วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

108 เหตุผล ที่ต้่องออกกฏหมายนิรโทษกรรม




        ชมวิดีโอการอภิปรายของนักวิชาการถึงเหตุผลที่จะต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง กฤตยา อาชวนิจกุล จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล การอภิปรายนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน “108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง” จัดโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) เมื่อวันที่ 26 ก.ค.56 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน(ที่มา:ประชาไท)



         ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (จากงานเสวนา 108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง จัดโดย ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 "108 เหตุผลทำไมต้องต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมื­อง" วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.30 น.ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน thaivoice.org ถ่ายทอดสดโดยคุณแดงสิงห์ อัพโหลดลงyoutube โดย RuMiCBR)





จาตุรนต์ ฉายแสง

ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล

รศ.ดร.ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธุ์
อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

อภินันท์ บัวหภักดี

วาสนา มาบุตร แม่ของปัทมา มูลมิล ผู้ถูกตัดสินคุก33ปีคดีเผาศาลากลางอุบลราชธานี
ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์

108เหตุผล



ศปช.แถลง นิรโทษกรรมแก้ไขความผิดพลาดปฎิบัติการของรัฐ คืนความยุติธรรมให้กับประชาชน

          ย้ำการประกาศกฎหมายความมั่นคงขาดความชอบธรรม ระบุยังมีข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีด้วย กม.ที่ไม่เป็นธรรมที่ไม่เป็นที่เปิดเผย อีกมาก ย้ำหลักการนิรโทษกรรมต้องเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับประชาชน ไม่ใช่เหมาเข่งอ้างปรองดอง ต้องปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งระบบ
         วันที่ 26 ก.ค. 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) จัดเสวนาหัวข้อ 108 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
         โดย กฤตยา อาชวณิชกุล ประธาน ศปช. กล่าวถึงเหตุผลที่จัดการเสวนาขึ้นว่า แม้ ศปช. จะจัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.–พ.ค. 2553 จะได้จัดทำรายงานเผยแพร่แล้ว ศปช. ก็ยังไม่ปิดตัว เพราะพบว่ายังมีประชาชนจำนวนมากที่ประสบชะตากรรมเรื่องคดีความ ศปช.จึงยังคงทำงานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อติดตามคดีความต่างๆที่ประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมชุมนุมและไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมถูกจับกุม อันมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์เมษา – พฤษภา 2553 สรุปได้ว่า มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 รวม 1,763 คน เป็นจำนวนคดีรวม 1,381 คดี และเมื่อรวมตัวเลขผู้ถูกจับกุมภายหลังด้วย ทำให้มี จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) ในจำนวนนี้ เป็นผู้ถูกดำเนินคดีคดีสิ้นสุดแล้ว 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน และ คดีที่คดียังไม่สิ้นสุดประมาณ 150 คน  ได้ประกันตัว 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกันตัว ยังอยู่ในเรือนจำต่างๆ 13 คน นอกจากนี้ ศปช. พบว่ายังมีจำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้อีกหลายร้อย ในหลายจังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร อุดรฯ จ.อุบลฯ จ.ขอนแก่น และเชียงใหม่
          ถ้านับจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดี เท่าที่รวบรวมได้ 55 ราย เป็นคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย ยังไม่สิ้นสุด 23 ราย และไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย
           ดังนั้นถ้ารวมตัวเลขทั้งหมด คือ 1,833 และ 55 ราย สรุปได้ว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร รวม 1,888 คน
           ดร. กฤตยา กล่าวว่า ศปช. มีข้อสังเกตและข้อเสนอจากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ของ ศปช. ว่า  ข้อมูลของ ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไกของตนในการแสวงหาข้อมูล ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด   ศาลยุติธรรม  หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
         ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ศปช.พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีสาเหตุสำคัญมาจาก

  • 1.การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจะประกาศใช้โดยขาดความจำเป็นแล้ว การที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าพนักงานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย สิทธิในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม เช่น ทำให้เสียชีวิต จับกุมอย่างเหวี่ยงแห จับกุมโดยไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจน ซ้อมทรมานในขณะจับกุม ยัดของกลาง เป็นต้น ส่งผลให้ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผู้ถูกจับกุมและดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก
  • 2. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรม ปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากแต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ป้องปราม และกดทับประชาชน ปัญหาเหล่านี้ดำรงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาเนิ่นนาน หากแต่ภายใต้สภาพความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเหล่านี้ได้ประทุขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้กฎหมายต่อกลุ่มคนที่เห็นต่าง เช่น บังคับหรือหลอกล่อให้รับสารภาพ บิดเบือนคำให้การ ไม่ให้ประกันตัว ไม่แจ้งสิทธิในการติดต่อทนายหรือญาติ ตั้งข้อหาเกินจริง การใช้ดุลยพินิจของศาลที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงใจ และไม่คำนึงถึงบริบททางการเมือง ตลอดจนถึงการที่ศาลไม่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้ผู้ที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีถูกศาลพิพากษาลงโทษเป็นส่วนใหญ่
          แม้ในปัจจุบันปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังปรากฏให้เห็น การไม่อนุญาตให้ประกันตัวในบางคดี ทั้งคดีที่มีโทษหนักและโทษเบาเพียง 1 ปี โดยที่บางคดีที่มีโทษหนักกว่าได้รับการประกันตัว พนักงานอัยการยังมีการสั่งฟ้องอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่บางกรณีได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เช่น มุกดาหาร 1 ราย, ขอนแก่น (เตรียมฟ้อง) 39 ราย, กรุงเทพฯ 2 ราย พนักงานอัยการยังคงอุทธรณ์ในคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องไปแล้ว เช่น คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล เป็นต้น
           “ดังนั้น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความจำเป็น ไม่ใช่เพื่อลบล้างความผิดให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเพื่อให้หันหน้ากลับมาปรองดองกัน แต่เพื่อเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดี
“ศปช.เห็นว่า ในระยะยาว ไม่เพียงแต่ต้องผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคง แต่ต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งยวง ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล และเรือนจำ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง” ดร. กฤตยา กล่าวในที่สุด ******************************************************

คำแถลงวัตถุประสงค์การจัดอภิปรายระดมทุนเพื่อช่วยนักโทษการเมือง
เรื่อง ‘108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง’
26 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.00-16.30 น.
            ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย. - พ.ค. 53 (ศปช.) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2553 เพื่อมุ่งรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 และที่ผ่านมา ศปช.ได้จัดงานแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์เป็นระยะๆ จนในที่สุดได้ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือชื่อ “ความจริงเพื่อความยุติธรรม” เมื่อปีที่แล้วและกำลังทยอย upload ฉบับออนไลน์ที่มีการพิสูจน์อักษรอย่างละเอียดอีกครั้ง ปรับแก้ไขคำผิด และเพิ่มเติมการอ้างอิงให้ครบถ้วนสมบูรณ์ บนเว็บไซต์ของ ศปช. คือ www.pic2010.org
            อย่างไรก็ตาม ศปช. ตัดสินใจยังไม่ปิดตัวลง เพราะพบว่ายังมีประชาชนจำนวนมากที่ประสบชะตากรรมเรื่องคดีความ ศปช.จึงยังคงทำงานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อติดตามคดีความต่างๆที่ประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมชุมนุมและไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมถูกจับกุม อันมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์เมษา – พฤษภา 2553 สรุปได้ว่า มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 รวม 1,763 คน เป็นจำนวนคดีรวม 1,381 คดีและเมื่อรวมตัวเลขผู้ถูกจับกุมภายหลังด้วย ทำให้มี จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) ในจำนวนนี้ เป็นผู้ถูกดำเนินคดีคดีสิ้นสุดแล้ว 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน และ คดีที่คดียังไม่สิ้นสุดประมาณ 150 คน  ได้ประกันตัว 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกันตัว ยังอยู่ในเรือนจำต่างๆ 13 คน นอกจากนี้ ศปช. พบว่ายังมีจำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้อีกหลายร้อย ในหลายจังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร อุดรฯ จ.อุบลฯ จ.ขอนแก่น และเชียงใหม่
          ถ้านับจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดี เท่าที่รวบรวมได้ 55 ราย เป็นคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย ยังไม่สิ้นสุด 23 ราย และไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย
         ดังนั้นถ้ารวมตัวเลขทั้งหมด คือ 1,833 และ 55 ราย สรุปได้ว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร รวม 1,888 คน

ศปช. มีข้อสังเกตและข้อเสนอดังนี้

  • การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ของ ศปช. เป็นเพียงความพยายามขององค์กรภาคประชาชนเล็กๆ ในการทำให้สังคมได้มองเห็นภาพรวมของปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ดังนั้น ข้อมูลของ ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไกของตนในการแสวงหาข้อมูล ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด   ศาลยุติธรรม  หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
  • ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ศปช.พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีสาเหตุสำคัญมาจาก

