วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ศูนย์ทนายฯ รายงานการดำเนินคดีม. 112 กับ 6 ผู้ป่วยจิตเภทหลังรัฐประหาร


28 มิ.ย.2559 เว็บศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยแพร่รายงานขนาดยาวเกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์กับผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังการรัฐประหาร 2557 โดยหยิบยกตัวเลขที่น่าสนใจ ได้แก่

-หลังการรัฐประหาร 2549 ถึงปัจจุบันนี้มีบุคคลที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมด 103 คนเป็นอย่างน้อยในช่วงสิบปี
-เฉพาะหลังการรัฐประหาร 22พฤษภาคม 2557 (ภายใน 2 ปี)  มีจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีถึง 67 คน 
-จากการติดตามของศูนย์ทนายความฯ และ iLaw พบว่า ภายหลังการรัฐประหารมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อย่างน้อย 6 ราย ที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา112 
รายงานยกหยิบยกรายละเอียดของทั้ง 6 กรณีที่ล้วนมีประวัติการรักษาอาการทางจิตเภทว่ามีลักษณะความผิดอย่างไร และได้รับผลกระทบอย่างไรเมื่อไม่ได้รับการประกันตัวหรือได้รับการประกันตัวช้ารวมถึงปัญหาในการต่อสู้คดี ไม่ว่าจะเป็นคดีของ ทะเนช-เสียงแว่วให้ส่งอีเมล์, สมัคร-ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์, ประจักษ์ชัย-เขียนหนังสือร้องทุกข์ถึงนายกฯ, เสาร์-ร้องศาลให้ทวงเงิน 7พันล้านจากอดีตนายกฯ,  ฤาชา-ร่างทรงพระแม่ธรณีโพสต์เฟซบุ๊ก
“นอกจากประเด็นโรคจิตเภทของพวกเขาแล้วยังมีปัญหาในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของกับคดี กล่าวคือ การที่พนักงานสอบสวนพิจารณาว่าจะดำเนินคดีด้วยมาตรา 112กับบุคคลใดในเวลานี้ จากคำบอกเล่าของพนักงานสอบสวนที่ทำคดีของหนึ่งในผู้ต้องหากลุ่มนี้ทำให้ทราบว่าเรื่องที่เกี่ยวกับคดีหมิ่นสถาบันฯ เมื่อพนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานแล้วจะต้องส่งสำนวนการสอบสวนถึงคณะกรรมการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันฯ จากนั้นเมื่อสำนวนคดีกลับมาที่พนักงานสอบสวนแล้วจึงจะมีความเห็นสั่งฟ้องถึงอัยการศาลทหาร คณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะทำงานที่มีหน้าที่พิจารณาคดีที่เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 คณะกรรมการพิจารณาไม่ได้เพิ่งมีการตั้งภายหลังการรัฐประหาร แต่เริ่มมีชื่อปรากฏในข่าวตั้งแต่กรณีที่นายจักรภพ เพ็ญแข ถูกแจ้งความดำเนินคดีตั้งแต่ปี 2551 จนปัจจุบันการดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นสถาบันฯ การพิจารณาคดีก็ยังคงอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดังกล่าวนี้ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยมีการแนวทางการปฏิบัติการสอบสวนเป็นตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 122/2553 และภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ก็มีการสั่งการในลักษณะเป็นนโยบายเพื่อจัดการเร่งรัดคดี”
“การใช้ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ดำเนินคดีกับบุคคลที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างกว้างขวางมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งขณะนี้ได้ส่งผลกระทบถึงกลุ่มคนเหล่านี้ที่เห็นพฤติการณ์คดีและเมื่อลักษณะของข้อความก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าการเชื่อมโยงเรื่องราวหรือที่มาของการกระทำไม่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันเช่นในกรณีของเสาร์หรือฤๅชา แม้ว่ารัฐบาลทหารจะอ้างว่าการดำเนินคดีด้วย ม.112ที่ผ่านมาเป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์ แต่การใช้กฎหมายในลักษณะนี้อาจจะต้องกลับมาตั้งคำถามถึงปัญหาตัวบทกฎหมายและการใช้กฎหมายกันอีกครั้ง”

รายละเอียดอ่านที่ http://www.tlhr2014.com/th/?p=712

หมายเหตุ : ภาพประกอบแบบทดสอบทางจิตวิทยาด้วยหมึกของ เฮอร์มานน์ รอร์สชาช (Hermann Rorschach) ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Rorschach_blot_04.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น