วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญโดยละเอียด


เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญโดยละเอียด


          ประเด็นที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ ?

          มีประเด็นที่พรรคเพื่อไทยผู้ถูกร้องที่ 3 ยื่นคำร้องคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อกฎหมายในประเด็นที่ 3 ว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องทั้ง 5 ไว้พิจารณาวินิจฉัยตาม รธน. มาตรา 68 ได้หรือไม่

           ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรค 1 บัญญัติว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

และวรรค 2 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่บุคคหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรค 1 ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 2 เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิ แก่ผู้ที่ทราบถึงการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 68 วรรค 1 ที่จะใช้สิทธิให้มีการตรวจสอบการกระทำดังกล่าวได้ โดยให้มีสิทธิ 2 ประการ คือ

              ประการที่ 1 เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และประการที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ ให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้ เพราะอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและวินิจฉัยสั่งการในกรณีที่ผู้ร้องใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 วรรค 2 เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุด เพียงแต่มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เท่านั้น หาได้ตัดสิทธิของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงไม่ เมื่อผู้ร้องได้เสนอให้อัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วชอบที่จะใช้สิทธิ

               ประการที่ 2 ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ศาลเห็นว่า การแปลความดังกล่าวนี้ จะสอดคล้องต่อเจตนารมณ์ ในมาตรา 68 ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและเป็นไปตามการรับรองสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69 ที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆที่ทำไปเพื่ออำนาจในการปกครองของประเทศ โดยวิธีที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งให้เลิกการกระทำที่อาจเป็นไปตามการใช้สิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางซึ่งบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญได้นั้น การกระทำดังกล่าวจะต้องกำลังดำเนินการอยู่ และยังไม่บังเกิดผล

ศาลรัฐธรรมนูญจึงจะยังมีคำวินิจฉัย สั่งให้เลิกการกระทำนั้นได้ หาไม่แล้ว คำวินิจฉัยรธน.ตามมาตรา 68 วรรค 2 ก็จะเป็นการพ้นวิสัย ไม่สามารถบังคับใช้ได้ ทั้งสิทธิพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 นี้ มีหลักการมุ่งหมายให้ชนชาวไทยทุกคนมีส่วนร่วมในการปกป้อง พิทักษ์รักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและการเข้าสู่อำนาจในการปกครองประเทศ ให้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มิให้ถูกล้มล้าง โดยสภาพจึงเป็นการป้องกันไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะได้มีโอกาสตรวจสอบและวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำที่จะเป็นจะอันตรายต่อระบบการปกครองและเป็นล้มล้างรธน.ให้เกิดขึ้นได้ เพราะถ้าหากปล่อยให้เกิดการกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต่อรัฐธรรมนูญ ระบบการปกครองตามรัฐธรรมนูญได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมสุดวิสัยแก้ไขให้กลับคืนดีได้ เช่นนี้แล้ว ประชาชนผู้ทราบเหตุตามาตรา 68 วรรค 2 ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิของตนต่อต้านการกระทำนั้นโดยสันติวิธี มิได้มุ่งหมายการลงโทษทางอาญาหรือการลงโทษตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเพิกถอนการกระทำที่มิชอบ ตาม ม. 68 วรรค 1 เสียก่อน ที่การกระทำนั้นจะบังเกิดผล

การมีอยู่ของมาตรา 68 และมาตรา 69 นี้ จึงเป็นไปเพื่อรักษาหรือคุ้มครองตัวรัฐธรรมนูญเองตลอดจนหลักการที่รัฐธรรมนูญได้รับรองหรือกำหนดกรอบไว้ ให้เป็นเจตนารมณ์หลักทางการเมืองหรือชาติ คือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และป้องกันการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีทางซึ่งเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ความมุ่งหมายในรัฐธรรมนูญประการนี้ต่างหากที่ถือเป็นเจตนารมณ์หลักของรธน.ที่จะต้องยึดถือไว้เป็นสำคัญยิ่งกว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่าง รธน. ซึ่งแม้ถึงจะเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาเจตนารมณ์ของรธน.ได้ แต่ความเห็นของผู้ร่างรธน.คนใดคนหนึ่งก็มิใช่เจตนาปกครองตาม รธน.

แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายงานของสภาร่างรธน. ทั้งการร่างรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ยังพิจารณาได้ว่า สาระสำคัญของการอภิปรายนั้น มีเจตนาร่วมกันอยู่ที่การจะให้ประชาชนสามารถร่วมกันใช้สิทธิพิทักษ์ รธน.ผ่านกลไกของศาลรธน. ตามมาตรานี่เป็นสำคัญยิ่งกว่าเรื่องของตัวบุคคล ผู้ที่มีสิทธิเสนอคำร้องการตีความเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญจึงควรต้องตีความไปในแนวทางของการยอมรับสิทธิมิใช่จำกัดสิทธิ ที่อาจมีปัญหาตามาตรา 68 วรรค 1 เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญได้สมเจตนาของบทบัญญัติดังกล่าว โดยมีอัยการตรวจสอบข้อเท้จจริง ตามม.68 วรรค 2 แล้ว แต่ยังไม่มีคำสั่งใดจากอัยการสูงสุด หากปล่อยให้กระบวนการลงมติในวาระ 3 รับไปแล้ว แม้ต่อมาอัยการสูงสุดจะยื่นคำร้องให้ศาลรธน.วินิจฉัยว่ากระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวนั้น เป็นไปโดยมิชอบตามมาตรา68 วรรค 1 ของการกระทำนั้น ก็จะไม่สามารถบังคับคำวินิจฉัยทางใดได้อีก รวมทั้งไม่อาจย้อนคืนแก้ไขคำวินิจฉัยที่เกิดขึ้นจากการะทำดังกล่าวได้ ศาลรธน.จึงมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาและวินิจฉัยได้ตามรธน. มาตรา 68 วรรค 2



               ประเด็นที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 สามารถแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่

ประเด็นพิจารณาว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 291 จะนำไปสู่การไก้ไขบทบัญญัติของรธน. ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับ ได้หรือไม่นั้นเห็นว่า

อำนาจในการก่อตั้งองค์กรสูงสุดทางการเมืองหรืออำนาจในสถาปนารธน. เป็นอำนาจการก่อตั้งองค์กรทั้งหลาย และถือว่ามีอำนาจเหนือรธน.ที่ก่อตั้งระบบบทกฎหมาย และก่อตั้งองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง เป็นอำนาจสูงสุด อันเป็นที่มาในการให้กำเนิดรัฐรรมนูญ เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรนั้นใช้อำนาจที่ได้รับมอบจากรธน.เองกลับไปแก้ไขรธน.นั้นเหมือนการใช้อำนาจแก้ไขรธน.ธรรมดา

สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายยึดหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรธน.ที่จะต้องกำหนดวิธีการหรือกระบวนการแก้ไข เปลี่ยนแปลงรธน.ไว้เป็นวิธีพิเศษ แตกต่างจากกระบวนการกฎหมายทั่วไป

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ ได้มาโดยการลงประชามติของประชาชน ก็ควรที่จะให้ประชานผู้มีอำนาจสถาปนารธน.ได้ลงประชามติเสียก่อนว่า สมควรจะมีรธน.ฉบับใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภา จะใช้อำนาจในการแก้รธน.เป็นรายมาตราจะเป็นความเหมาะสมทางอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินการดังกล่าสนี้ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับเจตนาของ รธน. มาตรา 291



            ประเด็นข้อที่ 3 การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรธน.นี้ หรือเพื่อให้ได้มาในอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติ รธน.นี้ ตามรธน.มาตรา 68 วรรค 1 หรือไม่

พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขรธน.มาตรา 291 มีเจตนารมณ์เพื่อต้องการให้มีวิธีแก้ไขรธน.เพิ่มขึ้นเป็นรายมาตรา เพื่อปฏิรูปการเมืองและปรับปรุงโครงสร้างการเมืองขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นอำนาจที่รธน.แห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 ให้ไว้เพื่อเป็นช่องทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากข้อบกพร่องในตัวรัฐธรรมนูญเองหรือจากข้อเท็จจริงที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และมีความสอดคล้องต่อเนื่องในคราวเดียวกัน

ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ ... พ.ศ. ... จึงเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 29 1 อันถือได้ว่ามีที่มาจากรธน.ฉบับปัจจุบัน

หากพิจารณารธน.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ ... พ.ศ. ... การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมมาตราที่ 291 เพื่อให้มีสภาร่างรธน.มาจัดทำร่างแก้รธน.ฉบับใหม่ และกำหนดกระบวนการจัดทำร่างแก้รธน.ฉบับใหม่ ดังนั้น ดังที่ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาในวาระที่ 2 และกำลังเข้าสู่การลงมติในวาระที่ 3 จะเห็นได้ว่า กระบวนดังกล่าวยังไม่มีข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ว่า เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตย ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างอีกทั้งขึ้นตอนการจัดตั้งสภาร่างรธน.ก็ยังไม่เป็นรูปร่าง

การกล่าวอ้างของผู้ร้องจึงเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าซึ่งยังไม่มีผลแต่ประการใด และเมื่อพิจารณาบทบัญญัติของรธน.มาตรา 291 (1) วรรค 2 ซึ่งเป็นข้อแก้ไขเพิ่มเติม รธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งในการแก้ไขว่า ญัตติขอแก้ไขรธน.เพิ่มเติม ที่มีผลในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประชาธิปไตย หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้ ประกอบกับบันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมที่ ... พ.ศ. ... ให้เหตุผลว่า จะยังคงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้ตลอดไป และบทบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ตามมาตรา 291/11 วรรค 5 ก็ยังบัญญัติคุ้มกันรับรองร่างรัฐธรรมนูญที่จะไม่กระทบที่สำคัญแห่งรัฐว่า ร่างรธน.ที่มีผลในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขบทบัญญัติว่าด้วยพระมหากษัตริย์จะกระทำมิได้ และหากร่างรธน.มีลักษณะตามวรรค 5 ดังกล่าวให้ร่างรธน.ตกไป ตามมาตรา 291 (11) วรรค 6

อย่างไรก็ตาม หากสภาร่างรธน. ในร่างรธน.ที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรนัฐหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์แล้ว ทั้งประธานรัฐสภาและสภาฯ ก็มีอำนาจยับยั้งร่างรธน.นั้นเป็นอันตกไปได้

รวมทั้งหากบุคคลใดทราบว่ามีการกระทำเพื่อล้มล้างระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ตามรธน.นี้ ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวก็ยังมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องให้ศาลรธน.วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวในทุกช่วงทุกเหตุการณ์ ที่บุคคลนั้นทราบ ตามที่ม.68 ยังมีผลบังคับใช้

ประการสำคัญเมื่อพิจารณาคำชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาบันทึกยืนยันข้อเท็จจริงไต่สวนข้อเท็จจริง จากฝ่ายผู้ถูกร้องอาทิ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายอัชพร จารุจินดา ผู้แทนคณะรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ผู้แทนพรรคเพื่อไทย นายชุมพล ศิลปอาชา ผู้แทนพรรคชาติไทยพัฒนา และนายภราดร ปริศนานันทกุล ล้วนต่างเบิกความถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินการ เพื่อให้มีการจัดทำ จัดการร่างรธน.ฉบับใหม่ว่า มิได้มีเจตนารมณ์เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ และผู้ถูกร้องทั้งหมด ยังแสดงถึงการตั้งมั่นว่า จะดำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่เช่นเดิม

พิจารณาแล้วจึงเห็นว่า ข้ออ้างของผู้ร้อง ทั้ง 5 ดังกล่าว ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะวินิฉัยได้ว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 6 เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ข้ออ้างทั้งหมดจึงยังคงเป็นเพียงการคาดการณ์ เป็นความห่วงใยถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังห่างไกลต่อเหตุที่จะเกิดขึ้นตามที่กล่าวอ้าง

              ข้อเท็จจริงจึงไม่ฟังว่าเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้แต่อย่างใด

ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกร้องจึงไม่ได้ว่า มีเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 68 วรรค 1 ศาลจึงให้ยกคำร้องในส่วนนี้

เมื่อวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ 4 อีก อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยให้ยกคำร้องทั้ง 5 คำร้อง

http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น