  • 1. การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจะประกาศใช้โดยขาดความจำเป็นแล้ว การที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าพนักงานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย สิทธิในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม เช่น ทำให้เสียชีวิต จับกุมอย่างเหวี่ยงแห จับกุมโดยไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจน ซ้อมทรมานในขณะจับกุม ยัดของกลาง เป็นต้น ส่งผลให้ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผู้ถูกจับกุมและดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก
  • 2. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรม ปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากแต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ป้องปราม และกดทับประชาชน ปัญหาเหล่านี้ดำรงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาเนิ่นนาน หากแต่ภายใต้สภาพความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเหล่านี้ได้ประทุขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้กฎหมายต่อกลุ่มคนที่เห็นต่าง เช่น บังคับหรือหลอกล่อให้รับสารภาพ บิดเบือนคำให้การ ไม่ให้ประกันตัว ไม่แจ้งสิทธิในการติดต่อทนายหรือญาติ ตั้งข้อหาเกินจริง การใช้ดุลยพินิจของศาลที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงใจ และไม่คำนึงถึงบริบททางการเมือง ตลอดจนถึงการที่ศาลไม่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้ผู้ที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีถูกศาลพิพากษาลงโทษเป็นส่วนใหญ่
           แม้ในปัจจุบันปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังปรากฏให้เห็น การไม่อนุญาตให้ประกันตัวในบางคดี ทั้งคดีที่มีโทษหนักและโทษเบาเพียง 1 ปี โดยที่บางคดีที่มีโทษหนักกว่าได้รับการประกันตัว พนักงานอัยการยังมีการสั่งฟ้องอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่บางกรณีได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เช่น มุกดาหาร 1 ราย, ขอนแก่น (เตรียมฟ้อง) 39 ราย, กรุงเทพฯ 2 ราย พนักงานอัยการยังคงอุทธรณ์ในคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องไปแล้ว เช่น คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล เป็นต้น
         ดังนั้น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความจำเป็น ไม่ใช่เพื่อลบล้างความผิดให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเพื่อให้หันหน้ากลับมาปรองดองกัน แต่เพื่อเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดี
          ศปช.เห็นว่า ในระยะยาว ไม่เพียงแต่ต้องผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคง แต่ต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งยวง ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล และเรือนจำ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง  
สวัสดีท่านสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และสุภาพชน

          ผมขอเริ่มด้วยข่าวของสำนักข่าว วอยส์ออฟอเมริกา เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 รายงานข่าว ประธานาธิบดีพม่าให้สัญญาว่าจะไม่มีนักโทษการเมืองเหลืออยู่ภายในสิ้นปี http://www.voathai.com/content/burma-cameron-ct/1703325.html

         ประธานาธิบดีเต็งเส่ง กล่าวระหว่างการปราศรัยที่ Chatham House ในกรุงลอนดอน ให้สัญญาด้วยว่า จะไม่มีนักโทษการเมือง หรือผู้ที่ถูกคุมขังเนื่องจากมีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาล เหลืออยู่ในพม่าภายในสิ้นปีนี้


        โดยก่อนหน้านั้น 1 วัน เวปไซต์ของประธานาธิบดีพม่า ระบุว่าประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้สั่งยุบเลิกกองกำลังด้านความมั่นคง ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิของชาวโรฮิงยาไปแล้ว และว่าความขัดแย้งต่างๆ ที่ยังมีอยู่ในประเทศขณะนี้ ล้วนแต่มีลักษณะและที่มาจากความไม่พอใจ และความต้องการของชนต่างเชื้อชาติในประเทศทั้งสิ้น

         แน่นอนว่าเราอาจจะไม่เชื่อทั้งหมดของข่าวสาร ที่มาจากรัฐบาลประเทศพม่า แต่ก็นับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี สำหรับประชาชนชาวพม่า ที่เผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงมากกว่า เสี้ยวศตวรรษ นับตั้งแต่เหตุการณ์ 8/8/88อนึ่ง เราทั้งหลาย ก็ทราบกันดีว่า กัมพูชาเอง พระมหากษัตริย์ก็พระราชทานอภัยโทษ ให้กับผู้นำพรรคฝ่ายค้าน สม รังสี ทั้งนี้โดยข้อเสนอของ นรม ฮุนเซ็น ซึ่งนับได้ว่าภูมิภาคอาเซียนของเรา กำลังมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

