|
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
"อภิสิทธิ์" เพี้ยนหนัก ใส่เสื้อแดงทวงความยุติธรรมให้ 98 ศพแดง
วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
จากตุลาการภิวัฒน์สู่ตุลาการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (รัฐประหาร)
|
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
รักที่สุดคือในหลวง ห่วงที่สุดคือ คนรักในหลวงจนเสียสติ
ม.ล.มิ่งมงคล โสณกุล เขียนชัดเจนให้สะท้านทุกหัวใจ "รักที่สุดคือในหลวง ห่วงที่สุดคือ คนที่รักในหลวงจนเสียสติ" ทายาทราชสกุล บุตรี ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประกาศจุดยืนไว้จะแจ้ง คนไทยตอนนี้ สั่งสมความสับสนและคับแค้นใจมากๆ มีแต่ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน
"อย่าเอาแต่ช่วยกันตั้งหน้าตั้งตาปักธงว่าประเทศไทยจะต้องวุ่นวายไร้ทางออก" พร้อมเสนอว่าสิ่งที่ควรช่วยกันคิดคือ ในความขัดแย้งนี้ เมื่อตัดความโมโหและอคติอารมณ์ออกไป เรามีจุดร่วมกันที่ใดบ้าง หากเชื่อว่าจุดร่วมนั้นคือความสงบสุขของประเทศและอนาคตที่ดีของลูกหลาน ต้องมามองอย่างมีสติว่าจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร แต่ถ้าหากอยากจะให้มันวุ่นวายเล็กๆ น้อยๆ ตลอดเวลา
"หรือทำจนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่เดินหน้าไม่ได้ ถ้าจุดนั้นมาถึงคงจะวุ่นวายแบบยาวๆ คงจะพากันพังหมดแน่ๆ"
"มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับ "เต่านา-ม.ล.มิ่งมงคล โสณกุล" เป็นเต่านาที่เคยวินิจฉัย "โรค" หนึ่งให้ฮือฮามาแล้ว
โรคอัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปรี้ยงใส่ฝ่ายที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ "โรคขี้ข้าทักษิณ" สวนผ่านเฟซบุ๊ก Taona Sonaku กระแทกแสกหน้าใครบางคนว่า "วินิจฉัยแล้ว ไม่มีหรอกโรคขี้ข้าทักษิณ มีแต่โรคอยากกลับมาเป็นนายกฯ โดยไม่ต้องชนะเลือกตั้งทักษิณ
วินิจฉัยแล้วว่า ไม่มีวันหรอกที่จะชนะทักษิณ เพราะหัวหน้าพรรคที่มีความจำเป็นต้องพยายามเลือกตั้งให้ชนะทักษิณ เป็นขี้ข้าที่ไม่มีประสิทธิภาพของอำนาจนอกระบบที่มีความกลัวประชาชนเป็นที่ตั้ง"
ย้ำยืนยันตัวตน ต่อต้านการรัฐประหาร เพราะการรัฐประหารคือการล้มล้างทุกอย่าง รวมทั้งการล้มล้างสถาบันด้วย
พนักงานไทยพีบีเอสเคลื่อนไหวต่อ แม้ได้ ผอ.คนใหม่แล้ว
พนักงานไทยพีบีเอสเคลื่อนไหวต่อ แม้ได้ ผอ.คนใหม่แล้ว
แม้ผลการเลือกผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือไทยพีบีเอสจะสรุปแล้วว่าได้นายสมชัย สุวรรณบรรณ แต่พนักงานของทางไทยพีบีเอสยังไม่หยุดเคลื่อนไหว โดยขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับนางพรพิมล เสณผดุง ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นน้องสาวหรือไม่ รวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับด้านบริหาร และสำนักอำนวยการ
โดยเอกสารฉบับล่าสุด เริ่มจากการนำเสนอแผนภูมิำการบริหารงานของไทยพีบีเอส และสิ่งที่อยากให้มีการตรวจสอบ
พนักงานเรียกร้องให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบดังต่อไปนี้
1. ประธานกรรมการนโยบายเป็นพี่ชายของผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล เป็นประเด็นที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นร่วมเกือบสามปีที่ผ่านมา
2. ก่อนมีผู้อำนวยการการคลังท่านใหม่ มีผู้บริหารระดับสูงพยายามจัดสรรการเคลื่อนย้ายตำแหน่งผอ.การคลังท่านเดิม จนท้ายสุดท่านตัดสินใจลาออก ดังนั้นเป็นประเด็นที่ควรมีกลไกตรวจสอบเชื่อมโยงกับประเด็นในข้อที่ 3 และ 4
