พยานทหารนิรนามปากที่ 22 กล่าวหารัฐบาล
โดย หนังสือพิมพ์สปีเกิ้ล
ภาพถ่ายของเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคมปี 2553 ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครได้ถูกเผยแพร่ไปทั่งโลก แต่เรื่องราวของการต่อสู้นท้องถนนยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ ทนายชาวแคนาดาผู้ซึ่งพยายามดำเนินคดีกับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แบ่งปันหลักฐานที่เขารวบรวมกับสปีเกิ้ล
ธงแดงของฝ่ายตรงข้ามโบกสบัดอีกครั้ง เมื่อผู้ชุมนุมราว 40,000 คนรวมตัวกันในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร พวกเขาโบกภาพอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและสวมเสื้อสีแดงซึ่งเป็นกลายชื่อของการเคลื่อนไหวพวกเขา
ผู้ชุมนุมต่างรู้สึกโกรธแค้น พวกเขาร้องเพลงและโบกธงขับไล่ “อำมาตย์” กลุ่มผู้นำซึ่งรวมถึงชนชั้นสูง ทหาร และรัฐบาล ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ฝ่ายตรงข้ามเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ “ทำลายเสรีภาพ” ของประเทศ พวกเขาเรียกร้องให้อธิบายถึงเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นช่วงหลังการ ประท้วงรัฐบาลเมื่อเกือบปีก่อน
“รัฐบาลพูดถึงเรื่องการสมานฉันท์ปรองดอง แต่สำหรับพวกเราแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงเป็นเรื่องที่สุดจะทน ” วรชัย เหมะ หนึ่งในผู้นำคนเสื้อแดงกล่าว “ผู้นำส่วนใหญ่ของเรายังอยู่ในคุกและรัฐบาลไม่ดำเนินการสอบสวนถึงอาชญากรรม ที่กองทัพกระทำเลย”
ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันที่แยกราชประสงค์สองครั้งในเดือนมกราคม แยกราชประสงค์เป็นที่ที่ผู้ชุมนุมเลือกให้เป็นสถานที่สัญลักษณ์ ซึ่งเป็นจุดที่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหลายสิบรายเสียชีวิตจากการสาดกระสุน ของทหาร และยังใกล้กับห้องเซ็นทรัลเวิร์ล ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้งสิ้นค้าต่างๆและเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงถูกเผาวอดวาย
ความรุนแรงครั้วล่าสุดตั้งแต่ยุค 70
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางเมือง มากกว่าสองเดือน แสดงให้เห็นถึงการปะทุของความรุนแรงทางการเมืองตั้งแต่ยุค 70 ที่รัฐบาลบดขยี้การชุมนุมประท้วงของนักศึกษา
รูปถ่ายที่สร้างความสนใจให้ชาวโลกเหตุการณ์ปี 2553 อย่างมากคือภาพถ่ายนอกพื้นที่สงคราม –พลซุ่มยิงพรางตัว และฝ่ายตรงข้ามที่ถูกสังหารเพราะถูกยิงศรีษะ ผู้ชุมนุมที่ไม่อาจป้องกันตัวเองได้รู้สึกโกรธแค้นทันที ในขณะที่อีกหลายคนเสียชีวิตต่อหน้ากล้อง
ประชาชนราว 1,900 ได้รับบาดเจ็บ ในระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 และราว 90 รายเสียชีวิต ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ไม่สมน้ำสมเนื้อ–เพราะมีทหารเสียชีวิต 9นาย แต่มีพลเรือนกว่า 80 รายเสียชีวิต รวมถึงพยาบาล และนักข่าวต่างชาติสองราย
