16 ก.พ. 2559 MGR Online และ คมชัดลึกออนไลน์ รายงานตรงกันว่า วันนี้ ที่ห้องพิจารณาคดี 710 ศาลอาญา ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 โจทก์, นายกระมล ทองธรรมชาติ, นายผัน จันทรปาน,นายศักดิ์ เตชาชาญ, นายปรีชา เฉลิมวณิชย์, นายอนันต์ เกตุวงศ์, นายสุจินดา ยงสุนทร และนายจุมพล ณ สงขลา ซึ่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝ่ายเสียงข้างมากที่ให้นายทักษิณ ชินวัตร พ้นผิดจากคดีซุกหุ้นเมื่อปี 2544 เป็นโจทก์ร่วมที่ 1-7 ยื่นฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์แนวหน้า, นายจีระพงศ์ เต็มเปี่ยม บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.แนวหน้า (ขณะฟ้องปี 2545), บริษัท หนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด, นางผานิต พูนศิริวงศ์ และนายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท ในความผิดร่วมกันฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร, ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198,326,328
ตามฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2545 ระบุความผิดจำเลยสรุปว่า เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2544 จำเลยทั้งห้าร่วมกันดูหมิ่นและหมิ่นประมาทตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก 8 ต่อ 7 เสียง ที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) ขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบว่าไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 โดยจำเลยที่ 2 พิมพ์บทความใน นสพ.แนวหน้า ฉบับลงวันที่ 28 ส.ค. 2544 หน้า 3 ซึ่งคอลัมน์ของจำเลยที่ 1 วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้โจทก์ร่วมทั้งเจ็ด ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง
ตามฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2545 ระบุความผิดจำเลยสรุปว่า เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2544 จำเลยทั้งห้าร่วมกันดูหมิ่นและหมิ่นประมาทตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก 8 ต่อ 7 เสียง ที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) ขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบว่าไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 โดยจำเลยที่ 2 พิมพ์บทความใน นสพ.แนวหน้า ฉบับลงวันที่ 28 ส.ค. 2544 หน้า 3 ซึ่งคอลัมน์ของจำเลยที่ 1 วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้โจทก์ร่วมทั้งเจ็ด ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง
โดยคดีที่อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โจทก์ร่วม ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักและไม่รอการลงโทษนั้น ฎีกาฟังไม่ขึ้น ศาลเห็นว่าจำเลยไม่เคยถูกต้องโทษทางอาญา ประกอบกับพิจารณาวุฒิภาวะการศึกษา อายุ จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้กำหนดเวลารอการลงโทษจำเลยที่ 1-2 คนละ 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 3-5 ให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2547 ให้จำคุก น.ต.ประสงค์ และนายจีระพงศ์ บก.นสพ.แนวหน้า จำเลยที่ 1-2 ฐานร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี คนละ 1 ปี และปรับ 7,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษเป็นเวลา 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 3-5 ผู้บริหารบริษัทแนวหน้าฯ ให้ยกฟ้อง
ต่อมาโจทก์และจำเลยอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2551 ยังคงให้จำคุก น.ต.ประสงค์ และนายจีระพงศ์ บก.นสพ.แนวหน้า จำเลยที่ 1-2 คนละ 1 ปี และปรับ 7,000 บาท แต่ให้เพิ่มระยะเวลาการรอลงอาญาจาก 1 ปี ให้เป็นไว้ 2 ปี โดยอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โจทก์ร่วม และจำเลยทั้งสองยื่นฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมหารือกันแล้วเห็นว่า น.ต.ประสงค์ จำเลยที่ 1 ผู้เขียนบทความเบิกความว่า ได้รับจดหมายแสดงความคิดเห็นของคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคดีซุกหุ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ว่ามีลักษณะสองมาตรฐาน แม้จะไม่ได้มีการระบุชื่อผู้ให้ความเห็นในจดหมายแต่มีตราของมหาวิทยาลัยประทับ อีกทั้งยังมีความเห็นจากนักกฎหมายหลายคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยในครั้งนี้ รวมถึงยังมีการเสนอข่าวจากสื่อมวลชนถึงคำวินิจฉัยในเรื่องนี้เช่นกัน