3. เชื่อว่ารองผู้อำนวยการส.ส.สท.ด้านบริหารคือบุคคลที่ผอ.สำนักทรัพยากรบุคคลนำมาหรือชักชวนมา
4. เชื่อว่าผอ.สำนักคลังและสำนักกฎหมายคือคนรู้จักที่ที่รองผอ.ส.ส.ท.ด้านบริหารนำมาเข้าสู่ตำแหน่งฯ
5. เชื่อว่าผอ.การคลังขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารการคลังของไทยพีบีเอส เนื่องด้วยพื้นเพการทำงานเคยเป็นแค่หัวหน้าในส่วนงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผลงานด้านการแสดง Performance ของการบริหารงานที่ลูกน้องในสายงานลาออกไปหลายคน นับตั้งแต่ผอ.การคลังเข้ามาดำรงตำแหน่ง
6. เชื่อว่าผอ.กฎหมายขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารงานด้านกฎหมายของไทยพีบีเอส ด้วย Performace การบริหารที่เป็นที่ประจักษ์และผ่านการประเมินงานได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกรรมการการประเมินงานที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายมาร่วมประเมิน ?
7. ผอ.สำนักบริหารขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานตามข้อร้องเรียนของพนักงานที่รายงานชี้แจงข้อเท็จจริงของการบริหารงานที่ล้มเหลวและขาดธรรมภิบาล ตามที่เคยมีการเคลื่อนไหวจากพนักงานเรียกร้องให้พิจารณาคุณสมบัติ ผอ.ท่านนี้เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ท้ายสุดประเด็นเรียกนี้ก็เงียบไป ไม่มีการชี้แจงใดๆ ที่ชัดเจนเกิดขึ้น เป็นที่รู้กันว่าระดับรองผู้อำนวยการสสท.ด้านบริหาร มีอิทธิพลในการสร้างสมเรื่องการบริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาลไว้มาก ซึ่งขณะนี้กลุ่มพนักงานผู้ร้องเรียน รวมพลังทะยอยยื่นข้อมูลให้แก่หน่วยงานภายนอกเพื่อเข้ามาตรวจสอบโดยเร่งด่วน
8. ตรวจสอบกระบวนการสอบและการประเมินผลผอ.ทุกท่านภายใต้รองส.ส.ท.ด้านบริหาร เพราะเชื่อว่าไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องเพราะเริ่มต้นมาจากสานสัมพันธ์ในการเป็นพวกพ้องที่รู้จักชักจูงกันเข้ามาบริหารงานเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อกัน
9. ตรวจสอบได้จากประสิทธิภาพการบริหารงานที่สามารถชี้วัดในเชิงรูปธรรม เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำคัญในเรื่องกระบวนการคัดเลือก/เลือกสรรบุคลากรที่ไร้ประสิทธิภาพเพราะขาดความโปร่งใส
10.ตรวจสอบบุคลากรภายใต้สำนักบุคลากรจะพบว่ามีพนักงานจำนวนมากที่มาจากเครือข่ายเดิมของผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล
11.ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสื่อสารสังคมได้รับการบรรจุเข้าตำแหน่งได้อย่างไร ทั้งที่ไม่มีการประกาศสอบ และตำแหน่งเดิมเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราว ประเด็นที่สำคัญคือการการคุณสมบัติเฉพาะด้านของการทำงานด้านสื่อสารองค์กรในระดับอาวุโส
source : www3.thaipbs.or.th (Image)
แม้ผลการเลือกผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือไทยพีบีเอสจะสรุปแล้วว่าได้นายสมชัย สุวรรณบรรณ แต่พนักงานของทางไทยพีบีเอสยังไม่หยุดเคลื่อนไหว โดยขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับนางพรพิมล เสณผดุง ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นน้องสาวหรือไม่ รวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับด้านบริหาร และสำนักอำนวยการ
โดยเอกสารฉบับล่าสุด เริ่มจากการนำเสนอแผนภูมิำการบริหารงานของไทยพีบีเอส และสิ่งที่อยากให้มีการตรวจสอบ