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยังคงดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล แต่ได้ย้ายที่พักอาศัยไปยังกรมทหารราบที่ 11 ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน เขาได้รับการสนับสนุนโดยทหารที่ทำรัฐประหารขับไล่ทักษิณซึ่งนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่งและต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีหลายคนเชื่อว่านายอภิสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์
การสอบสวนไม่ค่อยมีความคืบหน้า
ไม่น่าแปลกใจที่ การสอบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของคนเสื้อแดงไม่มีความคืบหน้า “กองทัพและตำรวจแทบจะไม่ให้ความร่วมมือกับเรา” สมชาย หอมลออ หนึ่งในคณะกรรมการค้นหาความจริงและปรองดองสมานฉันท์ที่ตั้งขึ้นเมื่อปีที่ แล้วหลังจากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง กำหนดการเผยแพร่รายงานสรุปถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเปิดเผยความจริงโดยไม่ที่ไม่มีการตั้งคำ ถามกับทหารที่เกี่ยวข้อง สมชายกล่าว
แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนไป เมื่อทนายชาวแคนาดา นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมได้รวบรวมหลักฐาน ซึ่งเขานำไปแสดงต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในอาทิตย์นี้ และสปีเกิ้ลมีโอกาสได้อ่านแล้ว
เอกสารนี้ไม่เพียงแต่กล่าวหากองทัพไทย แต่ยังกล่าวหานายกรัฐมนตรีอีกด้วย หากข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล รัฐบาลอภิสิทธิ์มีหน้าที่ที่จะต้องอธิบายเรื่องราวคอคาดบาดตายหลายเรื่อง หลักฐานหลักของนายอัมสเตอร์ดัมคือคำให้การภายใต้คำสาบานของนายทหารตำแหน่ง สูงในกองทัพ ซึ่งในเอกสารของทนายแคนาดาระบุว่าเป็นคำให้การของ “พยานนิรนามปากที่ 22”
คำให้การเหล่านี้ระบุว่า ทหารรู้ว่าหลังการทำรัฐประหารปี 2549 –ซึ่งเป็นการทำรัฐประหารครั้งที่ 18 ตั้งแต่ปี 2475—จะมีการชุมนุมต่อต้านครั้งใหญ่จากกลุ่มคนที่สนับสนุนทักษิณจะเกิดขึ้น ไม่เร็วก็ช้า ผู้นำทหารเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆที่จะใช้ความรุนแรงทำลายการชุมนุม และเป็นการกระทำที่ “รัฐบาลรับรู้และให้อนุญาติ” พยานเล่าต่อว่า พวกเขาได้จำลองถนนในกรุงเทพ “ขนาดเท่าจริง” ภายในกรมทหารราบที่ 11 เพื่อเข้ารับฝึกฝนจากพลแม่นปืนติดอาวุธ
การตอบโต้โดยการสังหารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์
หลังจากการชุมนุมประท้วงในปี 2552 พยานอ้างว่า อดีตนายทหารระดับสูง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้สั่งการเป็นการส่วนตัวให้คนกลุ่มนี้ “ สังหารแกนนำคนเสื้อแดงบางคน” เพื่อตอบโต้การประท้วงหน้าบ้านของเขา ผู้ชุมนุมอย่างน้อย 6รายถูกสังหาร และพวกเขากล่าวว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100 คน เมื่อไม่มีสื่อต่างชาติให้ความสนใจกับการสังหารนี้ ผู้นำทหารไม่รู้สึกผิดต่อการกระทำของตน พยานกล่าว
ในระหว่างนั้น พวกเขายังใช้ยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อสร้าง “ภาพลักษณ์ที่ผิดๆ” ของคนเสื้อแดงต่อสาธารณชนว่า “เป็นกลุ่มหัวรุนแรง” อันตรายและเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ และส่ง “กลุ่มผู้ยั่วยุ” ออกไป “สร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนและโทษว่าเป็นฝีมือของคนเสื้อแดง” โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 กลุ่มเหล่านี้จะวางระเบิดในหลายพื้นที่–และโทษว่าเป็นความผิดของคนเสื้อแดง
