ออกมาสารภาพแล้วข้าวไทยแพ้เวียตนามหมดรูป
(22 ก.พ. 54)--นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุถึงผลกระทบของ AEC ต่อเศรษฐกิจข้าวไทยว่า ประเทศไทยจะต้องวางตำแหน่งข้าวส่งออกของไทยที่จะขายใหม่ หากไม่ต้องการสูญเสียตลาดข้าวในอาเซียนไปมากกว่านี้
"แม้วันนี้เวียดนามจะสามารถปลูกข้าวหอมมะลิได้ แต่เรื่องคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีกว่าอยู่แล้ว จึงควรวางตำแหน่งข้าวไทยให้ชัดเจน โดยแนะนำให้เน้นไปที่ตลาดพรีเมี่ยม พร้อม ๆ กับรักษาข้าวคุณภาพต่ำเอาไว้ด้วย"
ปัจจุบันไทยสูญเสียตลาดข้าวคุณภาพต่ำให้กับเวียดนามไปแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ และเร็วๆนี้กำลังจะเสียตลาดมาเลเซียไปอีกตลาดหนึ่ง
อนึ่ง ข้อตกลงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:AEC) กำหนดให้ในปี 2553 ประเทศในอาเซียนเดิม คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน ต้องลดภาษีสินค้าเป็น 0 และปี 2558 ประเทศในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วยเวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว ต้องลดภาษีสินค้าเป็น 0
ซึ่งประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกข้าวตามข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:AEC) น้อยกว่าเวียดนาม ทั้งด้านการผลิต การส่งออก และรายได้ของชาวนา เนื่องจากเวียดนามเป็นผู้ครองตลาดข้าวในอาเซียนตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เหตุผลหลักคือราคาข้าวเวียดนามถูกกว่าข้าวไทย และคุณภาพก็ไม่ได้แย่มากอย่างที่เราเข้าใจกัน ยิ่งล่าสุดเวียดนามเพิ่งประกาศลดค่าเงินดองรอบใหม่ จะยิ่งทำให้ข้าวเวียดนามถูกลง และเชื่อว่าหลังปี 58 ข้าวเวียดนามจะยิ่งถูกกว่าข้าวไทยมาก เชื่อว่าไม่เกิน 10 ปีนับจากนี้ เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ในปริมาณใกล้เคียงกับไทย
ในปี 2553 ไทยส่งออกข้าวในปริมาณ 9.03 ล้านตัน ขณะที่เวียดนามส่งออกประมาณ 7 ล้านตัน
นายอัทธ์ ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่เวียดนามพัฒนาเรี่องข้าวได้อย่างรวดเร็ว นั่นเป็นเพราะราคาถูก ชาวนาเวียดนามมีกำไรจากอาชีพปลูกข้าว 20% ต่อปีต่อคน มีนโยบายส่งเสริมส่งออกในเชิงรุก นอกจากนี้ยังร่วมกับประเทศอื่น ๆ ตั้งศูนย์กระจายข้าวออกไปในต่างประเทศ เช่น ตลาดแอฟริกา และล่าสุดเวียดนามก็ประกาศลดค่าเงินดองลงอีก ก็จะยิ่งมีส่วนช่วยผลักดันให้เวียดนามส่งออกข้าวได้มากยิ่งขึ้น
"ก่อนมี AEC ข้าวเวียดนามก็ครองตลาดอาเซียนอยู่แล้วเพราะราคาถูก และคุณภาพก็ไม่ได้แย่มากอย่างที่เราเข้าใจ และล่าสุดเวียดนามก็ประกาศลดค่าเงินดองลงอีก ยิ่งทำให้ส่วนต่างระหว่างข้าวไทยกับข้าวเวียดนามห่างกันมากขึ้น โดยปัจจุบันข้าวเวียดนามถูกกว่าข้าวไทยประมาณ 125 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน"
นายอัทธ์ กล่าวว่า ไทยต้องเริ่มปรับตัวต้องแต่วันนี้ ต้องเร่งทำความเข้าใจและหาช่องทางที่จะใช้ประโยชน์จากความตกลงมากขึ้นถึงสิทธิประโยชน์จากการปรับลดภาษี ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังและมากขึ้นกว่านี้หากไม่อยากให้ตลาดส่งออกข้าว
"ทุกวันนี้ไม่ได้มีแต่เวียดนามที่เราต้องกลัว ทุกประเทศในแถบนี้ปลูกข้าวได้ ส่งออกข้าวได้ เพียงแต่วันนี้ประเทศเหล่านั้นยังไม่ใช่ยักษ์ใหญ่ด้านส่งออกข้าวเหมือนไทยและเวียดนาม แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะเรามีประวัติศาสตร์ ปี 47 ส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยยังมากกว่าเวียดนามเล็กน้อย แต่ในปี 52 ส่วนแข่งตลาดข้าวของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเวียดนามยังใกล้เคียงกัน"
ดร.อัทธ์ กล่าวว่า โดยสรุปคือ ไทยมีเวลาอีก 3 ปี 10 เดือนที่จะปรับตัวและบูรณาการทุกเรื่องที่เกี่ยวกับข้าว เพื่อปกป้องตลาดข้าวไทยในตลาด AEC
"แม้วันนี้เวียดนามจะสามารถปลูกข้าวหอมมะลิได้ แต่เรื่องคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีกว่าอยู่แล้ว จึงควรวางตำแหน่งข้าวไทยให้ชัดเจน โดยแนะนำให้เน้นไปที่ตลาดพรีเมี่ยม พร้อม ๆ กับรักษาข้าวคุณภาพต่ำเอาไว้ด้วย"
ปัจจุบันไทยสูญเสียตลาดข้าวคุณภาพต่ำให้กับเวียดนามไปแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ และเร็วๆนี้กำลังจะเสียตลาดมาเลเซียไปอีกตลาดหนึ่ง
อนึ่ง ข้อตกลงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:AEC) กำหนดให้ในปี 2553 ประเทศในอาเซียนเดิม คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน ต้องลดภาษีสินค้าเป็น 0 และปี 2558 ประเทศในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วยเวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว ต้องลดภาษีสินค้าเป็น 0
ซึ่งประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกข้าวตามข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:AEC) น้อยกว่าเวียดนาม ทั้งด้านการผลิต การส่งออก และรายได้ของชาวนา เนื่องจากเวียดนามเป็นผู้ครองตลาดข้าวในอาเซียนตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เหตุผลหลักคือราคาข้าวเวียดนามถูกกว่าข้าวไทย และคุณภาพก็ไม่ได้แย่มากอย่างที่เราเข้าใจกัน ยิ่งล่าสุดเวียดนามเพิ่งประกาศลดค่าเงินดองรอบใหม่ จะยิ่งทำให้ข้าวเวียดนามถูกลง และเชื่อว่าหลังปี 58 ข้าวเวียดนามจะยิ่งถูกกว่าข้าวไทยมาก เชื่อว่าไม่เกิน 10 ปีนับจากนี้ เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ในปริมาณใกล้เคียงกับไทย
ในปี 2553 ไทยส่งออกข้าวในปริมาณ 9.03 ล้านตัน ขณะที่เวียดนามส่งออกประมาณ 7 ล้านตัน
นายอัทธ์ ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่เวียดนามพัฒนาเรี่องข้าวได้อย่างรวดเร็ว นั่นเป็นเพราะราคาถูก ชาวนาเวียดนามมีกำไรจากอาชีพปลูกข้าว 20% ต่อปีต่อคน มีนโยบายส่งเสริมส่งออกในเชิงรุก นอกจากนี้ยังร่วมกับประเทศอื่น ๆ ตั้งศูนย์กระจายข้าวออกไปในต่างประเทศ เช่น ตลาดแอฟริกา และล่าสุดเวียดนามก็ประกาศลดค่าเงินดองลงอีก ก็จะยิ่งมีส่วนช่วยผลักดันให้เวียดนามส่งออกข้าวได้มากยิ่งขึ้น
"ก่อนมี AEC ข้าวเวียดนามก็ครองตลาดอาเซียนอยู่แล้วเพราะราคาถูก และคุณภาพก็ไม่ได้แย่มากอย่างที่เราเข้าใจ และล่าสุดเวียดนามก็ประกาศลดค่าเงินดองลงอีก ยิ่งทำให้ส่วนต่างระหว่างข้าวไทยกับข้าวเวียดนามห่างกันมากขึ้น โดยปัจจุบันข้าวเวียดนามถูกกว่าข้าวไทยประมาณ 125 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน"
นายอัทธ์ กล่าวว่า ไทยต้องเริ่มปรับตัวต้องแต่วันนี้ ต้องเร่งทำความเข้าใจและหาช่องทางที่จะใช้ประโยชน์จากความตกลงมากขึ้นถึงสิทธิประโยชน์จากการปรับลดภาษี ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังและมากขึ้นกว่านี้หากไม่อยากให้ตลาดส่งออกข้าว
"ทุกวันนี้ไม่ได้มีแต่เวียดนามที่เราต้องกลัว ทุกประเทศในแถบนี้ปลูกข้าวได้ ส่งออกข้าวได้ เพียงแต่วันนี้ประเทศเหล่านั้นยังไม่ใช่ยักษ์ใหญ่ด้านส่งออกข้าวเหมือนไทยและเวียดนาม แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะเรามีประวัติศาสตร์ ปี 47 ส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยยังมากกว่าเวียดนามเล็กน้อย แต่ในปี 52 ส่วนแข่งตลาดข้าวของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเวียดนามยังใกล้เคียงกัน"
ดร.อัทธ์ กล่าวว่า โดยสรุปคือ ไทยมีเวลาอีก 3 ปี 10 เดือนที่จะปรับตัวและบูรณาการทุกเรื่องที่เกี่ยวกับข้าว เพื่อปกป้องตลาดข้าวไทยในตลาด AEC
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น