พนักงานเรียกร้องให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบดังต่อไปนี้
1. ประธานกรรมการนโยบายเป็นพี่ชายของผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล เป็นประเด็นที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นร่วมเกือบสามปีที่ผ่านมา
2. ก่อนมีผู้อำนวยการการคลังท่านใหม่ มีผู้บริหารระดับสูงพยายามจัดสรรการเคลื่อนย้ายตำแหน่งผอ.การคลังท่านเดิม จนท้ายสุดท่านตัดสินใจลาออก ดังนั้นเป็นประเด็นที่ควรมีกลไกตรวจสอบเชื่อมโยงกับประเด็นในข้อที่ 3 และ 4
3. เชื่อว่ารองผู้อำนวยการส.ส.สท.ด้านบริหารคือบุคคลที่ผอ.สำนักทรัพยากรบุคคลนำมาหรือชักชวนมา
4. เชื่อว่าผอ.สำนักคลังและสำนักกฎหมายคือคนรู้จักที่ที่รองผอ.ส.ส.ท.ด้านบริหารนำมาเข้าสู่ตำแหน่งฯ
5. เชื่อว่าผอ.การคลังขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารการคลังของไทยพีบีเอส เนื่องด้วยพื้นเพการทำงานเคยเป็นแค่หัวหน้าในส่วนงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผลงานด้านการแสดง Performance ของการบริหารงานที่ลูกน้องในสายงานลาออกไปหลายคน นับตั้งแต่ผอ.การคลังเข้ามาดำรงตำแหน่ง
6. เชื่อว่าผอ.กฎหมายขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารงานด้านกฎหมายของไทยพีบีเอส ด้วย Performace การบริหารที่เป็นที่ประจักษ์และผ่านการประเมินงานได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกรรมการการประเมินงานที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายมาร่วมประเมิน ?
7. ผอ.สำนักบริหารขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานตามข้อร้องเรียนของพนักงานที่รายงานชี้แจงข้อเท็จจริงของการบริหารงานที่ล้มเหลวและขาดธรรมภิบาล ตามที่เคยมีการเคลื่อนไหวจากพนักงานเรียกร้องให้พิจารณาคุณสมบัติ ผอ.ท่านนี้เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ท้ายสุดประเด็นเรียกนี้ก็เงียบไป ไม่มีการชี้แจงใดๆ ที่ชัดเจนเกิดขึ้น เป็นที่รู้กันว่าระดับรองผู้อำนวยการสสท.ด้านบริหาร มีอิทธิพลในการสร้างสมเรื่องการบริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาลไว้มาก ซึ่งขณะนี้กลุ่มพนักงานผู้ร้องเรียน รวมพลังทะยอยยื่นข้อมูลให้แก่หน่วยงานภายนอกเพื่อเข้ามาตรวจสอบโดยเร่งด่วน
8. ตรวจสอบกระบวนการสอบและการประเมินผลผอ.ทุกท่านภายใต้รองส.ส.ท.ด้านบริหาร เพราะเชื่อว่าไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องเพราะเริ่มต้นมาจากสานสัมพันธ์ในการเป็นพวกพ้องที่รู้จักชักจูงกันเข้ามาบริหารงานเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อกัน
9. ตรวจสอบได้จากประสิทธิภาพการบริหารงานที่สามารถชี้วัดในเชิงรูปธรรม เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำคัญในเรื่องกระบวนการคัดเลือก/เลือกสรรบุคลากรที่ไร้ประสิทธิภาพเพราะขาดความโปร่งใส
10.ตรวจสอบบุคลากรภายใต้สำนักบุคลากรจะพบว่ามีพนักงานจำนวนมากที่มาจากเครือข่ายเดิมของผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล
11.ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสื่อสารสังคมได้รับการบรรจุเข้าตำแหน่งได้อย่างไร ทั้งที่ไม่มีการประกาศสอบ และตำแหน่งเดิมเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราว ประเด็นที่สำคัญคือการการคุณสมบัติเฉพาะด้านของการทำงานด้านสื่อสารองค์กรในระดับอาวุโส
source : www3.thaipbs.or.th (Image)
คำวินิจฉัยกลาง ตลก.. ฝืด...
คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ:
คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)
Posted: 26 Jul 2012 04:47 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)
ออกแล้ว คำวินิจฉัยกลาง (อย่างเป็นทางการ) ที่ 18-22/2555 เรื่องคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
26 ก.ค. 55 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยกลางที่ 18-22/2555 เรื่องคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามที่มีผู้ร้องให้ศาลวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เป็นการล้มล้างการปกครองหรือเป็นการให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง โดยวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับมาตรา 68 หรือไม่ รวมทั้งสิ้น 29 หน้า โดยมีประเด็นวินิจฉัยทั้งสิ้น 4 ประเด็น
โดยประเด็นที่หนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการรับคำร้องวินิจฉัยคดีนี้หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ศาลฯมีอำนาจหน้าที่ในการรับวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว ตามมาตรา 68 วรรคสอง โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่แค่พิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น ไม่มีอำนาจตัดสิทธิการร้องของบุคคลโดยตรง ในประเด็นที่สอง การแก้ไขรัฐธรมนูญ มาตรา 291 ทำได้ทั้งฉบับหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะเป็นอำนาจรัฐสภา แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขทั้งฉบับได้ เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติโดยประชาชน ดังนั้น ควรถามประชาชนก่อนแก้ไข ประเด็นที่ สาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภานี้ เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขหรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้ชัดได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดการล้มล้างการปกครอง เพราะเป็นเพียงการกล่าวอ้าง และแสดงความเป็นห่วงเท่านั้น จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง และเมื่อยกคำร้องแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาในประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมือง
โดยคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ มีรายละเอียด ดังนี้
คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ: คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Posted: 26 Jul 2012 04:47 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)
ออกแล้ว คำวินิจฉัยกลาง (อย่างเป็นทางการ) ที่ 18-22/2555 เรื่องคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
26 ก.ค. 55 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยกลางที่ 18-22/2555 เรื่องคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามที่มีผู้ร้องให้ศาลวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เป็นการล้มล้างการปกครองหรือเป็นการให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง โดยวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับมาตรา 68 หรือไม่ รวมทั้งสิ้น 29 หน้า โดยมีประเด็นวินิจฉัยทั้งสิ้น 4 ประเด็น
โดยประเด็นที่หนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการรับคำร้องวินิจฉัยคดีนี้หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ศาลฯมีอำนาจหน้าที่ในการรับวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว ตามมาตรา 68 วรรคสอง โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่แค่พิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น ไม่มีอำนาจตัดสิทธิการร้องของบุคคลโดยตรง ในประเด็นที่สอง การแก้ไขรัฐธรมนูญ มาตรา 291 ทำได้ทั้งฉบับหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะเป็นอำนาจรัฐสภา แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขทั้งฉบับได้ เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติโดยประชาชน ดังนั้น ควรถามประชาชนก่อนแก้ไข ประเด็นที่ สาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภานี้ เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขหรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้ชัดได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดการล้มล้างการปกครอง เพราะเป็นเพียงการกล่าวอ้าง และแสดงความเป็นห่วงเท่านั้น จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง และเมื่อยกคำร้องแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาในประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมือง
โดยคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ มีรายละเอียด ดังนี้
คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ: คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
โชว์เอกสารมัด “มาร์ค” เลี่ยงทหาร -
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)