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและคนเสื้อแดงไต่ขึ้นสู่จุดสูงสุดในวันที่ 10 เมษายน 2553 คนเสื้อแดงยึดพื้นที่ราชประสงค์หนึ่งอาทิตย์ก่อนหน้านั้น และทำให้ศูนย์กลางค้าและโรงแรมบางแห่งในใจกลางกรุงเทพมหานครต้องปิดตัวลง เมื่อมีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินได้ราวสามวัน ทหารได้จัดจุดของพลซุ่มยิงและอาวุธปืนสงครามในจุดสำคัญเพื่อไม่ให้การชุมนุม ขยายบริเวณ
สิ่งที่ยังไม่รู้คือ รัฐบาลมีบทบาทใดในการเตรียมการกำจัดผู้ชุมนุม หรือนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์รู้เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
หากพยานนายอัมสเตอร์ดัมน่าเชื่อถือ เขากล่าว่านายกรัฐมนตรีมีส่วนรู้เห็นเกือบทั้งหมด “นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์อยู่ในที่ประชุมกับผู้นำรัฐบาล ผู้นำทหาร และศอฉ. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) เกี่ยวกับการดำเนินการต่อคนเสื้อแดง ” พยานยืนกรานว่า “เขาอนุมัติถูกคำสั่งแก่กองทัพ”
การสังหารอย่างไม่เจาะจง
ในวันที่ 10 เมษานย ผู้ชุมนุมหลายพันคนได้รวมกลุ่มกันชุมนุมบริเวณที่ทำการรัฐบาล ตามคำให้การของพยานนิรนามปากที่ 22 ระบุว่า พลซุ่มยิงยิงใส่ประชาชนแถวแยกคอกวัวเวลาประมาณ 17.00 น.ซึ่งเป็นการกระทำที่รัฐบาลระบุว่าเป็นการ “ป้องกันตัว” แต่พยานทหารอ้างว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ยั่วยุให้ประชาชนทำร้ายทหาร
หนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น พลซุ่มยิงบนดาดฟ้าโรงเรียนสตรีวิทยาได้ยิงคนเสื้อแดงและทหารจากกรมทหารที่ 2 ยิงใส่ฝูงชนใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระสุนปืนได้คร่าชีวิตของช่างภาพชาวญี่ปุ่น ฮิโร มูราโมโต
พยานนิรนามปากที่ 22 กล่าวว่า ผู้ชุมนุมแทบจะไม่ตอบโต้กับทหารเลยในตอนนั้น “แต่อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ได้วางเฉยต่อภัยอันตราย” พยานปากที่ 22 ระบุว่า “ประชาชนเพียงแค่จุดปะทัดและโยนขวดน้ำพลาสติกใส่ทหาร”
“ราว 19:15 น. เกิดเหตุระเบิดสองลูกด้านหลังที่ตั้งของกรมทหารราบที่ 2” พยานกล่าวต่อว่า มีทหารหลายนายเสียชีวิตในการโจมตีนั้น พยานของนายอัมสเตอร์ดัมจึงไม่รู้ว่าทหารถูกสังหารโดยคนเสื้อแดงหรือกลุ่มผู้ ยั่วยุจากกองทัพ การโจมตีนำไปสู่การนองเลือด เพราะกรมทหารราบที่ 2 ยิงรัวแบบไม่เลือก ลงท้ายด้วยการเสียชีวิตของประชาชน 25ราย และอีก 800 รายได้รับบาดจ็บ
นักข่าวตกเป็นเป้าสังหาร
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ภารกิจของทหารยังไม่ประสบความสำเร็จ รูปภาพความโหดร้ายของทหารทำให้ผู้นำทหารรู้สึกกระวนกระวาย พยานปากที่ 22 กล่าวว่า มีคำสั่งให้ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพและวิดีโอของเหตุการณ์ ซึ่งทำให้กรมทหารราบที่ 2 ต้อง “ตั้งเป้าทำร้ายนักข่าวที่เข้ามาในบริเวณดังกล่าว” นอกจากนี้พยานยังระบุว่ากองทัพได้รับคำสั่งให้ “ยิงทุกคนที่พยายามเคลื่อนย้ายศพ”
พวกเขา (พยาน) กล่าวว่าปฏิบัติการที่คล้ายกันนี้สำเร็จเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่แยกราชประสงค์ถูกกวาดล้าง รถถังได้พังเขาไปในรั้วที่ลุกโชนด้วยเปลวไฟของฝ่ายตรงข้ามในตอนเช้า พลซุ่มยิงยิงลงมาจากดาดฟ้า และทหารเข้สไปประจำการบนรางรถไฟฟ้า ไล่ให้ลุ่มคนเสื้อแดงเข้าไปอยู่ในลานวัด
พยานของทนายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า ทหารได้รับคำสั่งให้ยิงผู้ต้องสงสัยที่ถืออาวุธ ซึ่งไม่ใช่อะไรนอกจากหนังสติ๊ก และให้สังหารแกนนำเสื้อแดงด้วย
มีประชาชนอย่างน้อย 14 รายเสียชีวิตในวันนั้น รวมถึงพยาบาลสองราย และช่างภาพนักข่าวนายฟาบิโอ โปเลงกี ผู้ซึ่งส่งภาพให้สปีเกิ้ลเป็นประจำ
พยานปากที่ 22 ได้ระบุถึงข้อกล่าวหาที่ร้ายร้าง โดยกล่าวว่าราว 17:45 น. หลังจากที่ทหารบุกเข้าไปในรั้วกั้นของคนเสื้อแดงรั้วสุดท้าย และแกนนำเสื้อแดงได้มอบตัวกับตำรวจแล้ว มีกลุ่มบุคคลร่วมกับทหารได้บุกเข้าไปในห้างเซ็นทรัลเวิร์ลและจุดไฟเผาห้าง เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงความโกรธแค้นของคนเสื้อแดง
อัมสเตอร์ดัมได้ว่าจ้างผู้เชียวชาญทางการทหาร โจ วิทตี้ ซึ่งเป็นทหารหน่วยรบพิเศษ เพื่อเป็นทหารผู้เชี่ยวชาญในคดีนี้ หลังจากศึกษาปากคำให้การของพยานและวิดีโอเหตุการณ์ วิทตี้สรุปว่า “กองทัพตั้งเป้าสังหารประชาชนที่ไม่มีอาวุธครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงวันที่ 10 เมษายนและ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งไม่ใช่การใช้กำลังร้ายแรงตามหลักมาตราฐานของกฎการใช้กำลัง แต่เป็นการใช้กำลังที่ไม่มีเหตุร้ายประชิดตัว อย่างไม่ชอยธรรม จงใจ และเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรม”
Read more from นปช, ประเทศไทย, สิทธิมนุษยชน
http://robertamsterdam.com/thai/?p=688
โดย หนังสือพิมพ์สปีเกิ้ล
ภาพถ่ายของเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคมปี 2553 ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครได้ถูกเผยแพร่ไปทั่งโลก แต่เรื่องราวของการต่อสู้นท้องถนนยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ ทนายชาวแคนาดาผู้ซึ่งพยายามดำเนินคดีกับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แบ่งปันหลักฐานที่เขารวบรวมกับสปีเกิ้ล
ธงแดงของฝ่ายตรงข้ามโบกสบัดอีกครั้ง เมื่อผู้ชุมนุมราว 40,000 คนรวมตัวกันในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร พวกเขาโบกภาพอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและสวมเสื้อสีแดงซึ่งเป็นกลายชื่อของการเคลื่อนไหวพวกเขา
ผู้ชุมนุมต่างรู้สึกโกรธแค้น พวกเขาร้องเพลงและโบกธงขับไล่ “อำมาตย์” กลุ่มผู้นำซึ่งรวมถึงชนชั้นสูง ทหาร และรัฐบาล ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ฝ่ายตรงข้ามเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ “ทำลายเสรีภาพ” ของประเทศ พวกเขาเรียกร้องให้อธิบายถึงเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นช่วงหลังการ ประท้วงรัฐบาลเมื่อเกือบปีก่อน
“รัฐบาลพูดถึงเรื่องการสมานฉันท์ปรองดอง แต่สำหรับพวกเราแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงเป็นเรื่องที่สุดจะทน ” วรชัย เหมะ หนึ่งในผู้นำคนเสื้อแดงกล่าว “ผู้นำส่วนใหญ่ของเรายังอยู่ในคุกและรัฐบาลไม่ดำเนินการสอบสวนถึงอาชญากรรม ที่กองทัพกระทำเลย”
ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันที่แยกราชประสงค์สองครั้งในเดือนมกราคม แยกราชประสงค์เป็นที่ที่ผู้ชุมนุมเลือกให้เป็นสถานที่สัญลักษณ์ ซึ่งเป็นจุดที่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหลายสิบรายเสียชีวิตจากการสาดกระสุน ของทหาร และยังใกล้กับห้องเซ็นทรัลเวิร์ล ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้งสิ้นค้าต่างๆและเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงถูกเผาวอดวาย
ความรุนแรงครั้วล่าสุดตั้งแต่ยุค 70
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางเมือง มากกว่าสองเดือน แสดงให้เห็นถึงการปะทุของความรุนแรงทางการเมืองตั้งแต่ยุค 70 ที่รัฐบาลบดขยี้การชุมนุมประท้วงของนักศึกษา
รูปถ่ายที่สร้างความสนใจให้ชาวโลกเหตุการณ์ปี 2553 อย่างมากคือภาพถ่ายนอกพื้นที่สงคราม –พลซุ่มยิงพรางตัว และฝ่ายตรงข้ามที่ถูกสังหารเพราะถูกยิงศรีษะ ผู้ชุมนุมที่ไม่อาจป้องกันตัวเองได้รู้สึกโกรธแค้นทันที ในขณะที่อีกหลายคนเสียชีวิตต่อหน้ากล้อง
ประชาชนราว 1,900 ได้รับบาดเจ็บ ในระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 และราว 90 รายเสียชีวิต ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ไม่สมน้ำสมเนื้อ–เพราะมีทหารเสียชีวิต 9นาย แต่มีพลเรือนกว่า 80 รายเสียชีวิต รวมถึงพยาบาล และนักข่าวต่างชาติสองราย
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยังคงดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล แต่ได้ย้ายที่พักอาศัยไปยังกรมทหารราบที่ 11 ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน เขาได้รับการสนับสนุนโดยทหารที่ทำรัฐประหารขับไล่ทักษิณซึ่งนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่งและต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีหลายคนเชื่อว่านายอภิสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์
การสอบสวนไม่ค่อยมีความคืบหน้า
ไม่น่าแปลกใจที่ การสอบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของคนเสื้อแดงไม่มีความคืบหน้า “กองทัพและตำรวจแทบจะไม่ให้ความร่วมมือกับเรา” สมชาย หอมลออ หนึ่งในคณะกรรมการค้นหาความจริงและปรองดองสมานฉันท์ที่ตั้งขึ้นเมื่อปีที่ แล้วหลังจากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง กำหนดการเผยแพร่รายงานสรุปถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเปิดเผยความจริงโดยไม่ที่ไม่มีการตั้งคำ ถามกับทหารที่เกี่ยวข้อง สมชายกล่าว
แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนไป เมื่อทนายชาวแคนาดา นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมได้รวบรวมหลักฐาน ซึ่งเขานำไปแสดงต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในอาทิตย์นี้ และสปีเกิ้ลมีโอกาสได้อ่านแล้ว
เอกสารนี้ไม่เพียงแต่กล่าวหากองทัพไทย แต่ยังกล่าวหานายกรัฐมนตรีอีกด้วย หากข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล รัฐบาลอภิสิทธิ์มีหน้าที่ที่จะต้องอธิบายเรื่องราวคอคาดบาดตายหลายเรื่อง หลักฐานหลักของนายอัมสเตอร์ดัมคือคำให้การภายใต้คำสาบานของนายทหารตำแหน่ง สูงในกองทัพ ซึ่งในเอกสารของทนายแคนาดาระบุว่าเป็นคำให้การของ “พยานนิรนามปากที่ 22”