         แต่สำหรับสยามประเทศไทย ในพ.ศ. 2556 เรากลับต้องมาพูดถึง “108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง” นับเป้นความน่าเศร้าอย่างยิ่ง เพราะแท้ที่จริงแล้ว เราไม่ควรจะมีเหตุผลใด ๆ ที่จะมี “นักโทษการเมือง” ที่เกิดจากการคิด พูด อ่าน เขียน ที่มีความเห็นไม่ตรงกับอุดมการณ์รัฐแล้วในโลกปัจจุบัน ดังเช่นที่รัฐบาลพม่า กำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ในขณะนี้

         ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ผมได้พบข้อมูล ระหว่าง พ.ศ. 2475 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2556 เป็นเวลา 81 ปี ว่าเรามีการ การออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้ว 22 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็น พ.ร.ก. 4 ฉบับ, พ.ร.บ. 17 ฉบับ และรัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ

       สาระสำคัญของ กม.นิรโทษกรรม ทั้ง 22 ฉบับคือ การนิรโทษกรรมให้กับการกระทำผิดต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น

  • - ความผิดฐานเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1 ฉบับ
  • - ความผิดฐานก่อกบฏ 6 ฉบับ
  • - ความผิดจากการก่อรัฐประหาร 10 ฉบับ
  • - ความผิดจากการต่อต้านสงครามของญี่ปุ่น 1 ฉบับ
  • - ความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3 ฉบับ
  • - ความผิดจากการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 1 ฉบับ

        ถ้านับกันตามเวลาแล้ว ในระยะเวลา 81 ปี เฉลี่ยแล้ว 3 ปีครึ่ง เรามีกฎหมายนิรโทษกรรม 1 ฉบับ โดยเหตุที่มากเช่นนั้น ก็เพราะเป็นการรวมเอาการรัฐประหาร 10 ฉบับ และความผิดฐานกบฎ 6 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งของชนชั้นนำเข้ามาไว้ ซึ่งคิดเป็น 72.7 เปอร์เซ็น ขณะที่การนิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3 ฉบับ ในเหตุการณ์สำคัญคือ

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

       พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2516

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
        พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519

เหตุการณ์ พฤษภาคม 2535
       พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535

       ที่กลายเป็นตลกร้ายในการเมืองไทยคือ กฎหมายที่มุ่งจะนิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3 ฉบับ กลายเป็นว่าเป็นการ นิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐไปพร้อมกันด้วย

      กฎหมายนิรโทษกรรมกลายเป็น “ใบอนุญาตฆ่าประชาชน” ผู้ซึ่งใช้สิทธ์ในทางการเมืองอย่างสุจริตไปโดยปริยาย


      หลังกาการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ตามมาด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาเกือบ 7 ปี ที่มีการล้มตายของประชาชนกลางเมืองหลวง และหัวเมืองต่าง ๆ ในเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2535 จนกลายมาเป็นประวัติศาสตร์บาดแผล ที่ยากที่จะสมานได้ในเร็ววัน แต่ผลพวงจากเหตุการณ์ดังกล่าว ยังปรากฏนักโทษการเมืองที่ถูกจองจำมาเป็นเวลานานนับปี อยู่หลายร้อยคน

         นี่เป็นเหตุผลที่เรามารวมตัวกัน ณ ที่นี่ เพื่อจะบอกว่า นักโทษการเมือง จะต้องหมดไปจากประเทศไทยด้วยการออกฏหมายนิรโทษกรรม

          ขณะเดียวกันการนิรโทษกรรมในปี 2556 ต้องไม่ใช้การนิรโทษกรรมเช่นในเหตุการณ์ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, เหตุการณ์ พฤษภาคม 2535 ที่เป็นการนิรโทษกรรมแบบ “เหมาเข่ง” ที่ผู้ก่อความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองได้รับนิรโทษรรมไปด้วย เพราะประวัติศาสตร์บอกเราชัดเจนแล้วว่า ตราบใดที่ผู้กระทำผิดไม่ถูกลงโทษ ก็จะมีความรุนแรงตามมา

อย่าให้ประวัติศาสตร์สอนเราว่า เราไม่เคยเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์ต่อไปอีกเลย
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

26 กรกฎาคม 2556
หมายเหตุ
ขอขอบคุณธนาพล อิ๋วสกุล ที่ช่วยเหลือในการตระเตรียมข้อคิดนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น