เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวเปรียบเทียบสถานะนายกรัฐมนตรีเผด็จการของตนว่า “ไม่ใช่อัศวินม้าขาว แต่เป็นม้าขาเป๋ เพราะมีปัญหาประเดประดังเข้ามา วิ่งขาจะเปื่อยอยู่แล้ว แต่ทุกคนต้องช่วยสร้างความเข้าใจ อย่าคิดว่าใช้มาตรา 44 ได้หมดทุกเรื่อง”
การแสดงท่าทีในลักษณะเช่นนี้ เกิดขึ้นในขณะที่มีกระแสข่าวอย่างกว้างขวางว่า จะมีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาไม่เกินเดือนสิงหาคมนี้ ข่าวลือนี้ชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่คณะ คสช. ได้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 โดยมีมาตราที่ 3 ให้ยกเลิกข้อความเดิมในมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 เรื่องบุคคลต้องห้ามที่จะดำรงตำแหน่งทางเมือง ที่ใช้ว่า เป็นบุคคลที่ “(4)เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” และใช้ข้อความแทน คือ “(4) ไม่อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” ผลกระทบโดยตรงของการเปลี่ยนข้อความเช่นนี้ คือทำให้บุคคลที่เคยต้องถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง คือกลุ่มบ้านเลขที่ 111 และ 109 ที่พ้นระยะเวลาต้องห้าม 5 ปี สามารถรับตำแหน่งทางการเมืองได้ หรือที่ตรงกว่านั้นคือ การเปิดทางให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เข้ารับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีได้นั่นเอง
การแสดงท่าทีในลักษณะเช่นนี้ เกิดขึ้นในขณะที่มีกระแสข่าวอย่างกว้างขวางว่า จะมีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาไม่เกินเดือนสิงหาคมนี้ ข่าวลือนี้ชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่คณะ คสช. ได้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 โดยมีมาตราที่ 3 ให้ยกเลิกข้อความเดิมในมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 เรื่องบุคคลต้องห้ามที่จะดำรงตำแหน่งทางเมือง ที่ใช้ว่า เป็นบุคคลที่ “(4)เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” และใช้ข้อความแทน คือ “(4) ไม่อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” ผลกระทบโดยตรงของการเปลี่ยนข้อความเช่นนี้ คือทำให้บุคคลที่เคยต้องถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง คือกลุ่มบ้านเลขที่ 111 และ 109 ที่พ้นระยะเวลาต้องห้าม 5 ปี สามารถรับตำแหน่งทางการเมืองได้ หรือที่ตรงกว่านั้นคือ การเปิดทางให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เข้ารับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีได้นั่นเอง
ปัญหาที่นำมาสู่กระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้คือ ความล้มเหลวในการจัดการด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ในระยะรอบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่เสื่อมทรุด ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคือการส่งออกก็ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจการท่องเที่ยวก็ยังไม่มีแนวโน้มจะฟื้นตัว ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ต้องปรับลดตัวเลขประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะการส่งออกติดลบ 1.5 % การใช้จ่ายของประชาชนทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ก็มีแนวโน้มลดลงอย่างมาก ตัวเลขการลงทุนก็มีแนวโน้มลดลง บริษัทหลายแห่งต้องปิดกิจการ ที่เป็นข่าวใหญ่ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้ก็คือ การที่บริษัทซัมซุงอิเล็คโทร-แม็คคานิคส์ จังหวัดนครราชสีมา ปิดกิจการแล้วเลิกจ้างพนักงานรวมกว่า 1,800 คน ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก
ในภาวะเช่นนี้เอง นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยอมรับตามข่าวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมว่า เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปี 2558 นี้จะออกมาแย่ยิ่งกว่าครึ่งปีแรก โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและปัญหาภัยแล้งในประเทศที่เกิดขึ้นซ้ำเติม ซึ่งจากคำกล่าวของรัฐมนตรีคลังเช่นนี้ หมายความว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในระยะเวลาอันใกล้นี้เลย แนวโน้มเช่นนี้ ยังได้รับการยืนยันโดยนายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ เพราะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะจีน ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด และยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างของการส่งออกไทย รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาท ยิ่งทำให้การส่งออกของไทยมีแนวโน้มต่ำลง ความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่อยู่ในระดับต่ำ และตัวเลขการใช้จ่ายภาคเอกชนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจนี้ส่งผลต่อรายได้ภาครัฐ เพราะกรมสรรพากรได้ออกมาระบุว่า ยอดการจัดเก็บภาษีในในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 ต่ำกว่าเป้าหมายถึงกว่า 56,000 ล้านบาท และถ้าจะอธิบายว่า นี่เป็นจุดต่ำสุด หลังจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจจะดีขึ้น นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ได้อธิบายดับความฝันเช่นนั้น โดยกล่าวคาดการณ์ว่า ตัวเลขการจัดเก็บภาษีทั้งปีประมาณน่าจะต่ำกว่าเป้าหมายมากถึง 160,000 ล้านบาท โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคคาดว่าจะลดลงถึง 40,000 ล้านบาท และผลจากการลดลงของราคาน้ำมันที่จะทำให้การจัดเก็บรายได้จากการนำเข้าน้ำมันหายไปอีก 60,000 หมื่นล้านบาท และการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คาดว่าจะทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 10 %
ปัญหาใหญ่ประการหนึ่งมาจากการใช้จ่ายเงินในภาคเกษตรลดลงอย่างมาก จากการที่รัฐบาล คสช.ยกเลิกนโยบายอุดหนุนการเกษตร โดยเฉพาะนโยบายด้านข้าวที่ไม่มีทั้งโครงการประกันราคาและจำนำข้าว ทำให้ชาวนาต้องเผชิญกับการตกต่ำของราคาข้าวโดยตรง และยังซ้ำเติมด้วยการที่รัฐบาลประกาศห้ามทำนาเพราะภัยแล้ง ส่วนยางพาราสิ่งเป็นสินค้าหลักในทางเกษตรอีกชนิดก็มีราคาที่ตกต่ำอย่างหนัก โดยไม่เห็นแนวโน้มที่จะดีขึ้น เมื่อรายได้ภาคเกษตรตกต่ำลงก็ส่งผลกระทบให้เกิดการลดลงของการหมุนเวียนของเงิน ดัชนีภาวะเศรษฐกิจภาคครัวเรือนในประเทศจึงตกต่ำอย่างหนัก หนี้สินของประชาชนโดยรวมก็สูงขึ้นอย่างมาก และไม่มีปัจจัยบวกมีมากเพียงพอที่จะทำให้ตัวเลขดีขึ้น
ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ล้มเหลวนี้ ทำให้กระแสที่อธิบายกันว่า เป็นเพราะทีมบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่นำทีมโดยรองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ไม่มีฝีมือ จึงบริหารเศรษฐกิจล้มเหลว ทำให้นายกรัฐมนตรีต้อง “ขี่ม้าขาเป๋” ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนม้า หรือปรับเอาคนใหม่ คือ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตผู้นำทีมเศรษฐกิจสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยแสดงฝีมือมาแล้ว และขณะนี้ก็ยังช่วยงานคณะทหารอยู่ และถ้ามีผู้ช่วยที่เข้มแข็ง เช่น นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็น่าจะมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้นได้ ซึ่งข่าวการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีทีมเศรษฐกิจนั้น กระทบถึงหลายรายชื่อว่าจะถูกปรับออก เช่น นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น แต่ไม่มีข่าวว่าจะกระทบถึงรัฐมนตรีฝ่ายทหาร คือ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ พล.อ.อ.ประจิณ จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการคมนาคม
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ปัญหาความล้มเหลวทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่มาจากความล้มเหลวของทีมงานรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่นั้น ยังคงเป็นปัญหา เพราะต้องยอมรับว่า ภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่เป็นเผด็จการทหาร ก็เป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งในการปรับตัวทางเศรษฐกิจ เพราะเผด็จการทหารนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทำให้การเปิดเจรจาทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าตะวันตกนั้นไม่สามารถทำได้ การลงทุนชะงักเพราะนักลงทุนต่างประเทศไม่มั่นใจในเสถียรภาพของเผด็จการ การท่องเที่ยวตกต่ำเพราะนักท่องเที่ยวชั้นดีจากโลกตะวันตกจำนวนมาก ไม่ท่องเที่ยวในประเทศที่ไม่มีหลักประกัน ดังนั้น ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศส่วนหนึ่งจึงมาจากปัญหาภาพลักษณ์ทางการเมืองของประเทศที่ล้าหลังสวนกระแส แล้วทำให้การขยับตัวแก้ไขเศรษฐกิจเป็นไปได้ลำบาก
แต่ที่มากกว่านั้น คือ ผู้ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารภาคเศรษฐกิจเลยตัวจริง คือ นายกรัฐมนตรี หรือถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนคือ นอกจากความสามารถในการพูดได้อย่างยืดยาวไม่มีประเด็นแล้ว ก็ยังไม่ได้เห็นเลยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความสามารถพิเศษอะไรในการบริหารประเทศ แผนการรูปธรรมที่จะนำการปรับปรุงเศรษฐกิจก็ยังไม่เห็น โครงการที่จะช่วยยกระดับรายได้ของประชาชน ให้ประชาชนไทยอยู่ดีกินดี มีสวัสดิการที่ชัดเจนก็ยังไม่เคยมี
ถ้าปัญหาเป็นเช่นนี้ คงไม่ใช้เป็นเรื่องของม้าขาเป๋เสียแล้ว แต่เป็นเรื่องของจอกกี้ที่ขี่ม้าไม่เป็น เผด็จการทหารจึงไม่ได้เป็นอัศวินม้าขาว แต่เป็นอัศวินกระป๋องที่ทำอะไรไม่ได้ ประเทศไทยจึงอยู่ในภาวะเช่นนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น