คำให้การเหล่านี้ระบุว่า ทหารรู้ว่าหลังการทำรัฐประหารปี 2549 –ซึ่งเป็นการทำรัฐประหารครั้งที่ 18 ตั้งแต่ปี 2475—จะมีการชุมนุมต่อต้านครั้งใหญ่จากกลุ่มคนที่สนับสนุนทักษิณจะเกิดขึ้น ไม่เร็วก็ช้า ผู้นำทหารเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆที่จะใช้ความรุนแรงทำลายการชุมนุม และเป็นการกระทำที่ “รัฐบาลรับรู้และให้อนุญาติ” พยานเล่าต่อว่า พวกเขาได้จำลองถนนในกรุงเทพ “ขนาดเท่าจริง” ภายในกรมทหารราบที่ 11 เพื่อเข้ารับฝึกฝนจากพลแม่นปืนติดอาวุธ
การตอบโต้โดยการสังหารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์
หลังจากการชุมนุมประท้วงในปี 2552 พยานอ้างว่า อดีตนายทหารระดับสูง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้สั่งการเป็นการส่วนตัวให้คนกลุ่มนี้ “ สังหารแกนนำคนเสื้อแดงบางคน” เพื่อตอบโต้การประท้วงหน้าบ้านของเขา ผู้ชุมนุมอย่างน้อย 6รายถูกสังหาร และพวกเขากล่าวว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100 คน เมื่อไม่มีสื่อต่างชาติให้ความสนใจกับการสังหารนี้ ผู้นำทหารไม่รู้สึกผิดต่อการกระทำของตน พยานกล่าว
ในระหว่างนั้น พวกเขายังใช้ยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อสร้าง “ภาพลักษณ์ที่ผิดๆ” ของคนเสื้อแดงต่อสาธารณชนว่า “เป็นกลุ่มหัวรุนแรง” อันตรายและเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ และส่ง “กลุ่มผู้ยั่วยุ” ออกไป “สร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนและโทษว่าเป็นฝีมือของคนเสื้อแดง” โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 กลุ่มเหล่านี้จะวางระเบิดในหลายพื้นที่–และโทษว่าเป็นความผิดของคนเสื้อแดง
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและคนเสื้อแดงไต่ขึ้นสู่จุดสูงสุดในวันที่ 10 เมษายน 2553 คนเสื้อแดงยึดพื้นที่ราชประสงค์หนึ่งอาทิตย์ก่อนหน้านั้น และทำให้ศูนย์กลางค้าและโรงแรมบางแห่งในใจกลางกรุงเทพมหานครต้องปิดตัวลง เมื่อมีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินได้ราวสามวัน ทหารได้จัดจุดของพลซุ่มยิงและอาวุธปืนสงครามในจุดสำคัญเพื่อไม่ให้การชุมนุม ขยายบริเวณ
สิ่งที่ยังไม่รู้คือ รัฐบาลมีบทบาทใดในการเตรียมการกำจัดผู้ชุมนุม หรือนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์รู้เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
หากพยานนายอัมสเตอร์ดัมน่าเชื่อถือ เขากล่าว่านายกรัฐมนตรีมีส่วนรู้เห็นเกือบทั้งหมด “นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์อยู่ในที่ประชุมกับผู้นำรัฐบาล ผู้นำทหาร และศอฉ. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) เกี่ยวกับการดำเนินการต่อคนเสื้อแดง ” พยานยืนกรานว่า “เขาอนุมัติถูกคำสั่งแก่กองทัพ”
การสังหารอย่างไม่เจาะจง
ในวันที่ 10 เมษานย ผู้ชุมนุมหลายพันคนได้รวมกลุ่มกันชุมนุมบริเวณที่ทำการรัฐบาล ตามคำให้การของพยานนิรนามปากที่ 22 ระบุว่า พลซุ่มยิงยิงใส่ประชาชนแถวแยกคอกวัวเวลาประมาณ 17.00 น.ซึ่งเป็นการกระทำที่รัฐบาลระบุว่าเป็นการ “ป้องกันตัว” แต่พยานทหารอ้างว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ยั่วยุให้ประชาชนทำร้ายทหาร
หนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น พลซุ่มยิงบนดาดฟ้าโรงเรียนสตรีวิทยาได้ยิงคนเสื้อแดงและทหารจากกรมทหารที่ 2 ยิงใส่ฝูงชนใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระสุนปืนได้คร่าชีวิตของช่างภาพชาวญี่ปุ่น ฮิโร มูราโมโต
พยานนิรนามปากที่ 22 กล่าวว่า ผู้ชุมนุมแทบจะไม่ตอบโต้กับทหารเลยในตอนนั้น “แต่อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ได้วางเฉยต่อภัยอันตราย” พยานปากที่ 22 ระบุว่า “ประชาชนเพียงแค่จุดปะทัดและโยนขวดน้ำพลาสติกใส่ทหาร”
“ราว 19:15 น. เกิดเหตุระเบิดสองลูกด้านหลังที่ตั้งของกรมทหารราบที่ 2” พยานกล่าวต่อว่า มีทหารหลายนายเสียชีวิตในการโจมตีนั้น พยานของนายอัมสเตอร์ดัมจึงไม่รู้ว่าทหารถูกสังหารโดยคนเสื้อแดงหรือกลุ่มผู้ ยั่วยุจากกองทัพ การโจมตีนำไปสู่การนองเลือด เพราะกรมทหารราบที่ 2 ยิงรัวแบบไม่เลือก ลงท้ายด้วยการเสียชีวิตของประชาชน 25ราย และอีก 800 รายได้รับบาดจ็บ
นักข่าวตกเป็นเป้าสังหาร
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ภารกิจของทหารยังไม่ประสบความสำเร็จ รูปภาพความโหดร้ายของทหารทำให้ผู้นำทหารรู้สึกกระวนกระวาย พยานปากที่ 22 กล่าวว่า มีคำสั่งให้ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพและวิดีโอของเหตุการณ์ ซึ่งทำให้กรมทหารราบที่ 2 ต้อง “ตั้งเป้าทำร้ายนักข่าวที่เข้ามาในบริเวณดังกล่าว” นอกจากนี้พยานยังระบุว่ากองทัพได้รับคำสั่งให้ “ยิงทุกคนที่พยายามเคลื่อนย้ายศพ”
พวกเขา (พยาน) กล่าวว่าปฏิบัติการที่คล้ายกันนี้สำเร็จเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่แยกราชประสงค์ถูกกวาดล้าง รถถังได้พังเขาไปในรั้วที่ลุกโชนด้วยเปลวไฟของฝ่ายตรงข้ามในตอนเช้า พลซุ่มยิงยิงลงมาจากดาดฟ้า และทหารเข้สไปประจำการบนรางรถไฟฟ้า ไล่ให้ลุ่มคนเสื้อแดงเข้าไปอยู่ในลานวัด
พยานของทนายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า ทหารได้รับคำสั่งให้ยิงผู้ต้องสงสัยที่ถืออาวุธ ซึ่งไม่ใช่อะไรนอกจากหนังสติ๊ก และให้สังหารแกนนำเสื้อแดงด้วย
มีประชาชนอย่างน้อย 14 รายเสียชีวิตในวันนั้น รวมถึงพยาบาลสองราย และช่างภาพนักข่าวนายฟาบิโอ โปเลงกี ผู้ซึ่งส่งภาพให้สปีเกิ้ลเป็นประจำ
พยานปากที่ 22 ได้ระบุถึงข้อกล่าวหาที่ร้ายร้าง โดยกล่าวว่าราว 17:45 น. หลังจากที่ทหารบุกเข้าไปในรั้วกั้นของคนเสื้อแดงรั้วสุดท้าย และแกนนำเสื้อแดงได้มอบตัวกับตำรวจแล้ว มีกลุ่มบุคคลร่วมกับทหารได้บุกเข้าไปในห้างเซ็นทรัลเวิร์ลและจุดไฟเผาห้าง เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงความโกรธแค้นของคนเสื้อแดง
อัมสเตอร์ดัมได้ว่าจ้างผู้เชียวชาญทางการทหาร โจ วิทตี้ ซึ่งเป็นทหารหน่วยรบพิเศษ เพื่อเป็นทหารผู้เชี่ยวชาญในคดีนี้ หลังจากศึกษาปากคำให้การของพยานและวิดีโอเหตุการณ์ วิทตี้สรุปว่า “กองทัพตั้งเป้าสังหารประชาชนที่ไม่มีอาวุธครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงวันที่ 10 เมษายนและ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งไม่ใช่การใช้กำลังร้ายแรงตามหลักมาตราฐานของกฎการใช้กำลัง แต่เป็นการใช้กำลังที่ไม่มีเหตุร้ายประชิดตัว อย่างไม่ชอยธรรม จงใจ และเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรม”
Read more from นปช, ประเทศไทย, สิทธิมนุษยชน
http://robertamsterdam.com/thai/?p=688
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น