ขณะที่นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความของจำเลยยังเบิกความด้วยว่า มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาเล่าให้ฟังว่าคดีซุกหุ้นมีการวิ่งเต้นช่วยเหลือ โดยนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าพบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอเสียงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้น 1 เสียง ซึ่งมีการอ้างว่านางเยาวภามีการให้อามิสสินจ้างประโยชน์แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้เรียบร้อยแล้ว 4 คน
แม้ข้อนี้จะไม่มีใครมาเบิกความยืนยันคำพูดของนายบัณฑิต แต่ก็ไม่มีการดำเนินคดีกลับนายบัณฑิตที่มีการกล่าวอ้างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นเช่นเดียวกันด้วย ดังนั้นเรื่องคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นข้อหน้าสงสัย ซึ่งบทความจำเลยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงตามที่ได้รับฟังพยานหลักฐานมา และเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบทความนั้นไม่ใช่การใส่ความในเรื่องส่วนตัว อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้น จึงให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1-2 ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
แต่การกระทำของจำเลยที่ 1-2 ผิดฐานดูหมิ่นตุลาการฯ ตาม ม.198 หรือไม่ ซึ่งจำเลยยื่นฎีกาว่าเมื่อมีการยึดอำนาจ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และได้ออกประกาศ คปค.ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญและสิ้นสุดการทำงานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ทำให้ไม่เป็นความผิดนั้น เห็นว่า แม้มีประกาศ คปค. ยกเลิกรัฐธรรมนูญสิ้นสุดการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ แต่กฎหมายข้อบังคับเรื่องดูหมิ่นศาลฯ ไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ความผิดจึงยังคงอยู่ ฎีกาของจำเลยส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
ขณะที่นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความของจำเลยยังเบิกความด้วยว่า มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาเล่าให้ฟังว่าคดีซุกหุ้นมีการวิ่งเต้นช่วยเหลือ โดยนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าพบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอเสียงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้น 1 เสียง ซึ่งมีการอ้างว่านางเยาวภามีการให้อามิสสินจ้างประโยชน์แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้เรียบร้อยแล้ว 4 คน
แม้ข้อนี้จะไม่มีใครมาเบิกความยืนยันคำพูดของนายบัณฑิต แต่ก็ไม่มีการดำเนินคดีกลับนายบัณฑิตที่มีการกล่าวอ้างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นเช่นเดียวกันด้วย ดังนั้นเรื่องคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นข้อหน้าสงสัย ซึ่งบทความจำเลยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงตามที่ได้รับฟังพยานหลักฐานมา และเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบทความนั้นไม่ใช่การใส่ความในเรื่องส่วนตัว อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้น จึงให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1-2 ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
แต่การกระทำของจำเลยที่ 1-2 ผิดฐานดูหมิ่นตุลาการฯ ตาม ม.198 หรือไม่ ซึ่งจำเลยยื่นฎีกาว่าเมื่อมีการยึดอำนาจ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และได้ออกประกาศ คปค.ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญและสิ้นสุดการทำงานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ทำให้ไม่เป็นความผิดนั้น เห็นว่า แม้มีประกาศ คปค. ยกเลิกรัฐธรรมนูญสิ้นสุดการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ แต่กฎหมายข้อบังคับเรื่องดูหมิ่นศาลฯ ไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ความผิดจึงยังคงอยู่ ฎีกาของจำเลยส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โจทก์ร่วม ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักและไม่รอการลงโทษนั้น ฎีกาฟังไม่ขึ้น ศาลเห็นว่าจำเลยไม่เคยถูกต้องโทษทางอาญา ประกอบกับพิจารณาวุฒิภาวะการศึกษา อายุ จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้กำหนดเวลารอการลงโทษจำเลยที่ 1-2 คนละ 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 3-5 ให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ภายหลัง น.ต.ประสงค์ กล่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า ขอบคุณศาลฎีกาเป็นอย่างสูงที่พิจารณาและพิเคราะห์แล้วตนไม่มีโทษ ซึ่งตนทำด้วยความบริสุทธิ์ในฐานะสื่อมวลชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น