไรก็ตามในเรื่องดังกล่าวยังมีปัญหาอยู่คือ ยังไม่มีรายละเอียดระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ หากมีการระบุว่า ให้อำนาจคณะกรรมการดำนินการแต่งตั้ง มีอำนาจในการแต่งตั้งโดยสมบูรณ์ ก็อาจจะเกิดปัญหาในกระบวนการทำงานของรัฐมนตรีได้
ในส่วนของการออกนโยบาย ในร่างรัฐธรรมนูญก็ยังมีการกำกับว่ารัฐบาลต่อดำเนินนโยบายตามที่ได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งจากแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผ่นพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โคทมมองว่า รัฐบาลที่เข้ามาก็อาจจะไม่สามารถดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงไว้ได้อย่างอิสระ และหากไม่ทำตามแนวนโยบายที่วางไว้ก็อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้
โคทม ตั้งข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือในมาตรา 236 ระบุว่านายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ต้องไม่ใช้สถานะ หรือตำแหน่งทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และต้องมีหน้าที่กำกับบุคคลในพรรค บุตรหลาน และคู่สมรส ไม่ให้กระทำการดังกล่าวด้วย หากไม่ทำตามอาจจะโดนตัดสิทธิทางการเมือง ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง และตำแหน่งอื่นๆ ตลอดไป
“นี่มันสามารถยกเข่งได้เลย คือผมเป็นรัฐมนตรี ผมสังกัดพรรคจอมปลอม(สมมติ) แล้วสมาชกชิกพรรคของผม กรรมการบริหารพรรค คนอื่นๆ ใครต่อใคร ผมจะไปสั่งอะไรเขาได้มั้ย ผมไม่แน่ใจแต่ผมต้องมีหน้าที่กำกับ ป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่านั้นไปกระทำอะไรที่มันฉ้อฉล ถ้าทำได้ก็ดี ถ้าไม่ทำผมโดนไปด้วยหรือเปล่า และถ้าโดนไปด้วยผมจะต้องถูกถอดถอนตัดสิทธิ การดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดไป OK แค่นี้ก็นักแล้วนะครับ แต่ท่านใส่อีกวลีหนึ่งคือ หรือสิทธิในการดำรงตำแหน่งอื่นตลอดไป มันตำแหน่งอะไรหว่า เป็นสามีของภรรยาผมนี่เป็นตำแหน่งหรือเปล่า อันนี้ต้องตีความกันไปอีก” โคทมกล่าว
ท้ายสุดโคมทมกล่าวว่า จากร่างรัฐธรรมนูญฉบับสำลักประชาธิปไตย เมื่อผ่านการแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ แล้ว ได้กลายมาเป็น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับจับประชาธิปไตยใส่กรง