วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

45ปีมรณกรรมของจิตร ภูมิศักดิ์ ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน
ดาวน์โหลดฟรีหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย
“ประวัติศาสตร์แทนที่จะเป็น ประวัติศาสตร์แห่งการเคลื่อนไหวก้าวหน้าของประชาชน ตรงข้ามกลับเป็นประวัติการสืบสันตติวงศ์ของกษัตริย์…”


โดย เถกิงศักดิ์
5 พฤษภาคม 2554

หากในปัจจุบันมีหนังสือต้องห้ามอันลือลั่นคือ The King Never Smile

ในอดีตที่ผ่านมากว่า 50 ปีก็มีหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย เคยสร้างปรากฎการณ์เป็นหนังสือต้องห้ามทำนองเดียวกันมาแล้ว ทว่าปัจจุบันได้กลายเป็นหนังสือ"แนะนำให้คนไทยต้องอ่าน1ใน100เล่มแรก"

ในวาระมรณกรรมครบรอบ 45 ปีของจิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2509 จิตรทิ้งผลงานที่เป็นเสมือน"ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน"ไว้มากมาย นี่เป็น 1 ในนั้น

ดาวน์โหลดหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย คลิ้กตรงนี้

หรือ

ดาวน์โหลดหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย คลิ้กตรงนี้ (4shared)





โฉมหน้าศักดินาไทย เขียนโดย สมสมัย ศรีศูทรพรรณ เป็นหนังสือบทวิเคราะห์สังคมไทยอันท้าทายยุคสมัย ก่อนกลายเป็น "หนังสือต้องห้าม" แต่ปัจจุบันเป็นหนังสือ 1 ใน 100 ที่ควรไทยควรอ่าน


หากจะเข้าใจศักดินา อำมาตย์ในปัจจุบัน เสียเวลาดาวโหลดอ่านซักนิด แล้วจะติดใจ เผลอๆอ่านรวดเดียวจบ


สมสมัย ศรีศูทรพรรณ หรือชื่อที่คุ้นหูกว่านั้นก็คือ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้นำเสนอผลงานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๕๐๐ ในวารสาร นิติศาสตร์ฉบับศตวรรษใหม่ ซึ่งได้ตีพิมพ์ โฉมหน้าศักดินาไทย ออกมาเป็นครั้งแรก


ผู้เขียนได้อาศัยหลักวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ (Historical Meterialism) ของลัทธิมาร์กซิสต์ (Marxism) เป็นกรอบในการชี้ให้เห็นอีกมุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ซึ่งมีการอธิบายถึงความสัมพันธ์ของคนในสังคมขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร (ซึ่งกระแสหลักมิได้บอกไว้), คลี่คลายตัวออกไปในทิศทางไหน และมีเหตุปัจจัยอะไรถึงเป็นเช่นนั้น รวมทั้งยังชี้ถึงความจงใจผิดพลาดของประวัติศาสตร์กระแสหลักอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน แต่แหลมคมยากต่อการโต้แย้ง


ผู้เขียนได้อธิบายว่า- ทุกสังคมที่มีพัฒนาการต้องมีการคลี่คลายของแต่ละยุคสมัยภายใต้กฎตายตัวของประวัติศาสตร์วัตถุนิยม ซึ่งแบ่งยุคสมัยของสังคมไว้ ๕ ยุคคือ สังคมบรรพกาล, สังคมทาส, สังคมศักดินา, สังคมทุนนิยม และสุดท้าย สังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการคลี่คลายตามกฎดังกล่าวของสังคมมนุษย์


นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เปิดเผยให้เห็นสภาพการกดขี่ขูดรีดของแต่ละยุคสมัย (ถ้าเปรียบดังงานจิตรกรเอกแล้วละก็ จิตร ได้หยิบผ้าเช็ดพู่กันซึ่งเปื้อนเปรอะเลอะสีมาให้เราดูมากกว่าแสดงผลงานที่เป็นตัวงาน), ปฏิกิริยาตอบโต้ของชนชั้นผู้ถูกปกครอง (กดขี่) รวมทั้งสภาพจำนนต่อพลังอำนาจแห่งการกดขี่ขูดรีด จนถึงขั้นกลายมาเป็นลักษณะนิสัยของคนส่วนมากในสังคมไทยตราบจนปัจจุบัน


โฉมหน้าศักดินาไทย นั้นเหมาะกับผู้ที่ต้องการอ่านความจริง– ความจริงไม่ใช่เพียงแต่ว่า ใครทำอะไร, ที่ไหน, เมื่อไหร่ และอย่างไรเท่านั้น แต่ความจริงของ จิตร นั้นคือ การบอกเหตุผลว่าทำไมเขาจึงทำ–


จริงอยู่ที่การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชความเป็นไท และผู้ที่เอาเลือดเนื้อเข้าแลกเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นไทยจนกระทั่งเป็นอยู่ทุกวันนี้นั้นล้วนสำคัญ แต่การมองข้ามการต่อสู้ทางสังคมของมนุษย์, การปิดบังอำพรางบางมุมมอง และนำเสนอแต่สิ่งสวยงามทำให้ชวนเคลิบเคลิ้มนั้นจะเป็นการสร้างหนทางแห่งอวิชชา เพื่อปูทางไปสู่ความงมงายอันไร้ซึ่งเหตุผล การเสาะแสวงหาความจริงนั้น ต้องมองมาจากทุกด้าน และนำเอาเหตุผลในแต่ละด้านเข้าห้ำหั่นกันอย่างมีสติ พยายามเอาอัตวิสัยของตนเองเข้าไปข้องเกี่ยวให้น้อยที่สุด


ความสว่างไสวทางปัญญาคงจะมีขึ้นบ้างดอกกระมัง
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น